ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    สำนักพิมพ์ Hidego

    ลำดับตอนที่ #22 : วารสาร รายสัปดาห์ ฉบับที่ 22

    • เนื้อหานิยายตอนนี้เปิดให้อ่าน
    • 878
      0
      23 ก.พ. 57

    วารสาร Hidego รายสัปดาห์

    อาทิตย์ที่ 23 กุมภาพันธ์ 2557

    พบกันอีกครั้ง กับอาทิตย์ที่ 23 กุมภาพันธ์ 2557 กับวารสารฮิเดโกะฉบับที่ 22

    ฉบับที่ 22 แล้วเนอะ คงจะปิดเทอมกันแล้วจะไปเที่ยวไหนกันเอย . . . เด็ก ๆ มัธยมปลาย 6 คงจะเตรียมสอบเข้ามหาวิทยาลัยกันก็ พยายามเข้านะเด็ก ๆ บางคนก็ไปเรียนสายอาชีพระดับ ปวส หรืออนุปริญญานั้นเอง
               วารสารฉบับนี้จะพาไปดูอะไร คำศัพท์ ภาค ก 10 คำ และวันนี้ขนมหวานประจำสัปหาด์จะเป็นเค้กโพนี่สายรุ้ง - เค้กสายรุ้ง Rainbow Pony Cakeของวันเด็กแต่มันเลยมาแล้ว และมาดูโรงเรียนในประเทศญี่ปุ่นเป็นเช่นใด.? พอพูดถึงการ์ตูนญี่ปุ่นที่โด่งดัง นินจาจอมคาถา นารูโตะ เรามาดูกันวิถีชีวิตแห่งนินจากันดีกว่า กับเรื่องสุดท้ายของวารสารฉบับนี้ รู้หรือไม่!! วาซาบิช่วยป้องกันฟันพุ...?

    โรงเรียนในประเทศญี่ปุ่นเป็นเช่นนี้เอง
      โรงเรียนของญี่ปุ่น หรือ "กักโค" (学校) ถ้านับตามประเภทใหญ่ๆ ก็แบ่งได้เป็น
                     1. โรงเรียนอนุบาล หรือ โยจิเอ็ง 幼稚園 ซึ่งเป็นโรงเรียนเตรียมประถมนั่นเอง เราคงจำกันได้ ชินจัง เรียนโรงเรียนอนุบาล

                2. โรงเรียนประถม หรือ โชกักโค 小学校 เป็นโรงเรียนประถม โนบิตะ และเพื่อนๆ เรียนอยู่ระดับนี้

                3. โรงเรียนมัธยมต้น หรือ จูกักโค 中学校 โรงเรียนมัธยมต้น เรียน 3 ปี เหมือนบ้านเรา

                4. โรงเรียนเฉพาะทาง หรือ เซมมองกักโค 専門学校 คล้ายโรงเรียนอาชีวะบ้านเรา ส่วนใหญ่ใช้เวลาเรียนแค่ 2 ปี บางที่เรียน 3 ปี

                5. โรงเรียนมัธยมปลาย หรือ โคโค 高校 เป็นโรงเรียนมัธยมปลาย เรียน 3 ปี เช่นกัน

         นอกจากนี้ ยังมีโรงเรียนอื่นๆ ที่เรียก ผิดแปลกออกไปตามประเภทย่อยๆ อีกหลายอย่าง เช่น

                 1. โรงเรียนเตรียม จูคุ หรือ โยบิโค or 予備校 เป็นโรงเรียนที่เรียนเพื่อเตรียมเข้าระดับมหาลัย 

                2. โรงเรียนประถม - มัธยมต้น หรือ โชจูกักโค 小中学校 เป็นโรงเรียนที่มีระดับประถม และมัธยมต้นปนกัน

                3. โรงเรียนหญิงล้วน หรือ โจฉิกักโค 女子学校 เป็นโรงเรียนหญิงล้วน 

                4. โรงเรียนสำหรับผู้พิการ หรือ โยโงกักโค 養護学校 เป็นโรงเรียนที่อำนวยความสะดวกให้ผู้พิการ โดยแบ่งระดับการเรียนเหมือนกับโรงเรียนปกติทั่วไป

                5. อื่นๆ อีกมากมาย......

