พระราชวังต้าหมิง...แห่งเมืองฉางอัน - นิยาย พระราชวังต้าหมิง...แห่งเมืองฉางอัน : Dek-D.com - Writer
×

    พระราชวังต้าหมิง...แห่งเมืองฉางอัน

    พระราชวังต้าหมิงเป็นที่ประทับของฮ่องเต้และฮองเฮา ซึ่งจะแบ่งเป็นส่วนหน้ากับส่วนใน พระราชวังส่วนหน้าฮ่องเต้เป็นผู้ดูแล พระราชวังส่วนหลังฮองเฮาเป็นผู้ดูแล

    ผู้เข้าชมรวม

    4,408

    ผู้เข้าชมเดือนนี้

    84

    ผู้เข้าชมรวม


    4.4K

    ความคิดเห็น


    65

    คนติดตาม


    6
    จำนวนตอน :  9 ตอน
    อัปเดตล่าสุด :  8 พ.ค. 54 / 06:55 น.
    ตั้งค่าการอ่าน

    ค่าเริ่มต้น

    • เลื่อนอัตโนมัติ

    พระราชวังต้าหมิง...แห่งเมืองฉางอัน
    ด้านหน้าเป็นที่ว่าราชการ
    ด้านหลังเป็นที่อยู่อาศัย ตำหนักหน้า 3 หลังได้แก่ ตำหนักไท่เหอ ตำหนักจงเหอ และตำหนักเป่าเหอ ซึ่งเป็นสัญลักษณ์ของอำนาจที่ยิ่งใหญ่นั้น จึงตั้งตระหง่านเรียงกันตามลำดับ ณ กึ่งกลางอาณาบริเวณส่วนหน้าของพระราชวัง ถัดเข้าไปส่วนด้านหลังเป็นตำหนักที่ประทับของจักรพรรดิและมเหสีอีก 3 หลัง ได้แก่ ตำหนักเฉียนชิง ตำหนักเจียวไท่ และตำหนักคุนหนิง 


     
      

    ก่อนเข้าสู่ตำหนักในส่วนหน้าพระราชวัง จะต้องผ่านประตูสำคัญ ได้แก่ ประตูอู่ และประตูไท่เหอ ประตูอู่ เป็นประตูแรกสุดของพระราชวัง ได้ชื่อตามหลักจักรราศีของจีน เนื่องจากหันหน้าไปทางทิศใต้และยังตั้งอยู่ทางทิศใต้ของพระราชวัง บริเวณด้านหน้าประตูอู่ใช้เป็นที่จัดพิธีเฉลิมฉลองและรับเชลยศึกจากสงคราม และยังใช้เป็นที่ลงโทษข้าราชบริพารที่กระทำผิดด้วย

    ลานหน้าประตูแห่งนี้เคยมีข้าราชบริพารถูกโบยจนตายมาแล้ว เช่นกรณีหนึ่งซึ่งเกิดขึ้นในสมัยของจักรพรรดิเจิ้งเต๋อแห่งราชวงศ์หมิง ที่ทรงรับสั่งให้เฆี่ยนข้าราชบริพารจำนวน 130 คน ในความผิดฐานขัดขวางการเสด็จฯไปคัดเลือกสาวงามทางใต้ ในครั้งนั้นมีคนถูกตีจนเสียชีวิตถึง 11 คน

    ประตูไท่เหอ อยู่ตรงกับประตูอู่ เป็นประตูทางเข้าหลักของตำหนักหน้า ซึ่งเป็นประตูที่ใหญ่โตโอฬารที่สุดในพระราชวังต้องห้าม มีเอกลักษณ์คือ ที่หน้าประตูประดับด้วยสิงโตซึ่งทำจากทองสำริด 2 ตัว ด้านขวาเป็นสิงโตตัวผู้ด้านซ้ายเป็นสิงโตตัวเมีย ลานด้านหน้าซึ่งอยู่ระหว่างประตูอู่และประตูไท่เหอ เป็นลานที่กว้างที่สุดในพระราชวัง มีพื้นที่ทั้งสิ้น 25,000 ตร.ม ในสมัยราชวงศ์หมิงใช้เป็นที่ว่าราชการแผ่นดินและที่เข้าเฝ้าองค์จักรพรรดิ ต่อมาในสมัยราชวงศ์ชิงตอนต้นจึงย้ายไปยังลานหน้าประตูเฉียนชิง

