ลำดับตอนที่ #44
คืนค่าการตั้งค่าทั้งหมด
คุณแน่ใจว่าต้องการคืนค่าการตั้งค่าทั้งหมด ?
ลำดับตอนที่ #44 : [คำไวพจน์] ผู้ชาย, นาม/สรรพนามที่เป็นเพศชาย
กนิษฐภาดา | น. น้องชาย. (-ป. ภาตา ว่า น้องชาย). |
กะกัง | น. พี่ชาย. (ช. kakang) |
กระทาชาย | (โบ) น. คนผู้ชาย, กระไทชาย ก็ว่า. |
กระไทชาย | (โบ; มาจาก กระทาชาย) น. คนผู้ชาย เช่น อันว่ากระไทชาย |
ผู้หนึ่ง. (ม. คําหลวง กุมาร; มหาราช), กระทาชาย ก็ว่า. |
กระผม | ส. คําใช้แทนตัวผู้พูด เพศชาย พูดกับผู้ใหญ่, เป็นสรรพนาม |
บุรุษที่ ๑. |
กัน ๑ | (ปาก) ส. คําใช้แทนตัวผู้พูด เพศชาย พูดกับผู้เสมอกันหรือผู้น้อย |
ในทํานองกันเอง, เป็นสรรพนามบุรุษที่ ๑. |
เกล้ากระผม | ส. คําใช้แทนตัวผู้พูด เพศชาย พูดกับผู้ใหญ่ด้วยความเคารพ |
มากหรือกับพระสงฆ์ผู้ทรงสมณศักดิ์, พูดสั้น ๆ ว่า เกล้า | |
หรือเขียนย่อว่า เกล้าฯ, เป็นสรรพนามบุรุษที่ ๑. |
เกล้ากระหม่อม | ส. คําใช้แทนตัวผู้พูด เพศชาย เพ็ดทูลพระอนุวงศ์ชั้นพระเจ้า |
วรวงศ์เธอที่มิได้ทรงกรม, พระวรวงศ์เธอที่ทรงกรม และสมเด็จ | |
พระสังฆราช, ถ้าผู้พูดเป็นเพศหญิงใช้ว่า เกล้ากระหม่อมฉัน, | |
เขียนย่อว่า เกล้าฯ, เป็นสรรพนามบุรุษที่ ๑. |
กระหม่อม | น. ส่วนของกะโหลกอยู่ตรงแนวศีรษะแต่ต่ำกว่าส่วนสูงสุดลงมา |
ใกล้หน้าผาก ในเด็กแรกเกิดจนถึง ๒ ขวบส่วนนี้จะมีเนื้อเยื่ออ่อน | |
ปิดรอยประสานกะโหลกที่ยังเปิดอยู่ หลังจากนั้นเนื้อเยื่ออ่อนนี้ | |
จะกลายเป็นกระดูก, โดยปริยายหมายรวม ๆ ว่า หัว เช่น เป่า | |
กระหม่อม ลงกระหม่อม, ขม่อม ก็ว่า; คําสําหรับใช้ควบกับคํา | |
ที่ขึ้นต้น ว่า ``เกล้า'' เช่น ทราบเกล้าทราบกระหม่อม ทูลเกล้า | |
ทูลกระหม่อม ในการเขียนหนังสือใช้ไปยาลน้อยแทน เช่น | |
ทราบเกล้าฯ ทูลเกล้าฯ. ส. คําใช้แทนตัวผู้พูด เพศชาย เพ็ดทูล | |
เจ้านายชั้นหม่อมเจ้า และพระวรวงศ์เธอที่มิได้ทรงกรม, เป็น | |
สรรพนามบุรุษที่ ๑. (ราชา) ว. คำรับหรือคำลงท้ายที่ผู้ชาย | |
ใช้เพ็ดทูลเจ้านายชั้นหม่อมเจ้า. (ย่อมาจาก ขอรับกระหม่อม). | |
(แผลงมาจาก ขม่อม). |
เขย | น. ชายที่มาแต่งงานกับญาติผู้หญิง, ผัวของญาติ, เช่น ถ้าเป็น |
ผัวของลูกสาว เรียก ลูกเขย ถ้าเป็นผัวของป้า เรียก ลุงเขย. |
