ลำดับตอนที่ #36
คืนค่าการตั้งค่าทั้งหมด
คุณแน่ใจว่าต้องการคืนค่าการตั้งค่าทั้งหมด ?
ลำดับตอนที่ #36 : [ความรู้สึก] กลัว, วิตก
กลัว | [กฺลัว] ก. รู้สึกไม่อยากประสบสิ่งที่ไม่ดีแก่ตัว เช่น กลัวบาป |
กลัวถูกติเตียน, รู้สึกหวาดเพราะคาดว่าจะประสบภัย เช่น | |
กลัวเสือ กลัวไฟไหม้ |
เกรงกลัว | ก. กลัว. |
กริ่งเกรง | ก. ระแวงกลัวไป. |
กลัวลาน | ก. กลัวจนตั้งสติไม่อยู่. |
เข็ดขยาด | ก. กลัวมากจนไม่กล้าทำ. |
ขยาด | [ขะหฺยาด] ก. ครั่นคร้าม, กลัวเพราะเคยรู้ฤทธิ์มาแล้ว, เข็ดเพราะ |
เคยได้รับผลร้ายมาแล้ว. |
เข็ด ๒ | ก. กลัวจนไม่กล้าทําเช่นนั้นอีก เพราะเคยได้รับผลร้ายมาแล้ว, |
หลาบจํา, ไม่กล้าสู้, เช่นในคําว่า เข็ดข้อ เข็ดข้อเข็ดลํา เข็ดเขี้ยว. |
คร้ามเกรง | ก. เกรงกลัว. |
คุ้มเกรง | ก. ปกป้องไว้ให้คนอื่นเกรงกลัว. |
คร้าม | [คฺร้าม] ก. ขยาด, ไม่กล้าสู้, กลัวเกรง, มักใช้เข้าคู่กับคำ ครั่น เป็น |
ครั่นคร้าม หมายความว่า เกรงขาม, รู้สึกพรั่นพรึง, สะทกสะท้าน | |
ด้วยความกลัว. |
ถอดสี | ก. แสดงอาการหวาดหวั่นครั่นคร้ามให้เห็น (มาจากปลากัดตัวที่ |
แพ้จะถอดสี) เช่น กลัวจนหน้าถอดสี. |
ปอด ๑ | (สรีร) น. อวัยวะทําหน้าที่เกี่ยวกับการหายใจอยู่ภายในร่างกาย |
ของคนหรือสัตว์ที่มีกระดูกสันหลังเป็นส่วนมาก; ตัวสกาที่ข้าม | |
เขตไปไม่ได้. ว. กลัวจนไม่กล้าทำอะไร. |
ตระหนก | [ตฺระหฺนก] ก. หวาด, ผวา, สะดุ้ง, ตกใจ. |
ภีตะ | ก. กลัว. (ป., ส.). |
ภีรุ, ภีรุก | [พีรุกะ] ว. กลัว, ขี้ขลาด. น. ผู้หญิง เช่น ภีรุอวตาร ว่า อวตารเป็น |
ผู้หญิง. (แช่งนํ้า). (ป., ส.). |
เป็นทุกข์, เป็นทุกข์เป็นร้อน | ก. วิตกกังวล, เดือดเนื้อร้อนใจไม่เป็นสุข. |
ปรารมภ์ | [ปฺรารม] ก. เริ่มแรก; วิตก, รําพึง, ครุ่นคิด. (ส. ปฺรารมฺภ ว่า เริ่มแรก, |
เริ่มต้น). |
ประหวั่น | ก. พรั่นใจ. |
พิดรก | [ดฺรก] (กลอน) ก. วิตก. (ส. วิตรฺก; ป. วิตกฺก). |
แยง ๒ | ก. เยง, กลัว, เกรง. |
ย่อแหยง | [แหฺยง] ก. เกรงกลัว |
เยง | ก. กลัว, เกรง, ใช้ว่า แยง ก็มี. |
ยำเกรง | ก. เกรงกลัวเพราะความเคารพนับถือ, ยําเยง ก็ว่า. |
ระลง | (กลอน) ก. ครั่นคร้าม, กลัว. |
ร้อนตัว | ก. กลัวว่าโทษหรือความเดือดร้อนจะมาถึงตัว. |
ระรัว | ว. รัว ๆ, สั่นถี่ ๆ, สั่นสะท้าน, เช่น กลัวจนตัวสั่นระรัว เสียงสั่นระรัว. |
ละล้าว | ว. อย่างเกรงกลัว เช่น ไหว้ละล้าว. (นิ. นรินทร์). |
ลานตา. | ว. ตั้งสติไม่อยู่เพราะกลัว, มักใช้ควบกับคํา กลัว เป็น กลัวลาน |
เช่น เด็กถูกดุเสียจนกลัวลาน |
วาบ | ว. อาการที่รู้สึกร้อน เย็น กลัว ตกใจ เสียวใจ เป็นต้น ขึ้นทันทีแล้ว |
