จริงหรือไม่…ที่เขาว่า - จริงหรือไม่…ที่เขาว่า นิยาย จริงหรือไม่…ที่เขาว่า : Dek-D.com - Writer

    จริงหรือไม่…ที่เขาว่า

    ผู้เข้าชมรวม

    316

    ผู้เข้าชมเดือนนี้

    0

    ผู้เข้าชมรวม


    316

    ความคิดเห็น


    0

    คนติดตาม


    0
    เรื่องสั้น
    อัปเดตล่าสุด :  2 มี.ค. 50 / 11:34 น.


    ข้อมูลเบื้องต้นของเรื่องนี้
    ตั้งค่าการอ่าน

    ค่าเริ่มต้น

    • เลื่อนอัตโนมัติ

      จริงหรือไม่…ที่เขาว่า

      เรื่องราวต่อไปนี้เกี่ยวข้องกับสุขภาพและโรคหัวใจที่ คุณคงเคยได้ยิน ได้ฟังมาบ้าง หลายๆเรื่องเป็นความ เชื่อที่บอกต่อๆกัน จนใครๆเชื่อว่าเป็นเรื่องจริง เรื่องที่ถูกต้องตามวิชาการ แต่ความจริงเป็นอย่างไร เราลองมาดูกันนะครับ

      Wdh01srr.gif (1318 bytes)Wdh01srr.gif (1318 bytes)Wdh01srr.gif (1318 bytes)Wdh01srr.gif (1318 bytes)Wdh01srr.gif (1318 bytes)Wdh01srr.gif (1318 bytes)Wdh01srr.gif (1318 bytes)Wdh01srr.gif (1318 bytes)

      เหงื่อออกมากเป็นโรคหัวใจ

      เหงื่อของร่างกายถูกควบคุมโดยสองส่วนใหญ่ๆคือต่อมเหงื่อ และ ระบบประสาทอัตโนมัติ ต่อมเหงื่อมีหน้าที่สำคัญในการระบาย ความร้อนออกจากร่างกาย เมื่อเหงื่อออกและระเหยไปในอากาศจะดึงความร้อนไปด้วย จะสังเกตง่ายๆว่าถ้าเรารับประทานของร้อนๆ เช่น กาแฟร้อนๆ ก๋วยเตี๋ยวร้อนๆเผ็ดๆ จะมี เหงื่อออกมาก หรือ เมื่อเหงื่อออกไข้จะลดลง เป็นต้น เมื่อระบบประสาทอัตโนมัติ ถูกกระตุ้น (เช่น ตื่นเต้น กลัว ) หรือ ร่างกายมีการเผาผลาญพลังงานมากขึ้น (เช่นกรณีต่อมไทรอยด์ทำงานมากผิดปกติ) ก็จะมี เหงื่อมากด้วย ดังนั้น จะเห็นว่าเหงื่อไม่เกี่ยวข้องกับโรคหัวใจโดยตรงเลย จะมีข้อแม้อยู่ในบางกรณี เช่น เกิดภาวะหัวใจวาย หรือ หัวใจล้มเหลว พวกนี้ระบบประสาทอัตโนมัติถูกกระตุ้นมากด้วย ผู้ป่วยเหล่านี้แม้ว่าอาจจะมีเหงื่ออกมากขึ้น แต่จะไม่บ่นเรื่องนี้เลย จะพบแพทย์ด้วยปัญหาหอบ เหนื่อยมากกว่า

      โรคหัวใจอ่อน โรคประสาทหัวใจ เป็นโรคหัวใจ

      ก่อนอื่นขอบอกเลยว่าไม่มีโรคหัวใจอ่อน หรือ โรคประสาทหัวใจ ในตำราแพทยเรื่องนี้คุณอาจจะเถียงว่าหมอ (จริงๆ) เป็นคนบอกมา ก็ต้องโทษหมอ นั่นแหละครับที่ไม่ระมัดระวังคำพูด ทำให้เกิด โรคหมอทำ ขึ้น บางครั้งที่ผู้ป่วยมีอาการเหนื่อยอ่อน เพลีย ฯลฯ ตรวจร่างกายปกติ ตรวจอะไรๆก็ปกติ หมอบางท่านไม่รู้จะตอบผู้ป่วยว่าเป็นโรคอะไรดี (บอกว่าไม่รู้ ก็ไม่ได้) ก็เลยบอกว่า เป็นโรคหัวใจอ่อน ทั้งๆที่หัวใจปกติ อาการเหล่านี้มักจะเกิดจาก ความวิตกกังวล เครียด มากที่สุด แต่เรื่องกังวลนี่หลายๆคน ไม่ยอมรับนะครับว่าตัวเองกังวล นึกไม่ออกว่ากังวลเรื่องอะไร บางทีลืมนึกไปว่าก็กังวลเรื่องที่ รู้สึกไม่สบายนั่นแหละครับ

