ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    พัฒนาการด้านศิลปะ วัฒนธรรม และภูมิปัญญาไทย

    ลำดับตอนที่ #5 : ศิลปะรัตนโกสินทร์ตอนต้น (รัชกาลที่ 1-3 พ.ศ.2325-พ.ศ.2394)

    • เนื้อหานิยายตอนนี้เปิดให้อ่าน
    • 35.4K
      39
      6 พ.ย. 52

    ศิลปะรัตนโกสินทร์ตอนต้น (รัชกาลที่ 1-3 พ.ศ.2325-พ.ศ.2394)
    ศิลปะรัตนโกสินทร์ เริ่มตั้งแต่พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก ทรงสถาปนากรุงเทพมหานครขึ้นใน พ.ศ.2325
    1.สถาปัตยกรรม กล่าวกันว่า การสร้างกรุงเทพฯ เป็นการนำแบบอย่างของปราสาทราชวัง และวัดวาอารามที่ถูกทำลายเมื่อครั้งกรุงศรีอยุธยาแตกมารื้อฟื้นขึ้นอีกครั้ง โดยระดมช่างฝีมือต่างๆที่แตกฉานซ่านเซ็นไปเมื่อครั้งกรุงแตกให้กลับมารวมกัน เพื่อจะได้แสดงฝีมือสร้างสรรค์ผลงานขึ้นมาใหม่ เริ่มจากการก่อสร้างพระบรมมหาราชวัง ในพ.ศ.2325 มีการสร้างวัดพระศรีรัตนศาสดารามเป็นวัดในพระราชวังเช่นเดียวกับวัดพระศรีสรรเพชญ์ และมีวังหน้าเรียกว่า พระราชวังบวรสถานมงคล วัดหลวง คือพระมหาราชวัง และวังหลัง คือพระราชวังบวรสถานพิมุข
    อาคารบ้านเรือนยังคงสร้างบ้านไม้แบบเรือนไทยกันทั่วไป ในสมัยรัชกาลที่ 3 เปลี่ยนแปลงไปบ้าง คือเจ้านายและขุนนางนิยมก่อสร้างอาคารบ้านเรือนโวยอิฐโบกปูน และมุงหลังคาด้วยกระเบื้องแบบจีน
    สถาปัตยกรรมทางด้านศาสนาไม่ได้เปลี่ยนแปลงไปจากเดิม ยังนิยมสร้างปรางค์และเจดีย์ปรางค์สิบสอง เช่น ปรางค์วัดระฆังโฆสิตาราม ปรางค์วัดอรุณราชวราราม ในกรุงเทพมหานคร ในปลายสมัยรัชกาลที่ 3 เริ่มมีความนิยมสร้างเจดีย์ทรงกลมแบบลังกา เช่น เจดีย์ที่วัดราชสิทธาราม กรุงเทพมหานคร เป็นต้น
            โบสถ์และวิหารก็ยังคงเลียนแบบมาจากอยุธยา คือ เป็นทรงโรงฐานแอ่นโค้งตกท้องช้าง เช่น พระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม จนถึงสมัยรัชกาลที่ 3 มีการเปลี่ยนแปลงรูปแบบของโบสถ์วิหารครั้งสำคัญกลายเป็นแบบที่มีอิทธิพลศิลปะจีนเป็นอย่างมาก เรียกว่า แบบพระราชนิยม กล่าวคือ เลิกระบบช่อฟ้า ใบระกา หางหงส์ เสาทำเป็นสี่เหลี่ยมไม่มีหัวเสา หน้าบันประดับลายปูนปั้นหรือเครื่องถ้วยจีน ศิลปะแบบพระราชนิยมนี้เป็นที่นิยมกันแพร่หลาย ดังนั้น วัดที่สร้างใหม่และวัดที่ได้รับการบูรณปฏิสังขรณ์ในรัชกาลนี้จึงมักสร้างตามศิลปะแบบพระราชนิยมแทบทั้งสิ้น เช่น วัดราชโอรสาราม วัดเฉลิมพระเกียรติ วัดนางนอง วัดกัลยาณมิตร และวัดมหรรณพาราม ในกรุงเทพมหานคร
