ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    การนับเทียบศักราชและการแบ่งยุคสมัยทางประวัติศาสตร์

    ลำดับตอนที่ #1 : การนับ/เทียบ ศักราช

    • เนื้อหาตอนนี้เปิดให้อ่าน
    • 45.13K
      43
      10 ธ.ค. 54


    การนับและเทียบศักราช
    ศักราช หมายถึง อายุเวลาที่ตั้งขึ้นอย่างไม่เป็นทางการ โดยถึงเอาเหตุการณ์ใดเหตุการหนึ่งเป็นจุดเริ้มต้น แล้วนับเวลาเรียงต่อกันมา
    พุทธศักราช ( B.E.) คือ ช่วงกำหนดเวลาซึ่งกำหนดเอาปี ที่พระพุทธเจ้าเสด็จดับขันธปรินิพพาน 
    เป็นเบื้องต้นในการกำหนดนับ ใช้ย่อว่า พ.ศ. ( B.E.) เป็นศักราชที่พุทธศาสนิกชนกำหนดขึ้น เริ่มนับตั้งแต่พระพุทธเจ้าได้เสด็จดับขันธ์ปรินิพพานซึ่งแต่เดิมนับเอาวันเพ็ญเดือนหก เป็นวันเปลี่ยนศักราช ต่อมาเปลี่ยนแปลงให้ถือเอาวันที่ 1 เมษายนแทน ต่อมาในสมัยพระบาทสมเด็จพระอนันทมหิดล รัชกาลที่ 8 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เปลี่ยนวันขึ้นปีใหม่ โดยเริ่มนับตามแบบสากล คือ วันที่ 1 มกราคม ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2483.เป็นต้นมา


    มหาศักราช  ( Shaka  Era ) ย่อว่า ม.ศ. ผู้ตั้งคือ พระเจ้ากนิษกะ กษัตริย์ผู้ยิ่งใหญ่ของพวกกุษาณะ อันเป็นชนชาติที่เข้าไปครอบครองอินเดียทางตะวันตกเฉียงเหนือตั้งแต่ช่วงต้น พุทธศตวรรษที่ 6 เมื่อขึ้นเสวยราชย์แล้ว พระเจ้ากนิษกะได้ตั้งมหาศักราชขึ้นใน พ.ศ.622 
    มหาศักราช 1 ตรงกับ พ.ศ.622 มหาศักราชจึงน้อยกว่าพุทธศักราช 622-1 = 621 ปี  จึงใช้จำนวน 621 เป็นเกณฑ์ในการบวกลบ เพื่อเปลี่ยนศักราชระหว่างมหาศักราชกับพุทธศักราชคือ 
    ม.ศ = พ.ศ. - 621
                                                                              
          ไทยไม่ได้รับมหาศักราชจากอินเดียโดยตรง แต่รับจากเขมรซึ่งรับมาจากอินเดียอีกทอดหนึ่ง 
    มหาศักราช   ใช้ในการคำนวณทางโหราศาสตร์ และใช้ระบุเวลาในจารึก  ตำนาน  โดยเฉพาะที่ทำขึ้นก่อนสมัยสุโขทัยและในสมัยสุโขทัยการระบุมหาศักราชและจารึกในตำนาน  มักบอกเพียงว่าเป็นศักราชใดหรือศก คือ ปีใด ไม่ได้ใส่คำว่ามหาศักราชไว้อย่างชัดเจน เพราะสมัยนั้นมหาศักราชเพียงแต่เอ่ยว่าศักราชที่เท่าไรก็เป็นที่ทราบกันว่าปีที่เอ่ยถึงนั้นเป็น
    มหาศักราช  แต่เมื่อเวลาผ่านไปนานๆเข้า การใช้ศักราชเปลี่ยนแปลงไป คนชั้นหลังที่อ่านหลักฐานทางประวัติศาสตร์เหล่านั้นจึงอาจเกิดปัญหาไม่แน่ใจว่า ปีที่ระบุไว้ลอยๆนั้นเป็นศักราชแบบไหน 
     ทำให้ผู้อ่านใดมีความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับเรื่องราวหรือเหตุการณ์ที่กล่าวถึงและ รู้จักเปรียบเทียบตรวจสอบตามสมควรก็จะแก้ปัญหาดังกล่าวได้ เช่น  จารึกหลักที่ 1 หรือจารึกพ่อขุน-รามคำแหงมหาราช  ด้านที่ 4  มีข้อความกล่าวถึงกำเนิดตัวหนังสือไทยว่า
     
    “...เมื่อก่อนลายสือไทยนี้บ่มี  1205  ศกปีมะแม  พ่อขุนรามคำแหง
    หาใคร่ใจในใจแลใส่ลายสือไทยนี้  ลายสือไทยนี้จึงมีเพื่อขุนผู้นั้นใส่ไว้...”

