ประวัติลีลาศ ความเป็นมาของ กีฬาลีลาศ - ประวัติลีลาศ ความเป็นมาของ กีฬาลีลาศ นิยาย ประวัติลีลาศ ความเป็นมาของ กีฬาลีลาศ : Dek-D.com - Writer

    ประวัติลีลาศ ความเป็นมาของ กีฬาลีลาศ

    ผู้เข้าชมรวม

    1,085

    ผู้เข้าชมเดือนนี้

    4

    ผู้เข้าชมรวม


    1.08K

    ความคิดเห็น


    1

    คนติดตาม


    0
    เรื่องสั้น
    อัปเดตล่าสุด :  24 มี.ค. 54 / 16:20 น.


    ข้อมูลเบื้องต้นของเรื่องนี้

    ตั้งค่าการอ่าน

    ค่าเริ่มต้น

    • เลื่อนอัตโนมัติ

      ประวัติของจังหวะ ควิ๊กสเต็ป

                จังหวะควิ๊กสเต็ป ได้แตกแขนงมาจาก จังหวะฟอกซ์ทรอท ช่วงทศวรรษที่ 20 วงดนตรีส่วนมากจะเล่นจังหวะฟอกซ์ทรอท ถึง 50 บาร์ต่อนาที ซึ่งเป็นความเร็วที่เร็วเกินไป การก้าวเท้าที่เปิดกว้างของจังหวะสโลว์ฟอกซ์ทรอทไม่สามารถจะทำการเต้นบนความ เร็วขนาดนี้ได้ ชาวอังกฤษได้พัฒนามาจากการเต้น ชาร์ลสทั่น (CHARLESTON) ต้นแบบซึ่งเป็นจังหวะหนึ่งของการเต้นที่ต่อเนื่องโดยไม่มีการเตะเท้าและได้ ทำการผสมผสานกับจังหวะฟอกซ์ทรอท (เร็ว) ที่ได้กล่าวมาแล้ว เรียกจังหวะนี้กันว่า จังหวะ ควิ๊กไทม์ ฟอกซ์ทรอท และ ชาร์ลสทั่น (QUICKSTEP FOXTROT AND CHARLESTON) คู่เต้นรำชาวอังกฤษ แฟรงค์ฟอร์ด และ มอลลี่ สเปญ (FRANKFORD AND MOLLY SPAIN)ได้เต้นรูปแบบใหม่ของจังหวะ QUICKTIME FOXTROT AND CHARLESTON ในงานเดอะสตาร์แชมป์เปี้ยนชิพ ของปี ค.ศ.1927 โดยปราศจากลักษณะท่าทางของการใช้เข่าแบบ CHARLESTON และทำการเต้นเป็นคู่แทนการเต้นแบบเดี่ยว รูปแบบท่าเต้น คือ QUARTER TURNS, CROSS CHASSES, ZIGZAGS, CORTES,OPEN REVERSE TURNS และ FLAT CHARLESTON ในปี ค.ศ. 1928 / 1929 จังหวะควิ๊กสเต็ปได้แจ้งเกิดอย่างแน่ชัด ในรูปแบบของ การก้าวแบบ ชาสซี่ส์ (CHASSES STEPS) 

      ประวัติของจังหวะ ไจว์ฟ

      ไจว์ฟ เป็นจังหวะเต้นรำที่มีจังหวะจะโคน และการสวิงค์ ซึ่งได้รับอิทธิพลมาจาก ROCK’N’ROLL, BOGIE และ AFRICAN /AMERICAN SWING ต้นกำเนิดของ ไจว์ฟมาจาก NEW YORK , HALEM ใน ค.ศ. 1940 ไจว์ฟ ได้ร่วมกันถูกพัฒนาไปสู่จังหวะ จิกเตอร์บัคจ์ (JITTERBUG) และจากนั้น MR. JOS BRADLY และ MR. ALEX MOORE ชาวอังกฤษ ได้พัฒนาจังหวะดังกล่าว จากนั้นมาไจว์ฟจึงได้เข้าสู่การแข่งขันในระดับสากล