    ยังมีสถาปัตยกรรมในรัชกาลที่ 3 ที่แปลกออกไปจากรัชกาลอื่นๆอีก เช่น พระเจดีย์ที่วัดยานนาวามีฐานเป็นรูปสำเภาเท่าสำเภาจริงๆ มีพระราชประสงค์จะให้คนรุ่นหลังได้รู้จักสำเภาจีนว่าทีรูปร่างเป็นอย่างไร นอกจากนี้ก็มีการสร้างโลหะปราสาทแทนเจดีย์ในวัดราชนัดดา กรุงเทพมหานคร เป็นโลหะปราสาทตามแบบลังกา แต่โลหะปราสาทที่ลังกาขณะนั้นทรุดโทรมมากแทบจะเหมือแต่เสา โลหะปราสาทที่สร้างขึ้นใหม่จึงคิดแบบต่อเติมตามความพอใจของไทย มียอดถึง 37 ยอด ซึ่งหมายถึง โพธิปักขิยธรรม 37

           2.ประติมากรรม สมัยรัตนโกสินทร์มิได้ให้ความสำคัญในการสร้างพระพุทธรูปเหมือนกับสมัยสุโขทัยหรืออยุธยา แต่มุงไปที่การสร้างวัดและบูรณปฏิสังขรณ์วัดวาอารามมากกว่า พระพุทธรูปที่สร้างในสมัยรัชกาลที่ 1 เช่น พระประธานที่อุโบสถวัดมหาธาตุ กรุงเทพมหานคร มีรูปแบบโน้มเอียงไปทางศิลปะอยุธยาและอู่ทอง รัชกาลที่ 2-3 เช่น พระพุทธตรีโลกเชษฐ์ พระประธานในอุโบสถวัดสุทัศนเทพวราราม เป็นพระพุทธรูปหล่อใหญ่ที่สุดในสมัยรัตนโกสินทร์ พระพุทธไสยาสน์ (พระนอน) ที่วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม มีความยาว 1 เส้น 3 วา สูง 7.5 วา เป็นพระนอนที่มีความงดงาม ก่อด้วยอิฐแบะปูน แล้วปิดทองทับ ที่พระบาทมีลวดลายประดับมุกเป็นภาพมงคล 108 ประการ
    ประติมากรรมตกแต่งที่แปลกในสมัยนี้ คือ ความนิยมนำภาพสลักตุ๊กตาหินยืนกลางแจงมาประดับไว้ตามประตู คามลาน ทำเป็นรูปคน ตัวงิ้ว รูปสิงโต โดยใช้ช่างฝีมือชาวจีน 

    3.จิตรกรรม จิตรกรรมรัตนโกสินทร์ตอนต้น ถือเป็นยุคแบบแผนของจิตรกรรมแบบประเพณีไทยเพราะมีรูปแบบที่พัฒนาสืบต่อมาจากสมัยอยุธยาจนเกิดลักษณะเฉพาะของจิตรกรรมแบบประเพณีไทย มีทั้งจิตรกรรมฝาผนัง ภาพพระบฏ ตลอดจนภาพเขียนแบบสมุดไทย
    ภาพกิจกรรมฝาผนังมักเขียนเรื่องราวในพระพุทธศาสนา นิยมเรื่องทศชาติชาดก และพระพุทธประวัติ รวมทั้งภาพชีวิตเจ้านายและสามัญชน ภาพบ้านเมือง ภาพชนบท ตลอดจนประเพณีการละเล่นต่างๆ รูปแบบของจิตรกรรมที่จัดว่าเป็นแบบอย่างของสมัยนี้ คือ ภาพเทวดาและกษัตริย์ ราชสำนัก จะเขียนอย่างงดงาม มีการปิดทองให้ดูเด่น จะแสดงความรู้สึกด้วยกิริยาอาการ แต่ใบหน้าสงบนิ่งไม่แสดงความรู้สึกใดๆ ท่าทางจะเป็นท่าอย่างละคร หรือเป็นท่าประดิษฐ์มากกว่าจะเป็นท่าทางธรรมชาติ ส่วนภาพคนธรรมดาจะเขียนตามสภาพความเป็นจริง