                สิ่งหนึ่งที่เหมือนบ้านเรา เวลานักเรียนไปเรียน " ไม่ขับรถไปเรียน" อาจเป็นเพราะ ยังไม่มีใบขับขี่ อีกทั้งไม่มีที่จอดรถ นักเรียน หรือ กักเซย์ซัง ( 学生 ) ทั้งหลายจะใช้การเดิน หรือไม่ก็ขี่จักรยานไปเรียน ใครบ้านใกล ก็ใช้บริการรถประจำทาง หรือไม่ก็รถไฟ ที่มีให้บริการ แม้ต้องต่อหลายต่อก็ไม่ท้อ...... 

     การมาโรงเรียนของนักเรียนญี่ปุ่น โดยเฉพาะในระดับ ม.ต้น จะมี คะแนนการเข้าเรียน หรือว่า ฉุดเซกิ ( 出席 ) ซึ่งคะแนนนี้ จะถูกนำไปรวมกับคะแนนทำเข้าสอบเพื่อเข้าเรียนระดับ ม.ปลาย ด้วย โรงเรียนของญี่ปุ่น เข้าเรียนตอน 8.30 น. ใครมาช้า ประตูโรงเรียนจะปิดจริงๆ ใครมาไม่ทันต้องไปรายงานตัว แล้วถูกตัดคะแนนในส่วนนี้

    โรงเรียนญี่ปุ่น แบ่งการเรียนการสอนออกเป็น 3 เทอม โดยแบ่งตามวันหยุดในช่วงฤดูต่างๆ ได้แก่

     

    ฤดูหนาว ฟุยุยาสุมิ (冬休み)

    ฤดูใบไม้ผลิ ฮารุยาสุมิ (春休み)

                ฤดูร้อน นัทสึ (夏休み

    รูป4

    ฤดูใบไม้ผลิ ถือเป็นฤดูแห่งการเริ่มต้นสิ่งใหม่ในเดือนสาม โรงเรียนต่างๆ ก็มักเปิดเรียนช่วงนี้ ......ใครดูการ์ตูนนักเรียนเดินไปเรียน มีดอกซากุระเยอะแยะ ก็หมายถึงฤดูแห่งการเปิดเรียนนั่นเอง ส่วนฤดูที่นักเรียนชอบที่สุดคงเป็นฤดูร้อน เพราะมีวันหยุดยาวประมาณสองเดือน......

    เครื่องแบบนักเรียนของญี่ปุ่น เป็นที่ขึ้นชื่อมานานด้านความน่ารัก น่าใส่ มาถึงตอนนี้ "ชิกะ" ก็บอกไม่ได้ว่า เครื่องแบบนักเรียนญี่ปุ่นมาจาก "การ์ตูน" หรือว่า "การ์ตูน" ลอกแบบมาจากชุดนักเรียนจริงๆ ชุดนักเรียนของญี่ปุ่นมีลักษณะต่างๆ กัน ไม่ว่าจะเป็นแบบ Sailor หรือ กะลาสีเรือหรือแบบธรรมดา แต่กระนั้น เครื่องแบบนักเรียนญี่ปุ่นก็ยังแบ่งย่อย เพื่อสวมใส่แยกตามฤดูอีกด้วย เช่น ฤดูร้อน ฤดูหนาว หรือ แบบธรรมดา..... ก็ใส่ไม่เหมือนกัน ยังกะ "พระแก้วมรกตบ้านเรา" -_- ดูยุ่งยาก แต่ว่าน่ารัก และมีประโยชน์ดี.. 

            เมื่อถึงโรงเรียน นักเรียนเกือบทุกโรงเรียน และทุกระดับ จะไป "เปลี่ยนรองเท้า" ที่ล๊อกเกอร์ซึ่งอยู่หน้าประตูก่อนเป็นอันดับแรก นี่เป็นคำถามแรกๆ ที่ผมถาม " ชิกะ " ว่ามันต้องทำแบบนี้จริงๆ หรือ เธอยืนยันว่าต้องทำ เพราะนอกจากป้องกันโรงเรียนจากความสกปรกแล้ว เวลาเดินตรงระเบียงทำให้ "ไม่มีเสียงดัง" เวลาเดินด้วย

                รองเท้าที่ว่าเป็นรองเท้าผ้าใบบางๆ สวมใส่สบายๆ บางโรงเรียนทำเป็นสีต่างๆ แยกกัน เช่น สีฟ้าของผู้ชาย ชมพูของผู้หญิง และมีชื่อเขียนไว้บนหัวรองเท้าทุกคู่.....ป้องกันการโฉบของพวกมือดี..

