ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    เนื้อหารายงาน การผ่าตัด

    ลำดับตอนที่ #14 : การขับเสมหะ

    • เนื้อหาตอนนี้เปิดให้อ่าน
    • 1.11K
      1
      10 ส.ค. 51

    การขับเสมหะออกจากปอดและหลอดลม
      
     
    ด้วยความปรารถนาดีจาก
    เสริมศรี  สันตติ
    โครงการส่งเสริมฟื้นฟูสมรรถภาพปอดเด็ก
    คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบด
    โทร. 201-1727

    ต้องอาศัยองค์ประกอบต่อไปนี้

    1. การจัดท่าผู้ป่วย (Postural drainage)
    2. การเคาะ (Percussion)
    3. การสั่นสะเทือน (Vibration)
    4. การไออย่างมีประสิทธิภาพ (Effective cough)

    หลักการทั่วไปในการเคาะปอด

    1. การจัดท่าเพื่อระบายเสมหะ เป็นวิธีการที่อาศัยแรง        โน้มถ่วงของโลก (gravity) เป็นหลัก  โดยจัดให้ส่วนของปอดที่ต้องการระบายอยู่เหนือกว่าหลอดลมและปาก     ทำให้เสมหะไหลออกจากหลอดลมเล็กสู่หลอดลมใหญ่  และถูกขับออกโดยกระตุ้นให้ผู้ป่วยไอและบ้วนเสมหะ
    2. 2.การเคาะ (Percussion) ใช้อุ้งมือไม่ควรใช้ฝ่ามือ  โดยทำมือให้เป็นลักษณะคุ้ม นิ้วแต่ละนิ้วชิดกันที่เรียกว่า cupped hand เคาะบริเวณทรวงอกส่วนที่ได้รับการจัดท่า
    3. ใช้ผ้ารองบนส่วนที่จะเคาะ
    4. การเคาะแต่ละท่าควรใช้เวลาประมาณ 1 นาที
    5. ขณะเคาะหากผู้ป่วยไอควรหยุดเคาะให้ใช้การสั่นสะเทือนแทนโดยใช้มือวางราบพร้อมทั้งเกร็งกล้ามเนื้อบริเวณต้นแขนและหัวไหล่ ในจังหวะการหายใจเข้า     เต็มที่และกำลังหายใจออก
    6. ฝึกการไอให้มีประสิทธิภาพ โดยให้ผู้ป่วยหายใจเข้าเต็มที่ช้า ๆ  กลั้นไว้สักครู่  และไอออกมาโดยเร็วและแรง
    7. ควรเคาะก่อนรับประทานอาหารหรือขณะท้องว่าง หรืออย่างน้อย 2 ชั่วโมง หลังรับประทานอาหาร เพื่อป้องกันการสำลักและอาเจียน

    ท่าต่าง ๆ ที่ใช้ในการระบายเสมหะออกจากปอดและหลอดลม

    ปอดส่วนบน(Upper lobes)

     รูปที่ 1    ปอดส่วนบนด้านยอด (Apical segment)
    นั่งตัวตรงเอนไปด้านหลังประมาณ 30O  เคาะบริเวณหัวไหล่ระหว่างกระดูกต้นคอ และกระดูกสะบัก

     รูปที่ 2   ปอดส่วนบนด้านหลัง (Posterior segment)
    นั่งตัวตรงเอนไปด้านหน้าประมาณ 30O  ใช้หมอนรองสอดไว้ใต้ท้อง  เคาะและสั่นสะเทือนบริเวณบ่าด้านหลัง

    รูปที่ 3   ปอดส่วนบนด้านหน้า (Anterior segment)
    ให้ผู้ป่วยนอนหงายราบ ใช้หมอนสอดใต้เข่าเพื่อให้      ผู้ป่วยอยู่ในท่าสบาย เคาะบริเวณหน้าอกด้านหน้า    ช่วงบนทั้ง 2 ข้าง

     รูปที่ 4      ปอดส่วนบนด้านซ้าย (lingular segment)
    จัดเตียงผู้ป่วยให้ยกส่วนปลายสูง 14 นิ้ว หรือ 15O ให้  ผู้ป่วยนอนตะแคงทับด้านขวา โดยเอนไปด้านหลังประมาณ ?   ใช้หมอนรองส่วนหลังบริเวณหัวไหล่จนถึงสะโพก  งอเข่าเล็กน้อย  เคาะบริเวณราวนมด้านซ้าย


    ปอดส่วนกลาง (Middle lobes)

    รูปที่ 5     ปอดส่วนกลางด้านขวา (Right middle lobes)
    จัดเตียงผู้ป่วยให้ยกส่วนปลายสูงจากพื้น 14 นิ้ว หรือ 15O ให้ผู้ป่วยนอนตะแคงหันด้านหน้าและเอาหน้าอกด้านขวาขึ้น เอนไปด้านหลัง ? ใช้หมอนสอดบริเวณหัวไหล่ถึงบริเวณสะโพก  งอเข่าทั้ง 2 ข้างเล็กน้อย เคาะบริเวณราวนมด้านขวา

    รูปที่ 6  ปอดส่วนล่างด้านหน้า (Anterior basal segment)
    จัดเตียงผู้ป่วยให้ส่วนปลายสูงจากพื้น 18 นิ้ว หรือ 30O โดยให้ผู้ป่วยตะแคงศีรษะต่ำ มีหมอนหนุนบริเวณเข่า (ในรูปเป็นการระบายเสมหะจากปอดข้างซ้าย ถ้าต้องการระบายจากปอดด้านขวาให้นอนทับซ้าย และเอาหน้าอกด้านขวาขึ้น) เคาะหน้าอกด้านซ้ายบริเวณซี่โครงด้านล่าง

     

    รูปที่ 7    ปอดส่วนล่างด้านข้าง (Lateral basal segment)
    จัดเตียงผู้ป่วยให้ส่วนปลายสูงจากพื้น 18 นิ้ว หรือ 30O จัดให้ผู้ป่วยนอนคว่ำ  ศีรษะต่ำ  จากนั้นเอนขึ้นมา ? ให้หมอนรองสอดบริเวณต้นขาโดยให้ขางอเล็กน้อย เคาะบริเวณชายโครงส่วนล่างค่อนมาทางด้านข้าง

    รูปที่ 8   ปอดส่วนล่างด้านหลัง (Posterior basal segment)
    จัดเตียงให้ส่วนปลายสูงจากพื้น 18 นิ้ว หรือ 30O  ให้ผู้ป่วยนอนคว่ำศีรษะต่ำ  ให้หมอนรองบริเวณสะโพก  เคาะบริเวณ ซี่โครงซี่สุดท้ายใกล้กับกระดูกสันหลังทั้ง  2 ข้าง

    รูปที่ 9   ปอดส่วนล่างด้านบน (Superior segment)
    ให้ผู้ป่วยนอนคว่ำใช้หมอน 2 ใบ  รองบริเวณสะโพก  เคาะและสั่นสะเทือนบริเวณกลางหลังตรงส่วนต้นของกระดูกสะบักทั้ง 2 ข้าง

     
     
    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    นิยายที่ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×