ลำดับตอนที่ #41
คืนค่าการตั้งค่าทั้งหมด
คุณแน่ใจว่าต้องการคืนค่าการตั้งค่าทั้งหมด ?
ลำดับตอนที่ #41 : [คำไวพจน์] น้ำ, แม่น้ำ, ทะเล
กระสินธุ | (โบ; กลอน) น. แม่น้ำ เช่น กระแสกระสินธุสงสาร. (อุเทน). |
กุนที | [กุนนะที] น. แม่น้ำน้อย ๆ, แม่น้ำเล็ก ๆ, เช่น แตกเป็นนิเทศกุนที |
น้อย ๆ. (ม. ร่ายยาว กุมาร). (ป. กุนฺนที; ส. กุนที, กุ = น้อย + | |
นที = แม่น้ำ). |
กษีรารณพ | [กะสีราระนบ] น. ทะเลน้ำนม. (ส. กฺษีร + อรฺณว) |
กาสาร | [-สาน] (แบบ) น. สระ, บ่อ, ทะเลสาบ. (ส.) |
เกษียร | [กะเสียน] (แบบ) น. น้ำนม. (ส. กฺษีร; ป. ขีร).เกษียรสมุทร |
น. ทะเลน้ำนม, ที่ประทับของพระนารายณ์. (ส. กฺษีร + สมุทฺร) |
เกียน | น. อ่าว, ทะเล, เช่น เกาะเกียน. (ข.) |
คลอง | [คฺลอง] น. ทางนํ้าหรือลํานํ้าที่เกิดขึ้นเองหรือขุดเชื่อมกับแม่นํ้าหรือ |
ทะเล; ทาง, แนว, เช่น คลองธรรม. |
แคว | [แคฺว] น. ลํานํ้าที่ไหลมารวมกับลํานํ้าอีกสายหนึ่งซึ่งมีขนาดใหญ่ |
พอ ๆ กัน เช่น แควน้อย แควใหญ่; แม่น้ำหรือลำธารสายเล็กที่ไหล | |
ลงสู่แม่น้ำหรือลำธารสายใหญ่ เช่น แควป่าสัก. |
ฉทึง | [ฉะ-] น. แม่น้ำ เช่น ฉทึงธารคีรีเหวผา. (ดุษฎีสังเวย), ใช้ว่า จทึง ชทึง |
ชรทึง สทิง สทึง หรือ สรทึง ก็มี. (ข. สฺทึง ว่า คลอง). |
ชร ๒ | [ชอน] น. น้ำ เช่น ชรเซาะเขาเราตกแต่ง. (คําฤษดี), ชรธารา. |
(ม. คําหลวง วนปเวสน์). |
ชล, ชล | [ชน, ชนละ] น. นํ้า. (ป., ส.) |
ชลธาร | น. ลํานํ้า, ลําคลอง, ร่องนํ้า, ห้วย, ทะเลสาบ. |
ชลธารก | น. สายนํ้า, กระแสนํ้า. |
ชลธิศ | น. ชลธี, ทะเล |
ชลธี | น. ทะเล. (ป.) |
ชลสถาน | น. บ่อ, สระ. (ส.) |
ชลัมพุ | (แบบ) น. นํ้า เช่น และไขชลัมพุธารา. (อภิไธยโพธิบาทว์). (ป. ชล + อมฺพุ) |
ชลาธาร | น. บ่อ, สระ. (ส.) |
ชลาลัย | น. ทะเล, แม่นํ้า. (ป., ส. ชล + อาลย = ที่อยู่ของนํ้า) |
ชลาศัย | น. บ่อ, สระ, ทะเล; ปลา. (ส.; ป. ชลาสย) |
ชลาสินธุ์ | น. ทะเล, แม่น้ำ, เช่น ข้าเป็นไรแทรกขนสุบรรณบิน เร็วรีบยิ่งมหาวายุ |
พัดกวักกวัดปีกข้ามชลาสินธุ์. (กากี), น้ำ เช่น พระเหลือบเล็งชลาสินธุ์ | |
ในวารินทะเลวน ก็เห็นรูป อสุรกล ซึ่งกลายแกล้งเป็นสีดา. (พากย์นางลอย). |
ทะเลหลวง | น. ทะเลใหญ่, มหาสมุทร, ทะเลหรือมหาสมุทรที่อยู่นอกน่านนํ้า |
อาณาเขตของประเทศที่เป็นเจ้าของ. |
นที | [นะ] (แบบ) น. แม่นํ้า. (ป.). |
นทีรัย | น. กระแสนํ้า. (ส.) |
นีร | [นีระ] (แบบ) น. นํ้า. (ป., ส.) |
