วงปี่พาทย์บัวลอย
ประวัติความเป็นมาของวงปี่พาทย์บัวลอย... พิธีกรรมที่ใช้วงปี่พาทย์บัวลอยในการบรรเลง มีคำตอบค่ะ!!
ผู้เข้าชมรวม
2,919
ผู้เข้าชมเดือนนี้
3
ผู้เข้าชมรวม
เนื้อเรื่อง
คุณแน่ใจว่าต้องการคืนค่าการตั้งค่าทั้งหมด ?
วงปี่พาทย์บัวลอย
วงปี่พาทย์บัวลอย ชื่อวงบัวลอย เรียกตามชื่อเพลงที่มักใช้เล่นประโคมยืนพื้นในการประโคมศพ เพลงบัวลอย และบ้างก็เรียกตามชื่อเครื่องดนตรีที่ใช้
เครื่องดนตรีประกอบด้วย 1.ปี่ชวา 2.กลองมลายู 2 ลูก และฆ้องเหม่ง เรียกว่า วงปี่กลองมลายู
(ฆ้องเหม่ง เป็นฆ้องขนาดเล็ก หล่อด้วยโลหะหนาเกือบ 1 เซนติเมตร
มีเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 19 เซนติเมตร ใช้ไม้เนื้ออ่อนตี)
ลักษณะเด่นของวงปี่พาทย์บัวลอย
มีเอกลักษณ์ของเสียงที่มีเครื่องดำเนินทำนองเพียงอย่างเดียวคือ ปี่ชวา ซึ่งมีเสียงที่เล็กแหลมและดังโหยหวนมาก และฆ้องเหม่งมีเสียงสะเทือน สมัยก่อนใช้กลองมลายูถึง 2 คู่ คือ กลอง 4 ใบนั้นเอง แต่ตอนหลังเมื่อนำมาใช้ในงานประโคมศพบุคคลธรรมดา จึงลดลงเหลือคู่เดียว ปัจจุบันนำกลองแขกมาใช้แทนกลองมลายูเพราะกลองมลายูหายาก
เป็นวงที่มีระเบียบและวิธีการบรรเลงเพลงค่อนข้างตายตัว คือ เพลงที่ใช้บรรเลงในวงปี่พาทย์บัวลอย มีดังนี้
1.เพลงบัวลอย 2.นางหน่าย 3.กระดี้รี 4.นางหงส์ 5.หกขะเมน 6.ไต่ลวด เพลงเหล่านี้ใช้ประโคมศพในเวลาทั่วไป แต่ถ้ามีผู้อยากฟังเพลงอื่น ก็สามารถเล่นแทรกในระหว่างเวลาพระสวดจบเป็นคราวๆ ไปได้
เพลงที่ใช้ประโคมเวลาเผามีดังนี้
1.เพลงทุบมะพร้าว 2.แร้งกระพือปีก 3.กาจับปากโลง 4.ชักฟืนสามดุ้น 5.ไฟชุม แต่เวลาจุดไฟ ใช้เพลงบัวลอยการบรรเลงจะแทรกเพลงอื่นก็ได้ ห้ามเฉพาะแต่เพลงมงคล เช่น เพลงมหาฤกษ์ มหาชัย เทวาประสิทธิ์ เป็นต้น
ด้วยความเชื่อเรื่องอัปมงคล เพลงบัวลอยมักเรียนกันในขอบเขตวัด ไม่ให้เป่าฝึกซ้อมกันพร่ำเพรื่อ จึงเป็นเพลงที่สืบทอดอยู่ค่อนข้างจำกัด
ลักษณะเด่นเรื่องช่วงเวลาในการใช้วงบัวลอยประโคมศพได้มีระบุไว้ พระยาอนุมานราชธน ได้ค้นคว้าเพื่อนำกราบทูล สมเด็จฯกรมพระยานริศรานุวัติวงศ์ เมื่อวันที่ 7 มีนาคม 2482 ว่า
"..ครั้งโบราณกาล ประโคมศพ ใช้ กลองมลายู 2 คู่ ปี่ 1 และฆ้องเหม่ง 1 เรียกว่า "กลองสี่ปี่หนึ่ง" ประโคมเพลงบัวลอยเป็นระยะทุกยามตลอดรุ่ง เดี๋ยวนี้เล่นเพียงช่วง 2 ยาม ประโคมอีกครั้งเมื่อย่ำรุ่ง"
(สองยาม หมายถึง เวลาเที่ยงคืน)
การใช้ฆ้องเหม่งเป็นเครื่องประกอบจังหวะในวงบัวลอย อาจถือเป็นลักษณะเด่นอย่างหนึ่ง เพราะไม่ใช้ฆ้องเหม่งตีแบบเดี่ยวๆ ให้จังหวะยืนพื้นกับวงชนิดอื่นๆ
อย่างเช่นภายหลัง ที่มีการนำวงบัวลอยมาประกอบเข้ากับวงปี่พาทย์ไม้แข็ง กลายเป็นวงดนตรีที่เรียกว่า "วงปี่พาทย์นางหงส์" นั้น ก็จะตัดเหม่งออกและใช้โหม่งแทน
การใช้วงบัวลอยประโคมศพโดยเฉพาะในช่วงการประชุมเพลิง บ้างเรียกว่า ตีบัวลอย ปัจจุบันนี้ไม่ค่อยมีให้พบเห็น อาจเพราะฟังแล้ววังเวงมากไป โดยเฉพาะยามค่ำคืน ทำให้เดี๋ยวนี้นิยมหันไปใช้วงปี่พาทย์มอญเป็นส่วนใหญ่ และเหตุที่หันมานิยมวงปี่พาทย์มอญ อาจเป็นเพราะว่า ครั้งหนึ่งในสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เคยยกย่องว่า "งานศพใด ที่มีวงปี่พาทย์มอญบรรเลง ถือว่าเป็นศพผู้ดี"
บรรณานุกรม
เนื้อหาวงปี่พาทย์บัวลอย
http://p-i-e.exteen.com/20071121/entry?n=y
รูปภาพวงปี่พาทย์บัวลอย
http://www.patakorn.com/modules.php?name=News&file=article&sid=76
ผลงานอื่นๆ ของ Jeanettes ดูทั้งหมด
ผลงานอื่นๆ ของ Jeanettes
ความคิดเห็น