ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    ห้องสมุด

    ลำดับตอนที่ #21 : บัวผุด

    • เนื้อหาตอนนี้เปิดให้อ่าน
    • 114
      0
      15 พ.ย. 55

    ดอกบัวผุด

    เรื่อง...บัวผุด ดอกไม้ที่ใหญ่ที่สุดในโลก

     ชื่อเสียงของแหล่งท่องเที่ยวในอุทยานแห่งชาติเขาสกที่มีทั้งพื้นที่ทางน้ำและทางบก หากได้ยินคำกล่าวว่า กุ้ยหลินเมืองไทย ก็คือ พื้นที่ทางน้ำที่เขื่อนเชี่ยวหลานที่มีนักท่องเที่ยวต่างชอบที่จะได้เห็น

    หรือจะกล่าวถึง บัวผุด ทุกคนต่างก็รู้จักอุทยานแห่งชาติเขาสกขึ้นมาทันที เพราะภาพลักษณ์ที่กลายเป็นสัญลักษณ์ของเขาสก ก็คือ บัวผุดนี้เอง แม้ว่าบัวผุดที่ขึ้นอยู่ในพื้นที่อุทยานแห่งชาติคลองพนมที่อยู่คนละฝั่งถนน ทุกคนยังคิดว่าเป็นของอุทยานแห่งชาติเขาสก


    ดอกบัวผุด กำลังบานเต็มที่

    ดอกตูม คล้ายกับดอกกะหล่ำ

    ก็เป็นเรื่องธรรมดาที่มีการประชาสัมพันธ์ข้อมูลข่าวสารที่ดี ผลประโยชน์ต่างๆก็ตกไปยังเขาสกแทบทังสิ้น ชาวต่างชาติที่มาเที่ยวเขาสก ต่างมุ่งหาบัวผุดเพื่อชมความยิ่งใหญ่ของดอกไม้ที่ใหญ่ที่สุดโลกที่มีอยู่ในเมืองไทยไม่กี่แห่งเท่านั้น

    เท่าที่ทราบว่า บัวผุด จะมีแหล่งกระจายพันธุ์เพียงไม่กี่จังหวัดในภาคใต้เท่านั้น คือ จังหวัดชุมพร ระนอง พังงา สุราษฎร์ธานี ซึ่งเป็นพื้นที่รอยต่อกันทั้ง 4 จังหวัดนี้  คงด้วยเหตุผลทางด้านสภาพอากาศ ความชื้น ที่เหมาะสม สภาพแวดล้อมของหมู่พรรณไม้ต่างๆ ที่ช่วยประโยชน์ต่อการเจริญเติบของบัวผุด


    เรามักพบแมลงชอบมาตอมดอกบัวผุดอยู่เสมอ

    รูปลักษณ์ดอกเกสรแลดูสวยงาม

                    บัวผุด บัวตึง บัวกระด้ง บัวตุง หรือ บัวพระพุทธองค์ (Rafflesia kerrii Meijer) จัดได้ว่า เป็นพันธุ์ไม้ที่มีขนาดใหญ่ที่สุดเท่าที่พบในประเทศไทย

    บัวผุด เป็นพืชเบียนหรือพืชกาฝาก (Parasite Plant) มันอาศัยดูดน้ำ ดูดอาหารจากเถาย่านไก่ต้ม ซึ่งเป็นพืชวงศ์องุ่น ในสกุล Tetrastigma ปัจจุบันมีการค้นพบพืชสกุลบัวผุดแล้วทั้งสิ้น 14 ชนิด ล้วนมีถิ่นกำเนิดอยู่ในภูมิภาคอินโด-มาลายาเท่านั้น

    บัวผุดที่พบในเขตป่าอุทยานแห่งชาติเขาสก ได้รับการยืนยันจาก Dr. M Meijer จากมหาวิทยาลัยแคนตักกี ในปี พศ. 2527 ว่าเป็นพันธุ์ใหม่ของโลก Dr. M Meijer            ได้ตั้งชื่อให้เป็นเกียรติแก่ Dr. A.F.G. Kerr นายแพทย์ชาวไอริช ผู้สำรวจพบไม้พันธุ์นี้เป็นครั้งแรก เมื่อปี พศ. 2472  ปัจจุบันบัวผุด เป็นสัญลักษณ์ประจำจังหวัดสุราษฎร์ธานี              


    ที่ตั้งที่ทำการอุทยานฯ เขาสก

    ดอกบัวผุดที่ขึ้นอยู่บนย่านไก่ต้ม

     

    เส้นทางชมบัวผุดที่คลองศก

     จากเส้นทางไปบัวผุด  ที่เลียบสายน้ำคลองศกขึ้นไปบางหัวแรด  จนกระทั่งมาถึงจุดทางแยกขวามือ เพื่อไปยังจุดที่มีบัวผุดอีกประมาณ 1.5 กมหากรวมระยะทางจากที่ทำการมาเป็นระยะทาง 3.5 กม.

