ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    สะสมคำศัพท์

    ลำดับตอนที่ #37 : [ความรู้สึก] รัก, ชอบ

    • อัปเดตล่าสุด 20 พ.ย. 53



    ชอบ ก. พอใจ เช่น ชอบอ่านหนังสือ ชอบเที่ยว; ถูกต้อง เช่น คิดชอบ ชอบแล้ว;
    เหมาะ เช่น ชอบด้วยกาลเทศะ; ถูกใจ, ถูกกัน, เช่น เขาชอบกันมาก,
    บางทีใช้หมายความไปในเชิงว่ารักใคร่ก็มี เช่น หนุ่มสาวชอบกัน;
    มีสิทธิ์ เช่น ชอบที่จะทําได้.

    ชอบพอ ก. รักใคร่กัน, ถูกอัธยาศัยกัน.

    ชู้สาว ว. รัก ๆ ใคร่ ๆ, เชิงกามารมณ์, เช่น เรื่องชู้สาว.

    ติดพัน ก. เกี่ยวข้อง, เกี่ยวเนื่องกัน, เช่น การรบติดพัน;
    รักใคร่ชอบพอ เช่น ติดพันผู้หญิง.

    ตาเฟื้องตาสลึง (สํา) น. ตาที่แสดงอาการว่าชอบพอรักใคร่ เป็นการทอดไมตรีในทาง
    ชู้สาว (มักใช้แก่หญิงสาว).

    ตาเล็กตาน้อย (สํา) น. ตาที่แสดงอาการว่าชอบพอรักใคร่ เป็นการทอดไมตรีในทาง
    ชู้สาว (มักใช้แก่หญิงสาว), ตาที่แสดงอาการประจบประแจง (มักใช้แก่เด็ก).

    ต้องใจ ก. ชอบ, ถูกใจ.

    ติดใจ ก. ชอบ, ฝังอยู่ในใจ; ข้องใจ.

    ถ่านไฟเก่า (สํา) น. ชายหญิงที่เคยรักใคร่หรือเคยได้เสียกันมาก่อนแม้เลิกร้าง
    กันไป เมื่อมาพบกันใหม่ย่อมรักใคร่หรือปลงใจกันได้ง่ายขึ้น.

    ถูกกัน ก. เข้ากันได้, ชอบพอกัน.

    ถูกอกถูกใจ ก. ชอบ, ต้องใจ, ถูกใจ ก็ว่า.

    ถูกใจ ก. ชอบ, ต้องใจ, ถูกอกถูกใจ ก็ว่า.

    ถูกเส้น (ปาก) ว. เข้ากันได้, ชอบพอกัน, ถูกอกถูกใจ.

    ถูกคอ ก. ชอบพอ, ถูกอัธยาศัยกัน, มีรสนิยมเข้ากันได้.

    แนบแน่น ว. สนิทแน่น เช่น รักอย่างแนบแน่น.

    แน่นแฟ้น ว. มั่นคง เช่น รักกันแน่นแฟ้น ผูกมัดแน่นแฟ้น.

    นิยม (แบบ) น. การกําหนด. (ป., ส.). ก. ชมชอบ, ยอมรับนับถือ, ชื่นชมยินดี,
    ถ้าใช้ประกอบท้ายคําสมาสบางคํามีความหมายว่า ลัทธิ เช่น ชาตินิยม
    สังคมนิยม.

    บริรม [บอริรม] ก. ชอบใจ, ยินดี. (ส. ปริรม).

    โปรดปราน ก. เอ็นดู, รักใคร่.

    ปฏิพัทธ์ก. เนื่องกัน, ผูกพัน, รักใคร่. (ป. ปฏิพทฺธ; ส. ปฺรติพทฺธ).

    พึงพอใจ ว. รัก, ชอบใจ.

    พึงใจ ว. พอใจ, ชอบใจ.

    พอใจ ก. สมใจ, ชอบใจ. ว. เหมาะ.

