คืนค่าการตั้งค่าทั้งหมด
คุณแน่ใจว่าต้องการคืนค่าการตั้งค่าทั้งหมด ?
ลำดับตอนที่ #4 : Bio : : 4 : : กล้องจุลทรรศน์และการค้นพบหน่วยของสิ่งมีชีวิต
โรเบิร์ต ฮุก นักวิทยาศาสตร์ ชาวอังกฤษ ได้ประดิษฐ์กล้องจุลทรรศน์ที่มีคุณภาพดี เป็นคนแรก
ชวันน์และชไลเดน ได้ศึกษาเนื้อเยื่อสัตว์ต่างๆ พบว่าเนื้อเยื่อแต่ละชนิดมีเซลล์เป็นส่วนประกอบ จึงได้ร่วมกันตั้งทฤษฎีเซลล์ มีใจความว่า สิ่งมีชีวิตทั้งหลายประกอบขึ้นด้วยเซลล์ และเซลล์คือหน่วยพื้นฐานของสิ่งมีชีวิตทุกชนิด
กล้องจุลทรรศน์ เป็นเครื่องมือที่สำคัญของนักชีววิทยา เพราะกล้องจุลทรรศน์ช่วยให้ศึกษาโครงสร้างและส่วนประกอบของเซลล์และสิ่งมีชีวิตเล็กๆได้
1. กล้องจุลทรรศน์ที่ใช้แสง (light microscope)
L.M. ใช้แสงที่มองเห็นได้
1) กล้องจุลทรรศน์อย่างง่ายหรือแว่นขยาย (simple microscope or magnifyind glass)
ประกอบด้วยเลนส์นูนเพียงอันเดียว วัตถุประสงค์เพื่อขยายวัตถุที่จะดูให้ใหญ่ขึ้น ภาพที่ได้เป็นภาพเสมือนและ ข้อสำคัญ วัตถุต้องอยู่ห่างจากเลนส์น้อยกว่าทางยาวโฟกัส
2) กล้องจุลทรรศน์เชิงซ้อน (compound light microscope)
เป็นกล้องที่ใช้แสงและมีระบบเลนส์ที่ทำหน้าที่ขยายภาพ 2 ชุด ขยายภาพ 2 ครั้ง มีส่วนประกอบดังนี้
i. ส่วนที่เป็นตัวกล้อง
1. ลำกล้อง เชื่อมโยงระหว่างเลนส์ตากับเลนส์วัตถุ ป้องกันไม่ให้แสงนอกเข้ามารบกวน
2. แขน คือส่วนที่ทำหน้าที่ยึดระหว่างลำกล้องและฐาน
3. แท่นวางวัตถุ แท่นทีใช้วางแผ่นสไลด์
4. ที่หนีบสไลด์ เป็นแผ่นโลหะใช้จับหรือหนีบสไลด์ ให้ติดอยู่กับแท่นวางวัตถุ ป้องกันไม่ให้แผ่นสไลด์เลื่อนหลุด
5. ฐาน ส่วนที่ใช้ในการตั้งกล้อง
ii. ส่วนที่ทำหน้าที่รับแสง
1. กระจกเงา สะท้อนแสงจากธรรมชาติหรือแสงจากหลอดไฟภายในห้องให้ส่องผ่านวัตถุ
2. เลนส์รวมแสง ทำหน้าที่รวมแสงให้เข้มขึ้น
3. ไดอะแฟรม อยู่ใต้เลนส์รวมแสง ปรับปริมาณแสง
iii. ส่วนปรับความคมชัดของภาพ
1. ปุ่มปรับภาพหยาบ ทำหน้าปรับภาพโดยเปลี่ยนระยะโฟกัสของเลนส์วัตถุ
2. ปุ่มปรับภาพละเอียด ใช้ปรับภาพเช่นเดียวกันปุ่มแรก แต่ช่วงการเลื่อนจะสั้นกว่า
iv. ส่วนที่ทำหน้าที่ขายประกอบด้วย
1. เลนส์ที่ใกล้วัตถุ จะติดอยู่กับจาหมุน ซึ่งจางหมุนทำหน้าที่ในการเปลี่ยนกำลังขยาย ปกติจะอยู่ที่ 3-4 ระดับ ภาพที่เกิดจากเลนส์ใกล้วัตถุเป็นภาพจริงหัวกลับ และใช้ภาพนี้ในการนำไปขยายต่อ
2. เลนส์ใกล้ตา เป็นเลนส์ที่อยู่บนสุดของกล้อง โดยทั่วไป มีกำลังขาย 10 -15 เท่า ทำหน้าที่ขายภาพที่ได้จากเลนส์ตาให้มีขนาดใหญ่ขึ้น ภาพที่ได้เป็นภาพเสมือนหัวกลับ
****เลนส์ใกล้วัตถุที่มีกำลังขยาย 100x ต้องระมัดระวังมาก เนื่องจากเลนส์กับแผ่นสไลด์ขึ้นกันมาก ต้องใช้การหยดน้ำมัน เพื่อบังคับไม่ให้ลำแสงหักเหออก****
การใช้กล้องจุลทรรศน์
1. การจับกล้อง ใช้มือหนึ่งจับที่แขนกล้องและใช้อีกมือหนึ่งรองรับที่ฐาน
2. ตั้งลำกล้องให้ตรงเสมอ
3. หมุนเลนส์ใกล้วัตถุให้เป็นเลนส์ที่มีกำลังขยายต่ำสุด
4. ปรับกระจกเงาหรือเปิดไฟ
