ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    ระบบต่างๆของร่างกายมนุษย์

    ลำดับตอนที่ #2 : ระบบการไหลเวียนโลหิต

    • เนื้อหานิยายตอนนี้เปิดให้อ่าน
    • 12.44K
      8
      21 มิ.ย. 50

    ระบบการไหลเวียนของเลือด (Vascular System)
    ระบบไหลเวียนเลือดของคนเป็นระบบปิด ระบบไหลเวียนของเลือด ทำหน้าที่
            1. ลำเลียงก๊าซออกซิเจนและอาหารไปยังส่วนต่างๆ ทั่วร่างกาย และรับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์และของเสียจากเซลล์ ส่งกลับไปยังอวัยวะขับถ่าย เช่น ไต และปอด
            2. ควบคุมอุณหภูมิของร่างกาย
            3. กระจายฮอร์โมนชนิดต่างๆ  และเซลล์เม็ดเลือดไปยังอวัยวะต่างๆ ที่มีความต้องกาย
    ระบบไหลเวียนของเลือดประกอบด้วยอวัยวะ ดังนี้
            1. หัวใจ (heart) เป็นกล้ามที่ทำงานตลอดเวลา ทำงานนอกอำนาจหัวใจ หัวใจคนมี 4 ห้อง คือ บน 2 ห้อง ซ้ายและขวา และล่าง 2 ห้อง คือซ้ายและขวา

            2. น้ำเลือด มีลักษณะเป็นของเหลวสีแดงประกอบด้วยเซลล์หลายชนิด ร่างกายมีเลือดประมาณ 5 ลิตร จะมีน้ำเลือดอยู่ในเส้นเลือดทุกชนิดและทุกขนาด เซลล์ของน้ำเลือดมี 3 ชนิด    ได้แก่
                    1) เซลล์เม็ดเลือดแดง (red blood cell) ไม่มีนิวเคลียส ทำหน้าที่ขนส่งก๊าซ
                    2) เซลล์เม็ดเลือดขาว (white blood cell) มีขนาดใหญ่กว่าเม็ดเลือดแดงมาก มีนิวเคลียส ทำหน้าที่กำจัดสิ่งแปลกปลอมในร่างกาย
                    3) เกล็ดเลือด (blood platelets) มีขนาดเล็กไม่มีสี พบในสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนม ช่วยในการแข็งตัวของเลือดเมื่อเกิดบาดแผล 
    การไหลเวียนของเลือด เลือดออกจากหัวใจทางห้องล่างซ้ายไปตามเส้นเลือด ไปสู่ส่วนต่างๆ ของร่างกาย เพื่อสันดาปอาหาร ทำให้ได้พลังงานและคาร์บอนไดออกไซด์ จากนั้นจะไหลจากเซลล์กลับสู่หัวใจทางห้องบนขวาลงล่างขวา ไหลเข้าปอด เพื่อปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์ และรับออกซิเจน มาแทนที่ แล้วไหลกลับเข้าหัวใจทางห้องบนซ้ายลงล่างซ้ายออกจากหัวใจไปสู่เซลล์ วนเวียนอยู่อย่างนี้โดยมีหัวใจเป็นศูนย์กลาง มีการบีบตัวและคลายตัวของกล้ามเนื้อ ทำให้เกิดแรงดันเลือด

    ระบบไหลการเวียนของเลือดและน้ำเหลือง

    Circulation system and Lymphatic system

    ระบบไหลเวียนของเลือดมีความสำคัญต่อการมีชีวิตอยู่ของสัตว์เลี้ยงทุกๆ ชนิด

    เนื่องจากการไหลเวียนของเลือดในร่างกาย จะนำสารอาหารที่สำคัญต่างๆที่ละลายในเลือด เช่น

    โภชนะต่างๆ,ก๊าซ,ฮอร์โมน,แร่ธาตุและสารอื่นๆ มาให้แก่เซลล์ในอวัยวะส่วนต่างๆของร่างกาย

    ตลอดเวลา เพื่อให้เซลล์นำไปใช้ในกิจกรรมต่างๆ ขณะเดียวกันจะรับของเสียออกจากเซลล์ เพื่อขับ