ธาร ๒ | [ทาน] น. นํ้า, ลําธาร, ห้วย, หยาดนํ้า, ท่อนํ้า. (ตัดมาจาก ธารา) |
ธารา ๑ | น. สายนํ้า, ลําธาร, ห้วย, หยาดนํ้า, ท่อนํ้า. (ป., ส.) |
มหาสมุทร | น. ทะเลใหญ่. (ส.; ป. มหาสมุทฺท) |
มโหฆะ | น. ห้วงนํ้าใหญ่, ทะเลใหญ่; นํ้ามาก, นํ้าท่วมมาก. (ส., ป. มหา + โอฆ) |
มหรณพ, มหรรณพ, มหารณพ | [มะหอระนบ, มะหันนบ, มะหาระนบ] น. ทะเลใหญ่, ห้วงนํ้าใหญ่. (ส. มหรฺณว; ป. มหณฺณว). |
รัตนากร | น. คลังเงินทอง; ทะเล. (ส.) |
รหัท | น. ห้วงนํ้า, บ่อนํ้า, หนอง, ทะเล. (ป. รหท; ส. หฺรท). |
ละหาร | น. ห้วงน้ำ. (เทียบมลายู ว่า lahar) |
วาริ, วารี, วาริช, วารีช, วาริท, วาริธร | น. นํ้า. (ป., ส.). |
สทิง | [สะ] น. แม่น้ำ, ใช้ว่า จทึง ฉทึง ชทึง ชรทึง สทึง หรือ สรทึง ก็มี. |
(ข. สฺทึง ว่า คลอง). |
สินธุ์ | (กลอน) น. ลำน้ำ, แม่น้ำ, สายน้ำ, น้ำ, ทะเล, มหาสมุทร, |
เช่น เหาะข้ามสินธุ์ไปยังขุนยุคุนธร. (สมบัติอัมรินทร์), ใช้ | |
ว่า สินธุ หรือ สินธู ก็มี. |
สินธู | (กลอน) น. ลำน้ำ, แม่น้ำ, สายน้ำ, น้ำ, ทะเล, มหาสมุทร, |
เช่น มังกรเกี่ยวเลี้ยวล่องท้องสินธู เป็นคู่คู่เคียงมาในวารี. | |
(อภัย), ใช้ว่า สินธุ หรือ สินธุ์ ก็มี. |
สมุทร ๑, สมุทร | [สะหฺมุด, สะหฺมุดทฺระ] น. ทะเลลึก; เรียกทะเลขนาดใหญ่ ซึ่งมี |
แผ่นดินโอบล้อมเป็นตอน ๆ ว่า มหาสมุทร เช่น มหาสมุทรอินเดีย | |
มหาสมุทรแปซิฟิก. (ส.; ป. สมุทฺท). |
อัณณพ | น. อรรณพ, ห้วงนํ้า, ทะเล, มหาสมุทร. (ป. อณฺณว; ส. อรฺณว). |
อรรณพ | [อันนบ] น. ห้วงนํ้า, ทะเล, มหาสมุทร. (ส. อรฺณว; ป. อณฺณว) |
อมฤตรส | [อะมะรึดตะ] น. น้ำทิพย์; พระธรรม (ในพระพุทธศาสนา). |
อำมฤต | [มะริด, มะรึด] น. น้ำทิพย์ เรียกว่า น้ำอำมฤต; เครื่องทิพย์; |
แผลงมาจาก อมฤต. (ส. อมฺฤต; ป. อมต). |
อัฏฐบาน | [บาน] น. น้ำที่คั้นจากผลไม้ มี ๘ อย่าง คือ น้ำมะม่วงน้ำชมพู่ |
หรือน้ำหว้า น้ำกล้วยมีเม็ด น้ำกล้วยไม่มีเม็ด น้ำมะซาง น้ำ | |
ลูกจันทน์หรือน้ำองุ่น น้ำเหง้าอุบล น้ำมะปรางหรือน้ำลิ้นจี่, | |
เขียนว่า อัฐบาน ก็มี. |
อุท | [อุทะ] น. นํ้า. (ป., ส.). |
อุทบาน | [บาน] น. บ่อนํ้า, สระน้ำ. (ป., ส. อุท + ปาน) |
อุทพินทุ์ | [พิน] น. หยาดนํ้า. (ป., ส. อุท + พินฺทุ). |
อุทก, อุทก | [อุทกกะ, อุทก] น. นํ้า. (ป., ส.) |
อุทกธาร, อุทกธารา | น. สายนํ้า, ท่อนํ้า. (ป., ส.) |
อาปะ, อาโป | น. นํ้า, เมื่อใช้เป็นส่วนหน้าของสมาสมักใช้ว่า อาโป เช่น |
อาโปกสิณ อาโปธาตุ. |
เก็บเข้าคอลเล็กชัน
ความคิดเห็น