ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    รู้รอบเรื่อง เคมี

    ลำดับตอนที่ #40 : การไทเทรต

    • เนื้อหาตอนนี้เปิดให้อ่าน
    • 3K
      3
      17 ต.ค. 51

    การไทเทรต กรด-เบส (Acid-Base Titration)

    เป็นกระบวนการวิเคราะห์หาปริมาณของกรดหรือเบส โดยให้สารละลายกรดหรือเบสทำปฏิกิริยาพอดีกับสารละลายมาตรฐาน เบสหรือกรดซึ่งทราบความเข้มข้นที่แน่นอน และใช้อินดิเคเตอร์เป็นสารที่บอกจุดยุติ ด้วยการสังเ กตจากสีที่เปลี่ยน ขณะไทเทรต pH จะเปลี่ยนไป ถ้าเลือกใช้อินดิเคเตอร์เหมาะสม จะบอกจุดยุติใกล้เคียงกับจุดสมมูล

    จุดสมมูล (จุดสะเทิน = Equivalence point)

    คือจุดที่กรดและเบสทำปฏิกิริยาพอดีกัน จุดสมมูลจะมี pH เป็นอย่างไร< wbr>นั้นขึ้นอยู่กับชนิดของกรดและเบสที่นำมาไทเทรตกัน และขึ้นอยู่กับความเข้มข้นของกรดและเบส

    จุดยุติ (End point)

    คือจุดที่อินดิเคเตอร์เปลี่ยนสี ขณะไทเทรตกรด-เบสอยู่ จุดยุติจะใกล้เคียงกับจุดสมมูลได้นั้น จะ ต้องเลือกอินดิเคเตอร์เหมาะสม ในทางปฏิบัติถือว่าจุดยุติ เป็นจุดเดียวกับจุดสมมูล

    การหาความเข้มข้นของกรดไฮโดรคลอริก โดยการไทเทรตชัน

    ข้อ

    สารที่เข้าทำปฏิกิริยา

    pH ของจุดสะเทิน

    อินดิเคเตอร์

    1.

    กรดแก่ + เบสแก่

    = 7

    ได้เกือบทุกชนิด

    2.

    กรดแก่ + เบสอ่อน

    น้อยกว่า 7

    เปลี่ยนสีเมื่อpH < 7

    3.

    กรดอ่อน + เบสแก่

    มากกว่า 7

    เปลี่ยนสีเมื่อpH > 7

    a) ตวงปริมาตรของสารละลายกรดด้วยปิเปดต์ใส่ขวดชมพู่
    b) ไทเทรตสารละลายมาตรฐานจากบิวเรตต์ ลงในขวดชมพู่ที่มีสารละลายกรดไฮโดรคลอริกอยู่ด้วย
    c) การไทเทรตกรด-เบสจนถึงจุดยุติโดยสังเกตจากอินดิเคเตอร์เปลี่ยนสี
    d) อ่านปริมาตรของสารละลายเบส (สารละลายมาตรฐาน) ที่ใช้ในการทำปฏิกิริยาพอดีกับสารละลายกรดนี้ บันทึกข้อมูล 






    การหาจุดยุติ

    1.ดูจากการเปลี่ยนสีของอินดิเคเตอร์(ดูจากตารางด้านบน)

    ไม่นิยมไทเทรตกรดอ่อนกับเบสอ่อนเพราะช่วง pH เปลี่ยนแปลงสั้นมากทำให้อาจคำนวณผิดพลาดไดการคำนวณความเข้มข้นจากการไทเทรต mol = NV/1000, N = [mol x 1000]/V

    ความรู้เก่า

    N = mol/dm3 V = cm3 mol = จำนวนmolของสารกรณีเป็นการเติมของแข็งการเปลี่ยนหน่วยความเข้มข้น

    mol/dm3 = % x 10 x d

    mol/dm3 = % x 10/มวลโมเลกุล ใช้ในหน่วย มวล/ปริมาตร **** ทั้ง 2 สูตรนี้ใช้ในกรณีที่โจทย์ระบุความเข้มข้นในหน่วยดังกล่าวเป็น %

    /มวลโมเลกุล (d = ความหนาแน่น) ใช้ในกรณีหน่วยเป็น มวล/มวล หรือ ปริมาตร/ปริมาตร

    Ex1.จะต้องใช้ NaOH 5 mol/l กี่ cm3 จึงทำปฏิกิริยาพอดีกับ H2SO4 2 mol/l จำนวน 200 cm3

     

     