    ออกจากร่างกายโดยวิธีการต่างๆกัน เช่นการขับเหงื่อ การหายใจและการขับน้ำปัสสาวะเป็นต้น

    ระบบการไหลเวียนของเลือดในร่างกายเกิดจากการบีบตัวของกล้ามเนื้อหัวใจ เพื่อดันเลือดเข้าสู่

    หลอดเลือดแดงหรือเส้นเลือดแดงขนาดต่างๆเพื่อส่งเลือดไปที่เซลล์ในเนื้อเยื่อต่างๆของร่างกาย ทำ

    ให้เกิดการแลกเปลี่ยนสารอาหาร ก๊าซ และของเสียที่ผนังเส้นเลือดฝอยของเนื้อเยื่อเหล่านั้น

    จากนั้นเลือดจะถูกนำกลับเข้าสู่หัวใจทางเส้นเลือดดำขนาดต่างๆ เลือดที่เข้าหัวใจเป็นเลือดดำหรือ

    เลือดที่มีออกซิเจนต่ำถูกนำไปฟอกที่ปอดเพื่อรับออกซิเจนแล้วเปลี่ยนเป็นเลือดแดง และนำเข้าสู่

    หัวใจอีกครั้ง การหมุนเวียนของเลือดในร่างกายนี้จะเกิดขึ้นตลอดเวลาที่สัตว์มีชีวิตอยู่ อาจกล่าว

    ได้ว่าระบบไหลเวียนของเลือดในร่างกาย คือ หัวใจ และ เส้นเลือดชนิดต่างๆ

    หัวใจ (heart)

    หัวใจเป็นอวัยวะที่สำคัญที่สุดของร่างกาย มีลักษณะเป็นรูปกรวย มีตำแหน่งอยู่

    ในช่องอกระหว่างปอดทั้งสองข้าง โดยอยู่ในช่องว่างที่เรียกว่า mediastinum ที่หัวใจมีเส้นเลือดซึ่งโป่งพองออกเป็นกระเปาะวิ่งเข้าและออกจากหัวใจ เช่น aorta, pulmonary arteries และpulmonary veines การไหลเวียนของเลือดเข้าและออกจากหัวใจขึ้นกับจังหวะการเต้นของหัวใจว่าเป็นจังหวะที่กล้ามเนื้อหัวใจบีบตัว (systolic phase) หรือเป็นจังหวะที่กล้ามเนื้อหัวใจคลายตัว(diastolic phase) หัวใจถูกหุ้มด้วยเยื่อหุ้มหัวใจเรียกว่า pericardium มีลักษณะเป็นถุงบางๆ ใสและเหนียว ห่อหุ้มหัวใจและบางส่วนของเส้นเลือดใหญ่ที่ติดกับหัวใจ ระหว่างเยื่อหุ้มหัวใจและเนื้อเยื่อหัวใจมีของเหลวแทรกอยู่ (pericardial fluid) ทำหน้าที่ในการหล่อลื่นและป้องกันการเสียดสีระหว่างเยื่อหุ้มหัวใจและเนื้อเยื่อหัวใจ

    โครงสร้างของหัวใจ (structure of the heart)

    หัวใจในสัตว์เลี้ยงและสัตว์ปีกจะประกอบด้วยเซลล์กล้ามเนื้อหัวใจจัดเรียงต่อกันเป็นกลุ่ม

    ภายในกลวงแบ่งเป็น 4 ห้อง ห้องบน 2 ห้อง และห้องล่าง 2 ห้อง หัวใจห้องบน เรียกว่า atriiaหัวใจห้องล่าง เรียกว่า ventricle ผนังที่กั้นระหว่างหัวใจด้านบนและด้านล่างเรียกว่า septumระหว่างหัวใจห้องบนและล่างมีช่องทางติดต่อถึงกันเรียกว่า atrioventricular orifices มีลิ้นหัวใจกั้นอยู่(cardiac valves) ทำหน้าที่เปิดและปิดให้เลือดไหลผ่านจากหัวใจห้องบนลงไปหัวใจห้องล่างทั้งด้านซ้ายและด้านขวา ผนังของหัวใจด้านบนจะบางกว่าผนังของหัวใจด้านล่าง เนื่องจากหัวใจด้านบนทำหน้าที่ในการรับเลือดเข้าสู่หัวใจ ผนังด้านล่างต้องบีบตัวเพื่อส่งเลือดออกจากหัวใจผนังหัวใจด้านล่างห้องซ้ายจะหนากว่าหัวใจด้านล่างขวา และเป็นส่วนของหัวใจที่มีพื้นที่มากที่สุดในหัวใจทั้งหมด ทั้งหัวใจห้องบนด้านขวาและด้านซ้ายจะเห็นมีติ่งยื่นออกมาทางด้านหน้าเรียกว่าAuricles