      ประวัติ ของจังหวะ ช่า ช่า ช่า 

      จังหวะช่า ช่า ช่า ได้รับการพัฒนามาจาก จังหวะ แมมโบ้ (MAMBO) และเป็นจังหวะลาตินที่คนส่วนมากชอบที่จะเลือกเรียนรู้เป็นอันดับแรก ชื่อของจังหวะนี้ ตั้งขึ้นโดยการเลียนเสียงของรองเท้า ขณะที่กำลังเต้นรำของสตรี ชาวคิวบา จังหวะ ช่า ช่า ช่า ได้ถูกพบเห็นเป็นครั้งแรกที่ประเทศอเมริกาและระบาดเข้าไปในยุโรป เกือบจะเป็นเวลาเดียวกันกับ จังหวะแมมโบ้ หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 จังหวะแมมโบ้ได้เสื่อมความนิยมลงไป โดยหันมานิยมจังหวะ ช่า ช่า ช่า ซึ่งกลายเป็นความนิยมอย่างจริงจัง ในปี ค.ศ. 1956 หากสอดคล้องกับต้นแบบแล้ว ดนตรีของจังหวะ ช่า ช่า ช่า ควรเล่นด้วยอารมณ์ความรู้สึกโดยปราศจากความตึงเครียดใดๆ ร่วมด้วยลักษณะการกระแทกกระทั้นของจังหวะที่ทำให้นักเต้นรำสามารถที่จะสร้าง บรรยากาศของความรู้สึกที่ขี้เล่น และซุกซน ให้กับผู้ชมได้ เมื่อไม่นานมานี้ เป็นที่ตกลงกันไว้ว่า ให้ตัดทอนชื่อให้สั้นลง เป็น ช่า ช่า แต่ข้าพเจ้าไม่เห็นว่ามีเหตุผลอะไรที่ต้องทำอย่างนั้น

      ประวัติของจังหวะ แซมบ้า

      ต้นแบบของแซมบ้ามาจากอัฟริกา แต่ได้รับการพัฒนามากที่สุดที่ประเทศบราซิล ซึ่งจะปรากฏให้เห็นในงานเทศกาลรื่นเริงและตามโรงเรียนสอนจังหวะแซมบ้าใน ประเทศบราซิล ปี ค.ศ. 1925 จังหวะแซมบ้าได้เริ่มแพร่หลายเข้าสู่ทวีปยุโรป ถึงแม้ว่า แซมบ้า จะได้รับการยอมรับเป็นจังหวะหนึ่งที่ใช้ในการแข่งขันก็ตามแต่การบุกเบิก ครั้งสำคัญของจังหวะแซมบ้า ได้เกิดขึ้นเมื่อปี ค.ศ. 1939 ในงานมหกรรมการแสดงระดับโลกในนครนิวยอร์ค จังหวะแซมบ้าได้ถูกยอมรับอย่างแท้จริงในปี ค.ศ. 1948/1949 ผู้ที่ได้พัฒนาจังหวะแซมบ้า มากที่สุดคือ WALTER LAIRD และ LORRAINE ซึ่งทั้งสองท่านเป็นอดีตแชมป์เปี้ยนโลก ของการเต้นรำแบบ ลาตินอเมริกัน ที่มีชื่อเสียงโด่งดังในยุคนั้น