    สำหรับภาพพระบฏ คือ ภาพที่เขียนเกี่ยวกับพระพุทธศาสนาลงบนผ้า ซึ่งเริ่มมาตั้งแต่สมัยอยุธยา นิยมวาดเป็นภาพพระพุทธองค์ยืนอยู่ตรงกลาง มีสาวกประกอบอยู่สองข้าง และมีภาพวาดพุทธประวัติและทศชาติอีกด้วย
    ส่วนภาพเขียนแบบสมุดไทย หรือหนังสือตัวเขียนแบบสมัยโบราณมี 2 ชนิด ชนิดหนึ่งเขียนลงบนใบลานเป็นแผ่นๆ อีกชนิดหนึ่งเขียนกระดาษข่อย หนังสือใบลานใช้เฉพาะเรื่องในพระพุทธศาสนา แต่สมุดข่อยใช้กับเรื่องราวต่างๆได้ทั่วไป เช่น ตำราพิชัยสงครามประกอบด้วยยุทธวิธี กระบวนพยุหยาตรา ตำราทางสถาปัตยกรรม นาฏศิลป์ เป็นต้น
    อนึ่งในสมัยรัชกาลที่ 3 มีจิตรกรรมไทยแบบพระราชนิยมเกิดขึ้นด้วย คือ จิตกรรมฝาผนังที่เขียนแบบศิลปะแบบจีน เขียนเป็นรูปเซียนจีนบ้าง เครื่องโต๊ะบูชา และ ฮก ลก ซิ่ว ภาพทิวทัศน์ประกอบด้วยท้องฟ้า ต้นไม้ ดอกไม้ สัตว์ เพิ่มภาพลวดลายหรือภาพเทพชุมนุมบ้าง เช่น จิตรกรรมฝาผนังวัดภคินีนาถ วัดมหรรณพาราม กรุงเทพมหานคร เป็นต้น

    4.ประณีตศิลป์ ในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น ประณีตศิลป์มีความสำคัญ เพราะมีสิ่งจำเป็นที่จะต้องสร้างขึ้นใหม่แทนของที่ถูกทำลายและของเก่าที่ชำรุดไปแล้ว งานศิลปะประเภทนี้ เช่น เครื่องราชกกุธภัณฑ์ (พระมหาพิชัยมงกุฎ พระแสงขรรค์ชัยศรี ธารพระกร พัดกับแส้จามรี และฉลองพระบาท) เครื่องราชูปโภค (เครื่องมนัสการ ราชยาน ราชรถ เรือพระที่นั่ง พระโกศ) การตกแต่งบานประตูโบสถ์วิหาร ตู้พระธรรมเก็บคัมภีร์พระไตรปิฎก พระแท่นราชบัลลังก์ต่างๆ และสิ่งของเครื่องใช้ของชาวบ้าน มีการรวบรวมช่างประเภทต่างๆที่เรียกว่า ช่างสิบหมู่ เข้ามาสร้างงานประณีตศิลป์ ได้แก่ ช่างเขียน ช่างแกะ ช่างสลัก ช่างกลึง ช่างหล่อ ช่างปั้น ช่างหุ่น ช่างรัก ช่างบุ และช่างปูน

    5. นาฏศิลป์และดุริยางคศิลป์ นาฏศิลป์ประเภทโขน ละคร ระบำ หุ่น และหนัง เฟื่องฟูมากขึ้นในสมัยต้นรัตนโกสินทร์ พระมหากษัตริย์ทรงถือเป็นพระราชภาระให้การสนับสนุน เช่น รัชกาลที่ 1 โปรดเกล้าฯ ให้มีการฝึกหัดโขนขึ้นทั้งในฝ่ายวังหลวง วังหน้า ตลอดจนเจ้านายและขุนนางผู้ใหญ่ และยังโปรดเกล้าฯ ให้ประชุมพวกครูละครจัดทำตำราท่ารำขึ้นใหม่ เพื่อรักษาแบบแผนการฟ้อนรำของไทยให้เป็นแบบฉบับ ความเอาพระทัยใส่มีมากถึงกับทรงพระราชนิพนธ์บทละครเอง ได้แก่ เรื่องอุณรุท รามเกียรติ์ อิเหนา และดาหลัง