                ตอนเช้า ก่อนเรียนวิชาต่างๆ จะมี ครูประจำชั้น หรือ ทันนินเซ็นเซย์ (担任先生) มาโฮมรูมก่อน โดย หัวข้อการโฮมรูมคือ เช็คชื่อนักเรียน นอกจากนี้ ยังบอกข้อมูลคร่าวๆ ว่า โรงเรียนจะมีกิจกรรมอะไร นักเรียนต้องทำอะไร ซึ่งเป็นที่รับรู้รับทราบพร้อมกัน.....

                ระบบ "ครูประจำชั้น" กับ " นักเรียน " มีความสัมพันธ์กันมากในการเรียนของญี่ปุ่น โดยเฉพาะระดับ ม.ปลาย และ มหาลัย ต้องมีครูที่ปรึกษาเพื่อให้การเรียนต่อ....เป็นคนรับรองให้โรงเรียนส่วนใหญ่ไม่ค่อยมีโรงอาหาร จะมีเพียงร้านขายอาหารเล็กน้อยเท่านั้น โรงเรียนที่มีโรงอาหารส่วนใหญ่จะเป็นโรงเรียนใหญ่ และมีชื่อนิดหน่อย..... บางโรงเรียนจะมีการปรุงอาหารให้นักเรียน และมีบางคนที่เอา " เบนโต " 弁当 หรือ " ปิ่นโต " บ้านเรานี่แหละมาเอง โดยแยกไปกินตามห้องต่างๆ หรือไม่ก็สนาม หรือแม้แต่ " ดาดฟ้า " ดังที่เห็นทั่วๆ ไป

                เรื่องอื่นๆ เล็กน้อย พวกทำเวร และการเรียน เป็นเรื่องที่คล้ายกับการเรียนของบ้านเรา โดยมีกระทรวงศึกษาของญี่ปุ่นเป็นผู้ควบคุมหลักสูตร และออกแบบเรียนให้กับโรงเรียนทั่วไป

                คลับ และ ชมรม เป็นอีกเรื่องที่ "ไม่พูดถึง" ก็ขาดสีสันไปแน่นอน...... นักเรียนญี่ปุ่นในระดับมัธยมต้นขึ้นไป เกือบทุกคนจะเข้า "ชมรม" หรือ บุคัสซึ (部活) ของตัวเอง

                ชมรมของโรงเรียนในญี่ปุ่น แบ่งออกได้เป็น 3 ประเภทใหญ่ๆ ได้ ดังนี้....

                1. บุงคะบุ 文化部 เป็นชมรมเกี่ยวกับศิลปะวัฒนธรรม เช่น ชมรมชงชา ชมรมนิยายของโทโจ

                2. อุนโดบุ 運動部 เป็นชมรมกีฬาประเภทต่างๆ ไม่ว่า เบสบอลใน  หรือ ว่ายน้ำ ก็อยู่ในส่วนนี้เช่นกัน

              3. โดโคไก 同好会 ชมรมที่แยกประเภทออกมาอีกที ไม่ค่อยเข้าพวกเช่น ชมรมค้นคว้าเรื่องการ์ตูนและเกมส์  , ชมรมตอบปัญหา เป็นต้น

                ทุกปี ชมรม พวกนี้จะมีการจัดงานของตัวเองแยกกันอย่างเห็นได้ชัดเจน อย่างน้อยสองงาน ได้แก่

                งานบุงคะไซ 文化祭 หรือเป็นงานประจำปีของโรงเรียน ชมรมในกลุ่มก็จะมาร่วมกันจัดงานขึ้น แต่ละโรงเรียนจะมีการจัดไม่แน่นอนแล้วแต่โรงเรียน มีการออกร้าน เล่นเกมส์ของแต่ละชั้นปี

                งานอุนโดไก 運動会 เป็นการแข่งกีฬาประจำปี โดยแต่ละชมรมเป็นแม่งานจัด แล้วมีตัวแทนจากห้องต่างๆ เข้าร่วมการแข่ง....

                ทั้งสองงาน มีจุดเหมือนกันคือ แต่ละงานมีจะมีการโหวต มีการตัดสินว่าห้องใด หรือชมรมใด เป็นผู้ที่มีผลงานดีที่สุดในปีนั้นๆ รางวัลที่ได้รับก็เป็นใบประกาศเกียรติคุณ หรือถ้วยรางวัล ซึ่งถือเป็นสิ่งที่นักเรียนและครูอยากได้มามาก.....