        สมัยนั้นไทยใช้ทั้งมหาศักราชกับพุทธศักราช แต่พ่อขุนรามคำแหงมหาราช ครองราชย์อยู่ระหว่าง
    พ.ศ.1822-1841 เมื่อไม่ใช่พุทธศักราชก็น่าจะเป็นมหาศักราช การเทียบเปลี่ยน ม.ศ.1205เป็นพ.ศ.
    ได้ 1205 + 621 = พ.ศ.1826 ซึ่งอยู่ในช่วงรัชสมัยพ่อขุนรามคำแหงมหาราช
    จึงสรุปได้ว่า 1205 ศก คือ ม.ศ. 1205
     
    จุลศักราช (จ.ศ.) เป็นศักราชที่เริ่มเมื่อ พ.ศ. 1181 (ค.ศ. 638) นับรอบปีตั้งแต่ 16 - 15 เมษายน
    (ผู้กำหนดให้ใช้จุลศักราช คือ พระยากาฬวรรณดิศ เมื่อคราวประชุมกษัตริย์ในล้านนา) ที่ได้ทำการประชุมเหล่ากษัตริย์ทำการลบศักราชปีมหาศักราช แล้วตั้งจุลศักราชขึ้นมาแทน เดิมเข้าใจกันว่าเป็นศักราชของพม่า ปรากฏอยู่ตามตำราโหราศาสตร์ แต่ทว่าปีที่ตั้งจุลศักราชนั้น เป็นเวลาก่อนปีที่พระเจ้าอโนรธามังช่อจะประสูติ เมื่อ อโยธยารับศักราชนี้ไปใช้เลยเกิดความเชื่อกันว่าเป็นศักราชของชาวพม่า จุลศักราชถูกนำมาใช้แพร่หลายทั้งในอาณาจักรล้านนา อาณาจักรสุโขทัยสมัยหลัง และอาณาจักรอยุธยา
        ในสมัยของพระเจ้าปราสาททอง ทรงตัดปีจุลศักราชและใช้ปีศักราชจุฬามณีแทน เป็นผลทำให้ปีนักษัตรคลาดเคลื่อนไปสามปี ต่อมาจึงได้เปลี่ยนกลับไปใช้ปีจุลศักราชตามเดิม และตกทอดมาถึงปัจจุบัน
     การคำนวณปี พ.ศ. จาก จ.ศ. ปฏิทินไทย
    จ.ศ. + 1181
       ก็จะได้ปี พ.ศ. (เว้นแต่ในช่วงต้นปีตามปฏิทินสุริยคติที่ยังไม่เถลิงศกจุลศักราชใหม่) ในเอกสารโบราณของไทยจำนวนไม่น้อยนิยมอ้างเวลาโดยใช้จุลศักราชควบคู่กับปีนักษัตร หรือระบุเฉพาะเลขตัวท้ายของจุลศักราชและปีนักษัตรทำให้สามารถระบุปีได้ในช่วงกว้างถึงรอบละ 60 ปี
    การเรียกศกตามเลขท้ายปี
    ในระบบการเรียกศกตามเลขท้ายปีจุลศักราช นิยมเรียกด้วยศัพท์บาลี ดังนี้
                                                                  1. ปีจุลศักราชที่ลงท้ายเลข 1 เรียก "เอกศก"
                                                                  2. ปีจุลศักราชที่ลงท้ายเลข 2 เรียก "โทศก"
                                                                  3. ปีจุลศักราชที่ลงท้ายเลข 3 เรียก "ตรีศก"
                                                                  4. ปีจุลศักราชที่ลงท้ายเลข 4 เรียก "จัตวาศก"
                                                                  5. ปีจุลศักราชที่ลงท้ายเลข 5 เรียก "เบญจศก"
                                                                  6. ปีจุลศักราชที่ลงท้ายเลข 6 เรียก "ฉศก"
                                                                  7. ปีจุลศักราชที่ลงท้ายเลข 7 เรียก "สัปตศก"
                                                                  8. ปีจุลศักราชที่ลงท้ายเลข 8 เรียก "อัฐศก"
                                                                  9. ปีจุลศักราชที่ลงท้ายเลข 9 เรียก "นพศก"
                                                                  10. ปีจุลศักราชที่ลงท้ายเลข 0 เรียก "สัมฤทธิศก"
    รัตนโกสินทรศก ตัวย่อคือ ร.ศ. เป็นรูปแบบของศักราชบอกปีชนิดหนึ่ง ซึ่งเริ่มนับตั้งแต่ปีที่ก่อตั้งกรุงรัตนโกสินทร์เป็นปีแรก รัตนโกสินทรศกเริ่มมีการใช้ครั้งแรกเมื่อปี จุลศักราช 1250 (เทียบเท่า พ.ศ. 2431-2432) และวันเริ่มต้นปีคือวันที่ 1 เมษายน ซึ่งพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงกำหนดให้เป็นวันขึ้นปีใหม่และประกาศใช้รัตนโกสินทรศกอย่างเป็นทางการ จนกระทั่งในสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎ-เกล้าเจ้าอยู่หัวเล็งเห็นประโยชน์และสะดวกในการอ้างอิงในด้านประวัติศาสตร์ จึงได้มีการยกเลิก โดยมีประกาศไว้เมื่อวันที่ 21กุมภาพันธ์ รัตนโกสินทรศก 131 (เทียบเท่า พ.ศ. 2455) เป็นเวลาเพียง 23 ปี โดยหนังสือราชการทั้งหมดได้เปลี่ยนมาใช้พุทธศักราชแทนที่ แต่ยังคงให้ขึ้นปีใหม่ ในวันที่ 1 เมษายนเหมือนเดิม จนถึง พ.ศ.2484 จอมพล ป. พิบูลสงครามจึงเปลี่ยนวันขึ้นปีใหม่เป็นวันที่ 1 มกราคม
     
