ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    ระบบต่างๆของร่างกายมนุษย์

    ลำดับตอนที่ #3 : ระบบการย่อยอาหาร

    • เนื้อหาตอนนี้เปิดให้อ่าน
    • 7.59K
      15
      21 มิ.ย. 50

    ระบบย่อยอาหาร

    ระบบย่อยอาหารประกอบด้วยอวัยวะหลาย ๆ อวัยวะ  ได้แก่  ปาก  หลอดอาหาร  กระเพาะอาหาร  ตับ 
    ตับอ่อน
      ลำไส้เล็ก  ลำไส้ใหญ่  ซึ่งอวัยวะบางอวัยวะไม่มีการย่อยแต่เกี่ยวข้องกับทางเดินอาหาร
              การย่อยอาหาร  เป็นกระบวนการที่ทำให้อาหารที่มีโมเลกุลใหญ่ มีขนาดเล็กลงจนสามารถซึมเข้าสู่เซลล์ได้ การย่อยมี  2  ลักษณะคือ
              1.  การย่อยเชิงกล  เป็นการย่อยอาหารโดยไม่ใช้เอ็นไซม์มาช่วย  เป็นการบดเคี้ยวให้อาหารมีขนาดเล็กลง ได้แก่การบดเคี้ยวอาหารในปาก
              2.  การย่อยทางเคมี  เป็นการย่อยที่ต้องใช้เอ็นไซม์*(หรือน้ำย่อย)มาช่วย  ทำให้โมเลกุลของอาหารมีขนาดเล็กลง เช่นการเปลี่ยนโมเลกุลของแป้งเป็นน้ำตาล
              การย่อยอาหารจะเริ่มตั้งแต่อาหารเข้าสู่ร่างกายโดยผ่าน ปาก  ลิ้น  ฟัน  ต่อจากนั้นอาหารจะถูกลืนผ่านลำคอไปตามอวัยวะต่าง ๆ ตามลำดับดังนี้

    ปาก  หลอดอาหาร  กระเพาะอาหาร  ลำไส้เล็ก  ลำไส้ใหญ่
    ปาก  เป็นอวัยวะแรกของระบบย่อยอาหาร ภายในปากจะมีส่วนประกอบดังนี้
                   -ฟัน  ทำหน้าที่บดเคี้ยวอาหารให้มีขนาดเล็กลง

                   -ต่อมน้ำลาย จะขับน้ำลายซึ่งมีน้ำย่อย ไทอะลิน(Ptyalin) ออกมาคลุกเคล้ากับอาหาร และช่วยในการย่อยอาหารจำพวกแป้งให้เป็นน้ำตาล
                   -ลิ้นจะช่วยกวาด,คลุกเคล้าอาหาร และส่งอาหารที่เคี้ยวลงสู่หลอดอาหาร

    หลอดอาหาร ทำหน้าที่หดตัว บีบอาหารลงสู่กระเพาะอาหาร เพราะหลอดอาหารมีผนังที่ยึดและหดตัวได้บริเวณคอหอยมีช่องเปิดเข้าสู่หลอดลมและหลอดอาหารส่วนบนของหลอดลมมีแผ่นกระดูกอ่อนปิดกั้นกัน อาหารเข้าไปในหลอดลมขณะกลืนอาหารเรียกว่า ฝาปิดกล่องเสียง (epiglotottis ) ภายในโพรงปาก ด้านบนมีเพดานอ่อน (soft palate) ห้อยโค้งลงมาใกล้กับโคนลิ้นขณะที่อาหารผ่านเข้าสู่ลำคอ เพดานอ่อนจะถูกดันยกไปปิดช่องหายใจ อากาศผ่านช่องนี้ไม่ได้ อาหารนั้นจะถูกกล้ามเนื้อลิ้นบังคับให้ผ่านเข้าไปในหลอดอาหารได้พร้อมกับฝาปิดกล่องเสียงจะปิดหลอดลมในขณะที่ส่วนกล่องเสียงทั้งหมด ยกขึ้น ทำให้ฝาปิดกล่องเสียงปิดหลอดลมได้สนิท อาหารจึงเคลื่อนลงไปในหลอดอาหารได้โดยไมผลัดตกลงไปในหลอดอาหาร