     

    ลักษณะทางจุลกายวิภาคของหัวใจ (microanatomy of the heart)

    เมื่อนำหัวใจมีผ่าและส่องดูด้วยกล้องจุลทรรศน์ จะเห็นว่าผนังของหัวใจแบ่งออก

    ได้เป็น 3 ชั้นคือ

    1.ชั้นในสุด (endocardium) เป็นชั้นเนื้อเยื่อบางๆค่อนข้างเหนียว บุอยู่ด้านในของหัวใจ

    ทุกห้อง รวมทั้งส่วนของลิ้นหัวใจ หรือเป็นชั้นที่ต่อกับโพรงหัวใจ

    2.ชั้นกล้ามเนื้อหัวใจ (myocardium) กล้ามเนื้อหัวใจแต่ละห้องจะมีความหนาไม่เท่ากัน

    หัวใจห้องบนมีกล้ามเนื้อที่บางกว่าหัวใจห้องล่าง และหัวใจห้องล่างด้านซ้ายจะมีความหนามาก

    ที่สุด กลุ่มเซลล์กล้ามเนื้อหัวใจ (cardiac muscle cells) เป็นกลุ่มเนื้อเยื่อส่วนใหญ่ของหัวใจประกอบขึ้นเป็นผนังของหัวใจทั้งด้านบนและด้านล่าง กล้ามเนื้อหัวใจเมื่อถูกกระตุ้นจะหดตัวพร้อมๆกัน เมื่อศึกษาดูทางจุลกายวิภาคศาสตร์จะพบว่าเซลล์กล้ามเนื้อหัวใจจะเรียงตัวกันแบบ

    syncytial arrengement เซลล์กล้ามเนื้อแต่ละเซลล์จะเรียงต่อกันเป็นระยางค์ เมื่อมีการกระตุ้นที่เซลล์ใดเซลหนึ่งของเซลล์กล้ามเนื้อหัวใจก็จะทำให้เซลล์อื่นถูกกระตุ้นไปด้วย ทำให้กล้ามเนื้อหัวใจมีการเต้นไปพร้อมๆกัน โดยทั่วไปแล้วกล้ามเนื้อหัวใจจะเป็นกล้ามเนื้อที่อยู่นอกอำนาจจิตใจ(involuntary muscle) และทำงานเองได้อย่างอิสระและอัตโนมัติ (autonomatism activity) จุดที่มีการทำงานอย่างอัตโนมัติได้เองคือส่วน SA node หรือ sino-atrial node และ AV node หรือatrioventricular node ซึ่งเป็นกลุ่มเซลล์พิเศษที่สามารถสร้างคลื่นไฟฟ้าได้เองโดยอัตโนมัติตรง pacemaker ที่มีลักษณะเป็นเซลล์เล็กๆมีเซลล์กล้ามเนื้อ(myofibril)เป็นส่วนประกอบเป็นส่วนน้อยกลุ่ม SA node เป็นเนื้อเยื่อหัวใจที่มีใยประสาทอัตโนมัติมารวมกันอยู่มากมาย ตำแหน่งของ SA