5. นำแผ่นสไลด์ที่จะศึกษาวางบนแท่นวางวัตถุ ให้วัตถุอยู่บริเวณกึ่งกลางบริเวณที่แสงผ่าน
6. มองด้านข้างตามแนวระดับแท่นวางวัตถุค่อยๆหมุนปรับภาพหยาบให้เลนส์ใกล้วัตถุอยู่เลื่อนลงมาอยู่ใกล้ๆกระจกปิดสไลด์
7. มองที่เลนส์ใกล้ตาค่อยๆปรับปุ่มปรับภาพหยาบให้กล้องเลื่อนขึ้นช้าๆเพื่อหาระยะภาพ
8. มองที่เลนส์ใกล้ตาหมุนปุ่มปรับภาพละเอียดเพื่อให้ได้ภาพที่ชัดเจนยิ่งขึ้น
9. ถ้าองการให้ภาพขยายใหญ่ขึ้นก็หมุนเลนส์อันที่กำลังขยายสูงขึ้นเข้าสู่แนวลำกล้องแล้วปรับความคมชัดด้วยปุ่มปรับภาพละเอียดเท่านั้น
10. บันทึกกำลังขยายโดยหาได้จากผลคูณของกำลังขยายของเลนส์ใกล้ตาและเลนส์ใกล้วัตถุอันที่เรากำลังศึกษา
11. หลังจากใช้กล้องจุลทรรศน์แล้ว ให้ปรับกระจกเงาให้อยู่ในแนวดิ่งตั้งฉากกับตัวกล้อง เลื่อนที่หนีบสไลด์ให้ตั้งฉากกับที่วางวัตถุ หมุนเลนส์ใกล้วัตถุให้เป็นอันที่มีกำลังขยายต่ำสุดอยู่ในตำแหน่งของลำกล้อง และเลื่อนลำกล้องให้อยู่ในตำแหน่งต่ำสุด เช็ดทำความสะอาด
3) กล้องจุลทรรศน์ใช้แสงแบบสเตอริโอ (stereoscopic microscope)
เป็นชนิดเลนส์ประกอบทำให้เกิดภาพสามมิติ
1. ภาพที่เห็นเป็นภาพเสมือนที่มีความชัดลึกและเป็นภาพสามมิติ
2. เลนส์ใกล้วัตถุมีกำลังขยายต่ำคือน้อยกว่า 10 เท่า
3. ใช้ศึกษาได้ทั้งวัตถุโปร่งแสงและวัตถุทึบแสง
4. ระยะห่างจากเลนส์ใกล้วัตถุกับวัตถุที่ศึกษาจะอยู่ในช่วง 63-225 มิลลิเมตร
วิธีใช้กล้องจุลทรรศน์ใช้แสงแบบสเตอริโอ
1. ตั้งระยะห่างของเลนส์ใกล้ตาให้พอเหมาะกับนัยน์ตาของผู้ใช้กล้อง
2. ปรับโฟกัสเลนส์ใกล้ตาทีละข้าง ให้ชัดเจนถ้าหากต้องการศึกษาจุดใดจุดหนึ่งของตัวอย่างให้ปรับโฟกัสของเลนส์ใกล้วัตถุที่มีกำลังขยายสูงก่อน
2. กล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอน (electron microscope)
E.M. ประดิษฐ์ขึ้นครั้งแรกในประเทศเยอรมัน เมื่อปี พ.ศ. 2475 โดยนักวิทยาศาสตร์ 2 ท่านคือ แมกซ์ นอลล์ และเอิร์นสท์ รุสกา โดยแสงที่ใช้เป็นลำแสงอิเล็กตรอน แหล่งกำเนิดสำแสง คือ ปืนยิงอิเล็กตรอน ซึ่งเป็นขดลวดทังสเตน มีลักษณะเป็นรูปตัววี เพื่อป้องกันการรบกวนของลำแสงอิเล็กตรอน จึงต้องมีการดูดอากาศออกจากตัวกล้องให้เป็นสุญญากาศ เพื่อป้องกันการชนกันของ มวลอากาศกับลำแสงอิเล็กตรอนซึ่งจะทำให้เกิดการหักเห
ระบบเลนส์ เป็นเลนส์แม่เหล็กไฟฟ้า แทนเลนส์แก้ว ซึ่งประกอบด้วยขดลวดพันรอบแท่งเหล็กเมื่อกระแสไฟฟ้าผ่านเข้าไปทำให้เกิดสนามแม่เหล็กขึ้น ส่วนเลนส์รวมแสง และ โปรเจ๊กเตอร์เลนส์ โดย โปรเจ๊กเตอร์เลนส์ทำหน้าที่ฉายภาพจากตัวอย่างที่ศึกษาลงบนจอภาพ จอภาพฉาบตัวสาเรืองแสงพวกฟอสฟอรัส
ปัจจุบันมี 2 ชนิด คือ
1. ส่องผ่าน (transmission electron microscope) หรือ TEM ใช้ศึกษาโครงสร้างภายในของเซลล์ ต้องมีการเตรียมตัวอย่างโดยทำให้บางเป็นพิเศษ
2. ส่องกราด (scanning electron microscope) หรือ SEM ศึกษาผิวของเซลล์หรือผิวของตัวอย่างวัตถุที่นำมาศึกษา โดยลำแสงอิเล็กตรอนจะส่งกราดไปบนผิวของวัตถุ ทำให้ได้ภาพเป็น 3 มิติ
ความคิดเห็น