     แยกขวาขึ้นไปจะเป็นทางชันยาวจนลงมายังหุบเขาก็จะพบปาล์มหลังขาวและบัวผุดขึ้นอยู่ในบริเวณเดียวกัน

    จุดบริเวณในอดีตเคยเป็นแหล่งบัวผุดที่สมบูรณ์แห่งหนึ่ง ปัจจุบันก็ไม่พบบัวผุดบานที่จุดนี้อีกแล้ว คงเนื่องจากผลกระทบจากนักท่องเที่ยวที่เข้าไปเที่ยวกันเยอะๆ และทางอุทยานแห่งชาติเขาสกก็ได้ปิดเส้นทางสายนี้ เพื่อให้ธรรมชาติปรับฟื้นตัวขึ้นมาอีกครั้ง


    เกสรบัวผุด เกสรคล้ายกับเกสรดอกบัว

    มุมมองจากด้านบน

     

    ปกติที่เราพบดอกบัวผุดในบริเวณใด ก็จะพบอยู่หลายดอก ถ้ามีดอกหนึ่งบานเต็มที่ และจะดอกอื่นๆ มีลักษณะเป็นดอกตูม เพื่อรอผลิบานในช่วงถัดไป ดอกที่บานใหม่จะมีสีสันสดใส ผิวพรรณสีสันเป็นสีน้ำตาลแดงมีลายกระไปทั่วดอก โดยมีกลีบดอกอยู่ กลีบ ล้อมรอบใจกลางที่มีลักษณะคล้ายกระโถนและภายในรูปทรงกระโถนนั้นจะมีเกสรคล้ายกับเกสรดอกบัว

    บัวผุด เป็นพันธุ์ไม้ที่แปลกชนิดหนึ่งของเมืองไทย ยังไม่มีใครค้นพบรากเหง้า หน่อ ลำต้นของบัวผุดอันเป็นที่มาของดอกได้เลย กล่าวกันว่า บัวผุด จัดเป็นจำพวกกาฝากที่อาศัยน้ำเลี้ยงจากเถาองุ่นป่า หรือที่ชาวบ้านเรียกกันว่า ย่านไก่ต้ม”  ซึ่งเป็นเถาวัลย์ชนิดหนึ่ง

    ย่านไก่ต้มที่เลื้อยแทรกไปตามพื้นดินได้พบตุ่มดอกบัวผุดที่เพิ่งแตกเป็นตุ่มเล็กๆ รอวันที่เติบโต โดยอาศัยน้ำเลี้ยงจากย่านไก่ต้ม จนขยายรูปทรงคล้ายกับดอกกระหล่ำ แล้วจากนั้น ก็ผลิบานเป็นดอกขนาดใหญ่ เท่าที่สำรวจพบว่ามีขนาดใหญ่ที่สุดวัดได้ 80 ซมแต่โดยเฉลี่ยแล้วจะมีขนาดความกว้างของดอกประมาณ 55-65 ซมจึงได้กล่าวกันว่า ดอกบัวผุด” เป็นดอกไม้ที่ใหญ่ที่สุดในโลก


    น้ำตกแม่ยาย อยู่ริมถนนใกล้ทางไปชมบัวผุด

    บัวผุดดอกนี้ใหญ่มาก

     

    เส้นทางชมบัวผุด ที่ กม. 111

                    จุดชมบัวผุดอยู่ในป่าบนเขาลูกหนึ่งซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของเทือกเขาสก ไม่ไกลจากควนลูกช้าง ซึ่งเป็นจุดชมบัวผุดเดิม ต้นกำเนิดคลองศกห่างจากที่ทำการอุทยานฯ ประมาณ 7 กิโลเมตร

    ปัจจุบันก็เหลือบัวผุดที่จะให้ชมได้เพียงแหล่งเดียว ก็เป็นที่บริเวณ กม.111 เพียงแห่งเดียว นักท่องเที่ยวจะต้องสอบถามข้อมูลจากเจ้าหน้าที่ พร้อมกับคนนำทางไปยังจุดดังกล่าว เพราะเป็นเส้นทางที่ไกลอยู่เหมือนกัน

    เริ่มต้นที่ทางหลวงแผ่นดินหลักกิโลเมตรที่ 111 ต้องเดินไต่เนินเขาชันอย่างต่อเนื่อง มีระยะทางประมาณ กิโลเมตร จุดที่พบบัวผุดมี จุด จุดแรกขึ้นเป็นกลุ่มใหญ่ เนื้อที่ประมาณ 30 ตารางเมตร ย่านไก่ต้มมีความอุดมสมบูรณ์ ทางอุทยานฯ กั้นรั้วลวดหนามล้อมไว้ เพื่อไม่ให้นักท่องเที่ยวเข้าไปใกล้ชิด จนเกิดผลกระทบตามมาทีหลัง