      ประวัติของจังหวะแทงโก้ 

      จังหวะ มิรองก้า MILONGA คือแม่แบบของจังหวะแทงโก้ ซึ่งมีเอกลักษณ์เฉพาะคือ การเคลื่อนไหวของ ศีรษะและไหล่ โดยการสับเปลี่ยนทันทีทันใด จากการเคลื่อนไหวสู่ความนิ่งสงบต้นศตวรรษที่ 20 ได้มีการเต้นรำจังหวะ มิรองก้า นี้ในโรงละครเล็ก ๆ โดยเหล่าชนสังคมชั้นสูงที่มาจากประเทศ บราซิล ในช่วงเวลานั้น ชื่อของมันได้ถูกเปลี่ยนจาก มิรองก้า เป็นแทงโก้ ชื่อของมิรองก้า ยังมีตำนานเล่าขานอีกมากมายที่จะหวนไปสู่ความทรงจำ ที่มีมาจากนครบัวโนส แอเรส (BUENOS AIRES)แห่งประเทศอาร์เจนติน่า จังหวะแทงโก้ ได้ถูกแนะนำสู่ทวีปยุโรป ความจริงแล้วเริ่มก่อนในกรุงปารีส ในชุมชนชาวอาร์เจนติน่า กระทั่งปี ค.ศ.1907 แทงโก้ไม่เป็นที่ยอมรับในกรุงลอนดอน การเต้นได้ส่อแนวไปทางเพศสัมพันธ์มากเกินไป และมีคนจำนวนมากคัดค้าน ภายหลังได้เปลี่ยนแปลงรูปแบบ (STYLISTIC) ไปบ้าง จังหวะแทงโก้ถึงได้รับการยอมรับในกรุงปารีส และลอนดอน ในเวลานั้น (ค.ศ. 1912) ซึ่งเป็นช่วงเวลาของแทงโก้ปาร์ตี้ แทงโก้ทีส์ และแทงโก้ซุปเพียร์ ร่วมกันกับการแสดงของเหล่านักเต้นแทงโก้ระดับมืออาชีพ ในปี ค.ศ.1920/1921 จังหวะแทงโก้ ได้เพิ่มความมาตรฐานมากยิ่งขึ้น ในการร่วมปรึกษาหารือในการประชุมที่มหานครลอนดอน ระหว่างช่วงทศวรรษที่ 30 ลักษณะการกระแทกกระทั้นเป็นช่วงๆ (STACCATO ACTION) ได้ถูกนำเข้าใช้ร่วมในองค์ประกอบท่าเต้นของจังหวะแทงโก้

      ประวัติ ของจังหวะ พาโซโดเบ้ 

      พาโซโดเบ้ เป็นจังหวะการเต้นรำเพียงจังหวะเดียวในแบบลาตินอเมริกันที่ไม่ได้มีที่มาจาก ชนผิวดำ (NEGRO) ถิ่นกำเนิดที่แท้จริงอยู่ที่ประเทศสเปน ขีดความนิยมแพร่หลายสูงสุด เกิดขึ้นเมื่อปี ค.ศ. 1926 ภายหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 จังหวะพาโซโดเบ้ได้รับการยอมรับให้ บรรจุเข้าเป็นจังหวะหนึ่งของการแข่งขัน

      ประวัติของจังหวะรุมบ้า 

      ประมาณกันว่า รุมบ้าถูกนำเข้ามาในอเมริกาโดยทาสชาวอัฟริกัน แต่เมื่อราว ค.ศ. 1928/1929 การก้าวเท้าและรูปแบบการเต้นของจังหวะนี้ ยังไม่ชัดเจนทีเดียว คนส่วนมากทึกทักเอาการเต้นของจังหวะนี้เป็นการเต้นรูปแบบใหม่ ของจังหวะ ฟอกซ์ทรอท โดยเพิ่มการใช้สะโพกลงไป หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 รุมบ้า ได้รับการพัฒนาต่อให้เป็น คิวบันรุมบ้า โดย (MONSIEUR PIERRE และ DORIS LAVELL) นักเต้นรำชาวอังกฤษ ซึ่งมีโรงเรียนสอนเต้นรำอยู่ที่ ถนน REGENT ในนครลอนดอน แต่ก็ยังไม่ได้มาตรฐานเท่าที่ควร จนกระทั่ง WATER LAIRD เริ่มเขียนตำราเต้นรำของ ลาติน ขึ้นผลงานของเขาได้รับการยอมรับเป็นอย่างมากจากหลายองค์กรของการเต้นรำ และ นั่นเองการจัดมาตรฐานก็บรรลุถึงความเป็นจริง

