ลำดับตอนที่ #44
คืนค่าการตั้งค่าทั้งหมด
คุณแน่ใจว่าต้องการคืนค่าการตั้งค่าทั้งหมด ?
ลำดับตอนที่ #44 : พระยาทรงสุรเดช นักปฏิวัติที่โลกลืม
12สิงหาฯวันพระยาทรงสุรเดช นักปฏิวัติที่โลกลืม
สี่ทหาร เสือคณะราษฎร์- นายพันเอกพระยาทรงสุรเดช,นายพันเอกพระยาพหลพลพยุหเสนา,นายพันเอกพระยาฤทธิ อาคเนย์ และนายพันโทพระประศาสน์พิทยายุทธ์
โดย คุณใต้หล้า
ที่มา เวบบอร์ดประชาไท
12 สิงหาคม 2551
เมื่อ วันที่12 สิงหาคมของทุกปีเวียนมาถึง ก็ย่อมจะทำให้ประชาชนไทย ผู้รักชาติรักประชาธิปไตยทั้งมวล อดหวนรำลึกนึกถึงนักปฏิวัติผู้นำสยามประเทศก้าวสู่ระบอบประชาธิปไตยไม่ได้ นอกจากคุณูปการต่อบ้านเมืองแล้ว ยังนับเป็นบุคคลที่นักการทหาร นักการเมืองเอาเป็นเยี่ยงอย่างในการใช้ชีวิตด้วย
นายพันเอกพระยาทรง สุรเดช เป็นผู้นำสำคัญในการเปลี่ยนแปลงการปกครองพ.ศ.2475 โดยหากขาดท่านผู้นี้ ก็ต้องฟันธงได้เลยว่าการเปลี่ยนแปลงการปกครองเมื่อวันที่ 24 มิถุนายน 2475 จะไม่มีวันสำเร็จได้เลยในวันนั้น
หลังการปฏิวัติสำเร็จลง พระยาทรงฯไม่ขอรับตำแหน่งใดในรัฐบาล ไม่ขอเพิ่มยศเป็นนายพล ไม่ขอคุมกำลังทางทหาร แต่ท่านถูกขอให้เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
แต่ ในภายหลังสถานการณ์พลิกผันทำให้ชะตากรรมของพระยาทรงฯต้องถูกเนรเทศไปอยู่ใน อินโดจีนของฝรั่งเศส คือเวียดนาม และสุดท้ายที่เขมร อย่างอนาถา ส่วนลูกน้องถูกประหารชีวิตไป 18 ศพ
แม้กระทั่งยามยากในญวนและเขมร ต้องอยู่บ้านเช่าโกโรโกโส ปั่นจักรยานถีบ และทำขนมไทยขายขายเลี้ยงประทังชีวิต แต่เมื่อไทยตกอยู่ใต้การยึดครองของญี่ปุ่น ก็พยายามอย่างโดดเดี่ยวที่จะขับไล่ญี่ปุ่นอย่างมืดมนลำพัง
แม้ว่า ต้องตกระกำลำบากในเขมรขนาดนั้น และเป็นเวลาที่ญี่ปุ่นเข้ายึดครองทั่วเอเชีย รวมทั้งเขมรและไทยด้วยนั้น ญี่ปุ่นได้ติดต่อลับๆจะให้นายพันเอกพระยาทรงสุรเดชกลับไปมีอำนาจโค่นล้ม ปฏิปักษ์ของท่าน คือจอมพลป. ซึ่งญี่ปุ่นชักไม่ไว้ใจ แต่พระยาทรงฯปฏิเสธ เพราะเห็นเป็นการทรยศบ้านเมือง ยอมระกำลำบากดีกว่า อันนี้นับเป็นจิตใจที่น่าเชิดชูยิ่ง
สุดท้ายเมื่อสิ้นสงครามโลกครั้ง ที่ 2 ผู้มีอำนาจขณะนั้นส่งนายทหารคนหนึ่งไปลอบวางยาพิษพระยาทรงฯถึงแก่ความตายใน เขมร ทั้งที่มีหวังกำลังจะได้กลับจากการลี้ภัย สุดท้ายคุณหญิงของท่านและทหารรับใช้ต้องทำพิธีอย่างศพอนาถา
