ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    สรุปเนื้อหาชีววิทยา ม.4 เทอม 2

    ลำดับตอนที่ #5 : Bio : : 5 : : อาหารและการย่อยอาหาร Part 3.1 (การย่อยของสัตว์)

    • เนื้อหานิยายตอนนี้เปิดให้อ่าน
    • 19.5K
      27
      6 พ.ย. 49

    1.1     การย่อยอาหารของสัตว์

    1.1.1      การย่อยอาหารของสัตว์ที่ไม่มีกระดูกสันหลัง

    1)                  การย่อยอาหารของสัตว์ที่ไม่มีทางเดินอาหาร

    ฟองน้ำ (sponge) เป็นสัตว์ที่ไม่มีทางเดินอาหารหรือมีทางเดินอาหารเป็นแบบช่องร่างแห (channel network) แต่ก็ไม่ใช่ทางเดินอาหารที่แท้จริง เป็นเพียงทางผ่านของน้ำ ภายนอกàภายใน ประกอบด้วย

    ·        ออสเทีย (ostia) เป็นรูเปิดเล็กๆ

    หน้าที่ เป็นทางน้ำไหลเข้าสู่ลำตัวฟองน้ำ

    ·        ออสคิวลัม (osclum) เป็นรูที่มีขนาดใหญ่กว่าออสเทียและมักอยู่กลางลำตัว ที่ผนังด้านในมีเซลล์พิเศษ จะมีแส้เซลล์ เรียกว่า "เซลล์โคแอโนไซด์ (choanocyte)" โบกพัดตลอดเวลา

    หน้าที่ เซลล์โคแอโนไซด์พัด ทำให้เกิดการไหลเข้าออกของน้ำ

                                    อาหารของฟองน้ำ เป็นจำพวกแพลงตอนที่มากับน้ำ จะถูกเซลล์โคแอโนไซต์จับและย่อยแล้วส่งไปยังเซลล์ที่คล้ายอมีบา เรียกว่า "เซลล์อะมีโบไซต์ (amoebocyte)" ทำหน้าที่ย่อย แล้วส่งไปยังเซลล์อื่นๆ

                                    ฟองน้ำมีการย่อยอาหารภายในเซลล์เช่นเดียวกับโพรโทซัว แต่ต่างที่ฟองน้ำเป็นสัตว์หลายเซลล์และมีเซลล์เฉพาะ(เซลล์อะมีโบไซต์) ถึงอย่างนั้นการย่อยก็ยังคงไม่ซับซ้อนเช่นเดียวกับโพรโทซัว

    2)                  การย่อยอาหารของสัตว์ที่มีทางเดินอาหารแบบไม่สมบูรณ์

    เป็นทางเดินอาหารแบบปากถุง (on-hole-sac) เป็นแบบทางเดินอาหารเปิดทางเดียว มีปากแต่ไม่มีทวารหนัก ปากทำหน้าที่ทั้งทางเข้าของอาหารและทางออกของกากอาหารไปพร้อมๆกัน จะเป็นระบบการย่อยที่ยังพัฒนาไปไม่มากนัก

    1.        การย่อยอาหารของไฮดรา

    ไฮดราจัดเป็นซีเลนเทอเรตชนิดหนึ่ง จัดอยู่ในไฟลัมซีเลนเทอราดา (coelenterate) มีทางเดินอาหารเป็นแบบปากถึง อาหารของไฮดราจะเป็นจำพวกตัวอ่อนของสัตว์ทะเลตัวเล็กๆ ไรน้ำ ไฮดรามี หนวดจับ (tentacle) อยู่รอบปากซึ่งเอาไว้จับอาหาร และให้เซลล์ที่มีเนมาโทซิสต์ (nematocyst) หรือเข็มพิษที่อยู่ที่หนวดจับแทงและฆ่าเหยื่อ ทางเดินอาหารจะอยู่ตรงกลางลำตัวเป็นท่อกลวง เรียกว่า ช่องแกสโทรวาสคิวลาร์ (gastrovascular cavity) บุด้วยเซลล์ทรงสูงเรียกว่า ชั้นแกสโทเตอร์มิส (gastrodermis)

    1.        นิวทริทิพ เซลล์ (nutritive cell) เป็นเซลล์ที่มีลักษณะอ้วน บางเซลล์มีแส้เซลล์ 1 หรือ 2 เส้น เรียกว่า แฟลเจลเลตเซลล์ (flagellate cell) บางเซลล์มีลักษณะคล้ายอมีบ้า จริงเรีนกว่า อะมีบอยด์เซลล์ (amoeboidcell)

    หน้าที่ อะมีบอยด์เซลล์  - ยื่นขาเทียมออกมาล้อมจับอาหารแล้วจังย่อยอาหารและทำหน้าที่ดูดอาหารที่ย่อยแล้ว ส่วน

    แฟลเจลเลตเซลล์  - โบกพัดให้เกิดการหมุนเวียนของน้ำและอาหารภายในช่องแกสโทรวาสคิวลาร์ และพัดกากอาหารให้เคลื่อนที่ออกด้วย

    2.        เซลล์ต่อมหรือเซลล์ย่อยอาหาร (gland cell or digestive cell) เป็นเซลล์ที่ทำหน้าที่สร้างน้ำย่อยแล้วปล่อยน้ำย่อยออกมาย่อยอาหารพบมากบริเวณใกล้ๆปาก การย่อยโดยเซลล์ต่อม จัดเป็นการย่อยแบบนอกเซลล์ ส่วนการย่อยแบบ อะมีบอยด์เซลล์จัดเป็นการย่อยแบบภายในเซลล์

    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    นิยายที่ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×