    node จะอยู่ที่หัวใจด้านบนขวาใกล้กับ superior vena cava และแผ่โค้งลงมาที่ inferior vena  cava ส่วน AV node มีขนาดเล็กกว่า SA node เป็นส่วนของเนื้อเยื่อที่เปลี่ยนแปลงไป มีตำแหน่งอยู่ใกล้กับผนังของหัวใจด้านบนทั้งสองข้างตรงรอยต่อของหัวใจด้านบนและด้านล่าง SA nodeและ AV node จะมีเส้นประสาท vagus nerve และ sympathetic nerve มาควบคุม ส่วนของ AV node จะติดต่อกับเนื้อเยื่อที่นำคลื่นไฟฟ้าไปสู่หัวใจห้องล่าง นอกจากนี้จะพบกลุ่มเซลล์ที่ทำหน้าที่ นำคลื่นไฟฟ้าในหัวใจ (conducting cell) โดยทั่วไปคลื่นไฟฟ้าในหัวใจจะเกิดขึ้นที่หัวใจด้านบนแล้วผ่านมายัง AV node จากนั้นจะถูกส่งผ่านหัวใจห้องล่าง โดยใช้ conducting cells ที่ทอดต่อผ่านเนื้อเยื่อระหว่าง AV node และส่วนหัวใจห้องล่าง

    3.ชั้นนอกสุด (epicardium) เป็นชั้นเนื้อเยื่อที่ประกอบด้วยเซลเยื่อบุชนิด simple

    squamous epithelium ประสานอยู่กับเนื้อเยื่อเกี่ยวพันชนิด loose aveolar connective tissues  ชั้นนี้เป็นที่อยู่ของเส้นเลือดที่มาหล่อเลี้ยงหัวใจ (coronary arteries และ coronary veines)

    เส้นเลือด (blood vessles)

    เส้นเลือดทำหน้าที่ในการนำเลือดให้ไหลเวียนไปตามส่วนต่างๆของร่างกาย สามารถแบ่ง

    ออกเป็น 2 ชนิดคือ เส้นเลือดแดง (arteries) และเส้นเลือดดำ (veins) ที่มีu3586 .นาดต่างๆกันเส้น เลือดแดงหมายถึงเส้นเลือดที่นำเลือดออกจากหัวใจห้องล่างด้านซ้าย เพื่อส่งเลือดไปยังเนื้อเยื่อส่วนต่างๆของร่างกาย ได้แก่ เส้นเลือดแดงใหญ่ (aorta) เป็นเส้นเลือดแดงที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในร่างกาย เส้นเลือดแดงที่มีขนาดเล็กรองลงมา(arteries) , เส้นเลือดที่รองลงมาอีก (arterioles) และเส้นเลือดฝอย (capillaries) เส้นเลือดฝอยเป็นเส้นเลือดที่แทรกอยู่ระหว่างเซลในเนื้อเยื่อต่างๆของร่างกาย เส้นเลือดแดงที่มีขนาดใหญ่จะมีความยืดหยุ่นกว่าเส้นเลือดแดงขนาดเล็กและเส้นเลือดแดงฝอย เนื่องจากมี elastin และ collagen fiber สูงกว่า เส้นเลือดดำ หมายถึงเส้นเลือดที่นำเลือดจากส่วนต่างๆของร่างกายเข้าสู่หัวใจที่ห้องบนด้านขวา เส้นเลือดดำใหญ่ที่สุดเรียกว่า vena  cava เป็นเส้นเลือดดำขนาดใหญ่ที่นำเลือดเข้าสู่หัวใจ เส้นเลือดดำที่มีขนาดรองลงมาเรียกว่าveins เส้นเลือดที่มีขนาดรองลงมากเรียกว่า venules และเส้นเลือดดำที่มีขนาดเล็กที่สุดเรียกว่าเส้นเลือดดำฝอย (veinous capillaries) เส้นเลือดดำฝอยมักจะอยู่ใกล้ชิดหรือต่อเชื่อมกับเส้นเลือดแดงฝอยเสมอ ผนังเส้นเลือดดำมีความสามารถในการยืดขยายได้มาก หรือเรียกว่ามีdistensibility สูงทำให้สามารถจุเลือดได้มาก จึงทำให้มีเลือดประมาณ 60-70 %ของเลือดทั้งหมดในร่างกายเป็นเลือดที่อยู่ในส่วนของเส้นเลือดดำ

    โครงสร้างของเส้นเลือด (structure of blood vesseles)

