กำเนิดโลก - กำเนิดโลก นิยาย กำเนิดโลก : Dek-D.com - Writer

    กำเนิดโลก

    อยากรู้ว่าโลกกำเนิดมาได้อย่างไร เข้ามาดูได้ที่นี่

    ผู้เข้าชมรวม

    6,734

    ผู้เข้าชมเดือนนี้

    2

    ผู้เข้าชมรวม


    6.73K

    ความคิดเห็น


    3

    คนติดตาม


    0
    เรื่องสั้น
    อัปเดตล่าสุด :  2 มิ.ย. 50 / 13:17 น.


    ข้อมูลเบื้องต้น
    ตั้งค่าการอ่าน

    ค่าเริ่มต้น

    • เลื่อนอัตโนมัติ
      กำเนิดโลก

      NSM Article          โลกของเราก่อกำเนิดขึ้นมาได้อย่างไร? โลกเป็นดาวเคราะห์ที่ห่างจากดวงอาทิตย์เป็นลำดับที่สาม และเป็นดาวเคราะห์ที่พิเศษเพียงหนึ่งเดียวในระบบสุริยะจักรวาล เพราะโลกเท่านั้นที่มีอุณหภูมิที่เหมาะสมที่ทำให้น้ำคงสภาพอยู่ได้ และโลกยังเป็นดาวเคราะห์ดวงเดียวที่มีวิวัฒนาการจนมีออกซิเจนในบรรยากาศ ปัจจัยทั้งสองประการส่งผลให้ "โลก" มีสิ่งมีชีวิตนานาชนิดเกิดขึ้น ดังนั้นคำถามที่ว่า “โลกเกิดขึ้นมาได้อย่างไร” จึงเป็นคำถามที่ชวนให้น่าค้นหายิ่ง เพราะแม้แต่นักวิทยาศาสตร์เองก็ยังตั้งข้อสมมติฐานไปต่าง ๆ นานา แต่สมมติฐานที่ได้รับการยอมรับมากที่สุดคือ โลกรวมทั้งระบบสุริยะจักรวาลเกิดจากกลุ่มก๊าซและฝุ่นขนาดยักษ์ที่เรียกว่า “เนบิวล่า” (Nebular)