ขันที | น. ชายที่ถูกตอน บางประเทศทางเอเชียสมัยโบราณใช้สําหรับ |
ควบคุมฝ่ายใน. |
คนดิบ | น. ชายที่ยังไม่ได้บวชเป็นพระภิกษุ. |
คนสุก | น. ชายที่บวชเป็นพระภิกษุและสึกแล้ว. |
โคแก่ชอบกินหญ้าอ่อน | (สํา) น. ชายสูงอายุที่ชอบผู้หญิงรุ่นสาว. |
เจ้าบ่าว | น. ชายผู้เข้าพิธีแต่งงานกับเจ้าสาว. |
ชาย ๑ | น. คนที่ไม่มีมดลูก, ผู้ชาย ก็ว่า. |
ชายชาตรี | น. ผู้มีศิลปะหรือฝีไม้ลายมือในการต่อสู้. |
ชายสามโบสถ์ | (สํา) น. ผู้ที่บวชแล้วสึกถึง ๓ หน, ใช้พูดเป็นเชิงตําหนิว่า |
เป็นคนที่ไม่น่าคบ. |
ชายโสด | น. ชายที่ยังไม่ได้แต่งงาน. |
ชายานุชีพ | (โบ) น. ผัวประจําของหญิงงามเมือง. (ส. ชายานุชีวินฺ). |
เชิงชายา ๑ | [เชดถา] (กลอน) น. พี่ชาย, คู่กับ กนิษฐา คือ น้องสาว. |
เชษฐ- ๑ | [เชดถะ] น. พี่ผู้เป็นใหญ่ เช่น เชษฐบุรุษ. (ป. เชฏฺฐ; ส. เชฺยษฺฐ). |
ว. ''เจริญที่สุด''. (ส.; ป. เชฏฺฐ), (ราชา) ถ้า ใช้ว่า พระเชษฐภคินี | |
หมายถึง พี่สาว, ถ้าใช้ว่า พระเชษฐภาดาหมายถึง พี่ชาย, ถ้า | |
ใช้ว่า พระเชษฐา หมายถึง พี่ชาย. |
ตัวพระ | น. ผู้แสดงละครรําหรือระบํา เข้าเครื่องละครรํา ใช้ลีลาท่ารําแบบชาย, |
พระเอกในเรื่องลิเก ละคร. |
เถ้าแก่ | น. ตําแหน่งข้าราชการฝ่ายในในพระราชสํานัก; ผู้ใหญ่ที่เป็นประธาน |
ในการสู่ขอและการหมั้น; เรียกชายจีนที่เป็นผู้ใหญ่และมีฐานะดี, | |
เรียกชายจีนที่เป็นเจ้าของกิจการ. (จ. เถ่าแก่). |
บา | น. ครู, อาจารย์; ชายหนุ่ม. |
บิตุละ, บิตุลา | (แบบ) น. ลุง, อา, (พี่น้องผู้ชายข้างพ่อ). (ป. ปิตุล). |
บริพาชก | [บอริพาชก] (แบบ) น. ปริพาชก, นักบวชผู้ชายนอกพระพุทธศาสนา |
ประเภทหนึ่งในอินเดีย. (ป. ปริพฺพาชก). |
บุรุษ, บุรุษ- | [บุหฺรุด, บุหฺรุดสะ-] น. ผู้ชาย, เพศชาย, คู่กับ สตรี, ใช้ในลักษณะ |
ที่สุภาพ; (ไว) คําบอกผู้พูด เรียกว่า บุรุษที่ ๑, คําบอกผู้ที่พูดด้วย | |
เรียกว่า บุรุษที่ ๒, คําบอกผู้ที่พูดถึง เรียกว่า บุรุษที่ ๓. (ส. ปุรุษ; | |
ป. ปุริส). |
บุรุษเพศ | [บุหฺรุดเพด] น. เพศชาย, คู่กับ สตรีเพศ. |
บัก ๑ | (ถิ่น) น. คําเรียกชายที่เสมอกันหรือตํ่ากว่า ตรงกับคําว่า อ้าย. |
ปั่ว | (โบ) น. พลเมือง; ผู้ชาย. |
ปิตุละ, ปิตุลา | น. ลุง, อา, (พี่น้องผู้ชายข้างพ่อ). (ป.). |