    กระเพาะอาหาร มีลักษณะเป็นถุง รูปร่างคล้ายตัวเจ ปกติกระเพาะอาหารที่ไม่มีอาหารจะมีขนาดประมาณ 50 ลูกบาศก์เซนติเมตร และสามารถขยายตัวเมื่อมีอาหารได้อีก 10 - 40 เท่าอาหารผ่านไปตามหลอดอาหาร แล้วผ่านไปตามทางเดินอาหารโดยการหดและคลายตัวของกล้ามเนื้อหลอดอาหาร การหดตัวและคลายตัวของกล้ามเนื้อ หลอดอาหารจะคืนสู่สภาพปกติเมื่อก้อนอาหารผ่านพ้นไปแล้วการหดตัวและคลายตัว เรียกว่าเพอริสตัลซิล (peristalsis)ผนังกระเพาะ มีกล้ามเนื้อแข็งแรงมากและยืดหยุ่นขยายขนาดจุ ได้ถึงประมาณ1000 - 1200 ลูกบาศก์เซนติเมตร มีกล้ามเนื้อหูรูด (sphincter muscle) อยู่สองแห่งคือ กล้ามเนื้อหูรูดส่วนติดต่อกับหลอดอาหารกับกล้ามเนื้อ หูรูดส่วนติดกับลำไส้เล็ก ขณะเคี้ยวอาหารจะมีการกระตุ้นให้กระเพาะอาหารหลั่นน้ำย่อยบ้างเล็กน้อยเมื่ออาหารเคลื่อนลงสู่กระเพาะอาหารจะมีการกระตุ้น ให้เซลล์ในกระเพาะหลั่งน้ำย่อยเพิ่มมากขึ้น น้ำย่อยในกระเพาะอาหาร ประกอบด้วย เพปซิน (pepsin) เรนนิน (rennin) และ ไลเพส (lipase)นอกจากนี้ยังมีกรดไฮโดรคลอริก และน้ำเมือก อีกด้วย สำหรับ เพปซินและเรนนินจะอยู่ในรูปเพปซิโนเจน (pepsinogen)และโพรเรนนิน (prorennin) ซึ่งไม่พร้อมที่จะทำงาน แต่ยังมี กรดไฮโดรคลอริกจึงเปลี่ยนสภาพเป็นเป็น เพปซินและเรนนินและพร้อมทีจะทำงานได้ อาหารจะคลุกเคล้าอยู่ในกระเพาะด้วยการหดและคลายตัวของกล้ามเนื้อ ที่แข็งแรงของกระเพาะโดยน้ำย่อยเพปซินโปรตีนที่ถูกเพปซินย่อยส่วนใหญ่ จึงเป็นพอลิเพปไทด์ที่สั้นลง ไลเพส ทำหน้าที่ ย่อยไขมัน กระเพาะอาหารมีลิเพส ในปริมาณน้อยมาก และไม่สามารถทำงานได้ เนื่องจากกระเพาะอาหารมีสภาพเป็นกรด ไขมันจะผ่านกระเพาะอาหารออกไปโดยไม่ถูกย่อย น้ำเมือกที่ขับออกมาจากกระเพาะเคลือบผนังชั้นในของกระเพาะ กระเพาะก็ถูกทำลายได้แต่จะมีการสร้างเซลล์ใหม่ทดแทนได้ทันที เซลล์ถูกทำลายมากกว่าปกติ การหลั่งเพปซินและกรดไฮรโดรคลอริก แต่ไม่มีอาหารอยู่ใน กระเพาะจะทำให้ถูกทำลายจนเป็นแผลในกระเพาะได้ การมีกรด ในกระเพาะอาหารมากเกินปรกติมีสาเหตุ เช่น การรับประทาน อาหารไม่ตรงเวลา รับประทานอาหารเผ็ดจัด การกินยาแก้ปวดท้องเมื่อท้องว่าง การดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ และคาเฟอีน นอกจากนี้สุขภาพจิตก็มีความสำคัญมาก เช่น การมีอารมณ์เครียด วิตกกังวล ขาดการพักผ่อน ก็เป็นปัจจัยทำให้มีการหลั่งกรดออก มาในกระเพาะอาหารมาก อาหารอยู่ในกระเพาะอาหารนาน 30 นาที - 3 ชั่วโมง ซึ่งขึ้งอยู่กับชนิดของอาหารนั้น กระเพาะอาหารสามารถดูดซึมแอลกอฮอล์ได้ดี พบว่า 30 - 40% ของแอลกอฮอล์ที่ดื่มเข้าไป จะถูกดูดซึมที่กระเพาะอาหาร อาหารโปรตีนบางชนิดที่ย่อยยาก เช่น เนื้อวัว เนื้อควาย ย่อยยากกว่าเนื้อปลา อาหารโปรตีนบางชนิดเพื่อให้ย่อยง่าย อาจใช้การหมักหรือใส่สารบางอย่างลง เช่น ผงเนื้อนุ่ม เพื่อช่วยในการย่อยก่อนที่จะมาประกอบอาหารรับประทาน สารที่ทำให้เนื้อนุ่มอาจได้มาจากเอนไซม์ที่ได้จากพืช เช่น ยางมะละกอหรือสับประรด เป็นต้น ในยางมะละกอมีเอนไซม์ซื่อปาเปน (papain) สามารถย่อยโปรตีนได้ ในพืชมีเอนไซม์ย่อยอาหารเช่นกัน เช่น ในเมล็ดที่กำลัง งอกมี เอนไซม์อะไมเลส ทำหน้าที่ ย่อยอาหารที่สะสมอยู่ในเมล็ด เพื่อนำไปใช้ในการเจริญของต้นอ่อนภายในกระเพาะอาหารจะมีเอนไซม์ ชื่อว่า เพปซินที่ช่วยย่อยโปรตีน ซึ่งเอนไซม์นี้จะทำงานได้ดีในสภาวะที่เป็นกรด กรดที่กระเพาะอาหารสร้างคือ กรดไฮโดรคลอริก (กรดเกลือ) อาหารจะสามารถอยู่ในกระเพาะอาหารได้ประมาณ 3 – 4 ช.ม. แล้วจะถูกส่งต่อไปยังลำไส้เล็ก