พระยา ทรงฯเกิดเมื่อ12สิงหาคม2435 ได้ชื่อว่าเป็นมันสมองในการทำปฏิวัติ2475 และมีกำลังในการปฏิบัติจริงๆ โดยอาศัยยุทธวิธีลวงทหารมายึดอำนาจเปลี่ยนแปลงการปกครอง คนไทยค่อนประเทศน่าจะลืมพระยาทรงฯไปแล้ว แต่วันที่12สิงหาคมนั้นได้ชื่อว่าเป็นวันพระยาทรงฯครับ ความต่อไปนี้ ผมเก็บความจากหนังสือ"ชีวิตพระยาทรงฯในต่างแดน"เขียนโดยร้อยเอกสำรวจ กาญจนสิทธิ์ ทส.พระยาทรงฯซึ่งผมได้อ่านมาร่วมๆ25ปีแล้ว หากคลาดเคลื่อนประการใด ขอให้ผู้รู้ได้เสริมเพิ่มหรือแก้ไขด้วย
นักยุทธวิธีของคณะราษฎร์
พระยา ทรงฯมีชื่อเดิมคือเทพ พันธุมเสน เป็นบุตรของร้อยโท ไท้ นายทหารกรมทหารปืนใหญ่ที่ 1 จบการศึกษาจากโรงเรียนนายร้อยทหารบก จากนั้นได้ทุนไปศึกษาต่อวิชาทหารช่าง ที่ประเทศเยอรมนี เมื่อจบแล้วได้ยศนายสิบ แล้วจึงเรียนต่อระดับสัญญาบัตร ได้ยศร้อยตรี ก่อนไปประจำการที่กองทหารในเมืองมักเคเบอร์ก และเดินทางกลับประเทศไทยเมื่อ พ.ศ. 2458 จากนั้นเริ่มรับราชการทหารจนได้รับพระราชทานยศเป็น ร้อยเอกหลวงรณรงค์สงคราม เมื่อ พ.ศ. 2461 และย้ายไปเป็นผู้บังคับการทหารช่างรถไฟ กองพันที่ 2 กรมทหารบกที่ 3 มีผลงานสำคัญคือ ก่อสร้างทางรถไฟสายเหนือ จากถ้ำขุนตานถึงสถานีรถไฟเชียงใหม่ ก่อสร้างทางรถไฟสายตะวันออก จากแปดริ้วถึงสถานีรถไฟอรัญประเทศ ก่อสร้างทางรถไฟสายตะวันออกเฉียงเหนือ ช่วงนครราชสีมา ได้รับพระราชทานยศนายพันเอก และบรรดาศักดิ์เป็นพระยาทรงสุรเดช
เมื่อปี พ.ศ. 2475 ในการก่อการ2475ปัญหาคือคณะราษฎร์ไม่มีคนคุมกำลังทหารในมือเลย พระยาทรงฯซึ่งเป็นอาจารย์ใหญ่โรงเรียนนายร้อย จึงลวงนักเรียนนายร้อยด้วยการปลุกให้ตื่นตั้งแต่ตี3แล้วบอกว่าจะพาไปฝึกภาค สนามที่พระที่นั่งอนันต์ พร้อมกับการที่นายพันเอกพระยาพหลฯไปลวงค่ายทหารให้นำกำลังทหารและรถทหารออก มาสมทบกัน และพระประศาสน์(ซึ่งใกล้ชิดกับพระยาทรง)ไปควบคุมตัวกรมพระนครสวรรค์ฯซึ่งทรง อำนาจในประเทศมาเป็นตัวประกัน เมื่อนัดเรียนทหารที่นายพันเอกพระยาทรงฯลวงมาสมทบกับรถทหารและทหารจากค่าย ที่นายพันเอกพระยาพหลฯลวงมา กับนายพันโทพระประศาสน์ฯควบคุมกรมพระนครสวรรค์มาที่นั่งอนันต์ฯได้
การ ปฏิวัติที่ปราศจากเลือดเนื้อก็กลายเป็นประวัติศาสตร์ของไทย ในหนังสือบันทึกชีวิตพระยาทรงในต่างแดนฯนั้น พระยาทรงแสดงความเป็นนักยุทธวิธีอย่างเต็มที่ โดยพระยาทรงกล่าวว่าการ ปฏิวัติ2475เป็นเรื่องของยุทธวิธี ไม่ใช่ยุทธศาสตร์ ขาดการมีส่วนร่วมของประชาชน ไม่ได้มาจากการตื่นตัวต้องการปฏิวัติของประชาชนเลย เพราะทำเช่นนั้นไม่ได้เนื่องจากความลับรั่วไหลแล้วจะกลายเป็นกบฎ