    โดยทั่วไปผนังของเส้นเลือดประกอบด้วยชั้นต่างๆ 3 ชั้นด้วยกันคือ

    1.ชั้นในสุด (tunica intima) เป็นชั้นเยื่อบุผิวชนิด simple squarmous epithelium หรือ endothelial ถัดจากชั้นเยื่อบุผิวเป็นชั้นของเนื้อเยื่อเกี่ยวพันชั้นบางๆ ในเส้นเลือดทุกชนิดจะมีเนื้อเยื่อชั้นนี้

    2.ชั้นกลาง (tunica media) เป็นชั้นของกล้ามเนื้อเรียบเป็นส่วนใหญ่ การบีบตัวของ

    กล้ามเนื้อถูกควบคุมด้วยประสาท sympathetic nerve fiber

    3.ชั้นนอกสุด (tunica externa หรือ adventitia) เป็นชั้นบางๆของ loose collagenous  fiber ในเส้นเลือดที่มีขนาดใหญ่ เช่น aorta ชั้นนอกสุดจะหนามาก

    เส้นเลือดดำเป็นเส้นเลือดที่มีผนังบางกว่าเส้นเลือดแดง แต่มีขนาดใหญ่กว่า เส้นเลือดดำ

    ส่วน venules จะเป็นเส้นเลือดดำที่มีขนาดใหญ่กว่าเส้นเลือดดำฝอยเล็กน้อยที่ผนังอาจจะมี

    หรือไม่มีชั้นกล้ามเนื้อเรียบก็ได้ ชั้นในของเส้นเลือดดำบางส่วนจะมีลิ้นเกิดขึ้นเป็นช่วงๆเพื่อป้องกันการย้อนกลับของเลือด ส่วนของลิ้นมักพบในบริเวณที่มีเส้นเลือดดำ 2-3 เส้นมาเชื่อมต่อกันเป็นเส้นเดียวเมื่อเปรียบเทียบโครงสร้างเส้นเลือดแดงและเส้นเลือดดำจะเห็นได้ว่า เส้นเลือดแดงที่มีขนาดใหญ่เช่น aorta และ ateries ขนาดต่างๆ ตรงส่วนผนังเส้นเลือดจะมี elastin และ

    collagenous fiber สูงกว่าทำให้เส้นเลือดแดงสามาถยืดหยุ่นอละรับแรงดันเลือดได้ดี จึงสามารถที่จะผลักดันเลือดไปสู่ส่วนต่างๆของร่างกายได้ในขณะที่กล้ามเนื้อหัวใจบีบตัว กลุ่มเส้นเลือดแดงใหญ่อาจเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า elastic arteries เส้นเลือดแดงที่มีขนาดเล็กลงมาเช่น arterioles จะแตกต่างกับเส้นเลือดแดงใหญ่ เนื่องจากชั้นกลางของผนังเส้นเลือด จะมีกล้ามเนื้อเรียบเป็นส่วนมากและมีผนังชั้นกลางที่หนาทำหน้าที่นำเลือดไปยังเส้นเลือดแดงฝอยทั่วร่างกาย อาจเรียกว่า muscular arteries หรือ distributing arteries ส่วนของกล้ามเนื้อเรียบของเส้นเลือดจะถูกควบคุมโดย symphathetic nerve fiber เส้นเลือดแดงฝอยซึ่งเป็นเส้นเลือดแดงที่มีขนาดเล็กที่สุดและพบแทรกอยู่ระหว่างเซลในเนื้อเยื่อต่างๆ โดยทั่วไปเส้นเลือดแดงฝอยมีขนาดเล็กมีเส้นผ่าศูนย์กลางใหญ่กว่าเส้นผ่าศูนย์กลางของเม็ดเลือดแดงเล็กน้อยเท่านั้น ผนังของเส้นเลือดแดงฝอยจะบางประกอบด้วยชั้นเซลเยื่อบุชั้นเดียวหรือบางแห่งอาจมีมากกว่า 1 ชั้น เซลเยื่อบุที่เป็นส่วนประกอบของผนังเส้นเลือดฝอยบางส่วนอาจถูกยึดติดกันด้วย intercelluar cement ที่มีลักษณะเป็นแผ่นเนื้อเยื่อเกี่ยวพันชั้นบางๆ สามารถแบ่ง.ชนิดของเส้นเลือดฝอยตามโครงสร้างของ

