ต้นไม้ในพุทธประวัติ3 - ต้นไม้ในพุทธประวัติ3 นิยาย ต้นไม้ในพุทธประวัติ3 : Dek-D.com - Writer

    ต้นไม้ในพุทธประวัติ3

    มาดู

    ผู้เข้าชมรวม

    502

    ผู้เข้าชมเดือนนี้

    1

    ผู้เข้าชมรวม


    502

    ความคิดเห็น


    1

    คนติดตาม


    0
    เรื่องสั้น
    อัปเดตล่าสุด :  21 เม.ย. 50 / 16:51 น.


    ข้อมูลเบื้องต้นของเรื่องนี้
    ตั้งค่าการอ่าน

    ค่าเริ่มต้น

    • เลื่อนอัตโนมัติ

      มะขามป้อม (Phyllanthus emblica L.)

      มะขามป้อม หรือที่ชาวฮินดูเรียกว่า “อะมะลา” หรือ อะมะลิกา” นี้ ตามพระพุทธประวัติก็กล่าวไว้เช่นเดียวกับมะม่วง คือ ในคราวที่พระองค์เสด็จไปเก็บมะม่วงนั้น ก็ได้ทรงเก็บมะขามป้อมมาด้วย

      มะขามป้อม เป็นพันธุ์ไม้อยู่ในกลุ่มพวกมะยม และผักหวาน คือสกุล (Genus) Phyllanthus และอยู่ในวงศ์ (Family) เดียวกับไม้ยางพารา คือ วงศ์ Euphorbiaceae เป็นไม้ต้นขนาดเล็กหรือขนาดกลาง ผลัดใบ แต่จะผลิใบใหม่ไว เปลือกสีเขียวอ่อนปนเทา กิ่งจะห้อยย้อยลง เรือนพุ่มรูปร่มกาง ใบเป็นช่อ เป็นฝอยคล้ายขนนกออกสีเขียวอ่อน ๆ ช่อใบแต่ละช่อยาว 7 – 10 ซม. ดอกเล็กสีเขียวอ่อนปนเหลือง ออกติดอยู่ตามกิ่งเล็ก ๆ ดอกเพศผู้และเมียอยู่ต่าง ดอกกัน แต่อยู่ในกิ่งเดียวกัน ผลกลมมีรอยเป็นแนวตามผิวผลตามยาว 6 แนว ผลแก่สีเหลืองอ่อนใส ๆ โตวัดเส้นผ่า ศูนย์กลางประมาณ 1.5 – 2 ซม. รับประทานได้ รสเปรี้ยว ๆ ฝาด ๆ แก้กระหายน้ำได้ดี และใช้เป็นยาสมุนไพร

      มะขามป้อมเป็นพันธุ์ไม้ที่ขึ้นอยู่ตามป่าเบญจพรรณแล้งทั่วไปในย่านเอเชียเขตร้อน การแพร่พันธุ์ใช้เมล็ด พวกสัตว์ต่าง ๆ เช่น เก้ง กวาง ชอบกิน และเป็นตัวช่วยในการแพร่พันธุ์ได้อย่างดี ประชาชนนิยมปลูกเป็นไม้ประดับ และใช้ผลรับประทาน ชอบดินที่ระบายน้ำดี เช่น ดินปนทราย และดินลูกรัง ในประเทศไทยมะขามป้อมมีชื่อเรียกต่าง ๆ กัน เช่น ก้นโตด ทำทวด มั่งคู่ และสันยาส่า เป็นต้น มะขามป้อมที่นำมาปลูก พวกเพลี้ยบางชนิด เช่น    เพลี้ยแป้ง ชอบมาเกาะดูดน้ำเลี้ยงกินมาก ถ้าปล่อยไว้เรื่อย ๆ มักจะทำให้ต้นตายได้

      มะขามป้อมนอกจากจะใช้ผลรับประทานเพื่อแก้กระหายน้ำแล้ว ผลยังเป็นยาระบายถ่ายพยาธิเส้นด้ายได้ดีมาก โดยต้องรับประทานในปริมาณที่มากพอสมควร เคยจำได้ว่าในสมัยเด็ก ๆ ตอนพักเรียนกลางวันไม่มีอาหาร กลางวันรับประทานก็ไปเก็บลูกมะขามป้อมมานั่งรับประทานจนอิ่ม จึงได้ทราบสรรพคุณด้วยตนเอง

      นิยายที่ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

      loading
      กำลังโหลด...

      คำนิยม Top

      ยังไม่มีคำนิยมของเรื่องนี้

      คำนิยมล่าสุด

      ยังไม่มีคำนิยมของเรื่องนี้

      ความคิดเห็น

      ×