ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    พัฒนาการด้านศิลปะ วัฒนธรรม และภูมิปัญญาไทย

    ลำดับตอนที่ #3 : ศิลปะสุโขทัย (พุทธศตวรรษที่ 19-20)

    • เนื้อหาตอนนี้เปิดให้อ่าน
    • 3.39K
      10
      6 พ.ย. 52

    ศิลปะไทยตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ 19 เป็นต้นมา
    ศิลปะสุโขทัย (พุทธศตวรรษที่ 19-20)
    ศิลปะสุโขทัยจัดเป็นศิลปะที่มีความงดงามและมีลักษณะเป็นของตนเองมากที่สุด โดยเฉพาะการสร้างพระพุทธรูป ศิลปะสุโขทัยได้รับอิทธิพลจากศิลปะลังกา ศรีวิชัย ขอมหรือเขมร พม่า ผสมผสานปรับปรุงให้สอดคล้องกับอุดมคติของตนเองอย่างเหมาะสมกลมกลืน และมีอิทธิพลต่อศิลปะอื่นๆ ของไทยในระยะต่อมา
    1.สถาปัตยกรรม ส่วนใหญ่สร้างขึ้นเนื่องจากในพระพุทธศาสนา โดยเฉพาะสถูปเจดีย์มีลักษณะเฉพาะของสุโขทัย แบ่งเป็นเจดีย์ทรงพุ่มข้าวบิณฑ์ หรือทรงดอกบัวตูม เป็นเจดีย์สุโขทัยแท้ และเจดีย์ทรงกลมแบบลังกา พร้อมกับพระพุทธศาสนาลัทธิลังกาวงศ์ เป็นเจดีย์สร้างบนฐานสี่เหลี่ยมยกสูงประดับปูนปั้นเป็นรูปช้าง เช่น เจดีย์วัดช้างล้อม เมืองสุโขทัยและเมืองศรีสัชนาลัย นอกจากนี้ยังมี เจดีย์แบบศรีวิชัย ที่มีฐานและองค์ระฆังสูงทำสี่เหลี่ยม บางทีก็มีคูหาประดิษฐานพระพุทธรูป บางทีก็ไม่มี ตอนบนของเจดีย์เป็นทรงกลมแบบลังกา มีเจดีย์องค์เล็กๆ ประกอบอยู่ทั้ง 4 มุม แสดงอิทธิพลของศิลปะศรีวิชัย ได้แก่วัดเจดีย์เจ็ดแถว เมืองศรีสัชนาลัย
          
    นอกจากนี้ยังมี เจดีย์แบบศรีวิชัย ที่มีฐานและองค์ระฆังสูงทำสี่เหลี่ยม บางทีก็มีคูหาประดิษฐานพระพุทธรูป บางทีก็ไม่มี ตอนบนของเจดีย์เป็นทรงกลมแบบลังกา มีเจดีย์องค์เล็กๆ ประกอบอยู่ทั้ง 4 มุม แสดงอิทธิพลของศิลปะศรีวิชัย ได้แก่วัดเจดีย์เจ็ดแถว เมืองศรีสัชนาลัย      
    สถาปัตยกรรมอีกลักษณะหนึ่ง ได้แก่ พระปรางค์ มักจะเลียนแบบปรางค์ในศิลปะลพบุรี เป็นปรางค์แบบเขมรซึ่งมีอยู่เดิม แต่ถูกดัดแปลงเป็นปรางค์แบบไทย คือ ทรงสูงชะลูดขึ้นกว่าเดิม มียอดเรียวแหลมเพิ่มลวดลายตกแต่งแบบสุโขทัยเข้าไป ปรางค์เหล่านี้เดิมเป็นเทวาลัยในลัทธิพราหมณ์แล้วดัดแปลงเป็นปรางค์ในพระพุทธศาสนา เช่นปรางค์ศรีสวาย ปรางค์วัดพระพายหลวง เมืองสุโขทัยเก่า เป็นต้น
           