           ราชสำนักของรัชกาลที่ 2 ยิ่งทุ่มเทให้แก่โขนละครฟ้อนรำมากขึ้นไปอีก ความสนพระทัยของกษัตริย์ทำให้ได้พัฒนาละครราชสำนักขึ้น จนเกิดแบบแผนที่ละเอียดซับซ้อนในทุกด้าน นับตั้งแต่บทละครซึ่งทรงพระราชนิพนธ์โดยตั้งพระทัยจะให้ใช้เล่นละครได้จริง จนกล่าวได้ว่า ละครในที่แท้จริงถือกำเนินในรัชสมัยนี้ก็ได้
    ถึงสมัยรัชกาลที่ 3 ละครรุ่งเรืองตามบ้านขุนนางและวังเจ้านาย เช่น กรมพระราชวังบวรสถานมงคล กรมหมื่นศักดิพลเสพ เจ้าพระยาบดินทรเดชา เจ้าพระยานครฯ (น้อย) ต่างก็หัดละครผู้หญิงของตนเองขึ้นทั้งชุด โดยเฉพาะตัวละครของเจ้าพระยานครฯ ทำให้ละครโนราชาตรีของปักษ์ใต้เข้ามาเฟื่องฟูอยู่ในกรุงเทพฯ เพราะเมื่อเจ้าพระยาพระคลังลงไปปราบปรามระงับเหตุการณ์หัวเมืองภาคใต้ใน พ.ศ. 2375 ตัวละครขอติดตามกองทัพเข้ามากรุงเทพฯ และตั้งบ้านเรือนอยู่ตำบลสนามกระบือ (คือบริเวณถนนหลานหลวงในปัจจุบัน) และรวมตัวกันตั้งเป็นคณะรับเหมาแสดงในงานต่างๆ เป็นที่พอใจของชาวกรุงมาก ละครชาตรีตำบลสนามกระบือเป็นที่ขึ้นชื่อลือนามและฝึกหัดสืบต่อมา
           สำหรับดนตรีไทยก็มีการพัฒนาและเปลี่ยนแปลงไปมาก ในด้านเครื่องดนตรีมีการเพิ่มเครื่องดนตรีเข้าไปในวงมโหรีและวงปี่พาทย์ จนเกิดวงปี่พาทย์เครื่องคู่และวงมโหรีเครื่องคู่ขึ้น
           วงมโหรีประกอบด้วยเครื่องดีด สี ตี เป่า ได้แก่ เครื่องดีดใช้จะเข้ เครื่องสีใช้ซอต่างๆ โดยเฉพาะซอสามสายเป็นเอกลักษณ์ของวงดนตรีชนิดนี้ เครื่องตีใช้ระนาด ฆ้องวง และเครื่องตีกำกับจังหวะที่สำคัญ คือ โทน รำมะนา เครื่องเป่าใช้ขลุ่ย
           วงปี่พาทย์ เป็นวงดนตรีที่ประกอบด้วยเครื่องตีเป็นหลัก ที่สำคัญ ได้แก่ ระนาดเอก ระนาดทุ้ม ฆ้องวงใหญ่ ฆ้องวงเล็ก เครื่องเป่าคือปี่ใน มีเครื่องกำกับจังหวะ คือ ฉิ่งและตะโพน กลองทัด
            วงปี่พาทย์เครื่องคู่ มีเครื่องดนตรี ดังนี้
               ระนาดเอก 1 ราง คู่กับระนาดทุ้ม 1 ราง
               ฆ้องวงใหญ่ 1 วง คู่กับฆ้องวงเล็ก 1 วง
               ปี่นอก 1 เลา คู่กับปี่ใน 1 เลา
               ฉิ่ง 1 คู่ ตะโพน 1 ใบ กลองทัด 2 ใบ
            วงมโหรีเครื่องคู่ประกอบด้วยฉาบเล็ก ฉิ่ง โหม่ง กรับพวง โทน รำมะนา ซอด้วง ขลุ่ยเพียงออ ฆ้องวงใหญ่ ฆ้องวงเล็ก ขลุ่ยหลีบซออู้ จะเข้ 2 ตัว ระนาดเอก ระนาดทุ้ม ซอสามสายหลีบ