ปริพาชก | [ปะริ-] น. นักบวชผู้ชายในอินเดีย นอกพระพุทธศาสนา, เพศหญิง |
ใช้ว่า ปริพาชิกา หรือ ปริพาชี. (ป. ปริพฺพาชก). |
ประสก | (ปาก) น. ชายผู้แสดงตนเป็นคนถือพระพุทธศาสนา, คําที่บรรพชิต |
เรียกคฤหัสถ์ผู้ชาย, คู่กับ สีกา. (ตัดมาจาก อุบาสก). |
ปู่ | น. พ่อของพ่อ, ผัวของย่า, ญาติผู้ชายหรือชายที่นับถือชั้นปู่. |
ปู่ครู | น. ตําแหน่งสมณศักดิ์ครั้งกรุงสุโขทัยเป็นราชธานี. |
ปู่เจ้า | น. ผู้เฒ่าที่คนเคารพนับถือ, เจ้าปู่ ก็ว่า; เทพารักษ์ เช่น เขาใส่ |
สมญาเรา ปู่เจ้า. (ลอ). |
ปู่ทวด | น. พ่อของปู่หรือของย่า. |
ปู่น้อย | น. น้องชายของปู่. |
ปุม-, ปุมา | [ปุมะ-] ว. เพศชาย. (ป.). |
แป๊ะ | (ปาก) น. ชายจีนแก่; ชื่อเพลงไทยทํานองหนึ่ง. |
ผู้ชาย | น. ชาย. |
ผู้ชายพายเรือ | (สํา) น. ผู้ชายทั่วไป เช่น ผู้ชายพายเรืออยู่เต็มไป. (ขุนช้างขุนแผน), |
ผู้ชายรายเรือ ก็ว่า เช่น ดิฉันเป็นผู้หญิงสาว ไม่เหมือนผู้ชายรายเรือ. | |
(มิตรสภา). |
ผัว | น. สามี, ชายที่เป็นคู่ครองของหญิง, คู่กับ เมีย. |
ผม ๒ | ส. คําใช้แทนตัวผู้พูด เพศชาย ใช้พูดโดยสุภาพ, เป็นสรรพนาม |
บุรุษที่ ๑. |
พ่อเล้า | (ปาก) น. ผู้ชายผู้เป็นหัวหน้าเลี้ยงหญิงสาวไว้บำเรอชาย. |
พ่อ | น. ชายผู้ให้กําเนิดแก่ลูก; คําที่ลูกเรียกชายผู้ให้กําเนิดหรือเลี้ยง; |
ดูตนคําที่ผู้ใหญ่เรียกผู้ชายที่มีอายุน้อยกว่าด้วยความสนิทสนม | |
หรือรักใคร่เป็นต้นว่า พ่อนั่น พ่อนี่; คําใช้นําหน้านามเพศชาย | |
แปลว่า ผู้เป็นหัวหน้า เช่น พ่อเมือง; ผู้ชายที่กระทํากิจการหรือ | |
งานอย่างใดอย่างหนึ่ง เช่น ค้าขาย เรียกว่า พ่อค้า ทําครัว เรียกว่า | |
พ่อครัว; เรียกสัตว์ตัวผู้ ที่มีลูก เช่น พ่อม้า พ่อวัว. |
พ่อม่าย | น. ชายที่เมียตายหรือหย่ากัน. |
พ่อร้าง | (ถิ่น) น. ชายผู้เลิกกับเมีย. |
เพื่อนเจ้าบ่าว | น. ชายผู้ทำหน้าที่เป็นเพื่อนของเจ้าบ่าวในพิธีแต่งงาน. |
พระยาเทครัว | (ปาก) น. ชายที่ได้หญิงเป็นภรรยาทั้งแม่ทั้งลูกหรือทั้งพี่ทั้งน้อง. |
พ่อเลี้ยง | น. ผัวของแม่ แต่ไม่ใช่พ่อของตัว; (ถิ่นพายัพ) แพทย์; ชายที่มีฐานะดี. |
พระ | [พฺระ] น. คำใช้แทนชื่อเรียกภิกษุสงฆ์ เช่น วัดนี้มีพระกี่องค์ พระลงโบสถ์, |