    วิธีแปลงพุทธศักราชเป็นรัตนโกสินทรศก ให้นำเลขปีของพุทธศักราชลบด้วย 2324 จะได้เลขปีของรัตนโกสินทรศก รัตนโกสินทรศกเริ่มนับเป็น 1 ตั้งแต่ พ.ศ. 2325 ดังนั้นจึงไม่มีรัตนโกสินทรศก 0

                                                                   ร.ศ. = พ.ศ. - 2324
    คริสต์ศักราช (Christian Era) คือ ปีที่ใช้อ้างอิง โดยเริ่มนับจากปีที่พระเยซูประสูติและมีอายุครบหนึ่งปีนับเป็น ค.ศ. 1 ซึ่งตรงกับปี พ.ศ.544ดังนั้นจำนวนปีคริสต์ศักราชจะห่างจากพุทธศักราช 543 ปี และใช้วันที่ 1 มกราคมของทุกปี เป็นวันเปลี่ยนศักราชใหม่ตัวย่อคือ ค.ศ. ภาษาอังกฤษคือ A.D. ย่อมาจาก Anno Domini ในภาษาละตินซึ่งแปลว่า ปีของพระผู้เป็นเจ้าเยซูคริสต์ปีก่อนคริสต์ศักราช จะใช้ตัวย่อ B.C. ซึ่งย่อมาจาก Before Christ แปลว่า ก่อนมีพระเยซูคริสต์ นิยมเขียนไว้หลังปี เช่น 100 ปีก่อนคริสต์ศักราช คือ 100 B.C. ปีคริสต์ศักราช สามารถใช้ A.D. วางก่อนหรือหลังปีก็ได้ เช่น A.D. 2003 หรือ 2003 A.D.
     