     บัวผุดกลุ่มที่สอง อยู่ถัดจากบัวผุดกลุ่มแรกลงมาทางใต้ลงมาราว 200 เมตร ก็มีความสมบูรณ์น้อยกว่าจุดแรก แต่ก็จะเป็นการหมุนเวียนการผลิบานของดอกบัวผุดอย่างต่อเนื่อง

    การไปชมดอกบัวผุดในแต่ละพื้นที่ ควรติดต่อเจ้าหน้าที่นำทางและทำตามคำแนะนำของเจ้าหน้าที่อย่างเคร่งครัด 

    เส้นทางชมบัวผุดที่ถ้ำผึ้ง อช.คลองพนม

                    เป็นเส้นทางหนึ่งที่เรามีโอกาสได้ชมดอกบัวผุดที่สวยงามและสมบูรณ์ เนื่องจากในบริเวณดังกล่าว จะเป็นแหล่งย่านไก่ต้มที่พบกระจายอยู่ทั่วป่า เริ่มต้นจุดเดินเท้าเข้าไปยังแหล่งดอกบัวผุดที่มีระยะทางประมาณ 3 กม. มีจุดแรกที่พบอยู่ถึง 3 ตำแหน่ง อยู่ในสภาพป่าดิบชื้น

                    หากว่าไม่พบดอกบัวผุดในจุดดังกล่าวนี้ ก็เดินป่าต่อไปยังอีกจุดหนึ่ง ที่จะพบดอกบัวผุดที่ขึ้นตามต้นเถาวัลย์ในลักษณ์ที่แขวนอยู่ตามต้นเถาวัลย์ ซึ่งปกติเราจะพบอยู่ตามพื้นเสียส่วนใหญ่

    ในเส้นทางเดินป่าชมดอกบัวผุดในเส้นทางนี้จะต้องมีเจ้าหน้านำทางที่ทุกครั้ง เราเข้าไปเองก็คงต้องหลงอย่างแน่นอน

     


    โถเกสรบัวผุด

    เกสรดอกอยู่ด้านใน

     วงจรชีวิตของบัวผุด

                    บัวผุด เป็นพืชป่าฝนเขตร้อนที่มีระบบวงจรชีวิตที่เปราะบาง เสี่ยงต่อการสูญพันธุ์อย่างยิ่ง เนื่องจากต้องอาศัยเงื่อนไขเฉพาะหลายประการในการแพร่พันธุ์ นอกจากนั้นโอกาสที่จะติดเป็นผลหลังการผสมเกสร มีไม่เกินร้อยละ 20

                    เงื่อนไขที่ 1 ดอกตัวผู้กับดอกตัวเมีย จะต้องบานพร้อมกัน และบานอยู่ไม่ห่างกันนัก มันจะปล่อยกลิ่นคล้ายซากเน่าออกมาล่อแมลงวันหัวเขียว ซึ่งเป็นแมลงชนิดเดียวที่ทำหน้าที่ผสมพันธุ์ให้บัวผุด จากนั้นดอกก็จะเหี่ยวแห้งไป

                    เงื่อนไขที่ 2 สัตว์ป่าที่ช่วยผสมพันธุ์ คือ กระแต มันจะกินผลบัวผุดที่แก่จัด เมล็ดจากผลบัวผุดที่มีขนาดเล็กเท่าเส้นด้าย อาจติดตามเล็บของมัน การแพร่พันธุ์จะเกิดขึ้นเมื่อกระแตใช้เล็บ (ที่มีเมล็ดติดอยู่ไปตะกุยบนผิวย่านไก่ต้ม ในตำแหน่งที่พอเหมาะ คือ ต้องเจาะเข้าไปในท่อน้ำเลี้ยงของย่านไก่ต้มเท่านั้น

                    เงื่อนไขที่ 3 เถาย่านไก่ต้ม เป็นตัวอิงอาศัย (host)  ชนิดเดียวของบัวผุด โดยที่บัวผุดจะดูดกินน้ำเลี้ยงจากท่อน้ำเลี้ยงของย่านไก่ต้ม การบานของดอกบัวผุดเกิดจากแรงดันของน้ำที่อยู่ในเถาย่านไก่ต้มนั่นเอง


    การถ่ายภาพควรเลี่ยงอย่าเข้าใกล้เกินไป

    รีสอร์ทที่พักบริเวณทางเข้าอุทยานฯ เขาสก

     

    ช่วงฤดูกาล

    การที่เราจะชมดอกบัวผุดบานได้จังหวะที่เหมาะสม เราต้องตรวจสอบช่วงเวลาของฤดูกาลการผลิบานของบัวผุดให้ชัดเจน โดยปกติทั่วไปดอกบัวผุดจะบานในช่วงเดือนธันวาคม จนถึงเดือนพฤษภาคม อย่างไรก็ตาม เพื่อความแน่นอนควรสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ อุทยานแห่งชาติเขาสก โทร. 077-395139, 077-395154, 077-395155

    ที่มา http://moohin.com/trips/phang-nga/buapud/

    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    นิยายที่ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×