พระพุทธรูป เช่น ชักพระ ไหว้พระในโบสถ์, พระพุทธเจ้า หรือ เนื่องด้วย | |
พระพุทธเจ้า เช่น เมืองพระ คําพระ พระมาตรัส, ชื่อวันประชุมถือศีลฟังธรรม | |
ในพระพุทธศาสนา เดือนหนึ่งมี ๔ วัน คือ วันขึ้น ๘ ค่ำ ขึ้น ๑๕ ค่ำ แรม ๘ ค่ำ | |
และแรม ๑๕ ค่ำ ถ้าเป็นเดือนขาดก็แรม ๑๔ ค่ำ เรียกว่า วันพระ; พระเจ้า, | |
พระเยซู, (ตามที่คริสต์ศาสนิกชนในเมืองไทยใช้อนุโลมเรียก) เช่น พระลงโทษ | |
แม่พระ; นักบวช, นักพรต, เช่น พระไทย พระแขก พระฝรั่ง พระจีน พระญวน; | |
ตัวเอกในเรื่องละคร เช่น ตัวพระตัวนาง; ใช้ประกอบหน้าคําอื่นแสดงความ | |
ยกย่อง ๑. เทพเจ้าหรือเทวดาผู้เป็นใหญ่ เช่น พระอิศวร พระนารายณ์ พระพิรุณ | |
๒. พระเจ้าแผ่นดินหรือของที่เกี่ยวข้องกับพระเจ้าแผ่นดินและเจ้านายชั้นสูง | |
เช่น พระมหากษัตริย์ พระราชวงศ์ ๓. สมณศักดิ์ชั้นราชาคณะ เช่น พระราชเวที | |
พระเทพเมธี ๔. นักบวช เช่น พระแดง ๕. สิ่งศักดิ์สิทธิ์ เช่น พระภูมิ; อิสริยยศ | |
เจ้านาย เช่น พระรามคําแหง พระนเรศวร พระเทียรราชา; บรรดาศักดิ์ข้าราชการ | |
สูงกว่าหลวง ต่ำกว่าพระยา เช่น พระสารประเสริฐ พระธรรมนิเทศทวยหาญ, | |
ใช้ประกอบหน้าชื่อบรรดาศักดิ์พระสนม; โดยปริยายหมายถึงผู้ที่มีเมตตากรุณา | |
ทรงคุณงามความดีเหมือนพระ เช่น ใจพระ พ่อแม่เป็นพระของลูก. ส. คําใช้แทน | |
ผู้ที่เราพูดถึง ใช้กับผู้เป็นใหญ่ เช่น พระเสด็จโดยแดนชล, เป็นสรรพนามบุรุษที่ ๓ |
พระเอก | น. ตัวเอกฝ่ายชายในการแสดงละครหรือภาพยนตร์เป็นต้น |
พระรอง | น. ตัวรองฝ่ายชายในการแสดงละครหรือภาพยนตร์เป็นต้น |
ภราดร, ภราดา, ภราตร, ภราตฤ | [พะราดอน, พะราดา, พะราตฺระ, พะราตฺรึ] น. พี่ชาย, น้องชาย. |
(ส. ภฺราตฺฤ; ป.ภาตา, ภาตุ). |
ภาตา, ภาตุ | น. พี่ชายน้องชาย. (ป.; ส. ภฺราตฺฤ). |
ภาติกะ | น. พี่ชายน้องชาย. (ป.; ส. ภฺราตฺฤ + ก). |
ภาตระ | [พาตะระ] น. พี่ชายน้องชาย. (ส. ภฺราตฺฤ). |
ภาติยะ | น. ลูกของพี่ชายน้องชาย, หลาน. (ป.; ส. ภาตฺรีย). |
ภาดร, ภาดา | น. พี่ชายน้องชาย, (ราชา) พระภาดา. (ส. ภฺราตฺฤ; ป. ภาตา) |
ภิกษุ | น. ชายที่บวชเป็นพระในพระพุทธศาสนา. (ส.; ป. ภิกฺขุ). |
มาณพ | [-นบ] น. ชายหนุ่ม, ชายรุ่น. (ป., ส.). |
มัชฌิมบุรุษ | น. ชายที่มีวัยปานกลาง, ชายที่มีอายุและกำลังปานกลาง. |