      ประวัติของจังหวะ วอลซ์

      ช่วงระหว่างปี ค.ศ. 1910 – 1914 ฝูงชนได้หลั่งไหลไปที่บอสตันคลับ ใน โรงแรมซาวอย ที่ตั้งอยู่ ณ กลางกรุงลอนดอน เพื่อเต้นรำจังหวะ “บอสตัน วอลซ์” ซึ่งเป็นต้นแบบของวอลซ์ ที่ใช้ในการแข่งขันปัจจุบันในปี ค.ศ. 1914 จังหวะบอสตันได้เสื่อมสลายลง เบสิคพื้นฐานได้ถูกเปลี่ยนไปในทิศทางของ “วอลซ์” หลังสงครามโลกครั้งที่ 1 จังหวะวอลซ์ ได้เริ่มถูกพัฒนาให้ถูกทางขึ้นด้วยท่าแม่แบบ อย่างเช่น THE NATURAL และ REVERSE TURN และ THE CLOSED CHANGE ความก้าวหน้าในการพัฒนา จังหวะ “วอลซ์” เป็นไปอย่างยืดยาด และเชื่องช้า ผู้ที่ได้ทุ่มเทกับการพัฒนาจังหวะนี้เป็นพิเศษ ต้องยกให้ มิส โจส์เซฟฟิน แบรดลีย์ (JOSEPHINE BRADLY) วิคเตอร์ ซิลเวสเตอร์ (VICTOR SILVESTER) และแม็กซ์เวลล์ สจ๊วตค์ (MAXWELL STEWARD) และแพ็ทไซด์ (PAT SYKES) แชมป์เปี้ยนคนแรกของชาวอังกฤษ สถาบันที่ได้สร้างผลงานต่อการพัฒนาแม่แบบต่างๆ ให้มีความเป็นมาตรฐานคือ “IMPERIAL SOCIETY OF TEACHERS” (ISTD) ท่าแม่แบบเหล่านี้ บรรดานักแข่งขันยังคงใช้กันอยู่ถึงปัจจุบัน

      ประวัติของจังหวะ สโลว์ฟอกซ์ทรอท 

      จังหวะสโลว์ฟอกซ์ทรอท ได้ถูกแนะนำเข้ามาในทวีปยุโรป พึ่งจะก่อนสงครามโลกครั้งที่ 1 จากรากฐานของมัน ฟอกซ์ทรอท เป็นการเต้นรำที่แสดงถึงอารมณ์ความรู้สึก ด้วยการเคลื่อนไหวที่มีทั้งช้าและเร็ว พูดกันว่าชื่อนี้ตั้งขึ้นมาจากนักเต้นรำ ประกอบดนตรีคนหนึ่ง (MUSICAL DANCER) ชื่อฮารีฟอกซ์ (HARRY FOX) เหล่าครูสอนเต้นรำชาวยุโรปไม่ค่อยมีความกระตือรือร้นนัก ต่อลักษณะการเต้นอย่างไม่มีรูปแบบของจังหวะฟอกซ์ทรอท และเริ่มต้นขัดเกลาเพิ่มขึ้นระหว่าง ปี ค.ศ. 1922 และ 1929 แฟรงค์ฟอร์ด (FRANK FORD) ผู้ซึ่งเคยร่วมสาธิตกับ โจเซฟฟิน เบรดลีย์ (JOSEPHINE BRADLEY) ได้พัฒนาพื้นฐานการเคลื่อนไหวพื้นฐานของจังหวะ สโลว์ฟอกซ์ทรอทขึ้นแง่คิดนี้ทำให้เขาได้รับชัยชนะ ในงานแข่งขันเต้นรำปี 1927 “STAR CHAMPIONSHIPS” ร่วมกับคู่เต้นที่ชื่อ มอลลี่ สเปญ (MOLLY SPAIN)ท่าเต้นส่วนมากที่ทั้งสองใช้เต้นในครั้งนั้น นักแข่งขันยังคงใช้อยู่ถึงปัจจุบัน ช่วงเวลานั้น ทำนองดนตรีที่ถูกต้อง ยังไม่คิดทำขึ้น จังหวะฟอกซ์ทอรท คิดจะเล่นอย่างไรก็ได้ซึ่งมีตั้งแต่ จาก 40 ถึง 50 บาร์ ต่อนาที และเป็นการง่ายที่จะใช้สไตล์อย่างไรก็ได้ สุดแท้แต่ความเร็วของดนตรีที่เปลี่ยนแปลงไป ตามแต่ว่าใครที่จะเป็นผู้ควบคุมวงดนตรี แต่ครั้งนั้นครั้งเดียววงดนตรี วิคเทอซิลเวสเทอ (VICTOR SILVESTOR’S BAND) เริ่มทำการปรับปรุงและปัญหาก็ได้ถูกแก้ไข