    สามตำหนักหน้า : ไท่เหอ จงเหอ เป่าเหอ
    ตำหนัก 3 หลังในเขตพระราชฐานชั้นนอก ซึ่งใช้เป็นที่ว่าราชการแผ่นดิน และที่ทรงงานของจักรพรรดิ มี ตำหนักไท่เหอ เป็นตำหนักเอกที่มีความพิเศษที่สุด ดังนั้นจึงมีรูปแบบการก่อสร้างและการตกแต่งที่เป็นสุดยอดของพระราชวังต้องห้าม รวมถึงตำแหน่งที่ตั้งซึ่งอยู่จุดกึ่งกลางของนครปักกิ่งพอดี
    ตำหนักที่สูงตระหง่านที่สุดในพระราชวังแห่งนี้โดดเด่นบนฐานหินอ่อนสีขาว 3 ชั้น ด้านหน้าตำหนักมีการจัดวางนาฬิกาแดดและเจียเลี่ยง ซึ่งเป็นเครื่องมือชั่งตวงวัดชนิดหนึ่งซึ่งจักรพรรดิเฉียนหลงทรงให้ทำเลียนแบบเจียเลี่ยงในสมัยถัง(ค.ศ.618-907) ตำหนักแห่งนี้ใช้เป็นที่จัดพิธีสำคัญของราชสำนักตั้งแต่สมัยราชวงศ์หมิงและชิง เช่น พิธีครบรอบพระชันษา พิธีฉลองขึ้นปีใหม่ เป็นต้น

    ถัดจากตำหนักไท่เหอ คือ ตำหนักจงเหอ เป็นตำหนักที่จักรพรรดิทรงประทับก่อนที่จะเสด็จไปประกอบพระราชพิธีต่างๆที่ตำหนักไท่เหอ และเป็นที่ทรงงานราชการ ตลอดจนเป็นที่ให้ขุนนางเข้าเฝ้าฯ

    ตำหนักเป่าเหอ ตำหนักเป่าเหอมีความสำคัญลำดับรองจากตำหนักไท่เหอ มีหลังคาซ้อนสองชั้นเช่นเดียวกับตำหนักไท่เหอ ภายในใช้เทคนิคในการก่อสร้างที่พยายามลดการใช้เสา ทำให้ภายในตำหนักมีความโปร่งโล่ง
    จักรพรรดิจะทรงเปลี่ยนเครื่องทรงที่ตำหนักหลังนี้ก่อนจะเสด็จในการพระราชพิธีต่างๆ นอกจากนี้ยังใช้เป็นที่จัดงานเลี้ยงต้อนรับบรรดาขุนนางที่มีตำแหน่งสูง สมัยราชวงศ์ชิงตำหนักเป่าเหอยังใช้เป็นสนามสอบคัดเลือกขุนนางระดับสูงอีกด้วย

    สามตำหนักหลัง : เฉียนชิง เจียวไท่ คุนหนิง
    ส่วนที่แบ่งระหว่างเขตพระราชฐานชั้นนอกและพระราชฐานชั้นในก็คือ ลานกว้างที่อยู่บริเวณด้านหลังตำหนักเป่าเหอที่มาบรรจบกับประตูเฉียนชิง

    ประตูเฉียนชิง เป็นประตูหลักของพระราชฐานชั้นใน สร้างในสมัยจักรพรรดิหย่งเล่อแห่งราชวงศ์หมิง เป็นประตูที่มีหลังคาชั้นเดียวปูด้วยกระเบื้องสีเหลืองมันวาวเป็นประกาย ตั้งอยู่บนฐานหิน ที่ด้านหน้าซ้ายขวาของประตูเฉียนชิง มีโอ่งทองสำริด 10 ใบวางเรียงรายอยู่ โอ่งเหล่านี้ใช้สำหรับการประดับตกแต่ง ขณะเดียวกันก็เป็นที่เก็บน้ำไว้ใช้ดับไฟหากเกิดอัคคีภัย ที่ถูกเรียกว่าทะเลของประตูหรือแหล่ง(โอ่ง)น้ำสำคัญหน้าประตูนี้ ในอดีตทหารชั้นผู้น้อยในพระราชวังมีหน้าที่คอยตักน้ำใส่โอ่งให้เต็มทุกใบ เพื่อเตรียมพร้อมในกรณีที่เกิดไฟใหม้ ภายในพระราชวังต้องห้ามมีโอ่งทองสำริดและโอ่งเหล็กทั้งสิ้น 308 ใบ โอ่งแต่ละใบมีน้ำหนักกว่า 2,000 กิโลกรัม