     ลำไส้เล็ก  การย่อยและดูดซึมสารอาหารส่วนใหญ่เกิดขึ้นที่นี่  ลำไส้เล็กมีรูปร่างเป็นท่อยาวประมาณ  15 ฟุต มีเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ  1 นิ้ว แบ่งออกเป็น  3  ตอน คือตอนต้น ตอนกลาง และตอนปลาย  ภายในลำไส้เล็ก
    จะมีส่วนที่ยื่นออกมาจำนวนมากเรียกว่า วิลไล
    (villi) ภายในวิลไลมีเส้นเลือดฝอยและน้ำเหลืองช่วยดูดซึมอาหารที่มีโมเลกุลขนาดเล็กเข้าสู่เซลล์การย่อยอาหารในลำไส้เล็ก เป็นการย่อยขั้นสุดท้ายซึ่งต้องอาศัยเอ็นไซม์จากลำไส้เล็กเองและจากตับอ่อน*ในการย่อยอาหารประเภทแป้ง ไขมัน และโปรตีน นอกจากนี้ยังมีน้ำดี*ซึ่งสร้างโดยตับ*และสะสมไว้ในถุงน้ำดี  อาหารที่ย่อยแล้วซึมเข้าไปเลี้ยงส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย อาหารที่เหลือจากการถูกดูดซึมจะเคลื่อนที่ลงสู่ลำไส้ใหญ่เพื่อถ่ายออกจากร่างกายเป็นอุจจาระต่อไป

    ลำไส้ใหญ่  เป็นส่วนสุดท้ายของระบบย่อยอาหาร อยู่ติดกับลำไส้เล็ก ตรงรอยต่อจะมี ไส้ติ่ง(Vermiform  appendix)ติดอยู่  ในลำไส้ใหญ่จะไม่มีการย่อยอาหาร แต่จะมีการดูดซึมน้ำเข้าสู่ร่างกาย และส่งกากอาหารที่เหลือออกสู่ทวารหนักเป็นอุจจาระ

