ควิดดิชในยุคต่าง ๆ - ควิดดิชในยุคต่าง ๆ นิยาย ควิดดิชในยุคต่าง ๆ : Dek-D.com - Writer

    ควิดดิชในยุคต่าง ๆ

    เรียนรู้เรื่องควิดดิชให้ลึกซึ้ง

    ผู้เข้าชมรวม

    581

    ผู้เข้าชมเดือนนี้

    3

    ผู้เข้าชมรวม


    581

    ความคิดเห็น


    0

    คนติดตาม


    0
    เรื่องสั้น
    อัปเดตล่าสุด :  14 มี.ค. 50 / 15:03 น.


    ข้อมูลเบื้องต้นของเรื่องนี้
    ตั้งค่าการอ่าน

    ค่าเริ่มต้น

    • เลื่อนอัตโนมัติ


      ควิดดิชในยุคต่าง ๆ

      สนามควิดดิช

      แซกคาเรียส มัมส์ บรรยายสภาพสนามในคริสต์ศตวรรษที่ 14 ว่าเป็นรูปไข่ ยาวห้าร้อยฟุตและกว้างหนึ่งร้อยแปดสิบฟุต มีวงกลมเล็กๆ ตรงกลาง (เส้นผ่าศูนย์กลางประมาณสองฟุต) มัมส์เล่าว่ากรรมการ (หรือที่เรียกกันในเวลานั้นว่าควีจัดจ์) ถือลูกบอลสี่ลูกในวงกลมตรงกลางนี้โดยที่มีผู้เล่นสิบสี่ คนยืนอยู่รอบๆ ทันทีที่ลูกบอลถูกปล่อยลอยไป (กรรมการขว้างลูกควัฟเฟิล ดูเรื่อง ควัฟ-เฟิล ที่อยู่ถัดไป) ผู้เล่นจะแข่งกันบินขึ้นไปในอากาศ ในสมัย อากาศ ในสมัยของมัมส์ ประตูนั้นยังคงเป็นตะกร้าใบใหญ่แขวนบนเสาสูง เมื่อ ค.ศ. 1620 ควินตัส อัมฟราวิลล์ เขียนหนังสือเรื่อง กีฬาชั้นสูงของผู้วิเศษ มีภาพแผนผังสนามในคริสต์ศตวรรษที่ 17 รวมอยู่ด้วย เราจะเห็นว่า มีการเพิ่มสิ่งที่เรารู้จักกันว่าเป็น \'เขตทำคะแนน\' ตะกร้าที่บนยอดเสานั้นเล็กและอยู่สูงกว่าในสมัยของมัมส์ พอถึง ค.ศ. 1883 เลิกใช้ตะกร้าในการทำคะแนน และเปลี่ยนมาใช้เสาประตูดังเช่นที่ใช้กันทุกวันนี้ มีรายงานเรื่องประดิษฐกรรมใหม่นี้ในหนังสือพิมพ์ เดลี่พรอเฟ็ต สมัยนั้น สนามควิดดิชไม่มีการเปลี่ยนแปลงอีกต่อไปนับตั้งแต่นั้นมา



      ไม้กวาด

      เหมือนไม้กวาดของมักเกิ้ลธรรมดา แต่ถูกร่ายมนตร์ให้บินได้ เป็นยานพาหนะของพ่อมดแม่มด ในเกมใช้เพื่อบินขึ้นไปตีหรือจับลูกบอลควิชดิชที่บินไปมา





      ลูกควัฟเฟิล

      เรารู้จากบันทึกของเกอร์ตี้ เค็ดเดิล ว่าลูกควัฟเฟิลในยุคแรกนั้นทำจากหนัง ในบรรดาลูกบอลทั้งสี่ลูกใน เกมควิดดิช ควัฟเฟิลเป็นลูกบอลเดียวที่ไม่ได้ลงคาถาไว้ตั้งแต่ต้น เป็นเพียงลูกบอลที่ทำจากแผ่นหนังเย็บปะติดปะต่อกัน ส่วนมากมักมีสายหนังยื่น มาให้จับและขว้างได้ด้วยมือเดียว ลูกควัฟเฟิลสมัยโบราณมีรูให้สอดนิ้วเข้าไปได้ อย่างไรก็ตาม เมื่อพบคาถาเกาะติดใน ค.ศ. 1875 สายหนังและรูนิ้ว มือก็ไม่จำเป็นอีกต่อไป ในเมื่อเชสเซอร์สามารถใช้มือข้างเดียวก็จับลูกหนังที่ลงคาถาได้โดยไม่ต้องมีเครื่องช่วยอื่นๆ ควัฟเฟิลปัจจุบันมีเส้นผ่าศูนย์ กลางสิบสองนิ้ว และไม่มีตะเข็บเลย ตอนแรกในการแข่งขันฤดูหนาวปี ค.ศ. 1711 ลูกควัฟเฟิลมีสีแดง หลังจากที่ฝนตกหนักมากทำให้สีของควัฟเฟิล ไม่ต่างจากสีโคลนในสนามทุกครั้งที่มันตกลงไป นอกจากนี้ พวกเชสเซอร์ยังหงุดหงิดมากที่ต้องบินดิ่งลงไปยังพื้นสนามอยู่เรื่อยๆ เพื่อเก็บลูก ควัฟเฟิลกลับมาทุกครั้งที่ลูกควัฟเฟิลเปลี่ยนสี แม่มดชื่อ เดซี่ เพนนีโฟลด์ ก็เกิดความคิดเสกควัฟเฟิลว่า ถ้ามันตก ให้ค่อยๆ ตกลงไปที่พื้นเหมือน กับว่ามันกำลังจมลงไปในน้ำ หมายความว่าเชสเซอร์สามารถบินลงไปคว้าควัฟเฟิลที่ตกมาได้กลางอากาศ \'ควัฟเฟิลเพนนีโฟลด์\' ยังคงใช้กันอยู่จน ทุกวันนี้







