ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    สะสมคำศัพท์

    ลำดับตอนที่ #24 : [กริยา] หัวเราะ

    • เนื้อหาตอนนี้เปิดให้อ่าน
    • 9.17K
      26
      31 มี.ค. 52


    หัวเราะก. เปล่งเสียงแสดงความขบขัน ดีใจ ชอบใจ เป็นต้น, ใช้เข้าคู่กับคํา
    หัวไห้ เป็น หัวเราะหัวไห้ ก็มี, หัวร่อ ก็ว่า, (โบ) เขียนเป็น หวัวเราะ ก็มี

    กระซิกกระซี้ ก. หัวเราะเย้าหยอกกัน, ระริก, ซิกซี้ ก็ว่า.

    ขัน ๔ ก. หัวเราะ, นึกอยากหัวเราะ. ว. น่าหัวเราะ, ชวนหัวเราะ, ขบขัน ก็ว่า.

    คิก ๆ ว. เสียงหัวเราะเบา ๆ.

    คัก, คั่ก, คั่ก ๆ ว. เสียงดังอย่างเสียงฝนตกหนัก; เสียงหัวเราะ.

    ครื้นเครง [คฺรื้นเคฺรง] ว. เสียงดังครึกครื้น, สนุกสนาน เช่น หัวเราะกันอย่าง
    ครื้นเครง, มีอารมณ์สนุกสนาน เช่น เขาเป็นคนครื้นเครง

    ติดตลก ก. เอาตัวตลกมาเล่นแทรกเพื่อให้ตัวละครหรือคน
    ร้องพัก, มักพูดใช้สํานวนโวหารหรือแสดงท่าทาง
    ชวนให้คนหัวเราะขบขัน.

    ร่า ว. อาการที่แสดงให้เห็นว่าเบิกบานเต็มที่ เช่น หัวเราะร่า ยิ้มร่า; เปิด
    เต็มที่ (ใช้แก่อาการที่เห็นจะแจ้งหรือเปิดเผยเต็มที่) เช่น ประตูเปิดร่า
    หน้าต่างเปิดร่า.

    ลั่น ก. มีเสียงดัง เช่น ฟ้าลั่น ไม้ลั่น กระดานลั่น, ทำให้มีเสียงดังหรือ
    ทำให้เกิดเสียงดัง เช่น ลงบันได บันไดลั่น บิดตัวจนกระดูกลั่น;
    ยิง เช่น ลั่นธนู ลั่นปืน; ปริออกแตกออกเป็นทางยาวและมีเสียงดัง
    เช่น จั่นลั่น แก้วใส่น้ำร้อนลั่น; โดยปริยายหมายถึงมีเสียงดังคล้าย
    คลึงเช่นนั้น เช่น ลือลั่น. ว. มีเสียงดังมาก เช่น หัวเราะลั่น ร้องไห้ลั่น.

    สรวล [สวน] ก. หัวเราะ, ราชาศัพท์ใช้ว่า ทรงพระสรวล.

    เสสรวล [–สวน] ก. หัวเราะร่าเริง, หัวเราะอย่างสนุกสนานครึกครื้น,
    สรวลเสหรือ สรวลเสเฮฮา ก็ว่า.

    แหะ, แหะ ๆ ว. เสียงคนหัวเราะมีเสียงเช่นนั้น. ก. ทำเสียงดังเช่นนั้น เช่น เขาไม่พูดอะไร
    ได้แต่แหะ ๆ.

    หัวร่อ ก. เปล่งเสียงแสดงความขบขัน ดีใจ ชอบใจ เป็นต้น, หัวเราะ ก็ว่า,
    (โบ) เขียนเป็น หวัวร่อ ก็มี.

    หัว ๓ (โบ) ก. เปล่งเสียงแสดงความขบขัน ดีใจ ชอบใจ เป็นต้น, หัวเราะ หรือ
    หัวร่อ ก็ว่า, ใช้ว่า หวัว หวัวเราะ หรือ หวัวร่อ ก็มี.

    ฮา ก. หัวเราะเสียงดังพร้อม ๆ กันเพราะขบขันหรือชอบใจ เช่น นักเรียน
    ฮากันทั้งห้อง. ว. อาการหัวเราะของคนหมู่มากเพราะขบขันหรือ
    ชอบใจ เช่น เสียงฮา. อ. คําสร้อยที่ใช้ในบทร้อยกรอง เช่น แม่ฮา พี่ฮา.
    ฮาป่า ก. ส่งเสียงดังพร้อม ๆ กันแสดงความไม่พอใจหรือขับไล่.
    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    นิยายที่ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×