     

    การปฏิบัติตนในการดูแลรักษาอวัยวะในระบบ
    1.
      รับประทานอาหารให้ครบทุกประเภทในแต่ละมื้อ และรับประทานอาหารแต่พอควร

         ไม่มากหรือน้อยจนเกินไป  โดยเคี้ยวอาหารให้ละเอียด
    2.
      รับประทานอาหารที่สะอาด และปรุงสุกใหม่ ๆ
    3.
      ไม่รับประทานอาหารพร่ำเพรื่อ จุกจิก และทานให้ตรงเวลา
    4.
      อย่ารีบรับประทานอาหารขณะกำลังเหนื่อย
    5.
      ไม่ควรรับประทานอาหารที่มีรสจัดจนเกินไป
    6.
      ถ่ายอุจจาระให้เป็นเวลาและสม่ำเสมอ

    *เอ็นไซม์(enzyme)  เป็นสารประกอบประเภทโปรตีน ซึ่งสิ่งมีชีวิตสร้างขึ้น เพื่อเป็นตัวเร่ง (catalyst)
    ในปฏิกิริยาที่เกิดขึ้น

                *น้ำดี ของเหลวสีเขียวอยู่ในถุงน้ำดีทำหน้าที่ย่อยไขมันโดยทำให้ไขมันแตกตัวเป็นเม็ดเล็ก ๆ เพื่อสะดวกในการย่อยและดูดซึม นอกจากนั้นยังทำหน้าที่ดูดซึมวิตามินเอ และช่วยขับของเสียอื่น ๆ ออกจากร่างกาย

    1.      ตับ เป็นอวัยวะซึ่งมีต่อมที่ใหญ่ที่สุดของร่างกาย อยู่ช่องท้องใต้กระบังลม ทำหน้าที่สร้างน้ำดี แล้วนำไปเก็บสะสมไว้ในถุงน้ำดี น้ำดี ประกอบด้วยเกลือน้ำดี และรงควัตถุน้ำดี ท่อนำน้ำดีช่วงแรกเรียกว่า common bile duct ช่วงสุดท้ายก่อนที่จะเปิดเข้า ลำไส้เล็ก โดยไปรวมกับท่อจากตับอ่อนเรียกว่า hepato pancreatic duct ตับมีหน้าที่โดยสรุปดังนี้

    1.      สร้างน้ำดีในการช่วยให้ไขมันแตกตัว ทำให้น้ำย่อยไขมันสามารถย่อยไขมันได้ดีในลำไส้เล็ก

    2.      ทำลายเม็ดเลือดแดงที่หมดอายุ

    3.      สร้างเซลล์เม็ดเลือดแดงในระยะเอ็มบริโอ

    4.      ช่วยในการแข็งตัวของเลือด

    5.      สลายกรดอะมิโนให้เป็นยูเรีย

    6.      ศูนย์กลางเมแทบอลิซึมอาหารที่ให้พลังงานได้

    7.      สะสมไกลโคเจนซึ่งเป็นน้ำตาลจากเลือดสะสมไว้ในตับ

    8.      ทำลายจุลินทรีย์โดยมี kupffer’ s cell ทำหน้าที่ทำลายจุลินทรีย์

    9.      คุมระดับน้ำตาลในเลือดไม่ให้เกิน 0.1 %

    2.      ตับอ่อนช่วงแรกเรียกว่า ท่อแพนครีเอติค( pancreatic duct) ช่วงหลังเรียกว่าท่อจากตับอ่อน( hepato pancreaticduct) หน้าที่ของตับอ่อนสรุปได้ดังนี้

    1.      มีต่อมสร้างน้ำย่อยหลายชนิดส่งให้ลำไส้เล็กทำหน้าที่ย่อย แป้ง โปรตีนและไขมัน

    2.      มีต่อมไร้ท่อควบคุมน้ำตาลในเลือด

    3.      สร้างสารที่เป็นเบสกระตุ้นให้น้ำย่อยในลำไส้เล็กทำงานได้ดี โดยเฉพาะเอนไซม์

     




    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    นิยายที่ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×