           6. วรรณกรรม ในสมัยรัตนโกสินทร์ วรรณกรรมสมัยรัชกาลที่ 1-2 และต้นรัชกาลที่ 3 มีพัฒนาการสืบเนื่องมาจากปลายสมัยอยุธยาและสมัยธนบุรี คือ เป็นร้องกรองประเภทโคลง ฉันท์ กาพย์ กลอน มีทั้งนิยาย บทพรรณนา สุภาษิต ส่วนแนวเรื่องจะเกี่ยวกับพุทธประวัติ สุภาษิต บทสดุดี ชาดก ความรัก สงครามกับความรัก สำหรับร้องแก้วมีน้อย เป็นงานแปลจากภาษาทางเอเชีย 4 เรื่อง ได้แก่ อิหร่านราชธรรม แปลจากภาษาเปอร์เซีย    ไซฮั่น สามก๊ก แปลจากภาษาจีน ราชาธิราช แปลจากภาษามอญ งานแต่ง     1 เรื่อง คือ ไตรภูมิโลกวินิจฉัย ของพระยาธรรมปรีชา (แก้ว) และเป็นงานเขียนหรือชำระพระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยา 4 เล่ม คือ พระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยาฉบับพันจันทนุมาศ (เจิม) พระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยาฉบับจำลอง จ.ศ. 1145 พระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยาฉบับสมเด็จพระพนรัตน์ และพระราชพงศาวดารกรุงสยาม จากต้นฉบับของบริติชมิวเซียม กรุงลอนดอน
    วรรณกรรมรุ่งเรืองมากในสมัยรัชกาลที่ 2 พระมหากษัตริย์ทรงพระราชนิพนธ์ทั้งบทละครในเรื่องอิเหนา รามเกียรติ์บางตอน บทละครนอกเรื่องสังข์ทอง ไกรทอง คาวี ไชยเชษฐ์ และมณีพิชัย นอกจากนี้ยังทรงพระราชนิพนธ์ กาพย์เห่เรือ บทพากย์โขนบางตอน และเสภาขุนช้างขุนแผนบางตอน ถือเป็นวรรณกรรมร้อยกรองยอดเยี่ยม กวีอื่นๆ ก็มีนายนรินทร์ธิเบศร์ แต่งนิราชนรินทร์ พระยาตรัง แต่งโคลงนิราศตามเสด็จลำน้ำน้อย โคลงนิราศถลาง โคลงเฉลิมพระเกียรติรัชกาลที่ 2 กลอนเพลงยาว และเป็นผู้รวบรวมโคลงของกวีโบราณไว้ 25 บท
           กวีคนสำคัญที่ถือกันว่าเป็นกวีของประชาชนในสมัยนี้คือ สุนทรภู่ สร้างสรรค์ผลงานหลายประเภทคือ นิราศ บทละคร เสภา กลอน กาพย์ กลอนสุภาษิต บทเห่
           ในช่วงกลางสมัยรัชกาลที่ 3 คือ ใน พ.ศ. 2379 ได้เกิดการพิมพ์ขึ้นในประเทศไทย ถือเป็นหัวเลี้ยวหัวต่อสำคัญของวรรณกรรม เริ่มจากการเกิดหนังสือพิมพ์ ซึ่งทำให้เกิดนักเขียนและนักอ่านเพิ่มขึ้น อย่างไรก็ตาม ในระยะแรกจำนวนคนเขียนและคนอ่านยังมีน้อย วรรณกรรมไทยจึงเป็นวรรณกรรมสำหรับคนในหมู่เดียวกัน ฐานะทางเศรษฐกิจใกล้เคียงกัน และฐานะทางสังคมก็เกือบจะเท่ากัน
    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    นิยายที่ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×