                กิจกรรมที่สำคัญอีกอย่าง คือ " ทัศนศึกษา " เป็นกิจกรรมที่จัดขึ้นเพื่อพานักเรียนไปศึกษา หรือพูดตรงๆ มันก็คือ " ไปเที่ยว " ที่ต่างๆ เป็นประจำทุกปี มาถึงตรงนี้ผมยอมรับว่า " อิจฉา " นักเรียนญี่ปุ่นในใจลึกๆ เหมือนกัน เพราะเวลาเค้าจัดไปเที่ยว คือเค้าไปเที่ยวจริงๆ นักเรียนจะจ่ายค่า " ไปเที่ยว " เพียงนิดเดียว แต่ได้เที่ยว " คุ้มมาก "

                สถานที่ทั่วไปก็เช่น โรงเรียนแถบโตเกียว ก็จะพาไป เกียวโต แต่ถ้าเป็นเกียวโต ก็จะพาไป โตเกียว บางโรงเรียนก็โอกินาวา ซึ่งเป็นสถานที่ยอดนิยม และบางโรงเรียนก็จัดไปต่างประเทศก็มี เช่นทัวร์ยุโรป หรือ เมืองไทย โดยที่ค่าใช้จ่าย จ่ายในอัตรา 1:6 กล่าวคือ ถ้าค่าทัวร์จริงๆ 6 บาท ก็จ่ายเพียง บาทเดียว .... ยกตัวอย่างที่ไปเจอมา เค้าไปโอกินาวา สี่คืนห้าวัน ค้างโรงแรมอย่างดี นั่งเครื่องไป จ่ายเพียงคนละ ห้าพันบาทเท่านั้นเอง.......

                " เซมไป (先輩) โคไฮ (後輩) และ ทันนิน (担任) สายสัมพันธ์ที่แนบแน่น .......

                เซมไป คือ รุ่นพี่ โคไฮ คือ รุ่นน้อง ความสัมพันธ์อันนี้อยู่คู่กับสังคมญี่ปุ่นมานานแสนนาน คนญี่ปุ่นถูกปลูกฝังเรื่องนี้ตั้งแต่เข้าเรียน ถือเป็นระบบอุปถัมภ์ที่เป็นระบบแรกๆ ที่เด็กๆ ญี่ปุ่นทุกคนต้องรู้จักรองจากครอบครัว

                คนเป็นรุ่นพี่ จะทำตัวเป็นแบบอย่างของ " รุ่นน้อง" ส่วนรุ่นน้อง จะเคารพรุ่นพี่อย่าง "ที่สุด" ถึงแม้จะจบการศึกษา แต่คำว่า "เซมไป" และ "โคไฮ" ก็ยังถูกพูดติดปากเวลาได้กลับมาเจอกันใหม่... จะเห็นว่าในทุกสังคม ไม่เฉพาะในโรงเรียนจะพูดถึงคนที่มีประสบการ์มากกว่า อยู่มาก่อนว่า "เซมไป" ทั้งนั้น แต่ "เซมไป" จะไม่เรียกรุ่นน้องว่า "โคไฮ" นอกจากจะพูดถึงให้บุคคลที่สามฟัง......

                ทั้ง "เซมไป" และ "โคไฮ" จะถูกครอบงำโดย " ทันนิน" (พูดเหมือนการ์ตูนเวทย์มนต์...) "ทันนิน" หรือ " ครูประจำชั้น " มีหน้าที่ดูแล และปกครองนักเรียน ดังที่กล่าวไปในขั้นต้น.... นักเรียนจะต้องอยู่ในสายตาตลอดเวลา นักเรียนมีปัญหา " ทันนิน " จะคอยเป็นที่ปรึกษา หรือแม้แต่โทรตามตัวเวลานักเรียนไม่มาเรียน.... เกิดอะไรกับนักเรียน " ทันนิน " ต้องรับผิดชอบ...
                ดังนั้นความสัมพันธ์ระหว่างครู กับ นักเรียน ญี่ปุ่นจึงเป็นอะไรที่ "แนบแน่น" มาก
     


     
     