      ประวัติของจังหวะ เวียนนีสวอลซ์

      โดยดั้งเดิมเวียนนีสวอลซ์มีความเป็นมาจาก ทางตอนใต้ของประเทศเยอรมัน แถบเทือกเขา เอลป์ ช่วงศตวรรษ ที่ 18 การเต้น WELLER , WALTZ และ LANDLER ได้ถูกค้นพบ และ จังหวะสุดท้าย LANDLER นี่เองที่เป็นต้นแบบดั้งเดิมของ เวียนนีสวอลซ์ ระหว่างปี ค.ศ. 1800 และ ค.ศ. 1820 การก้าวเท้า และ รูปแบบท่าเต้นต่างๆ ของจังหวะ LANDLER ได้ถูกลดน้อยลงไปเรื่อยๆ เนื่องจากความเร็วของดนตรี และจากนั้น การเต้น 6 ก้าว ของเวียนนีสวอลซ์ ก็ได้ถือกำเนิดขึ้นช่วงยุค ซิคตี้ (SIXTIES) ประเทศเยอรมัน และอังกฤษได้มีการถกเถียงกันมาก เกี่ยวกับเรื่องจำนวนของรูปแบบท่าเต้น ที่จะอนุญาตให้บรรจุเข้าในการแข่งขัน ในปี ค.ศ. 1883 I.C.B.D. (INTERNATIONAL COUNCIL OF BALLROOM DANCING) ได้สรุปตกลงใจในขั้นสุดท้าย ดังนี้ NATURAL AND REVERSE TURN , NATURAL AND REVERSE FLECKERS THE CONTRA CHECK เปลี่ยนจาก REVERSE FLECKERS ไปยัง NATURAL FLECKERS เต้นอยู่บนเวลา หนึ่งบาร์ของดนตรี ในความเห็นของข้าพเจ้า ควรที่จะเพิ่มเติม ฟิกเกอร์ (FIGURES) เข้าไปในเวียนนีสวอลซ์ มากยิ่งขึ้น เพื่อกระตุ้นให้มีการพัฒนาในรูปแบบทิศทางที่แน่นอนขึ้น อย่างเช่น THROWAWAY OVERSWAY, NATURAL HINGE LINE ON RIGHT SIDE , NATURAL OFF – BEAT SPINS ฯลฯ

      เครื่องแต่งกายในการแข่งขัน

      สำหรับการแข่งขันทั้งหมดที่ได้จัดขึ้นโดย สหพันธ์กีฬาลีลาศนานาชาติ ภายใต้กติกาข้อที่ 5 การแต่งกายของผู้เข้าแข่งขัน ให้ปฏิบัติสอดคล้องกับ ระเบียบการแต่งกายของสหพันธ์กีฬาลีลาศนานาชาติ ระเบียบการแต่งกายสำหรับการแข่งขันของสหพันธ์ฯ เหล่านี้ เป็นส่วนประกอบส่วนหนึ่งของกติกาการแข่งขัน ของสหพันธ์กีฬาลีลาศนานาชาติ
      สำหรับทุกๆ เกณฑ์อายุ : ส่วนสะโพกของฝ่ายหญิง ต้องปกปิดไว้ให้มิดชิดตลอดเวลา ประธานกรรมการ หรือผู้อำนวยการฝ่ายกีฬา ของสหพันธ์กีฬาลีลาศนานาชาติ มีอำนาจที่จะตัดสิทธิ์คู่แข่งขัน ที่สวมใส่ชุดแข่งขันที่ไม่เป็นไปตามกฎระเบียบของข้อนี้ นอกเหนือจากนี้แล้ว คณะกรรมการบริหารของสหพันธ์ฯ จะลงโทษทางวินัย ไม่ให้สิทธิ์คู่แข่งขัน เข้าร่วมในการแข่งขันต่างๆ ช่วงระยะเวลาหนึ่ง
       