    .ศ .=พ.ศ. - 543
    ฮิจเราะห์ศักราช (ฮ.ศ.)ศักราชของอิสลามใช้คำว่าฮิจเราะห์ศักราช ใช้ตัวอักษรย่อว่าฮ.ศ.” คำว่า
    ฮิจเราะฮ์ หมายถึง “การอพยพ” คือ การอพยพของท่านนะบีมุฮัมมัด และบรรดามุสลิมจากเมืองมักกะห์สู่เมืองมะดีนะห์ หลังจากที่ท่านนะบีมุฮัมมัด ได้เสียชีวิต ท่านเคาะลีฟะฮ์อุมัร อิบนุคอฎฎ็อบ ผู้ปกครองอาณาจักรอิสลามคนที่สองต่อจากท่านอบูบักร์ ได้ปรึกษากันว่า อิสลามควรจะต้องมีการนับศักราชเพื่อใช้ในการกำหนดวัน เดือน ปี เช่นเดียวกับคริสตศักราช แต่การเริ่มศักราชของอิสลามจะเริ่มเมื่อใดนั้น ได้มีบรรดาอัครสาวกที่ใกล้ชิดของท่านนะบีมุฮัมมัด และบรรดาผู้นับถือศาสนาอิสลามในเวลานั้นเสนอแนวทางในการกำหนดศักราชอิสลาม 4 แนวทางด้วยกัน คือ
              1. เสนอให้ถือเอาปีเกิดของท่านนะบีมุฮัมมัด  เป็นปีเริ่มต้นศักราช
              2. เสนอให้ถือเอาปีที่ท่านนะบีมุฮัมมัด เริ่มเผยแพร่ศาสนาอิสลาม เป็นปีเริ่มต้นศักราช
              3. เสนอให้ถือเอาปีที่ท่านนะบีมุฮัมมัด อพยพจากเมืองมักกะห์สู่เมืองมะดีนะห์ เป็นปีเริ่มต้นศักราช
              4. เสนอให้ถือเอาปีที่ท่านนะบีมุฮัมมัด เสียชีวิต เป็นปีเริ่มต้น ศักราช
           ข้อสรุปในที่ประชุมได้มีมติให้ถือเอาปีที่ท่านนะบีมุฮัมมัด อพยพจากนครมักกะห์สู่นครมะดีนะห์ ซึ่งเป็นปีที่ท่านนะบีมุฮัมมัด ถูกชาวนครมักกะห์ที่เคารพบูชาเจว็ด และสิ่งงมงายต่างๆ มุ่งหวังจะเอาชีวิต และเมื่ออพยพสู่นครมะดีนะห์นั้น ชาวเมืองมะดีนะห์ได้ให้การต้อนรับเป็นอย่างดี พร้อมทั้งเข้ารับนับถือศาสนาอิสลามเป็นจำนวนมากและเป็นปีที่มีความสำคัญในการเริ่มแผ่ขยายการเผยแพร่ศาสนาอิสลามจนประสบกับความสำเร็จในเวลาต่อมา จึงเริ่มต้นนับศักราชของอิสลามตั้งแต่ปีที่ท่านนะบีมุฮัมมัด  และบรรดามุสลิมได้อพยพจากมักกะห์สู่มะดีนะห์ คือ ฮิจเราะห์ศักราช (ฮ.ศ.) นับแต่นั้นเป็นต้นมา 
          ปัจจุบันมีผู้นับถือศาสนาอิสลาม หรือที่เรียกว่ามุสลิมอยู่ทั่วโลกไม่น้อยกว่า ๑,๘๐๐ ล้านคน ปีเริ่มต้นของศักราชอิสลามตรงกับวันที่ 6 กรกฎาคม ค.ศ. 622
    วิธีการคำนวณฮิจเราะห์ศักราช โดย
    ฮ.ศ. = พ.ศ. - 1122  
    พุทธศักราชและคริสต์ศักราช
    ในสมัยก่อนปฏิทินสุริยคติไทยและปฏิทินสุริยคติสากล นับเดือนที่เปลี่ยนศักราชไม่เหมือนกัน กล่าวคือ ไทยจะเปลี่ยนศักราชในวันที่ 1 เมษายน ในขณะที่สากลจะเปลี่ยนในวันที่ 1 มกราคม
    ทำให้พุทธศักราชและคริสต์ศักราชคาบเกี่ยวกัน โดยที่สามเดือนแรกในคริสต์ศักราช (มกราคม กุมภาพันธ์ มีนาคม) จะตรงกับพุทธศักราชก่อนหน้า เช่น ค.ศ. 1900 สามเดือนแรกจะตรงกับ พ.ศ. 2442 และเดือนอื่นๆ จะตรงกับ พ.ศ. 2443
    การเปรียบเทียบศักราชสามารถกระทำได้ง่ายๆ โดยนำตัวเลขผลต่างของอายุศักราช
    แต่ละศักราชมาบวกหรือลบศักราขที่เราต้องการ ตามหลักเกณฑ์ ดังนี้
     *ม.ศ. + 621 = พ.ศ. *จ.ศ. + 1181 = พ.ศ. *ร.ศ. + 2324 = พ.ศ. *ค.ศ. + 543 = พ.ศ. *ฮ.ศ. + 1164 = พ.ศ.
                   
    การนับศักราชแบบต่างๆ ในบางครั้งบางเหตุการณ์ก็ไม่ได้ระบุความชัดเจนไว้ แต่อาจกล่าวการนับเวลาอย่างกว้างๆ ไว้ ซึ่งนิยมเรียกกันใน 3 รูปแบบ ดังนี้
    ทศวรรษ (decade) คือ รอบ 10 ปี นับจากศักราชที่ลงท้ายด้วย 1 ไปจนถึงศักราชที่ลงท้ายด้วย 0
    เช่น ทศวรรษที่ 1990 ตามคริสต์ศักราช หมายถึง ค.ศ.1991-2000
    ศตวรรษ (century) คือ รอบ 100ปี นับจากศักราชที่ลงท้าย 1 ไปจนครบ 100ปีในศักราชที่ลงท้ายด้วย 00
    เช่น พุทธศตวรรษที่ 26 คือ พ.ศ.2501 - 2600
    สหัสวรรษ (millennium) คือ รอบ 1000 ปี ศักราชที่ครบแต่ละสหัสวรรษจะลงท้ายด้วย 000
    เช่น สหัสวรรษที่ 2 นับตามพุทธศักราช คือ พ.ศ. 1001-2000
    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    นิยายที่ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×