    นินจา

                นินจา (忍者) หรือ ชิโนบิ (忍び) (ความหมาย: "ผู้คงทน") ได้ชื่อว่าเป็นกลุ่มนักฆ่า หรือสปาย ในช่วงสมัยเปลี่ยนการปกครองของประเทศญี่ปุ่น โดยขณะเดียวกันนินจาได้ถูกเปรียบเทียบกับซามูไร ซึ่งซามูไรเปรียบเหมือนนักสู้ที่ต่อสู้เบื้องหน้า ขณะที่นินจาเป็นนักสู้ที่ต่อสู้เบื้องหลัง นอกจากนี้มีการกล่าวกันว่ากลุ่มคนบางคนเป็นทั้งนินจาและซามูไรพร้อมกัน ในปัจจุบันไม่มีร่องรอยของบุคคลที่เป็นนินจาหลงเหลือ เหลือเพียงแต่ซามูไร สำหรับนินจาหญิงจะเรียกว่า คุโนะอิจิ

                ประวัตินินจา เนื่องจากตามลักษณะของนินจาที่ได้ชื่อว่านินจาไม่เคยทิ้ง   ร่องรอยอะไรไว้รวมถึงไม่กล่าวคุยโวเกี่ยวกับผลงานของตัวเอง ซึ่งทำให้ผลงานหรือชีวประวัติของนินจาถูกเก็บไว้เป็นความลับ ซึ่งเป็นการยากที่จะหาข้อเท็จจริงเกี่ยวกับนินจา ในตำนานหนึ่งได้มีการกล่าวถึงมินาโมโตะ โนะ โยชิซึเนะ ว่าได้มีเทนงูมาสอนวิชามินาโมโตะ โนะ โยชิซึเนะเพื่อฝึกฝนเป็นนินจา โดยในประวัติศาสตร์ได้มีกล่าวไว้ว่ามีพระชาวจีนรูปหนึ่งมาสอนเกี่ยวกับตำราพิชัยสงครามให้ แก่มินาโมโตะ โนะ โยชิซึเนะ

                โทงะคุเระ ริวได้กล่าวถึงนินจาในช่วงปลายยุคเฮอัน ไว้ว่านินจา ได้แบ่งออก เป็น 2 ฝ่ายหลัก คือ อิงะ และโคงะ ได้ร่วมต่อสู้กัน ซึ่งในนิยายหรือการ์ตูนจะกล่าวถึงการต่อสู้ระหว่างสองฝ่ายนี้

             ในยุคคามะคุระ ได้มีประวัติศาสตร์กล่าวไว้ถึง คุสุโนะกิ มาซาชิเงะ ได้ใช้เทคนิคในการรบซึ่งมีลักษณะใกล้เคียงกับวิชานินจา ต่อมาในช่วง ยุคเซนโงกุ(หรือที่รู้จักกันว่าเป็นยุคสงคราม) ไดเมียวที่มีชื่อเสียงทุกคนมีนินจาอยู่ภายใต้การปกครองสำหรับการเป็นสปายแอบสืบข้อมูลของฝ่ายตรงข้าม ในยุคสงครามการรู้ข้อมูลและแผนการของฝ่ายข้าศึก จะทำให้มีชัยชนะเหนือกว่า ไดเมียวบางคนได้ถูกกล่าวว่าเป็นนินจาเอง ซานาดะ ยูคิมูระ หัวหน้ากลุ่มซานาดะ ได้ชื่อว่าเป็นกลุ่มนินจา หลังจากที่ซานาดะ ยูคิมูระนำกลุ่มทหารเพียง 3,000 คนปกป้องปราสาท สู้กับกองทัพ 50,000 คนของโทกุงาวะ ฮิเดทาดะ