หลัง การปฏิวัติพระยาทรงฯปฏิเสธที่จะขอรับยศเพิ่ม เช่นเดียวกับนายพันเอกพระยาพหลฯและคณะทุกๆคน ไม่ขอรับตำแหน่งคุมกำลังใดๆ ไม่ขอรับตำแหน่งทางการเมือง แต่ที่สุดก็จำนนรับตำแหน่งส.ส.จากการแต่งตั้ง ขัดแย้งกับปรีดีและแตกหักกับจอมพลป.ก่อนถูกเนรเทศ เมื่อแรกหลังปฏิว้ติ นายพันเอกพระยาทรงฯอยู่ในปีกที่ไม่เห็นด้วยกับสมุดปกเหลืองเค้าโครงเศรษฐกิจ ของนายปรีดี พนมยงค์ อันมีผลให้นายปรีดีถูกเนรเทศไปฝรั่งเศสระยะหนึ่ง ก่อนจะได้กลับมามีอำนาจอีกครั้ง
ในพ.ศ.2476เกิดกบฎบวรเดช นายพันโทแปลก ขีตสังคะ มีบทบาทเป็นคนนำปราบปรามกบฎ และเปล่งบารมีขึ้นมา ในสายตาของพันเอกพระยาทรงเห็นว่านายพันโทแปลกนั้นเป็น"ทหารยศต่ำ แต่มักใหญ่ใฝ่สูง" ต่อมานายพันโทแปลกเพิ่มยศพรวดพราดและก้าวขึ้นเป็นนายกฯ แล้วถูกลอบสังหารหลายหน นายพันเอกหลวงพิบูลฯ(ต่อมาเป็นจอมพลป.)สงสัยว่านายพันเอกพระยาทรงฯเป็นผู้ อยู่เบื้องหลัง จึงได้มีคำสั่งให้พ้นจากราชการโดยไม่มีเบี้ยหวัดบำนาญ และบังคับให้เดินทางออกนอกประเทศ พร้อมด้วยร้อยเอกสำรวจ กาญจนสิทธิ์ ทส. ประจำตัว พร้อมกันนั้นได้มีการกวาดล้าง จับกุมผู้ที่ต้องสงสัย จำนวน 51 คน เมื่อเช้ามืด ของวันที่ 29 มกราคม พ.ศ. 2482 และสั่งประหารไป18 ราย จึงเรียกกันต่อมาว่ากบฎ18ศพ (เดิมจะประหาร21ศพ แต่ปล่อยไป3 ซึ่ง1ในนั้นคือกรมขุนชัยนาทฯ ซึ่งเป็นพระปิตุลาฯของในหลวงครับ)
บั้นปลายอนาถาของนักปฏิวัติที่โลกลืม
นาย พันเอกพระยาทรงสุรเดชพร้อมนายทหารคนสนิทเมื่อถูกกล่าวหาว่าเป็นกบฏ จึงถูกให้ออกจากราชการโดยไม่มีเบี้ยหวัดและถูกบีบให้เดินทางออกนอกประเทศ ไปพร้อมกับ ร.อ.สำรวจ กาญจนสิทธิ์ โดยถูกควบคุมตัวขึ้นรถไฟไปที่ อ.อรัญประเทศ และเดินทางข้ามพรมแดนต่อไปยังกัมพูชาซึ่งในขณะนั้นเป็นดินแดนในอาณานิคมของ ฝรั่งเศส และไปพำนักในเวียดนามระยะหนึ่ง โดยคุณหญิงทรงสุรเดช ต้องขายสมบัติส่งไปให้ประทังชีพ เมื่อสมบัติพร่องลง ต้องย้ายกลับมากัมพูชา อาศัยห้องเช่าโกโรโกโส ก่อนจะได้พักในตำหนักร้างของอดีตเจ้าอาณานิคมฝรั่งเศสที่พระยาทรงฯเคยช่วย ชีวิตให้พ้นคมหอกคมดาบของญี่ปุ่นระหว่างการยึดครองในครามสงครามมหาเอเชีย บูรพา
ชีวิตพระยาทรงสุรเดชที่กัมพูชา ไม่มีทรัพย์เงินทองเหลือติดตัวอยู่เลย ต้องหาเลี้ยงชีพด้วยการทอดแหหาปลาเลี้ยงตัว และทำขนมกล้วยขายในตลาดสด ซึ่งต้องโม่แป้งด้วยตนเอง จากนั้นต้องปั่นจักรยานถีบไปมาเพื่อขายขนม(ซึ่งจะเห็นว่าต่างจากนายทหารนัก ทำรัฐประหารในระยะหลังที่มีทรัพย์สินเป็นร้อยล้านพันล้าน ทั้งที่ก็มักกล่าวหาว่านักการเมืองขี้โกง เลยเข้ามายึดอำนาจ...ประหลาดไหม?)