      คู่แข่งขัน

      1. คำจำกัดความของคู่แข่งขัน
       คู่แข่งขัน 1 คู่ จะประกอบด้วย ชาย 1 คน และคู่เต้นที่เป็นหญิง 1 คน
      2. คู่แข่งขันที่ต่างสัญชาติกัน
        1.1 คู่แข่งขันที่เคยเป็นตัวแทนประเทศใดประเทศหนึ่ง ไม่อนุญาตให้เป็นตัวแทนของประเทศอื่นอีก จนกว่าเวลาจะผ่านพ้นไป 12 เดือน
        2.2 ในกรณีที่เป็นการแข่งขัน ที่จัดโดยคณะกรรมการโอลิมปิคสากล ( IOC ) หรือสมาคมเวิลด์เกมส์นานาชาติ ( IWGA ) ไม่อนุญาตให้คู่แข่งขันที่ต่างสัญชาติกัน เข้าร่วมทำการแข่งขัน เพื่อให้เป็นไปตามกฎของคณะกรรมการโอลิมปิคสากล คู่แข่งขันที่เป็นตัวแทนของชาตินั้น นักแข่งขันแต่ละคน จะต้องมีหนังสือเดินทางของชาติของตน ซึ่งส่งโดยสมาคมที่เป็นสมาชิกของ สหพันธ์กีฬาลีลาศนานาชาติ 
        2.3  การแข่งขันชิงถ้วย Formation ของสหพันธ์กีฬาลีลาศนานาชาติ ( IDSF Championships / Cups Formation ) อย่างน้อยต้องมีนักกีฬาเข้าแข่งขันจำนวน 12 คน ในหนึ่งทีม ที่จะต้องจัดส่งหนังสือเดินทางของชาติตนเอง โดยสมาคมที่เป็นสมาชิกของสหพันธ์ฯ
       
      วิธีการจัดการแข่งขันระดับนานาชาติต่างๆ

      1.  ประธานกรรมการที่ได้รับการแต่งตั้ง จากคณะกรรมการบริหารของสหพันธ์กีฬาลีลาศนานาชาติ (โดยไม่ต้องผ่านการเลือกตั้ง) ซึ่งรับผิดชอบในการควบคุมดูแล การแข่งขันที่ได้รับการรับรองจากสหพันธ์ ในการแข่งขันนานาชาติใด ที่ประธานกรรมการไม่ได้ถูกแต่งตั้งโดยสหพันธ์ ผู้จัดการแข่งขันจะต้องแต่งตั้งประธานเอง (โดยไม่ต้องผ่านการเลือกตั้ง)
      2. กรรมการผู้ตัดสินในการแข่งขันระดับนานาชาติต่างๆ จะต้องมีกรรมการผู้ตัดสิน ทำหน้าที่ตัดสินอย่างน้อย 7 คน โดยเป็นไปตามกติกาข้อที่ 5 ข้อย่อยที่ 1, 2, 4 a - c และ 7 กรรมการผู้ตัดสินอย่างน้อย 5 คน ในข้อย่อยที่ 3, 5, 6 และ 8 กรรมการผู้ตัดสินอย่างน้อย 3 คน ในการแข่งขันประเภท ทีม - คู่ ( Team Matches )
      3. สำหรับการแข่งขันต่างๆ ที่อยู่ภายใต้กติกาข้อที่ 5 ยกเว้นข้อย่อยที่ 5 และ 6 กรรมการผู้ตัดสินของสหพันธ์กีฬาลีลาศนานาชาติ จะต้องมีใบอนุญาตเป็นผู้ตัดสินของสหพันธ์ฯ 
      4. กรรมการผู้ตัดสินของการแข่งขัน ครอบคลุมโดยกติกาข้อที่ 5 ข้อย่อยที่ 1-4 a+b, 7 และ 8 จะต้องได้รับการแต่งตั้งจากคณะกรรมการบริหารของสหพันธ์กีฬาลีลาศนานาชาติ กรรมการผู้ตัดสินอย่างน้อย 7 คน ในการตัดสินการแข่งขันระดับนานาชาติ 
      5. สำหรับการแข่งขันภายใต้กติกาข้อที่ 5 ข้อย่อยที่ 1-4, 7 และ 8 คณะกรรมการผู้ตัดสินจะต้องเชิญจากประเทศต่างๆ ที่ไม่ซ้ำกัน
      6. ในทุกๆ การแข่งขันระดับนานาชาติ คณะกรรมการผู้ตัดสิน จะต้องได้รับการรับรองเป็นทางการ โดยคณะกรรมการบริหารของสหพันธ์กีฬาลีลาศนานาชาติ 
      7. ไม่อนุญาตให้กรรมการผู้ตัดสิน ทำหน้าที่ตัดสินคู่ของตัวเอง ในการแข่งขันที่จัดขึ้นสหพันธ์กีฬาลีลาศนานาชาติ


       

       

      ข้อมูลโดย
      http://www.seagames2007.th

      นิยายที่ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

      loading
      กำลังโหลด...

      คำนิยม Top

      ยังไม่มีคำนิยมของเรื่องนี้

      คำนิยมล่าสุด

      ยังไม่มีคำนิยมของเรื่องนี้

      ความคิดเห็น

      ×