                ในยุคเดียวกัน โทกุงาวะ อิเอยาสุ ได้มีการใช้นินจา จนท้ายที่สุดได้ชนะสงครามและตั้งตัวเป็นโชกุนของประเทศญี่ปุ่น มีการกล่าวถึงผลงานกลุ่มนินจา นำโดยฮัตโตริ ฮันโซ หัวหน้ากลุ่มนินจาฝ่ายอิงะ เป็นผู้นำทางให้อิเอยาสุหลบหนีออกมาในช่องเขานาระภายหลังจากที่ลอบโจมตีทัพของ โอดะ โนบุนากะ สงครามครั้งสุดท้ายที่มีการกล่าวถึงนินจา ในช่วงยุคของโชกุนโทกุงาวะ คือสงครามกลางเมืองที่ชิมาบาระ ของกลุ่มชาวนาที่โกรธแค้นฝ่ายรัฐบาลที่เรียกเก็บภาษีแพง เมื่อสิ้นสุดสงครามนินจาเริ่มหมดหน้าที่ โดยนินจาบางคนได้มาเป็นโอนิวะบันชู กลุ่มรักษาความปลอดภัยของปราสาทเอโดะ ทำหน้าที่ปกป้องผู้ร้ายและขณะเดียวกันก็แอบสืบข้อมูลของไดเมียวคนอื่น นินจาคนอื่นจะเก็บตัวปลอมปนกับชาวนาโดยยังคงฝึกฝนตัวเองอยู่ตลอดเวลาเพื่อพร้อมที่จะได้ใช้วิชานินจาที่อาจจะมีสงครามเกิดขึ้น ในช่วงยุค 200 ปีหลังจากของตระกูลโทกุงาวะ ไม่มีเหตุการณ์รุนแรงใดเกิดขึ้น ทำให้ไม่มีการสืบต่อวิชานินจา โดยมีการสืบต่อผ่านทางปากต่อปากและคนสนิทเท่านั้น

                ในยุคเอโดะ นินจาได้เป็นที่นิยมในหนังสือและการแสดง วิชานินจาต่างๆ รวมทั้ง การล่องหน การกระโดดสูง การท่องมนต์นินจา และการเรียกกบยักษ์มาช่วยต่อสู้ ถูกสร้างขึ้นในยุคนี้สำหรับใช้ประกอบในการแสดง เพื่อความบันเทิง


     

    รู้หรือไม่!!! วาซาบิช่วยปกป้องกันฟันพุจริงหรือ???

                หลายคนคงจะเคยลองลิ้มชิมรสกับอาหารญี่ปุ่นกันบ้างแล้ว และหลายคนก็คงจะได้ลองสัมผัสกับความฉุนของเจ้า "วาซาบิ" ที่ถือว่าเป็นเครื่องปรุงอย่างหนึ่งของอาหารญี่ปุ่นกันแล้ว บางคนอาจจะหลงใหลในรสฉุนดังกล่าว บางคนอาจจะร้องยี้ แต่รู้หรือไม่คะว่า ในวาซาบิที่คุณเขี่ยให้ห่างเวลาทานอาหารญี่ปุ่นนั้น มีประโยชน์มากมาย ที่นอกจากจะช่วยทำให้โล่งจมูกและอาจช่วยป้องกันโรคมะเร็งแล้ว ยังอาจจะช่วยป้องกันฟันผุได้ด้วย

                นายฮิเดกิ มาซูดะ ผู้อำนวยการฝ่ายวิจัยของบริษัท โอกาวะ ผู้ผลิตเครื่องปรุงรส ของญี่ปุ่น กล่าวว่า สารประกอบทางเคมีในวาซาบิ นอกจากทำให้วาซาบิ มีรสชาด และกลิ่นรุนแรงแล้ว ยังสามารถยับยั้งการเจริญเติบโต ของเชื้อจุลินทรีย์ ที่เป็น ต้นเหตุของฟันผุ โดยวาซาบิประกอบด้วย ไอโซทิโอไซยาเนตส์ ซึ่งนักวิจัยพบว่า สามารถยับยั้งการผลิตเอนไซม์ ที่มีส่วนสำคัญ ในการก่อตัวของหินปูน ก่อนหน้านี้ วาซาบิ เคยมีชื่อเสียงในเรื่องของการป้องกันเลือดจับตัวเป็นก้อน ลดความเสี่ยง ต่อการเป็นมะเร็ง และป้องกันโรคหอบหืด

                และผลการวิจัยล่าสุด นับเป็นครั้งแรกที่มีการค้นพบว่า วาซาบิสามารถป้องกันฟันผุได้ แต่เนื่องจากผลการวิจัยยังอยู่ในขั้นเริ่มต้นเท่านั้น นักวิจัยจึงเห็นว่า จำเป็นที่จะต้อง มีการ ศึกษาค้นคว้ากันต่อไป เพื่อยืนยันในประสิทธิภาพของเครื่องปรุงรสชนิดนี้ และหากผลการทดลองยืนยันว่า ใช้ได้ผลดีกับมนุษย์ เราอาจจะเห็นผลิตภัณฑ์ ที่มี ส่วนผสมของวาซาบิอย่างกว้างขวาง รวมทั้งในรูปของยาสีฟัน แต่อาจจะต้องมีการ ปรับปรุงรสชาดใหม่