ช่วง สงครามไทยตกอยู่ใต้การยึดครองญี่ปุ่น นายพันเอกพระยาทรงฯไม่ล่วงรู้เลยว่าคนไทยทั่วโลกมีขบวนการใต้ดินเสรีไทยต่อ ต้านญี่ปุ่น เพราะถูกตัดขาดจากโลกภายนอก แต่ก็อุตสาหะดิ้นรนที่จะต่อต้านญี่ปุ่นเพียงลำพัง โดยคิดจะเดินข้ามประเทศไปแสวงหาความร่วมมือจากอเมริกาที่ตั้งฐานในฝรั่งเศส แต่ก็ต้องระงับไว้เพราะมืดแปดด้านอยู่คนเดียว
หลังสงครามจบลง นายพันเอกหลวงพิบูลฯต้องพ้นตำแหน่งนายกรัฐมนตรี และถูกดำเนินคดีอาชญากรสงคราม นายพันเอกพระยาทรงฯซึ่งนับวันเดือนปีจะได้กลับสู่มาตุภูมิก็กลับไม่มีโอกาส นั้นเลย เมื่อมีนายทหารไทยคนหนึ่งอ้างว่าไปศึกษาที่ญี่ปุ่นก่อนกลับไทยเลยแวะมา เยี่ยม แล้ววางยาพิษพระยาทรงตายด้วยความทรมานอนาถา และจัดทำศพเยี่ยงคนไร้ญาติ โดยถึงแก่อนิจกรรมลงในปี พ.ศ. 2487 ที่ตำหนักร้างในกรุงพนมเปญ ซึ่งแพทย์ลงความเห็นว่าเสียชีวิตด้วยอาการโลหิตเป็นพิษ
ทส.พระยาทรง เขียนไว้ให้แปลความระหว่างบันทัดว่า จอมพลป.อาจจะอยู่เบื้องหลังความตาย เพราะเมื่อสงครามมหาเอเชียบูรพายุติลง จอมพลป.ถูกดำเนินคดีอาชญากรสงคราม หากพระยาทรงได้กลับไทยและกลับสู่อำนาจ อาจเป็นอันตรายต่อจอมพลป.ได้ กระดูกของพระยาทรงฯกลับถึงประเทศไทย พร้อมกับบันทึกส่วนตัวที่กล่าวถึงการปฏิวัติ2475 และกลายมาเป็นหนังสือชื่อ"ชีวิตในต่างแดนของพระยาทรงฯ"ออกเผยแพร่ราวปีพ .ศ.2525(ผมอาจจำคลาดเคลื่อน)
ฝ่ายจารีตนิยมและจิตนิยมบอกว่าเพราะพระยาทรงฯทรยศพระมหากรุณาธิคุณทำการล้มล้างระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ จึงพบเคราะห์กรรมเลวร้าย
แต่ ฝ่ายที่สนับสนุนและโปรประชาธิปไตยนับเอาว่าพระยาทรงฯเป็นบุคคลสำคัญของชาติ เพราะหากไม่มีพระยาทรงฯที่เป็นดั่งเสนาธิการในการปฏิวัติ ก็ไม่แน่นักว่าการปฏิวัติ24มิถุนายน2475จะสำเร็จราบรื่นไร้การนองเลือดอย่าง ที่เรารับรู้หรือไม่
ประกอบกับคุณงามความดีไม่ฉ้อราษฎร์ ไม่บังหลวง ฝ่ายประชาธิปไตยและสนับสนุนคณะราษฎร์ได้พากันถือว่าวันที่ 12 สิงหาฯอันเป็นวันเกิดของนายพันเอกนักปฏิว้ติผู้อาภัพนี้ เป็น"วันพระยาทรงสุรเดช" ด้วยเหตุดังนี้
สี่ทหาร เสือคณะราษฎร์- นายพันเอกพระยาทรงสุรเดช,นายพันเอกพระยาพหลพลพยุหเสนา,นายพันเอกพระยาฤทธิ อาคเนย์ และนายพันโทพระประศาสน์พิทยายุทธ์
โดย คุณใต้หล้า
ที่มา เวบบอร์ดประชาไท
12 สิงหาคม 2551