      หน้ามืดบ่อย….เขาว่าความดันต่ำ….ต้องดื่มเบียร์

      นี่ก็เป็น โรคหมอทำ อีกเช่นกัน อาการหน้ามืดเกิดจากเลือดไปเลี้ยงสมองไม่พอชั่วขณะ ซึ่งโดยมากแล้วเกิดขณะเปลี่ยนท่า เช่น นอนเป็นยืน แต่ที่เป็นมาก มักจะเป็นนั่งยองๆแล้วยืน ทั้งนี้เนื่องจากเลือดไปสมองเป็นการไหลต้านแรงโน้มถ่วง (ในท่ายืน) เมื่อนั่ง หรือนอน เลือดมาเลี้ยงบริเวณขามาก เมื่อยืนขึ้น ในคนปกติกล้ามเนื้อขาจะช่วยไล่เลือดให้กลับสู่หัวใจมากขึ้น เพื่อไปสมองมากขึ้น จึงไม่เกิดอาการหน้ามืดบ่อยๆ แต่ถ้าขาดน้ำ เช่น อากาศร้อน ท้องเสีย อาเจียน หรือ รับประทานยาบางอย่าง หรือ อยู่ใน sauna jacuzzi ร้อนๆ อาจเกิดอาการดังกล่าวง่ายขึ้น การออกกำลังกายสม่ำเสมอ จะช่วยให้เกิดอาการน้อยลง การดื่มเบียร์ไม่ได้ ช่วยรักษาความดันต่ำ ถ้าร่างกายขาดน้ำการดื่มน้ำธรรมดาก็พอแล้ว จำไว้ว่า ไม่มีโรคความดันต่ำ มีแต่ภาวะความดันโลหิตต่ำซึ่ง เกิดชั่วขณะ จากการขาดน้ำหรือเสียเลือด ความดัน 90/60 เป็นความดันที่ปกติได้ ไม่จำเป็นต้องต่ำครับ

      เจ็บหน้าอกต้องเป็นโรคหัวใจ

      บริเวณทรวงอกประกอบไปด้วยอวัยวะมากมาย ตั้งแต่ผิวหนัง เต้านม (ในผู้หญิง) กระดูก กระดูกอ่อน กล้ามเนื้อ เยื่อหุ้มปอด เยื่อหุ้มหัวใจ ปอด หัวใจ หลอดอาหาร กระเพาะอาหาร หลอดเลือดแดงใหญ่ มากมายไปหมด การอักเสบ หรือ ความผิดปกติของ อวัยวะเหล่านี้ ล้วนแต่ทำให้เกิดอาการเจ็บหน้าอก ได้ทั้งสิ้น เพียงแต่ลักษณะการเจ็บอาจจะแตกต่างกัน หรือ บางครั้งก็คล้ายกันมาก จนแพทย์วินิจฉัยผิด แพทย์จะซักประวัติคุณอย่างละเอียดเกี่ยวกับ ลักษณะการเจ็บหน้าอกของคุณ โดยเฉพาะความรุนแรง และ ความสัมพันธ์กับการออกกำลังกาย และดูปัจจัยเสี่ยงอื่นๆด้วย ว่าคุณมีโอกาสเป็นโรค หลอดเลือดหัวใจมากไหม ประวัติมีความสำคัญ อย่างมาก เพราะการตรวจร่างกายแทบไม่ช่วยเลย ผู้ป่วยหลายคนหงุดหงิดที่แพทย์ซักประวัติละเอียด โปรดเข้าใจว่ายิ่งละเอียด ผลดีก็อยู่ที่ผู้ป่วยเอง ดังนั้น เจ็บหน้าอก ไม่จำเป็นต้องเป็นโรคหัวใจเสมอไป

