ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    สะสมคำศัพท์

    ลำดับตอนที่ #36 : [ความรู้สึก] กลัว, วิตก

    • เนื้อหาตอนนี้เปิดให้อ่าน
    • 8.12K
      15
      6 พ.ย. 53


    กลัว[กฺลัว] ก. รู้สึกไม่อยากประสบสิ่งที่ไม่ดีแก่ตัว เช่น กลัวบาป
    กลัวถูกติเตียน, รู้สึกหวาดเพราะคาดว่าจะประสบภัย เช่น
    กลัวเสือ กลัวไฟไหม้

    เกรงกลัว ก. กลัว.

    กริ่งเกรง ก. ระแวงกลัวไป.

    กลัวลาน ก. กลัวจนตั้งสติไม่อยู่.

    เข็ดขยาด ก. กลัวมากจนไม่กล้าทำ.

    ขยาด [ขะหฺยาด] ก. ครั่นคร้าม, กลัวเพราะเคยรู้ฤทธิ์มาแล้ว, เข็ดเพราะ
    เคยได้รับผลร้ายมาแล้ว.

    เข็ด ๒ ก. กลัวจนไม่กล้าทําเช่นนั้นอีก เพราะเคยได้รับผลร้ายมาแล้ว,
    หลาบจํา, ไม่กล้าสู้, เช่นในคําว่า เข็ดข้อ เข็ดข้อเข็ดลํา เข็ดเขี้ยว.

    คร้ามเกรง ก. เกรงกลัว.

    คุ้มเกรง ก. ปกป้องไว้ให้คนอื่นเกรงกลัว.

    คร้าม [คฺร้าม] ก. ขยาด, ไม่กล้าสู้, กลัวเกรง, มักใช้เข้าคู่กับคำ ครั่น เป็น
    ครั่นคร้าม หมายความว่า เกรงขาม, รู้สึกพรั่นพรึง, สะทกสะท้าน
    ด้วยความกลัว.

    ถอดสี ก. แสดงอาการหวาดหวั่นครั่นคร้ามให้เห็น (มาจากปลากัดตัวที่
    แพ้จะถอดสี) เช่น กลัวจนหน้าถอดสี.

    ปอด ๑ (สรีร) น. อวัยวะทําหน้าที่เกี่ยวกับการหายใจอยู่ภายในร่างกาย
    ของคนหรือสัตว์ที่มีกระดูกสันหลังเป็นส่วนมาก; ตัวสกาที่ข้าม
    เขตไปไม่ได้. ว. กลัวจนไม่กล้าทำอะไร.

    ตระหนก[ตฺระหฺนก] ก. หวาด, ผวา, สะดุ้ง, ตกใจ.

    ภีตะ ก. กลัว. (ป., ส.).

    ภีรุ, ภีรุก– [พีรุกะ–] ว. กลัว, ขี้ขลาด. น. ผู้หญิง เช่น ภีรุอวตาร ว่า อวตารเป็น
    ผู้หญิง. (แช่งนํ้า). (ป., ส.).

    เป็นทุกข์, เป็นทุกข์เป็นร้อน ก. วิตกกังวล, เดือดเนื้อร้อนใจไม่เป็นสุข.

    ปรารมภ์ [ปฺรารม] ก. เริ่มแรก; วิตก, รําพึง, ครุ่นคิด. (ส. ปฺรารมฺภ ว่า เริ่มแรก,
    เริ่มต้น).

    ประหวั่นก. พรั่นใจ.

    พิดรก [ดฺรก] (กลอน) ก. วิตก. (ส. วิตรฺก; ป. วิตกฺก).

    แยง ๒ ก. เยง, กลัว, เกรง.

    ย่อแหยง [แหฺยง] ก. เกรงกลัว

    เยง ก. กลัว, เกรง, ใช้ว่า แยง ก็มี.

    ยำเกรง ก. เกรงกลัวเพราะความเคารพนับถือ, ยําเยง ก็ว่า.

    ระลง (กลอน) ก. ครั่นคร้าม, กลัว.

    ร้อนตัว ก. กลัวว่าโทษหรือความเดือดร้อนจะมาถึงตัว.

    ระรัว ว. รัว ๆ, สั่นถี่ ๆ, สั่นสะท้าน, เช่น กลัวจนตัวสั่นระรัว เสียงสั่นระรัว.

    ละล้าว ว. อย่างเกรงกลัว เช่น ไหว้ละล้าว. (นิ. นรินทร์).

    ลานตา. ว. ตั้งสติไม่อยู่เพราะกลัว, มักใช้ควบกับคํา กลัว เป็น กลัวลาน
    เช่น เด็กถูกดุเสียจนกลัวลาน

    วาบ ว. อาการที่รู้สึกร้อน เย็น กลัว ตกใจ เสียวใจ เป็นต้น ขึ้นทันทีแล้ว
    หายไปดับไป เช่น เย็นวาบ ใจหายวาบ เสียววาบ; วับ.