เมื่อ วันที่12 สิงหาคมของทุกปีเวียนมาถึง ก็ย่อมจะทำให้ประชาชนไทย ผู้รักชาติรักประชาธิปไตยทั้งมวล อดหวนรำลึกนึกถึงนักปฏิวัติผู้นำสยามประเทศก้าวสู่ระบอบประชาธิปไตยไม่ได้ นอกจากคุณูปการต่อบ้านเมืองแล้ว ยังนับเป็นบุคคลที่นักการทหาร นักการเมืองเอาเป็นเยี่ยงอย่างในการใช้ชีวิตด้วย
นายพันเอกพระยาทรง สุรเดช เป็นผู้นำสำคัญในการเปลี่ยนแปลงการปกครองพ.ศ.2475 โดยหากขาดท่านผู้นี้ ก็ต้องฟันธงได้เลยว่าการเปลี่ยนแปลงการปกครองเมื่อวันที่ 24 มิถุนายน 2475 จะไม่มีวันสำเร็จได้เลยในวันนั้น
หลังการปฏิวัติสำเร็จลง พระยาทรงฯไม่ขอรับตำแหน่งใดในรัฐบาล ไม่ขอเพิ่มยศเป็นนายพล ไม่ขอคุมกำลังทางทหาร แต่ท่านถูกขอให้เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
แต่ ในภายหลังสถานการณ์พลิกผันทำให้ชะตากรรมของพระยาทรงฯต้องถูกเนรเทศไปอยู่ใน อินโดจีนของฝรั่งเศส คือเวียดนาม และสุดท้ายที่เขมร อย่างอนาถา ส่วนลูกน้องถูกประหารชีวิตไป 18 ศพ
แม้กระทั่งยามยากในญวนและเขมร ต้องอยู่บ้านเช่าโกโรโกโส ปั่นจักรยานถีบ และทำขนมไทยขายขายเลี้ยงประทังชีวิต แต่เมื่อไทยตกอยู่ใต้การยึดครองของญี่ปุ่น ก็พยายามอย่างโดดเดี่ยวที่จะขับไล่ญี่ปุ่นอย่างมืดมนลำพัง
แม้ว่า ต้องตกระกำลำบากในเขมรขนาดนั้น และเป็นเวลาที่ญี่ปุ่นเข้ายึดครองทั่วเอเชีย รวมทั้งเขมรและไทยด้วยนั้น ญี่ปุ่นได้ติดต่อลับๆจะให้นายพันเอกพระยาทรงสุรเดชกลับไปมีอำนาจโค่นล้ม ปฏิปักษ์ของท่าน คือจอมพลป. ซึ่งญี่ปุ่นชักไม่ไว้ใจ แต่พระยาทรงฯปฏิเสธ เพราะเห็นเป็นการทรยศบ้านเมือง ยอมระกำลำบากดีกว่า อันนี้นับเป็นจิตใจที่น่าเชิดชูยิ่ง
สุดท้ายเมื่อสิ้นสงครามโลกครั้ง ที่ 2 ผู้มีอำนาจขณะนั้นส่งนายทหารคนหนึ่งไปลอบวางยาพิษพระยาทรงฯถึงแก่ความตายใน เขมร ทั้งที่มีหวังกำลังจะได้กลับจากการลี้ภัย สุดท้ายคุณหญิงของท่านและทหารรับใช้ต้องทำพิธีอย่างศพอนาถา
พระยา ทรงฯเกิดเมื่อ12สิงหาคม2435 ได้ชื่อว่าเป็นมันสมองในการทำปฏิวัติ2475 และมีกำลังในการปฏิบัติจริงๆ โดยอาศัยยุทธวิธีลวงทหารมายึดอำนาจเปลี่ยนแปลงการปกครอง คนไทยค่อนประเทศน่าจะลืมพระยาทรงฯไปแล้ว แต่วันที่12สิงหาคมนั้นได้ชื่อว่าเป็นวันพระยาทรงฯครับ ความต่อไปนี้ ผมเก็บความจากหนังสือ"ชีวิตพระยาทรงฯในต่างแดน"เขียนโดยร้อยเอกสำรวจ กาญจนสิทธิ์ ทส.พระยาทรงฯซึ่งผมได้อ่านมาร่วมๆ25ปีแล้ว หากคลาดเคลื่อนประการใด ขอให้ผู้รู้ได้เสริมเพิ่มหรือแก้ไขด้วย