หายไปดับไป เช่น เย็นวาบ ใจหายวาบ เสียววาบ; วับ. |
วิตกจริต | [วิตกกะจะหฺริด, วิตกจะหฺริด] ว. มีนิสัยคิดไปในทางร้าย |
ทางเสีย. (ป.). |
วิตก, วิตก | [วิตกกะ, วิตก] ก. เป็นทุกข์, ร้อนใจ, กังวล, เช่น วิตกว่าจะเกิด |
สงคราม, มักใช้เข้าคู่กับคำกังวล เป็น วิตกกังวล เช่น อย่าวิตกกังวล | |
ไปนักเลยพรุ่งนี้สถานการณ์คงจะดีขึ้น. น. ความตรึก, ความตริ, | |
ความคิด. (ป. วิตกฺก; ส. วิตรฺก ว่า ลังเลใจ). |
สยอน | [สะหฺยอน] ก. หวาดเสียว, กลัว. |
สุดขีด | ว. เต็มที่, มากที่สุด, เช่น กลัวสุดขีด โมโหสุดขีด. |
สั่น | ก. ไหวถี่ ๆ เช่น กลัวจนตัวสั่น หนาวจนคางสั่น, ทําให้ไหวถี่ ๆ เช่น |
สั่นกระดิ่ง สั่นหัว. |
แสยะ | [สะแหฺยะ] ก. อาการของปากที่แบะออก แสดงให้รู้ว่า เกลียด |
เกลียดกลัว เยาะเย้ย หรือ ดูแคลน. |
สะทกสะท้าน | ก. รู้สึกเกรงกลัว, รู้สึกเกรงกลัวจนตัวสั่น, เช่น เขาข่มขู่ฉันเสีย |
จนสะทกสะท้านพูดไม่ถูก เธอตอบคำถามผู้บังคับบัญชาอย่าง | |
ไม่สะทกสะท้าน. |
หนาวใจ | ว. สะท้านใจ, เยือกเย็นใจ, คร้ามเกรงภัย, กลัว. |
ไหล่ห่อ | น. ไหล่ที่คู้เข้าเพราะหนาวหรือเกรงกลัวเป็นต้น. |
ห่อไหล่ | ก. ทำไหล่ทั้ง ๒ ให้คู้เข้าเพราะหนาวหรือเกรงกลัวเป็นต้น. |
หิริโอตตัปปะ | [หิหฺริโอดตับปะ] น. ความละอายบาปและความเกรงกลัว |
บาป, ความละอายใจ. (ป.). |
หงอ | ว. อาการที่กลัวจนตัวงอ, อาการที่กลัวลานหรือครั่นคร้ามไม่กล้าสู้, ในคำว่า |
กลัวหงอ, ใช้ว่า หงอก๋อ ก็มี. |
หวาด | ก. สะดุ้งกลัว, กริ่งเกรง, เสียว, หวั่น. |
หวาดกลัว, หวาดเกรง | ก. มีความรู้สึกกริ่งเกรง, รู้สึกสะดุ้งกลัว. |
หวาดหวั่น | ก. พรั่นกลัว, สะดุ้งกลัว, หวั่นหวาด ก็ว่า. |
หวาดระแวง | ก. หวั่นเกรงสงสัยไปเอง. |
หวั่นกลัว, หวั่นเกรง | ก. หวั่นวิตกไปเอง, นึกกลัวไปเอง. |
หนักใจ | ก. วิตก เช่น เขาหนักใจในการสอบครั้งนี้. ว. ลําบากใจ เช่น |
เขารู้สึกหนักใจที่ต้องไปค้ำประกันลูกของเพื่อน, บางทีใช้เข้าคู่กับคำ | |
หนักอก เป็น หนักอกหนักใจ. |
หนักอก | ก. วิตก เช่น อย่าประพฤติตัวเหลวไหลทำให้พ่อแม่หนักอก. |
ว. ลำบากใจ เพราะต้องแบกภาระไว้มาก เช่น ปัญหาเศรษฐกิจตกต่ำ | |
เป็นปัญหาหนักอกของรัฐบาล, บางทีใช้เข้าคู่กับคำ หนักใจ เป็น | |
หนักอกหนักใจ. |
อยู่หมัด | ก. เกรงกลัวฝีปากหรือฝีมือ, ยอมอยู่ในอํานาจ. |
อยู่มือ | ก. เกรงกลัวไม่กล้าฝ่าฝืน, อยู่ในบังคับไม่กล้าฝ่าฝืน |
โอตตัปปะ | [โอด] น. ความเกรงกลัวบาป, มักใช้เข้าคู่กับคำ หิริ เป็น |
หิริโอตตัปปะ. (ป.). |
เก็บเข้าคอลเล็กชัน
ความคิดเห็น