ยุว, ยุวา, ยุวาน | น. ชายหนุ่ม. ว. หนุ่ม, รุ่น. (ป.; ส. ยุวนฺ, ยุวานก). |
เยาวพาน | [วะพาน] น. ชายหนุ่ม. ว. หนุ่ม, รุ่น. (แผลงมาจาก ยุวาน). |
ลุง ๑ | น. พี่ชายของพ่อหรือแม่ หรือชายที่มีวัยไล่เลี่ยแต่แก่กว่าพ่อหรือแม่, |
คําเรียกชายที่ไม่รู้จักแต่มักจะมีอายุแก่กว่าพ่อหรือแม่. |
ลูกเขย | น. ชายซึ่งเป็นผัวของลูกสาว. |
ลูกผู้ชาย | น. เรียกผู้ชายที่มีความยุติธรรม ความซื่อสัตย์ เข้มแข็ง |
เด็ดเดี่ยว กล้าหาญ และมีความรับผิดชอบ เป็นต้น. |
ลูกสวาท | น. ชายที่ประพฤติตนอย่างนางบําเรอ. |
เลกวัด | (โบ) น. ชายฉกรรจ์ที่มีผู้อุทิศถวายให้แก่วัด. |
ลื้อ ๒ | (ปาก) ส. คำใช้แทนผู้ที่เราพูดด้วย เพศชาย ใช้พูดกับผู้ที่เสมอกัน |
หรือผู้น้อยในทำนองเป็นกันเอง, เป็นสรรพนามบุรุษที่ ๒. (จ. ลื่อ | |
ว่า คำใช้เรียกบุรุษที่ ๒). |
วีรบุรุษ | [วีระบุหฺรุด] น. ชายที่ได้รับยกย่องว่ามีความกล้าหาญ. |
สมิงมิ่งชาย | น. ชายชาติทหาร, ยอดชาย. |
หนุ่มน้อย | น. ชายที่อยู่ในวัยรุ่น. |
หนุ่มใหญ่ | น. ชายที่อยู่ในวัยกลางคน. |
หนุ่ม | น. ชายที่มีอายุพ้นวัยเด็ก นับตามความนิยมตั้งแต่ ๑๕-๓๐ ปี. ว. เรียกชาย |
ที่ยังดูไม่แก่ตามวัย เช่น ดูยังหนุ่มอยู่. |
หนูตกถังข้าวสาร | (สํา) น. ผู้ชายที่มีฐานะไม่ค่อยดีได้แต่งงานกับผู้หญิง |
ที่รุ่มรวย, ตกถังข้าวสาร ก็ว่า. |
อนุชา | [อะนุชา] น. ''ผู้เกิดภายหลัง'', น้องชาย, (ราชา) พระอนุชา. (ป., ส.). |
อา ๑ | น. น้องของพ่อ, (โบ) เขียนเป็น อาว์ ก็มี. (อีสาน อา ว่า น้องสาว |
ของพ่อ, อาว ว่า น้องชายของพ่อ). |
อ้าย ๒ | น. คําประกอบคําอื่นบอกให้รู้ว่าเป็นเพศชายหรือสัตว์ตัวผู้ |
อายัต | พูดกับคฤหัสถ์, เป็นสรรพนามบุรุษที่ ๑. (ส. อาตฺมภาว, อาตฺมา). |
อาตมภาพ, อาตมา ๑ | [พาบ, อาดตะมา] ส. คําใช้แทนตัวผู้พูดสําหรับพระภิกษุสามเณร |
พูดกับคฤหัสถ์, เป็นสรรพนามบุรุษที่ ๑. (ส. อาตฺมภาว, อาตฺมา). |
อุบาสก | น. คฤหัสถ์ผู้ชายที่นับถือพระพุทธศาสนาอย่างมั่นคง. |
(ป., ส. อุปาสก). |
ฮาจญ์ | น. เรียกชายที่ได้ไปทำพิธีฮัจญ์แล้ว, (ปาก) หะยี หัจญี หรือ ฮัจญี. |
ฮาจญะฮ์ น. เรียกหญิงที่ได้ไปทำพิธีฮัจญ์แล้ว, ฮัจญะฮ์ ก็เรียก. |
เก็บเข้าคอลเล็กชัน
ความคิดเห็น