นักยุทธวิธีของคณะราษฎร์
พระยา ทรงฯมีชื่อเดิมคือเทพ พันธุมเสน เป็นบุตรของร้อยโท ไท้ นายทหารกรมทหารปืนใหญ่ที่ 1 จบการศึกษาจากโรงเรียนนายร้อยทหารบก จากนั้นได้ทุนไปศึกษาต่อวิชาทหารช่าง ที่ประเทศเยอรมนี เมื่อจบแล้วได้ยศนายสิบ แล้วจึงเรียนต่อระดับสัญญาบัตร ได้ยศร้อยตรี ก่อนไปประจำการที่กองทหารในเมืองมักเคเบอร์ก และเดินทางกลับประเทศไทยเมื่อ พ.ศ. 2458 จากนั้นเริ่มรับราชการทหารจนได้รับพระราชทานยศเป็น ร้อยเอกหลวงรณรงค์สงคราม เมื่อ พ.ศ. 2461 และย้ายไปเป็นผู้บังคับการทหารช่างรถไฟ กองพันที่ 2 กรมทหารบกที่ 3 มีผลงานสำคัญคือ ก่อสร้างทางรถไฟสายเหนือ จากถ้ำขุนตานถึงสถานีรถไฟเชียงใหม่ ก่อสร้างทางรถไฟสายตะวันออก จากแปดริ้วถึงสถานีรถไฟอรัญประเทศ ก่อสร้างทางรถไฟสายตะวันออกเฉียงเหนือ ช่วงนครราชสีมา ได้รับพระราชทานยศนายพันเอก และบรรดาศักดิ์เป็นพระยาทรงสุรเดช
เมื่อปี พ.ศ. 2475 ในการก่อการ2475ปัญหาคือคณะราษฎร์ไม่มีคนคุมกำลังทหารในมือเลย พระยาทรงฯซึ่งเป็นอาจารย์ใหญ่โรงเรียนนายร้อย จึงลวงนักเรียนนายร้อยด้วยการปลุกให้ตื่นตั้งแต่ตี3แล้วบอกว่าจะพาไปฝึกภาค สนามที่พระที่นั่งอนันต์ พร้อมกับการที่นายพันเอกพระยาพหลฯไปลวงค่ายทหารให้นำกำลังทหารและรถทหารออก มาสมทบกัน และพระประศาสน์(ซึ่งใกล้ชิดกับพระยาทรง)ไปควบคุมตัวกรมพระนครสวรรค์ฯซึ่งทรง อำนาจในประเทศมาเป็นตัวประกัน เมื่อนัดเรียนทหารที่นายพันเอกพระยาทรงฯลวงมาสมทบกับรถทหารและทหารจากค่าย ที่นายพันเอกพระยาพหลฯลวงมา กับนายพันโทพระประศาสน์ฯควบคุมกรมพระนครสวรรค์มาที่นั่งอนันต์ฯได้
การ ปฏิวัติที่ปราศจากเลือดเนื้อก็กลายเป็นประวัติศาสตร์ของไทย ในหนังสือบันทึกชีวิตพระยาทรงในต่างแดนฯนั้น พระยาทรงแสดงความเป็นนักยุทธวิธีอย่างเต็มที่ โดยพระยาทรงกล่าวว่าการ ปฏิวัติ2475เป็นเรื่องของยุทธวิธี ไม่ใช่ยุทธศาสตร์ ขาดการมีส่วนร่วมของประชาชน ไม่ได้มาจากการตื่นตัวต้องการปฏิวัติของประชาชนเลย เพราะทำเช่นนั้นไม่ได้เนื่องจากความลับรั่วไหลแล้วจะกลายเป็นกบฎ