    วิตกจริต [วิตกกะจะหฺริด, วิตกจะหฺริด] ว. มีนิสัยคิดไปในทางร้าย
    ทางเสีย. (ป.).

    วิตก, วิตก [วิตกกะ, วิตก] ก. เป็นทุกข์, ร้อนใจ, กังวล, เช่น วิตกว่าจะเกิด
    สงคราม, มักใช้เข้าคู่กับคำกังวล เป็น วิตกกังวล เช่น อย่าวิตกกังวล
    ไปนักเลยพรุ่งนี้สถานการณ์คงจะดีขึ้น. น. ความตรึก, ความตริ,
    ความคิด. (ป. วิตกฺก; ส. วิตรฺก ว่า ลังเลใจ).

    สยอน [สะหฺยอน] ก. หวาดเสียว, กลัว.

    สุดขีด ว. เต็มที่, มากที่สุด, เช่น กลัวสุดขีด โมโหสุดขีด.

    สั่น ก. ไหวถี่ ๆ เช่น กลัวจนตัวสั่น หนาวจนคางสั่น, ทําให้ไหวถี่ ๆ เช่น
    สั่นกระดิ่ง สั่นหัว.

    แสยะ [สะแหฺยะ] ก. อาการของปากที่แบะออก แสดงให้รู้ว่า เกลียด
    เกลียดกลัว เยาะเย้ย หรือ ดูแคลน.

    สะทกสะท้าน ก. รู้สึกเกรงกลัว, รู้สึกเกรงกลัวจนตัวสั่น, เช่น เขาข่มขู่ฉันเสีย
    จนสะทกสะท้านพูดไม่ถูก เธอตอบคำถามผู้บังคับบัญชาอย่าง
    ไม่สะทกสะท้าน.

    หนาวใจ ว. สะท้านใจ, เยือกเย็นใจ, คร้ามเกรงภัย, กลัว.

    ไหล่ห่อ น. ไหล่ที่คู้เข้าเพราะหนาวหรือเกรงกลัวเป็นต้น.

    ห่อไหล่ ก. ทำไหล่ทั้ง ๒ ให้คู้เข้าเพราะหนาวหรือเกรงกลัวเป็นต้น.

    หิริโอตตัปปะ [หิหฺริโอดตับปะ] น. ความละอายบาปและความเกรงกลัว
    บาป, ความละอายใจ. (ป.).

    หงอ ว. อาการที่กลัวจนตัวงอ, อาการที่กลัวลานหรือครั่นคร้ามไม่กล้าสู้, ในคำว่า
    กลัวหงอ, ใช้ว่า หงอก๋อ ก็มี.

    หวาดก. สะดุ้งกลัว, กริ่งเกรง, เสียว, หวั่น.

    หวาดกลัว, หวาดเกรง ก. มีความรู้สึกกริ่งเกรง, รู้สึกสะดุ้งกลัว.

    หวาดหวั่นก. พรั่นกลัว, สะดุ้งกลัว, หวั่นหวาด ก็ว่า.

    หวาดระแวง ก. หวั่นเกรงสงสัยไปเอง.

    หวั่นกลัว, หวั่นเกรง ก. หวั่นวิตกไปเอง, นึกกลัวไปเอง.

    หนักใจ ก. วิตก เช่น เขาหนักใจในการสอบครั้งนี้. ว. ลําบากใจ เช่น
    เขารู้สึกหนักใจที่ต้องไปค้ำประกันลูกของเพื่อน, บางทีใช้เข้าคู่กับคำ
    หนักอก เป็น หนักอกหนักใจ.

    หนักอก ก. วิตก เช่น อย่าประพฤติตัวเหลวไหลทำให้พ่อแม่หนักอก.
    ว. ลำบากใจ เพราะต้องแบกภาระไว้มาก เช่น ปัญหาเศรษฐกิจตกต่ำ
    เป็นปัญหาหนักอกของรัฐบาล, บางทีใช้เข้าคู่กับคำ หนักใจ เป็น
    หนักอกหนักใจ.

    อยู่หมัด ก. เกรงกลัวฝีปากหรือฝีมือ, ยอมอยู่ในอํานาจ.

    อยู่มือ ก. เกรงกลัวไม่กล้าฝ่าฝืน, อยู่ในบังคับไม่กล้าฝ่าฝืน

    โอตตัปปะ [โอด] น. ความเกรงกลัวบาป, มักใช้เข้าคู่กับคำ หิริ เป็น
    หิริโอตตัปปะ. (ป.).

    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    นิยายที่ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×