ลำดับตอนที่ #16
คืนค่าการตั้งค่าทั้งหมด
คุณแน่ใจว่าต้องการคืนค่าการตั้งค่าทั้งหมด ?
ลำดับตอนที่ #16 : [คำอุทาน+วิเศษณ์แสดงอารมณ์]
ชิ, ชิชะ, ชิชิ | อ. คําที่เปล่งออกมาเมื่อรู้สึกโกรธหรือไม่ชอบใจเป็นต้น. |
ชะมัด | ว. มาก, ยิ่ง, เช่น เก่งชะมัด, ชะมัดยาด ก็ว่า. |
แล้วกัน | (ปาก) ว. คำที่เปล่งออกมาแสดงความไม่พอใจหรือผิดหวัง |
เป็นต้น เช่น แล้วกันกินขนมหมดไม่เหลือไว้ให้เลย แล้วกัน | |
ไปเมื่อไรก็ไม่บอก; คำที่ใช้ลงท้ายข้อความแสดงว่าเป็นอัน | |
ยุติกัน เช่น ขอโทษเขาเสียหน่อยก็แล้วกัน วันนี้ยังเขียนไม่ | |
เสร็จ เอาไว้พรุ่งนี้แล้วกัน. |
วุ้ย | อ. คำที่เปล่งออกมาเมื่อรู้สึกตกใจ เก้อเขิน หรือไม่พอใจ เป็นต้น |
(โดยมากเป็นเสียงผู้หญิง) เช่น วุ้ย น่ารำคาญ. |
วะ ๑ | ว. บ๊ะ, คำที่เปล่งออกมาแสดงอารมณ์ผิดคาดหรือผิดหวังเป็นต้น, |
อุวะ หรือ ว้า ก็ว่า; คำบอกเสียงต่อท้ายประโยคแสดงความคุ้นเคย | |
เป็นกันเองหรือแสดงความไม่สุภาพ เช่น ไปไหนวะ. |
ว้า ๑ | อ. คำที่เปล่งออกมาเมื่อรู้สึกไม่พอใจหรือผิดจากที่คาดไว้เป็นต้น. |
ว. คําออกเสียงลงท้ายประโยคแสดงความสงสัยหรือปลอบใจเป็นต้น | |
เช่น หายไปไหนว้า อย่าเสียใจไปเลยว้า. |
ว้าย | อ. คําที่เปล่งออกมาแสดงอาการตกใจหรือดีใจเป็นต้น |
(โดยมากเป็นเสียงผู้หญิง). |
โว้ย | ว. คําลงท้ายของการร้องเรียก ถาม หรือขานรับเป็นต้น ใช้ใน |
ลักษณะที่ไม่สุภาพหรือเป็นกันเอง เช่น แดงโว้ย ไปไหนโว้ย | |
ไปตลาดมาโว้ย เบื่อจริงโว้ย, เว้ย ก็ว่า. อ. คําที่เปล่งออกมาแสดง | |
ความสงสัยหรือไม่พอใจเป็นต้น เช่น โว้ย! ไม่มีใครอยู่สักคนเลย, | |
เว้ย ก็ว่า |
เสร็จกัน, เสร็จเลย | (ปาก) คำที่เปล่งออกมาแสดงความผิดหวัง เช่น เสร็จกัน ยัง |
ไม่ทันได้ออกแสดง เสื้อผ้าก็เปื้อนหมดแล้ว เสร็จเลย ลืมเอา | |
กระเป๋าสตางค์มา. |
หือ ๑ | อ. คำที่เปล่งออกมาเมื่อรู้สึกสงสัยเพื่อถามหรือเมื่อยังไม่ได้ยินหรือไม่เข้าใจ, |
(เป็นคำสำหรับผู้ใหญ่กว่าหรือเสมอกันใช้). |
หื้อ ๑ | อ. คำที่เปล่งออกมาแสดงความรับรู้. |
หน็อยแน่ | ว. คำที่เปล่งออกมาเมื่อไม่พอใจหรือผิดหวัง เช่น หน็อยแน่ ! ทําผิดแล้ว |
ยังจะอวดดีอีก. |
อื้อฮือ | อ. คำที่เปล่งออกมาแสดงความแปลกใจเป็นต้น. |
อนิจจัง ๒, อนิจจา | [อะนิด] อ. คำที่เปล่งออกมาแสดงความสงสารสังเวชเป็นต้น. |
อูย | ว. คำที่เปล่งออกมาเมื่อรู้สึกเจ็บหรือถูกหยิก, อุย หรือ อุ่ย ก็ใช้. |
โอย ๑, โอ๊ย | อ. คําที่เปล่งออกมาแสดงความรู้สึกเจ็บปวด หรือรู้สึกว่ามากยิ่ง |
แปลก เป็นต้น. |
ฮะ | อ. คําที่เปล่งออกมาเมื่อรู้สึกสะดุดใจ แปลกใจ หรือเมื่อชะงัก เป็นต้น. |
ฮะฮ้าย, ฮะไฮ้ (กลอน) อ. คําที่เปล่งออกมาแสดงความเยาะเย้ย. | |
ฮะเฮ้ย อ. คำที่เปล่งออกมาเพื่อดุว่าหรือห้ามเป็นต้น, ฮ้าเฮ้ย ก็ว่า. |
ฮ้า | อ. คําที่เปล่งออกมาด้วยความตกใจ ประหลาดใจ หรือเพื่อห้าม. |
ฮ้าไฮ้ อ. เสียงลูกคู่ร้องรับในเพลงบางชนิด เช่นเพลงเห่เรือ. | |
ฮ้าเฮ้ย อ. คำที่เปล่งออกมาเพื่อดุว่าหรือห้ามเป็นต้น เช่น ฮ้าเฮ้ย | |
เด็กน้อยถอยขยายเสือร้ายจะเดินทาง อย่าเข้ามาขวางจังหวะทำโว้เว้ | |
(ม. ร่ายยาว กุมาร), ฮะเฮ้ย ก็ว่า. |
เฮ่อ | อ. คำที่เปล่งออกมาแสดงความดูแคลนหรือไม่เชื่อถือ. |
เฮ่ย | อ. คำที่เปล่งออกมาแสดงความขัดแย้งไม่เห็นด้วยหรือเห็นว่า |
ไม่สำคัญเป็นต้น. |
เฮ้ย | อ. คําที่เปล่งออกมาเพื่อให้รู้ตัวหรือให้ยั้งเป็นต้น. |
แฮก, แฮก ๆ | ว. อาการที่หอบเพราะเหนื่อยมาก. |
เก็บเข้าคอลเล็กชัน
ความคิดเห็น