      คนผอมไม่เป็นโรคหัวใจ

      โรคหัวใจขาดเลือดที่เกิดขึ้นเนื่องจากหลอดเลือดหัวใจตีบหรือตันนั้น เป็นได้กับทั้งคนผอมและคนอ้วน ขึ้นอยู่กับปัจจัยเสี่ยงมากกว่า แต่บางครั้งแม้จะ ไม่มีปัจจัยเสี่ยงเลยก็ยังมีโอกาสเป็นโรคนี้ได้ ปัจจัยเสี่ยงที่ว่า คือ อายุมาก ผู้ชาย ผู้หญิงวัยหมดประจำเดือน บุหรี่ ความดันโลหิตสูง เบาหวาน ไขมันในเลือดสูง พันธุกรรม เป็นต้น ในเรื่องของไขมันในเลือดนั้น พบได้บ่อยๆที่คนผอมๆมีไขมันใน เลือดสูงจนน่าตกใจ ในขณะที่คนอ้วน บางรายไขมันในเลือดไม่สูงก็มีครับ

      อย่าฉีดสี….เดี๋ยวเป็นอัมพาต แพ้ยาตายคาเข็ม

      การฉีดสี เป็นการตรวจพิเศษทางเอกซ์เรย์ที่มีมานานมากแล้ว ไม่ใช่เป็นของใหม่เลย และ เป็นการตรวจที่มีความจำเป็นมาก ในผู้ป่วยบางราย เนื่องจากไม่มีการตรวจอื่นๆที่ดีกว่านี้ คำว่า สี ที่จริง เป็นสารเคมี หรือเป็นยา ที่ทึบต่อแสงเอกซ์เรย์ เมื่อฉีดเข้าไปในอวัยวะใดๆ แล้วถ่ายเอกซ์เรย์ ก็จะทำให้เราเห็นภาพอวัยวะนั้นๆชัดเจนขึ้น การฉีดสี เป็นส่วนหนึ่งของการตรวจ มากมาย คุณอาจเคยตรวจมาแล้วโดยที่คุณก็อาจไม่ทราบมาก่อน เช่น เอกซ์เรย์คอมพิวเตอร์ เอกซ์เรย์ไต สวนหัวใจดูหลอดเลือด หัวใจ รวมทั้งดูหลอดเลือดอื่นๆ เช่น สมอง ไต ตับ หลอดเลือดแดงใหญ่ เป็นต้น ปัญหา ที่เกิดขึ้นจากการฉีดสีที่สำคัญที่สุด คือ การแพ้ แม้ว่าสารนี้จะใช้มานานและมีวิวัฒนาการมาตลอด จนแพ้น้อยมาก แต่ก็ยังพบว่ามีโอกาสแพ้ได้ คงมีคนถามว่า อ้าวแล้วทำไมไม่ test ก่อนหละว่าแพ้ไหม (ตามที่เป็นข่าวใหญ่โตทางหนังสือพิมพ์ กล่าวหาว่าทำไมไม่ test ก่อน) ความเป็นจริงคือไม่มีการ test ก่อนทั้งนั้น ไม่ว่าจะเป็นที่รพ.ไหนในโลกใบนี้ เนื่องจากว่าการ test ก็คือ การฉีดสารจำนวนน้อยๆเข้าสู่ร่างกาย ต่อให้สารนั้น เข้าสู่ร่างกายเพียงนิดเดียว (บางราย แค่ดมด้วยซ้ำ) ในคนที่จะแพ้ยานั้น ก็แพ้วันยังค่ำ ไม่ขึ้นกับปริมาณที่ได้รับสารนั้น ความรุนแรง ก็ไม่แตกต่างกัน ดังนั้นการ test ก่อนจึงไม่มีประโยชน์เลย ที่แย่ไปกว่านั้นคือ test แล้วไม่แพ้ ก็ไม่ได้หมายความว่าต่อไปจะไม่ แพ้สารนั้นนะครับ การให้ยาแก้แพ้ก่อน ก็ไม่ได้ช่วยป้องกันอีกเช่นกัน ดังนั้น สิ่งที่สำคัญที่สุดคือ หากเกิดการแพ้ขึ้นแล้วต้องแก้ไข ให้ทันต่างหาก ในอนาคตหากมีการพัฒนาการตรวจต่างๆโดยไม่เจ็บตัว ไม่แพ้ ย่อมเป็นสิ่งดี ซึ่งก็มีการพัฒนาเทคนิคต่างๆ อยู่เรื่อยๆ ครับ ปัจจุบันการตรวจโดยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าก็ได้รับความนิยมสูง เพราะไม่แพ้ แต่ก็มีข้อจำกัดในการดูบางอวัยวะ ในเรื่องของ อัมพาต ก็ต้องเข้าใจว่า เมื่อไรก็ตามที่แพทย์เอาสายสอดเข้าไปยังหลอดเลือดแดง ย่อมมีโอกาสเกิดอัมพาตได้ เนื่องจากเกิดลิ่ม เลือดเล็กๆ ไปอุดหลอดเลือดสมอง โอกาสเช่นนี้เกิดได้ แต่น้อยมาก ประมาณ 1 ใน 1,000 ถึง 1 ใน 10,000 ราย ครับ อย่างที่เรียน ตั้งแต่แรกว่าการตรวจเช่นนี้ หากจำเป็นก็ควรทำ เพราะไม่มีวิธีที่ดีกว่านี้อีกแล้ว โอกาสเสี่ยงก็ไม่ได้มากเหมือนที่ประโคมข่าวกัน

