ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    สะสมคำศัพท์

    ลำดับตอนที่ #16 : [คำอุทาน+วิเศษณ์แสดงอารมณ์]

    • เนื้อหาตอนนี้เปิดให้อ่าน
    • 15.08K
      48
      28 ม.ค. 52


    ชิ, ชิชะ, ชิชิ อ. คําที่เปล่งออกมาเมื่อรู้สึกโกรธหรือไม่ชอบใจเป็นต้น.

    ชะมัด ว. มาก, ยิ่ง, เช่น เก่งชะมัด, ชะมัดยาด ก็ว่า.

    แล้วกัน (ปาก) ว. คำที่เปล่งออกมาแสดงความไม่พอใจหรือผิดหวัง
    เป็นต้น เช่น แล้วกันกินขนมหมดไม่เหลือไว้ให้เลย แล้วกัน
    ไปเมื่อไรก็ไม่บอก; คำที่ใช้ลงท้ายข้อความแสดงว่าเป็นอัน
    ยุติกัน เช่น ขอโทษเขาเสียหน่อยก็แล้วกัน วันนี้ยังเขียนไม่
    เสร็จ เอาไว้พรุ่งนี้แล้วกัน.

    วุ้ย อ. คำที่เปล่งออกมาเมื่อรู้สึกตกใจ เก้อเขิน หรือไม่พอใจ เป็นต้น
    (โดยมากเป็นเสียงผู้หญิง) เช่น วุ้ย น่ารำคาญ.

    วะ ๑ ว. บ๊ะ, คำที่เปล่งออกมาแสดงอารมณ์ผิดคาดหรือผิดหวังเป็นต้น,
    อุวะ หรือ ว้า ก็ว่า; คำบอกเสียงต่อท้ายประโยคแสดงความคุ้นเคย
    เป็นกันเองหรือแสดงความไม่สุภาพ เช่น ไปไหนวะ.

    ว้า ๑ อ. คำที่เปล่งออกมาเมื่อรู้สึกไม่พอใจหรือผิดจากที่คาดไว้เป็นต้น.
    ว. คําออกเสียงลงท้ายประโยคแสดงความสงสัยหรือปลอบใจเป็นต้น
    เช่น หายไปไหนว้า อย่าเสียใจไปเลยว้า.

    ว้าย อ. คําที่เปล่งออกมาแสดงอาการตกใจหรือดีใจเป็นต้น
    (โดยมากเป็นเสียงผู้หญิง).

    โว้ย ว. คําลงท้ายของการร้องเรียก ถาม หรือขานรับเป็นต้น ใช้ใน
    ลักษณะที่ไม่สุภาพหรือเป็นกันเอง เช่น แดงโว้ย ไปไหนโว้ย
    ไปตลาดมาโว้ย เบื่อจริงโว้ย, เว้ย ก็ว่า. อ. คําที่เปล่งออกมาแสดง
    ความสงสัยหรือไม่พอใจเป็นต้น เช่น โว้ย! ไม่มีใครอยู่สักคนเลย,
    เว้ย ก็ว่า

    เสร็จกัน, เสร็จเลย (ปาก) คำที่เปล่งออกมาแสดงความผิดหวัง เช่น เสร็จกัน ยัง
    ไม่ทันได้ออกแสดง เสื้อผ้าก็เปื้อนหมดแล้ว เสร็จเลย ลืมเอา
    กระเป๋าสตางค์มา.

    หือ ๑ อ. คำที่เปล่งออกมาเมื่อรู้สึกสงสัยเพื่อถามหรือเมื่อยังไม่ได้ยินหรือไม่เข้าใจ,
    (เป็นคำสำหรับผู้ใหญ่กว่าหรือเสมอกันใช้).

    หื้อ ๑ อ. คำที่เปล่งออกมาแสดงความรับรู้.

    หน็อยแน่ ว. คำที่เปล่งออกมาเมื่อไม่พอใจหรือผิดหวัง เช่น หน็อยแน่ ! ทําผิดแล้ว
    ยังจะอวดดีอีก.

    อื้อฮือ อ. คำที่เปล่งออกมาแสดงความแปลกใจเป็นต้น.

    อนิจจัง ๒, อนิจจา [อะนิด] อ. คำที่เปล่งออกมาแสดงความสงสารสังเวชเป็นต้น.

    อูย ว. คำที่เปล่งออกมาเมื่อรู้สึกเจ็บหรือถูกหยิก, อุย หรือ อุ่ย ก็ใช้.

    โอย ๑, โอ๊ย อ. คําที่เปล่งออกมาแสดงความรู้สึกเจ็บปวด หรือรู้สึกว่ามากยิ่ง
    แปลก เป็นต้น.

    ฮะ อ. คําที่เปล่งออกมาเมื่อรู้สึกสะดุดใจ แปลกใจ หรือเมื่อชะงัก เป็นต้น.
    ฮะฮ้าย, ฮะไฮ้ (กลอน) อ. คําที่เปล่งออกมาแสดงความเยาะเย้ย.
    ฮะเฮ้ย อ. คำที่เปล่งออกมาเพื่อดุว่าหรือห้ามเป็นต้น, ฮ้าเฮ้ย ก็ว่า.

    ฮ้า อ. คําที่เปล่งออกมาด้วยความตกใจ ประหลาดใจ หรือเพื่อห้าม.
    ฮ้าไฮ้ อ. เสียงลูกคู่ร้องรับในเพลงบางชนิด เช่นเพลงเห่เรือ.
    ฮ้าเฮ้ย อ. คำที่เปล่งออกมาเพื่อดุว่าหรือห้ามเป็นต้น เช่น ฮ้าเฮ้ย
    เด็กน้อยถอยขยายเสือร้ายจะเดินทาง อย่าเข้ามาขวางจังหวะทำโว้เว้
    (ม. ร่ายยาว กุมาร), ฮะเฮ้ย ก็ว่า.

    เฮ่อ อ. คำที่เปล่งออกมาแสดงความดูแคลนหรือไม่เชื่อถือ.

    เฮ่ย อ. คำที่เปล่งออกมาแสดงความขัดแย้งไม่เห็นด้วยหรือเห็นว่า
    ไม่สำคัญเป็นต้น.

    เฮ้ย อ. คําที่เปล่งออกมาเพื่อให้รู้ตัวหรือให้ยั้งเป็นต้น.

    แฮก, แฮก ๆ ว. อาการที่หอบเพราะเหนื่อยมาก.
    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    นิยายที่ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×