หลัง การปฏิวัติพระยาทรงฯปฏิเสธที่จะขอรับยศเพิ่ม เช่นเดียวกับนายพันเอกพระยาพหลฯและคณะทุกๆคน ไม่ขอรับตำแหน่งคุมกำลังใดๆ ไม่ขอรับตำแหน่งทางการเมือง แต่ที่สุดก็จำนนรับตำแหน่งส.ส.จากการแต่งตั้ง ขัดแย้งกับปรีดีและแตกหักกับจอมพลป.ก่อนถูกเนรเทศ เมื่อแรกหลังปฏิว้ติ นายพันเอกพระยาทรงฯอยู่ในปีกที่ไม่เห็นด้วยกับสมุดปกเหลืองเค้าโครงเศรษฐกิจ ของนายปรีดี พนมยงค์ อันมีผลให้นายปรีดีถูกเนรเทศไปฝรั่งเศสระยะหนึ่ง ก่อนจะได้กลับมามีอำนาจอีกครั้ง
ในพ.ศ.2476เกิดกบฎบวรเดช นายพันโทแปลก ขีตสังคะ มีบทบาทเป็นคนนำปราบปรามกบฎ และเปล่งบารมีขึ้นมา ในสายตาของพันเอกพระยาทรงเห็นว่านายพันโทแปลกนั้นเป็น"ทหารยศต่ำ แต่มักใหญ่ใฝ่สูง" ต่อมานายพันโทแปลกเพิ่มยศพรวดพราดและก้าวขึ้นเป็นนายกฯ แล้วถูกลอบสังหารหลายหน นายพันเอกหลวงพิบูลฯ(ต่อมาเป็นจอมพลป.)สงสัยว่านายพันเอกพระยาทรงฯเป็นผู้ อยู่เบื้องหลัง จึงได้มีคำสั่งให้พ้นจากราชการโดยไม่มีเบี้ยหวัดบำนาญ และบังคับให้เดินทางออกนอกประเทศ พร้อมด้วยร้อยเอกสำรวจ กาญจนสิทธิ์ ทส. ประจำตัว พร้อมกันนั้นได้มีการกวาดล้าง จับกุมผู้ที่ต้องสงสัย จำนวน 51 คน เมื่อเช้ามืด ของวันที่ 29 มกราคม พ.ศ. 2482 และสั่งประหารไป18 ราย จึงเรียกกันต่อมาว่ากบฎ18ศพ (เดิมจะประหาร21ศพ แต่ปล่อยไป3 ซึ่ง1ในนั้นคือกรมขุนชัยนาทฯ ซึ่งเป็นพระปิตุลาฯของในหลวงครับ)
บั้นปลายอนาถาของนักปฏิวัติที่โลกลืม
นาย พันเอกพระยาทรงสุรเดชพร้อมนายทหารคนสนิทเมื่อถูกกล่าวหาว่าเป็นกบฏ จึงถูกให้ออกจากราชการโดยไม่มีเบี้ยหวัดและถูกบีบให้เดินทางออกนอกประเทศ ไปพร้อมกับ ร.อ.สำรวจ กาญจนสิทธิ์ โดยถูกควบคุมตัวขึ้นรถไฟไปที่ อ.อรัญประเทศ และเดินทางข้ามพรมแดนต่อไปยังกัมพูชาซึ่งในขณะนั้นเป็นดินแดนในอาณานิคมของ ฝรั่งเศส และไปพำนักในเวียดนามระยะหนึ่ง โดยคุณหญิงทรงสุรเดช ต้องขายสมบัติส่งไปให้ประทังชีพ เมื่อสมบัติพร่องลง ต้องย้ายกลับมากัมพูชา อาศัยห้องเช่าโกโรโกโส ก่อนจะได้พักในตำหนักร้างของอดีตเจ้าอาณานิคมฝรั่งเศสที่พระยาทรงฯเคยช่วย ชีวิตให้พ้นคมหอกคมดาบของญี่ปุ่นระหว่างการยึดครองในครามสงครามมหาเอเชีย บูรพา
ชีวิตพระยาทรงสุรเดชที่กัมพูชา ไม่มีทรัพย์เงินทองเหลือติดตัวอยู่เลย ต้องหาเลี้ยงชีพด้วยการทอดแหหาปลาเลี้ยงตัว และทำขนมกล้วยขายในตลาดสด ซึ่งต้องโม่แป้งด้วยตนเอง จากนั้นต้องปั่นจักรยานถีบไปมาเพื่อขายขนม(ซึ่งจะเห็นว่าต่างจากนายทหารนัก ทำรัฐประหารในระยะหลังที่มีทรัพย์สินเป็นร้อยล้านพันล้าน ทั้งที่ก็มักกล่าวหาว่านักการเมืองขี้โกง เลยเข้ามายึดอำนาจ...ประหลาดไหม?)
