คืนค่าการตั้งค่าทั้งหมด
คุณแน่ใจว่าต้องการคืนค่าการตั้งค่าทั้งหมด ?
ลำดับตอนที่ #26 : นวัตกรรมใหม่
นวัตกรรมใหม่
เมื่อปี 2528 ทัณฑสถานโรงพยาบาลฯ เริ่มมีคอมพิวเตอร์ใช้เป็นครั้งแรก โดยใช้เก็บข้อมูลเกี่ยวกับผู้ต้องขัง ต่อมาก็ใช้ในการเชื่อมต่อกับห้องสมุดของคณะแพทย์ศาสตร์ จุฬาฯ เพื่ออ่านหนังสือในห้องสมุดผ่านทางคู่สายโทรศัพท์ ซึ่งค่อนข้างทุลักทุเล เนื่องจากมีคู่สายโทรศัพท์ภายนอกอยู่เพียง 2 คู่สายเท่านั้น (ปัจจุบันนี้ คู่สายภายนอกที่มีอยู่ 40 คู่สายก็ยังไม่ค่อยจะพอใช้) เจ้าหน้าที่ของทัณฑสถานโรงพยาบาลฯก็ฝันว่าอีกไม่นาน คงได้ใช้คอมพิวเตอร์เก็บข้อมูลแทนการใช้กระดาษ แต่แผนพัฒนานวัตกรรมทางด้าน ไอที ก็ทำได้ยากมาก เพราะคอมพิวเตอร์ของทัณฑสถานโรงพยาบาลฯเมื่อ 20 ปีก่อนนั้น ไม่มี ฮาร์ดดิสก์ และทำงานช้าเหมือนเต่า
ต่อมาในปี
2544 ทัณฑสถานโรงพยาบาลฯได้รับงบประมาณ 410 ล้านบาท ในการก่อสร้างอาคารผู้ป่วยใหม่ นวัตกรรมต่างๆก็ได้ถูกนำมาใช้ในการควบคุมและบำบัดรักษาผู้ต้องขัง เริ่มตั้งแต่ระบบกล้องทีวีวงจรปิดมูลค่า 35 ล้านบาทที่ใช้ในการเฝ้าระวังผู้ต้องขัง 500 คนที่อยู่ในอาคาร 9 ชั้น กล้องทีวีวงจรปิดคุณภาพสูงที่ติดตั้งอยู่ในตัวอาคารเป็นกล้องระดับมืออาชีพที่ใช้กันอยู่ตามบ่อนคาสิโนในลาสเวกัส (ซึ่งต้องการให้ผู้ควบคุมบ่อนคาสิโนสามารถซูมดูการโกงไพ่ ของลูกค้าได้) กล้องกว่าร้อยตัวที่ว่านี้ทำให้เจ้าหน้าที่ของทัณฑสถานโรงพยาบาลฯสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการพัฒนานวัตกรรมด้านTele-medicine ได้เป็นอย่างดี โดยการเชื่อมต่อระบบกล้องทีวีวงจรปิดเข้ากับระบบ Internet ทำให้แพทย์สามารถควบคุมกล้องทุกตัวในทัณฑสถานได้จากบ้านพัก (หรือจากที่ใดๆในโลกก็ได้ ที่มี Internet ใช้)
สำนักงานไร้กระดาษ
??สิ่งที่บุคลากรด้าน ไอ ที ทุกคนอยากเห็นก็คือการลดจำนวนกระดาษที่ใช้ในสำนักงานให้เหลือน้อยที่สุด ระบบเวช-ระเบียนอิเลคโทรนิค (Electronic Medical Record) ก็เป็นสิ่งที่เจ้าหน้าที่โรงพยาบาลทุกคนอยากได้ เพื่อกำจัดปัญหาเอกสารจำนวนมหาศาลในโรงพยาบาลออกไปและช่วยแก้ปัญหาเอกสารคั่งค้างหรือสูญหายอยู่ตามหน่วยงานต่างๆของโรงพยาบาล เริ่มต้นที่ระบบ เอกซ์เรย์ดิจิตอล ซึ่งจะทำให้แผนกเอกซ์เรย์ของทัณฑสถานโรงพยาบาลฯกลายเป็นแผนกเอกซ์เรย์ที่ไม่ต้องพึ่งฟิล์มเอกซ์เรย์และน้ำยาล้างฟิล์มอีกต่อไป งบลงทุน 8 ล้านบาทสำหรับระบบเอกซ์เรย์นี้ใช้เวลาไม่นานก็คุ้มทุน (ไม่เชื่อลองถามช่างภาพมืออาชีพที่ทิ้งกล้องถ่ายภาพที่ใช้ฟิล์มแล้วหันมาใช้กล้องดิจิตอลดูก็ได้ครับ)
การเตรียมฮาร์ดแวร์และระบบเครือข่าย
ระบบเครือข่ายของทัณฑสถานโรงพยาบาลฯ ค่อนข้างสลับซับซ้อนเพราะจำเป็นต้องสามารถรองรับข้อมูลจำนวนมหาศาลได้โดยระบบไม่ล่ม ข้อมูลที่ถูกส่งผ่านไปในเครือข่ายมีทั้งข้อมูลเอกสารที่เป็น