           2.ประติมากรรม พระพุทธรูปสุโขทัยจัดเป็นพระพุทธรูปที่สวยงามที่สุดในศิลปกรรมไทยแบบต่างๆนิยมสร้างเป็นพระพุทธรูปสี่อิริยาบถ คือ นั่ง นอน ยืน เดิน พระพุทธรูปเดินหรือที่เรียกว่า ปางลีลา เป็นพระพุทธรูปที่มีลักษณะของสุโขทัยที่งดงามที่สุด เช่น พระพุทธรูปปางลีลาสุโขทัย ที่ประดิษฐาน ณ วิหารราย วัดเบญจมบพิตรดุสิตวนาราม กรุงเทพมหานคร ประติมากรรมที่งดงามอีกประเภทหนึ่งคือลวดลายปูนปั้นประดับตกแต่งอาคารและเทวรูปหล่อสำริดในลัทธิพราหมณ์ เช่นพระอิศวร พระอุมา พระนารายณ์ พระพรหม และพระหริหระ
    ในสมัยสุโขทัยมีการทำเครื่องเคลือบดินเผาที่สำคัญอย่างหนึ่งที่เรียกว่า เครื่องสังคโลก กล่าวกันว่าอาจจะนำแบบอย่างมาจากจีนหรือช่างไทยเป็นผู้ค้นคิดและพัฒนาขึ้นเอง เครื่องสังคโลกเป็นเครื่องเคลือบดินเผาเซลาดอนสีเขียวไข่กา ส่วนมากเป็นเครื่องถ้วยชาม ผลิตเพื่อใช้ในราชอาณาจักรและส่งเป็นสินค้าออก นอกจากนี้ยังทำเป็นตุ๊กตาและส่วนประกอบตกแต่งอาคารสถาปัตยกรรมพระพุทธศาสนา เช่น เศียรนาค ทวารบาล บราลี เป็นต้น
            
           3.จิตรกรรม จิตรกรรมสมัยสุโขทัยชำรุดไปหมดแล้ว มีแต่ภาพลายเส้นที่ยังหลงเหลือให้เห็น คือ ภาพสลักลายเส้นบนเพดานในอุโมงค์มณฑปวัดศรีชุม นอกเมืองสุโขทัย แกะสลักเป็นเรื่องราวในชาดก โดยได้รับอิทธิพลจากศิลปะลังกา

    4.นาฏศิลป์และดุริยางคศิลป์ นับตั้งแต่สุโขทัยได้ปรากฏหลักฐานในจารึกหลักที่ 1 ว่าชาวสุโขทัยมักจะเล่นดนตรีและนาฏศิลป์ประกอบในงานพิธีและงานนักขัตฤกษ์ต่างๆโดยมีการตีประโคมกลอง การบรรเลงพาทย์ พิณ และการขับร้อง ในหนังสือไตรภูมิพระร่วงกล่าวถึงการเต้นรำ ฟ้อนรำ และการบรรเลงเครื่องดีดสีตีเป่าต่างๆ เช่น พาทย์ พิณ แตรสังข์ กังสดาล บัณเฑาะว์ ฆ้อง กลอง ฉิ่ง กรับ มโหระทึก เป็นต้น เครื่องดนตรีดังกล่าวหลายชนิดรับมาจากอินเดีย จึงสันนิษฐานได้ว่านาฏศิลป์และดุริยางคศิลป์สุโขทัยได้รับอิทธิพลจากอินเดียแล้วปรับปรุงให้เหมาะสมกับสภาพชีวิตของคนไทย มีการร่ายรำหมู่ที่งดงามประกอยเพลงดนตรี แต่ยังไม่มีการเล่นเป็นเรื่องราว

           5.วรรณกรรม วรรณกรรมไทยชิ้นแรกปรากฏในรูปของจารึก ได้แก่ จารึกหลักที่ 1 ศิลาจารึกพ่อขุนรามกำแหงมหาราช นอกจากนี้ยังมีวรรณกรรมที่แปลมาจากคัมภีร์ในพระพุทธศาสนา คือ ไตรภูมิประร่วง หรือไตรภูมิกถา
    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    นิยายที่ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×