    คำศัพท์อาทิตย์ละ 10 คำ

    อักษร ก

    กำหนดเวลา きげん『期限』KIGEN

    ----------------------
    กิ่งไม้ えだ『枝』EDA

    ----------------------
    กิน たべる『食べる』 TABERU

    ----------------------
    กินที่ ばしょをとる『場所をとる』BASHO O TORU

    ----------------------
    กินเวลา じかんがかかる『時間がかかる』JIKAN GA KAKARU

    ----------------------

    กิโมโน きもの『着物』KIMONO

    ----------------------
    กิริยา どうさ『動作』DOUSA

    ----------------------
    กิโลกรัม  キログラム KIROGURAMU

    ----------------------

    กิโลเมตร キロメートルKIROMETORU

    ----------------------

    กี่ いくつ『幾つ』IKUTSU

    ----------------------

     

    อาหารประจำสัปดาห์

    ใคร ๆ ก็เข้าครัว วันนี้คือ

    เค้กโพนี่สายรุ้ง Rainbow Pony Cake

                    เค้กโพนี่สายรุ้ง Rainbow Pony Cake เค้กที่มีเนื้อเค้กเป็นสีชั้นๆ ตามสีของสายรุ้ง เมื่อตัดเค้กออกมาจะสวยมากๆ ทำได้ไม่ยากเลยจาดีคิดสูตรเค้กให้ไม่ยากเกินไป เพราะจะต้องทำหลายสีหลายชั้น จาดีกลัวเพื่อนๆ ที่จะทำถอดใจกันซะก่อน แต่รับรองว่าสวยน่าท่านมากเลย

     

    วัตถุดิบ

    สำหรับ 3 ปอนด์

    เวลา 2 ชั่วโมง 30 นาที

                    1. แป้งเค้ก 110 กรัม

                    2. น้ำตาล 100 กรัม

                    3. ไข่ไก่ 3 ฟอง

                    4. โอวาเล็ต 1 ช้อนโต๊ะ

                    5. ผงฟู 1 ช้อนชา

                    6. สีผสมอาหาร ตามชอบ

                    7. กลิ่นผสมอาหารต่างๆ ตามชอบ

                    8. เกล็ดน้ำตาลแต่งหน้าเค้กต่างๆ ตามชอบ

                    9. ฟองดองหรือกัมเพส ตามชอบ

                    10. วิปครีมตีจนตั้งยอด 800 กรัม

     

    เครื่องมือ

                 1. แม่พิมพ์อบขนม

                    2. ชามผสม

                    3. ถุงบีบ

                    4. กระดาษไข        

     

    วิธีทำ

                     1. อุ่นเตาอบที่ 175 องศาเซลเซียส

                2. เริ่มทำเนื้อเค้กโดยการใช้น้ำตาลทราย ไข่ไก่ โอวาเล็ต สีผสมอาหาร กลิ่นผลไม้ตามชอบ แล้วร่อนผงฟูและแป้งเค้กรวมกัน

                3. ใช้เครื่องตี ตีจนเนื้อเค้กฟู ประมาณ 5 นาที

                4. นำเข้าอบ 30 นาที

                5. หลังจากสุกแล้วนำออกมาพักให้เย็น          

                6. ตัดให้ได้ขนาดตามต้องการ

                7. ประกอบเนื้อเค้กเป็นชั้นๆตามสีของสายรุ้ง

                8. ทุกชั้นที่ประกอบวางทับกันโดยใช้ครีมบีบให้ทั่วและปาดจนเรียบเพื่อเชื่อมให้ทุกชั้นเค้กติดกัน

                9. ทำซ้ำจนครบชั้นสีสายรุ้ง

                10. หลังจากนั้นคลุมครีมให้ทั่วก้อนเค้ก และปาดครีมตามชอบ

                11. แต่งเค้กเรนโบว์ด้วยฟองดอง กัมเพส ตุ๊กตาโพนี่หรือเกล็ดน้ำตาลตามชอบได้เลย

     

    เคดิต ขอขอบคุณ FoodTravel.tv ใครๆ ก็เข้าครัว


     
    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    นิยายที่ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×