      การดื่มไวน์แดง ช่วยบำรุงหัวใจ

      การดื่มไวน์ มีการโฆษณาอย่างมากตามสื่อต่างๆ ที่ทำให้ประชาชน (รวมทั้งผู้ที่คิดว่ามีการศึกษา) เข้าใจผิดว่าการดื่มไวน์ จะช่วยบำรุงหัวใจ ล้างหรือลดไขมัน กลายมาเป็นการดื่มไวน์เพื่อสุขภาพไป ความจริงแล้วไม่มีแพทย์โรคหัวใจ (ที่ดี) แนะนำให้ดื่มไวน์เพื่อป้องกันหรือบำรุงหัวใจเลย จริงอยู่ที่ว่า การดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์เล็กน้อย (1-2 แก้วต่อวัน) อาจมีผลดีในแง่เพิ่มไขมันชนิดดี (HDL) ซึ่งเป็นผลดีต่อหัวใจ แต่ต้องดื่มในปริมาณที่ พอเหมาะ (ควบคุมยาก) เมื่อชั่งน้ำหนักดูแล้ว ผลเสียของไวน์และแอลกอฮอล์ทุกประเภท มีมากกว่าผลดีอย่างแน่นอน ทั้งความดันโลหิตสูง หลอดเลือดสมองแตก โรคตับแข็ง มะเร็งตับ อุบัติเหตุ เป็นต้น ผมรู้สึกดีใจที่การวิจัยล่าสุดบอกว่า การที่ชาวฝรั่งเศสเกิดโรคหัวใจต่ำกว่าชาวอังกฤษ ไม่ได้เกิดจากการดื่มไวน์แดงมากกว่าชาวอังกฤษ แต่เกิดการรับประทานไขมันอิ่มตัวที่ได้จากเนื้อสัตว์น้อยกว่า (รายละเอียดที่นี่) ปัจจุบันชาวฝรั่งเศส เกิดโรคหัวใจมากขึ้น ทั้งๆที่ดื่มไวน์เท่าเดิม เป็นเพราะรับประทานอาหารไขมันสูงมากขึ้น (เหมือนเราที่ตาม ก้นฝรั่งมาตลอด) คราวนี้จะได้เลิกโฆษณาเสียที ว่าดื่มไวน์บำรุงสุขภาพ บำรุงหัวใจ ความจริงแล้วผมก็ดื่มไวน์แดงเป็นประจำ แต่เป็นเพราะความชอบ ไม่ได้เชื่อว่าจะบำรุงหัวใจ

      pue ng mi  lk mi lk-b g-

      นิยายที่ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

      loading
      กำลังโหลด...

      คำนิยม Top

      ยังไม่มีคำนิยมของเรื่องนี้

      คำนิยมล่าสุด

      ยังไม่มีคำนิยมของเรื่องนี้

      ความคิดเห็น

      ×