      ลูกบลัดเจอร์

      ในสมัยแรก อย่างที่เรารู้กัน บลัดเจอร์ (หรือบลัดเดอร์) คือก้อนหินบิน และในยุคของมัมส์ก็พัฒนาเป็นหินที่เกลาให้เป็นรูปลูกบอล อย่างไรก็ตาม บลัดเจอร์หินนี้มีข้อเสียที่สำคัญมากคือ มันแตกได้ถ้ามีบีตเตอร์ตีด้วยไม้ที่เพิ่มพลังเวทมนตร์ซึ่งประดิษฐ์ในคริสต์ศตวรรษที่ 15 ถ้าเป็นเช่นนี้ ผู้เล่นทุก คนต่างก็ต้องถูกก้อนกรวดบินไล่ตามตลอดเกมการแข่งขัน คงจะเป็นด้วยเหตุผลนี้เอง ต้นศตวรรษที่ 16 ทีมควิดดิชบางทีจึงเริ่มทดลองใช้ลูกบลัดเจอร์ทำจากโลหะแทน อากาธา ชับบ์ผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับ ประดิษฐกรรมเวทมนตร์โบราณพบลูกบลัดเจอร์ทำด้วยตะกั่วไม่น้อยกว่าสิบสองลูกที่มีอายุเก่าแก่ตั้งแต่ยุคนั้น โดยพบทั้งในหนองถ่านหินของ ไอร์แลนด์ และที่หนองน้ำในประเทศอังกฤษ เธอเขียนไว้ว่า \'ไม่ต้องสงสัยเลยว่าพวกนี้คือลูกบลัด-เจอร์ มันไม่ใช่ลูกปืนใหญ่แน่นอน\' เราเห็นรอยมากจางๆ บนไม้ตีที่เพิ่มพลังด้วยเวทมนตร์ และเรายังเห็นร่องรอยที่เป็นเครื่องหมายบอกว่าผลิตโดยพ่อมดได้ชัดเจน (ตรงข้ามกับของที่ผลิตโดยมักเกิ้ล) คือ เส้นนั้นราบเรียบและมีส่วนสัดรับกันอย่างสมบูรณ์ ร่องรอยสุดท้ายคือลูกตะกั่วเหล่านี้ทุกลูกบินหวือรอบๆ ห้องทำงานของข้าพเจ้า และพยายามพุ่งชนข้าพเจ้าให้ล้มกระแทกพื้นทันทีที่ปล่อยมันออกมาจากกล่องในที่สุดพบว่าตะกั่วนั้นก็ยังอ่อนเกินไปที่จะใช้ ผลิตบลัดเจอร์ (รอยบุบเบี้ยวใดๆ ที่ปรากฏอยู่บนบลัดเจอร์มีผลกระทบต่อความสามารถในการบินให้ตรงของบลัดเจอร์) ปัจจุบันนี้ บลัดเจอร์ทุก ลูกทำด้วยเหล็ก มีเส้นผ่าศูนย์กลางยาวสิบนิ้ว บลัดเจอร์ถูกเสกให้ไล่ตามผู้เล่นโดยไม่แยกแยะ ถ้าปล่อยให้บลัดเจอร์เป็นไปตามธรรม-ชาติของมัน บลัดเจอร์จะบุกใส่ผู้เล่นที่อยู่ใกล้มันที่สุด ดังนั้น จึงเป็นหน้าที่ของบีตเตอร์ที่จะหวดไล่บลัดเจอร์ไปให้ไกลจากทีมมากที่สุดเท่าที่จะทำได้





      ลูกโกลเด้นสนิช

      ลูกสนิชสีทองมีขนาดเท่าลูกวอลนัต เช่นเดียวกับนกสนิดเจ็ต ลูกสนิชสีทองถูกเสกให้หนีการไล่จับให้นานที่สุดเท่าที่จะทำได้ มีเรื่องเล่ากันว่าลูกสนิชสี ทองลูกหนึ่งหนีการไล่จับอยู่นานถึงหกเดือนที่ทุ่งโบ๊ดมินมัวร์ ใน ค.ศ. 1884 ในที่สุด ทั้งสองทีมต่างยอมแพ้ เพราะรู้สึกเบื่อหน่ายกับความไม่เอาไหน ของซีกเกอร์ฝ่ายตน พ่อมดจากแคว้นคอร์นวอลที่คุ้นเคยกับบริเวณดังกล่าวยืนยันมาจนทุกวันนี้ว่า ลูกสนิชยังคงมีชีวิตอยู่ในทุ่งที่ราบสูงนั้น แต่ ข้าพเจ้าเองไม่สามารถหาหลักฐานมายืนยันได้ว่าเรื่องนี้เป็นความจริง

      นิยายที่ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

      loading
      กำลังโหลด...

      คำนิยม Top

      ยังไม่มีคำนิยมของเรื่องนี้

      คำนิยมล่าสุด

      ยังไม่มีคำนิยมของเรื่องนี้

      ความคิดเห็น

      ×