Text file ทุกประเภท ข้อมูลที่เป็น Graphic file ขนาดเล็ก (เอกสารที่ได้จากการสแกน) และขนาดใหญ่ (ภาพฟิล์มเอกซ์เรย์ดิจิตอล) ตลอดจน Video file ของระบบทีวีวงจรปิด ดังนั้น ระบบ LAN แบบ Gigabit จึงถูกเลือกนำมาใช้ ถึงแม้จะต้องลงทุนค่อนข้างสูง
การจัดหาซอฟแวร์
Electronic Medical Recordธันวาคม
2548 เป็นวัน ดีเดย์ที่ทัณฑสถานโรงพยาบาลราชทัณฑ์เริ่มนำระบบเวชระเบียนอิเลคโทรนิคมาใช้ เป็นเฟสแรก ซึ่งถ้าดำเนินการเต็มรูปแบบ ก็จะช่วยประหยัดแรงงานของเจ้าหน้าที่ลงได้มาก การไหลเวียนของข้อมูล ผู้ต้องขังป่วยระหว่างหน่วยงานต่างๆ เช่น ห้องตรวจผู้ป่วย ห้องทันต-กรรม ห้องตรวจชันสูตร ห้องผ่าตัด หอผู้ป่วย ฯลฯ ก็จะดำเนินไปอย่าง เป็นระบบ โอกาสสูญหายของข้อมูลก็น้อยลง ความจำเป็นในการประกาศทำลายเอกสารการรักษาผู้ป่วยก็หมดไปแพทย์ของทัณฑสถานฯ (รวมทั้งแพทย์ที่ปรึกษา)ก็ทำงานสะดวก เพราะสามารสืบค้นข้อมูลของผู้ป่วยได้โดยผ่านทาง Internet ได้อย่างง่ายดาย
การเตรียมบุคลากร
เป็นงานที่ยากที่สุดในการพัฒนาระบบเทคโนโลยีสารสนเทศของทัณฑสถานโรงพยาบาลเพราะเจ้าหน้าที่มีพื้นฐานความรู้ทางด้านนี้ไม่เท่ากัน และบางส่วนต้องใช้เวลาในการปรับตัวให้ยอมรับนวัตกรรมใหม่ๆเหล่านี้ ทัณฑสถานฯจำเป็นต้องวางแผนส่งบุคลากรไปรับการฝึกอบรมเพื่อให้สามารถทำหน้าที่เป็นผู้บริหารระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ได้ นอกจากนี้ ยังต้องจัดการฝึกอบรมภายในสถานที่หลายสิบครั้ง มีการอบรมทั้งกลุ่มใหญ่ กลุ่มย่อยและเป็นรายบุคคล เจ้าหน้าที่กลุ่มงานไอทีต้องทำงานกันหามรุ่งหามค่ำเพื่อคอยให้บริการและแก้ไขปัญหาต่างๆที่เกิดขึ้นในระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ของทัณฑสถานโรงพยาบาลฯ
ผลที่ได้รับจากนวัตกรรม
1.
ปัญหาเรื่องฟิล์มเอกซ์เรย์และเวชระเบียนซึ่งกองเป็นภูเขาอยู่ในห้องต่างๆจะหมดไป การค้นหาและเรียกดูข้อมูลเอกซ์เรย์และข้อมูลผู้ป่วยจะง่ายดายแค่ใช้เม้าส์คลิก2. ปัญหาเอกสารสูญหายและการรอใช้เอกสารจะไม่เกิดขึ้นเพราะเอกสารจะไม่ได้มีเพียงชุดเดียวอีกต่อไป เจ้าหน้าที่ไม่จำกัดจำนวน ห้องเก็บฟิล์มเอกซ์เรย์ในทัณฑสถานฯ สามารถเรียกดูเอกสารเรื่องเดียวกันในเวลาเดียวกันได้ 3. ระบบ "เครือข่ายรองเท้าแตะ" คืออาศัยผู้ต้องขังทำหน้าที่เดินเอกสาร เช่น นำเวชระเบียนจากห้องตรวจไปส่งห้องยา นำฟิล์มเอกซ์เรย์จากหอผู้ป่วยไปส่งที่ห้องผ่าตัด ฯลฯ จะไม่มีให้เห็นอีก
4. ภาระงานของเจ้าหน้าที่ทุกคนจะลดลง โดยเฉพาะอย่างยิ่งการรวบรวมสถิติ การจัดทำรายงาน การจัดเก็บเอกสาร ฯลฯ
5. ความสะดวกในการเข้าสืบค้นเอกสารทุกประเภทจากจุดใดๆในทัณฑสถานโดยผ่านระบบ LAN และจากที่ใดๆในโลกโดยผ่านระบบ
ความคิดเห็น