ช่วง สงครามไทยตกอยู่ใต้การยึดครองญี่ปุ่น นายพันเอกพระยาทรงฯไม่ล่วงรู้เลยว่าคนไทยทั่วโลกมีขบวนการใต้ดินเสรีไทยต่อ ต้านญี่ปุ่น เพราะถูกตัดขาดจากโลกภายนอก แต่ก็อุตสาหะดิ้นรนที่จะต่อต้านญี่ปุ่นเพียงลำพัง โดยคิดจะเดินข้ามประเทศไปแสวงหาความร่วมมือจากอเมริกาที่ตั้งฐานในฝรั่งเศส แต่ก็ต้องระงับไว้เพราะมืดแปดด้านอยู่คนเดียว
หลังสงครามจบลง นายพันเอกหลวงพิบูลฯต้องพ้นตำแหน่งนายกรัฐมนตรี และถูกดำเนินคดีอาชญากรสงคราม นายพันเอกพระยาทรงฯซึ่งนับวันเดือนปีจะได้กลับสู่มาตุภูมิก็กลับไม่มีโอกาส นั้นเลย เมื่อมีนายทหารไทยคนหนึ่งอ้างว่าไปศึกษาที่ญี่ปุ่นก่อนกลับไทยเลยแวะมา เยี่ยม แล้ววางยาพิษพระยาทรงตายด้วยความทรมานอนาถา และจัดทำศพเยี่ยงคนไร้ญาติ โดยถึงแก่อนิจกรรมลงในปี พ.ศ. 2487 ที่ตำหนักร้างในกรุงพนมเปญ ซึ่งแพทย์ลงความเห็นว่าเสียชีวิตด้วยอาการโลหิตเป็นพิษ
ทส.พระยาทรง เขียนไว้ให้แปลความระหว่างบันทัดว่า จอมพลป.อาจจะอยู่เบื้องหลังความตาย เพราะเมื่อสงครามมหาเอเชียบูรพายุติลง จอมพลป.ถูกดำเนินคดีอาชญากรสงคราม หากพระยาทรงได้กลับไทยและกลับสู่อำนาจ อาจเป็นอันตรายต่อจอมพลป.ได้ กระดูกของพระยาทรงฯกลับถึงประเทศไทย พร้อมกับบันทึกส่วนตัวที่กล่าวถึงการปฏิวัติ2475 และกลายมาเป็นหนังสือชื่อ"ชีวิตในต่างแดนของพระยาทรงฯ"ออกเผยแพร่ราวปีพ .ศ.2525(ผมอาจจำคลาดเคลื่อน)
ฝ่ายจารีตนิยมและจิตนิยมบอกว่าเพราะพระยาทรงฯทรยศพระมหากรุณาธิคุณทำการล้มล้างระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ จึงพบเคราะห์กรรมเลวร้าย
แต่ ฝ่ายที่สนับสนุนและโปรประชาธิปไตยนับเอาว่าพระยาทรงฯเป็นบุคคลสำคัญของชาติ เพราะหากไม่มีพระยาทรงฯที่เป็นดั่งเสนาธิการในการปฏิวัติ ก็ไม่แน่นักว่าการปฏิวัติ24มิถุนายน2475จะสำเร็จราบรื่นไร้การนองเลือดอย่าง ที่เรารับรู้หรือไม่
ประกอบกับคุณงามความดีไม่ฉ้อราษฎร์ ไม่บังหลวง ฝ่ายประชาธิปไตยและสนับสนุนคณะราษฎร์ได้พากันถือว่าวันที่ 12 สิงหาฯอันเป็นวันเกิดของนายพันเอกนักปฏิว้ติผู้อาภัพนี้ เป็น"วันพระยาทรงสุรเดช" ด้วยเหตุดังนี้
เก็บเข้าคอลเล็กชัน
ความคิดเห็น