    พลอดรัก ก. พูดจาอ่อนหวานต่อกันในเรื่องรัก ๆ ใคร่ ๆ.

    พิสมัย[พิดสะไหฺม] น. ความรัก, ความปลื้มใจ, ความชื่นชม. ก. รักใคร่
    หลงใหล เช่น ฉันไม่เห็นจะพิสมัยเธอเลย. ว. ควรชม. (ส. วิสฺมย;
    ป. วิมฺหย ว่า ความแปลกใจ).

    พิศวาส[พิดสะหฺวาด] ว. รักใคร่, สิเนหา, เช่น ไม่น่าพิศวาส. (ส. วิศฺวาส;
    ป. วิสฺสาส ว่า ความคุ้นเคย).

    แฟน (ปาก) น. ผู้นิยมชมชอบ เช่น แฟนเพลง แฟนภาพยนตร์ แฟนมวย,
    ผู้เป็นที่ชอบพอรักใคร่, คู่รัก, สามีหรือภรรยา.

    ภักดี น. ความจงรัก, ความเลื่อมใสยิ่ง. (ส. ภกฺติ; ป. ภตฺติ).

    มโนชน. ''เกิดแต่ใจ'' คือ ความรัก. (ส.).

    มิ่งมิตร น. เพื่อนรัก, เมียรัก.

    มักคุ้น, มักจี่ ก. ชอบพอกัน, คุ้นเคยกัน, ใช้ว่า รู้จักมักคุ้น รู้จักมักจี่.

    มัก ก. ชอบ, พอใจ, เช่น เลือกที่รักมักที่ชัง. ว. โดยมาก, ค่อนข้าง, เนือง ๆ, เช่น
    มักมีอันเป็นไปต่าง ๆ มักเป็นคนขี้ลืม.

    มลัก[มะลัก] ก. ลัก, ลอบ; มัก; รัก; เห็น. ว. มากเช่น รู้มลัก.

    ยาวบั่น สั้นต่อ (สํา) ก. รักจะอยู่ด้วยกันนาน ๆ ให้ตัดความคิดอาฆาต
    พยาบาทออกไป รักจะอยู่กันสั้น ๆ ให้คิดอาฆาตพยาบาทเข้าไว้, รักยาว
    ให้บั่น รักสั้นให้ต่อ ก็ว่า.

    ยินดี ก. ชอบใจ, ดีใจ.

    รัก ๒ ก. มีใจผูกพันด้วยความห่วงใย เช่น พ่อแม่รักลูก รักชาติ รักชื่อเสียง,
    มีใจผูกพันด้วยความเสน่หา, มีใจผูกพันฉันชู้สาว, เช่น ชายรักหญิง,
    ชอบ เช่น รักสนุก รักสงบ.

    รักใคร่ ก. รัก เช่น พี่น้องคู่นี้รักใคร่กันดี.

    รติน. ความยินดี, ความชอบใจ; ความรัก, ความกําหนัด, แผลงใช้ว่า ฤดี
    หรือ รดี ก็ได้. (ป., ส.).

    วิมลัก [วิมะ] (โบ) ว. รักยิ่ง.

    หลาทะ [หะลาทะ] ก. ชอบใจ, พอใจ. (ส.).

    สวาสดิ์ [สะหฺวาด] ก. รักใคร่, ยินดี.

    สวาดิ ๒ [สะหฺวาด] (โบ) ก. รักใคร่, ยินดี.

    สันถว, สันถวะ [สันถะวะ] น. การนิยมชมชอบกัน, การสรรเสริญซึ่งกันและกัน;
    ความคุ้นเคย, ความสนิทสนมกัน. (ป.; ส. สํสฺตว).

    เอกภักดิ์ [เอกกะ] ว. จงรักต่อคนคนเดียว, ซื่อตรง

    อานก, อานิก [นก, นิก] ก. เอ็นดู, รักใคร่. (ข. อาณิต).

    ฮัก ๒ (ถิ่นอีสาน, พายัพ) ก. รัก.

    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×