    เขตพระราชฐานชั้นในเป็นที่ประทับพักผ่อนของจักรพรรดิ พระมเหสี พระราชมารดา พระราชโอรส พระราชธิดาและนางสนม ประกอบด้วยตำหนักหลัก 3 หลัง คือ ตำหนักเฉียนชิง ตำหนักเจียวไท่ และตำหนักคุนหนิง นอกจากนี้ด้านข้างของตำหนักทั้ง 3 ยังเรียงรายด้วยตำหนักเล็กๆอีกด้านละ 6 หลัง

    เมื่อเทียบกับพระราชฐานชั้นนอกแล้ว พระราชฐานชั้นในมีลักษณะที่ค่อนข้างมิดชิดซึ่งเป็นลักษณะอย่างหนึ่งของตำหนักสำหรับการพักผ่อน นอกจากนี้ยังมีอุทยานและศาลาซึ่งได้รับการออกแบบจัดวางอย่างประณีตบรรจง

    ตำหนักเฉียนชิงและตำหนักคุนหนิง ต่างตั้งชื่อตามตำหนักในพระราชวังที่เมืองหนันจิง อดีตราชธานีในสมัยราชวงศ์หมิง ในวัฒนธรรมดั้งเดิมของจีนเฉียน หมายถึง สวรรค์ และคุน หมายถึง แผ่นดิน ดังนั้นจึงมีนัยว่า ตำหนักเฉียนชิงเป็นตำหนักบรรทมของจักรพรรดิ และตำหนักคุนหนิงเป็นตำหนักบรรทมของพระมเหสี

    ตำหนักเฉียนชิง เป็นที่ประทับของจักรพรรดิและปฏิบัติพระราชกรณีกิจส่วนพระองค์ มาตั้งแต่สมัยราชวงศ์หมิง ต่อมาสมัยจักรพรรดิหย่งเจิ้งแห่งราชวงศ์ชิง ได้ทรงย้ายไปประทับที่ตำหนักหยังซิน ตำหนักเฉียนชิงจึงมีบทบาทในฐานะที่เป็นตำหนักสำหรับว่าราชการและเป็นที่จัดเลี้ยงแทน

    เหนือตำหนักเฉียนชิงขึ้นไปเป็นตำหนักเจียวไท่ สร้างในสมัยหมิง มีลักษณะเป็นทรงเหลี่ยม เนื้อที่ไม่ใหญ่มากนัก ใช้เป็นสถานที่เข้าเฝ้าพระมเหสี ในการถวายพระพรในพิธีการต่างๆ ทั้งยังเป็นที่เก็บรักษาตราลัญจกรซึ่งใช้ประทับลงหนังสือราชการของจักรพรรดิ ส่วนตำหนักคุนหนิง เป็นที่ประทับพักผ่อนของพระมเหสีในสมัยหมิง ต่อมาในสมัยชิงได้ใช้เป็นที่บูชาเทพเจ้า

    ด้านเหนือของตำหนักคุนหนิง เป็นที่ตั้งของอุทยานหลวง สร้างในรัชสมัยหย่งเล่อแห่งราชวงศ์หมิง ในเวลานั้นเรียกเพียง สวนหลังวัง เป็นการผสมผสานที่ลงตัวระหว่างความมีชีวิตชีวาตามแบบฉบับสวนสามัญชน แต่กว้างขวางโอ่อ่าตามแบบฉบับอุทยานในราชสำนัก มีความยาว 130 กว่าเมตร กว้าง 90 เมตร ภายในสวนประกอบด้วยหอน้อยใหญ่กว่า 20 หอ และสิ่งปลูกสร้างต่างๆที่จัดตั้งหันหน้าเข้าหากันเป็นแนว

    ตำหนักที่สำคัญมากอีกตำหนักหนึ่งของพระราชวังต้องห้าม เพราะเป็นห้องบรรทมของจักรพรรดิหย่งเจิ้งและจักรพรรดิองค์ต่อๆมาในราชวงศ์ชิง ตั้งอยู่เป็นเอกเทศจากตำหนักอื่นๆ ทางด้านใต้ของทางเดินด้านตะวันตกภายในพระราชวัง นั่นคือ ตำหนักหยังซิน

    ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น