    Ex2. ต้องการไทเทรต เบสแก่X เข้มข้น 0.5 mol/dm3 จำนวน 500 cm3 จะต้องใช้ กรด Monoprotic เข้มข้น 0.3 mol/dm3 กี่ dm3 ถ้า X แตกตัวได้ 200 %

     

     

    Ex3. ทินพรอยากทราบว่าในน้ำหมากของคุณยายมีส่วนผสมของ Ca(OH)2 อยู่เท่าใด ถ้าเขานำน้ำหมากมา 150 cm3 มาไทเทรตกับ HCl เข้มข้น 0.01 mol/dm3 ปรากฎว่าใช้ไป 75 cm3

     

     

    Ex4.กรดแก่โมโนโปรติก จำนวน 7.5 g ทำปฏิกิริยาพอดีกับ NaOH ที่มี pH 12 จำนวน 200 cm3 ถ้านำกรดนี้มา 80 g ละลายน้ำได้สารละลาย

    4 ลิตร สารละลายนี้มีค่า pOH เท่าใด

     

     

     

    Ex5.โลหะ X 0.72 g ละลายได้หมดในกรด HCl เข้มข้น 1 mol/dm3 ปริมาตร 100 cm3 ซึ่งเมื่อสะเทินกรดนี้ด้วย NaOH ที่มากเกินพอ เข้มข้น

    1 mol/dm3 จะต้องใช้ 40 cm3 ถ้ามวลอะตอมของ X = 24 เลข Oxidation ของโลหะ X ในสารประกอบคลอไรด์มีค่าเท่าใด

    .

     

    Ex 6. กรดอินทรีย์( CXHYCOOH) ซึ่งมีไฮโดรเจน 7 % เมื่อนำกรดนี้มา 0.43 g ทำปฏิกิริยาพอดีกับ NaOH เข้มข้น 0.1 mol/dm3 ปริมาตร

    50 cm3 จงหาสัดส่วน X/Y

     

     

     

    Ex7.แอนตาซิลเป็นยาลดกรดมีส่วนประกอบของ Mg(OH)2 อยู่ 29 % โดยมวล/มวล นอกนั้นเป็นส่วนผสมของแป้ง ถ้ายานี้หนักเม็ดละ

    0.2 g จะต้องใช้ยานี้กี่เม็ดในการทำปฏิกิริยาพอดีกับ HCl เข้มข้น 0.02 mol/l 300 cm3

     

     

     

    Ex8.วิตามิน C มีกรดแอสคอร์บิก( H2C6H6O6)ซึ่งเป็นส่วนประกอบที่สำคัญ เมื่อนำวิตามิน C มา 0.1 g มาติเตรตกับ NaOH เข้มข้น 0.02

    mol/l จะต้องใช้ NaOH 5 cm3 จงหา % ของกรดแอสคอร์บิกในวิตามินซี

     

     

     

    Ex9.ในการถลุงแร่จะเกิดก๊าซ SO2 เมื่อทำปฏิกิริยากับน้ำในอากาศจะเกิดเป็นฝนกรดดังสมการ

    CuFeS2 + O2

                        Cu2S + 2FeO + 3SO2

    ถลุงแร่ 10 ตัน ได้แร่นี้ เพียง 0.05 % ถ้าวันนี้โรงงานถลุงแร่ 200 ตัน และเขาต้องการกำจัดก๊าซ SO2 ที่เกิด โดยการผ่านน้ำและมาทำปฏิกิริยากับ Ca(OH)2 จะต้องใช้ Ca(OH)2 เข้มข้น 10 mol/l เท่าใดในการทำปฏิกิริยาให้พอดี(หน่วย dm3)

     

     

     

     

    Ex 10.ในการผลิตน้ำยาขัดห้องน้ำพบว่า HCl เป็นส่วนประกอบที่สำคัญในการผลิต โดยจะใช้ HCl 5 % มวล/ปริมาตร จำนวน 500 cm3 ต่อส่วนประกอบอย่างอื่น ถ้า อ.ลักษมี ต้องการกำจัดคราบหินปูนในห้องน้ำ (CaCO3) จำนวนหนึ่ง ถ้า อ.หมีใช้น้ำยาขัดห้องน้ำไปแล้วเกิดก๊าซ CO2 นำก๊าซนี้ไปละลายน้ำแล้วไทเทรตกับ NaOH เข้มข้น 1 mol/l พบว่าใช้ไป 50 cm3 อยากทราบว่า อ.หมีใช้น้ำยาขัดห้องน้ำไปเท่าใด และ อ.หมีสามารถกำจัดหินปูนไปได้กี่กรัม

    a.mol.1000 = bN2V2

    a x g/M x 1000 = bN2V2

    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    นิยายที่ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×