                ระบบสุริยะจักรวาลเกิดมาท่ามกลางความมืดมิดของอวกาศ โดยกลุ่มก๊าซและฝุ่นละอองที่เรียกว่า เนบิวลา (Nebular) จะหมุนวนรอบตัวเองอย่างช้า ๆ คล้ายการหมุนของวงล้อ ก๊าซส่วนใหญ่ของเนบิวลา คือ ไฮโดรเจน การหมุนวนของเนบิวลานี้จะดึงดูด ก๊าซ ฝุ่นละอองและรังสีต่าง ๆ เข้าสู่ศูนย์กลาง ซึ่งแรงที่ทำให้เกิดการหมุนวนเข้าสู่ศูนย์กลางนี้ คือ แรงโน้มถ่วง (Gravity) นั่นเอง เมื่อเวลาผ่านไปนับพันล้านปี การหมุนวนเข้าสู่ศูนย์กลางของเนบิวลาจะทำให้เกิดมวลที่มีขนาดใหญ่ขึ้น มีรูปร่างคล้ายลูกบอลสีแดงขนาดยักษ์ และนี่คือจุดเริ่มต้นของดาวดวงใหม่ที่เรียกว่า ดวงอาทิตย์ ซึ่งได้แผ่พลังงานความร้อน แสงสว่าง และแรงดึงดูด ห่างออกไปประมาณ 13 พันล้านกิโลเมตร
                หลังจากเกิดดวงอาทิตย์แล้ว โลกได้เริ่มก่อกำเนิดขึ้นมาเมื่อประมาณ 4,600 ล้านปีที่แล้ว โลกที่เกิดขึ้นในยุคแรก ๆ จะเป็นกลุ่มก๊าซ ฝุ่นละออง และแร่ธาตุที่รวมตัวเป็นเนื้อเดียวกันทำให้โลกไม่มีการแยกชั้นเหมือนในปัจจุบัน แต่เพราะแรงดึงดูดมหาศาลทำให้ก๊าซ ฝุ่นละออง แร่ธาตุต่าง ๆ มีการรวมตัวกันมากขึ้นจนมีขนาดใหญ่ขึ้นเรื่อย ๆ การชนกัน, การอัดตัวของสสารต่าง ๆ และการสลายตัวของธาตุกัมมันตรังสีภายในโลกก่อให้เกิดความร้อนขึ้น เมื่อโลกมีอุณหภูมิสูงขึ้น เหล็กซึ่งเป็นโลหะที่มีมากที่สุดในโลกหรือประมาณ 1 ใน 3 ของมวลโลก จะหลอมละลายแล้วรวมตัวกันเป็นก้อนขนาดใหญ่จมลงสู่ใจกลางโลกกลายเป็น “แก่นโลก” ส่วนสสารที่เบากว่าจำพวกหินแข็งจะลอยขึ้นสู่ด้านบน และเย็นตัวลงกลายเป็น ”เปลือกโลก” และนี่เองที่เป็นจุดเริ่มต้นที่โลกเริ่มแบ่งออกเป็นชั้นต่าง ๆ รวม 3 ชั้น ทีนี้เราไปทำความรู้จักกันดีกว่าว่าแต่ละชั้นที่ว่านั้นเป็นอย่างไร
                1. ชั้นแรกนี้เป็นส่วนที่อยู่ใจกลางโลก เรียกว่า ชั้นแก่นโลก (Core) ซึ่งแบ่งเป็น 2 ชั้น คือ แก่นโลกชั้นนอก ส่วนใหญ่ประกอบด้วยโลหะหลอมเหลว จำพวกเหล็กและนิกเกิล ชั้นนี้มีอุณหภูมิสูงประมาณ 2,200 องศาเซลเซียส และแก่นโลกชั้นใน มีสภาพเป็นโลหะแข็ง และมีอุณหภูมิสูงมากถึง 7,000 องศาเซลเซียส!!! ในชั้นนี้มีองค์ประกอบส่วนใหญ่เป็นเหล็กและนิเกิลเหมือนแกนโลกชั้นนอก แต่มีสภาพเป็นโลหะแข็ง เนื่องจากได้รับแรงดันที่กดลงจากด้านบนมากที่สุด
                2. ชั้นที่สองเรียกกันว่า เนื้อโลก หรือชั้นแมนเทิล (Mantle) มีสภาพส่วนใหญ่เป็นหินหลอมเหลว เนื่องจากได้รับความร้อนจากแก่นโลกที่มีอุณหภูมิสูงมาก หินหลอมเหลวที่อยู่ในชั้นนี้ มีชื่อที่คุ้นหูว่า แมกมา (Magma) แต่เมื่อแมกมาปะทุขึ้นมาบนเปลือกโลกจากปรากฏการณ์ภูเขาไฟระเบิด จะเรียกว่า ลาวา (Lava) นั่นเอง
                3. ชั้นที่สามเป็นชั้นที่อยู่นอกสุด เรียกว่า ชั้นเปลือกโลก (Crust) บางส่วนของเปลือกโลกเกิดจากการเย็นตัวของลาวาแล้วกลายสภาพเป็นหินแข็ง โดยส่วนใหญ่จะเป็นหินแกรนิต และหินบะซอลต์ เปลือกโลกมีลักษณะเป็นแผ่นขนาดใหญ่ที่ลอยอยู่เหนือหินหลอมเหลวหรือแมกมา ด้วยเหตุนี้เองจึงส่งผลให้แผ่นเปลือกโลกที่เกิดขึ้นมาได้ประมาณ 3,500 ล้านปีมาแล้วมีการเคลื่อนที่อยู่ตลอดเวลา ซึ่งมนุษย์เราสามารถรับรู้การเคลื่อนไหวนี้ได้จากการเกิดภูเขาไฟระเบิดและแผ่นดินไหว
                จากเหตุผลนี้เอง ทำให้นักวิทยาศาสตร์เชื่อกันว่าในอดีต ทวีปต่าง ๆ เคยเป็นแผ่นดินขนาดใหญ่แผ่นเดียวที่เรียกว่า พันเจีย (Pangaea) แต่ต่อมาทวีปใหญ่พิเศษนี้ได้แยกออกจากกันเป็นเวลากว่าล้านปีมาแล้ว จนมีลักษณะเป็นทวีปต่าง ๆ ดังเช่นปัจจุบันที่เราเห็นกันอยู่นี้ โดยรอยต่อระหว่างแผ่นเปลือกโลกมีโอกาสที่จะเกิดภูเขาไฟระเบิดและแผ่นดินไหวได้มากที่สุด นอกจากนี้แล้ว การกัดเซาะของน้ำ กระแสลม และธารน้ำแข็งยังเป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่ทำให้แผ่นเปลือกโลกมีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลาด้วยเช่นกัน ดังจะเห็นได้จากลักษณะการคดเคี้ยวของแม่น้ำสายต่าง ๆ จะค่อย ๆ เปลี่ยนแปลงไป ที่น่าตื่นเต้นยิ่งไปกว่านั่นคือ นักวิทยาศาสตร์พบว่าทวีปออสเตรเลียจะค่อย ๆ เคลื่อนที่เข้าหาทวีปเอเชียตรงบริเวณเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ปีละ 1 เซนติเมตร!!!
      ขอบคุณข้อมูลดีๆมีสาระจาก

      ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

      loading
      กำลังโหลด...

      ความคิดเห็น

      ×