    ผนังและหน้าที่ได้เป็น 3 ชนิดได้แก่

    1.เส้นเลือดฝอยที่พบแทรกอยู่ตามเนื้อเยื่อต่างๆทั่วไป เช่น ระหว่างเซลกล้ามเนื้อ ผิวหนัง

    และปอด เป็นต้น เรียกเส้นเลือดฝอยกลุ่มนี้ว่า continuous capillaries

    2.เส้นเลือดฝอยที่พบอยู่ตามเนื้อเยื่อของไตส่วน glomerulus เส้นเลือดฝอยที่พบตามต่อม

    ไม่มีท่อ และที่เยื่อบุผนังลำไส้และปอด เป็นต้น เส้นเลือดฝอยชนิดนี้จะมีผนังที่มีความสามารถใน

    การซึมผ่านได้ดีกว่าชนิดแรก เรียกว่า fenestrated capillaries

    3.เส้นเลือดฝอยชนิด irregular sinusoid เป็นเส้นเลือดฝอยที่พบตาม sinusoids ของเนื้อเยื่อตับและม้ามเป็นเส้นเลือดฝอยที่มีหน้าที่สำคัญที่สุด โดยจะทำหน้าที่เกี่ยวข้องกับการแลกเปลี่ยนสารต่างๆ เนื่องจากมีความสามารถในการซึมผ่านดีที่สุด

    ระบบการไหลเวียนของเลือด (circular system)

    ระบบไหลเวียนของเลือดในร่างกายเกิดขึ้น เพื่อนำเลือดที่มีออกซิเจนสูงจากหัวใจไปยัง

    ส่วนต่างๆของร่างกาย เพื่อแลกเปลี่ยนสารต่างๆ และของเสีย จากนั้นจึงนำเลือดดำกลับมาที่หัวใจ

    แล้วนำไปฟอกที่ปอด แล้วนำเลือดที่ฟอกแล้วกลับมาที่หัวใจและหมุนเวียนนำเลือดส่งกลับไปเลี้ยง

    ส่วนต่างๆของร่างกายต่อไปเป็นวงรอบ ระบบการไหลเวียนของเลือดในร่างกายจะต้องเกิดขึ้นอย่าง

    ต่อเนื่องหมุนเวียนไปตลอดเวลา เพื่อให้ร่างกายสามารถมีชีวิตอยู่ได้ ระบบไหลเวียนของเลือด

    สามารถแบ่งออกเป็น 2 วงจรหลักใหญ่ๆ ได้แก่

    1.การไหลเวียนของเลือดผ่านปอด (pulmonary circulation) หมายถึงระบบที่นำ

    เลือดออกจากหัวใจห้องล่างด้านขวาซึ่งเป็นเลือดที่มีปริมาณออกซิเจนต่ำ(เลือดดำ) เพื่อนำเลือดไป

    ฟอกที่ปอด ขณะเดียวกันจะนำเลือดที่มีออกซิเจนสูงจากปอด หมุนเวียนกลับเข้าสู่หัวใจอีกครั้ง

    ผ่านทางหัวใจห้องบนด้านซ้าย การนำเลือดจากหัวใจไปสู่ปอดเกิดขึ้นเมื่อกล้ามเนื้อหัวใจห้องขวา

    ด้านล่างเกิดการบีบตัวก็จะดันให้เลือดผ่านไหลลิ้นหัวใจ (pulmonary valve) ไปยังเส้นเลือดที่จะส่งเลือดไปที่ปอดโดยผ่านจาก pulmonary truck ที่เป็นเส้นเลือดที่มีขนาดใหญ่แล้วแตกแขนงไปในเส้นเลือดที่มีขนาดเล็กลำดับถัดไป pulmonary arteries จนกระทั่งเลือดไหลเข้าไปในเนื้อเยื่อปอดทั้งซีกซ้ายและซีกขวา โดยไปสิ้นสุดที่ capillary beds ที่ล้อมรอบถุงลมปอด(alveoli) ที่ capillary beds เลือดที่มีออกซิเจนต่ำ(เลือดดำ) จะปลดปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ออกและรับก๊าซออกซิเจนเข้ามาแทนที่ เลือดที่มีออกซิเจนสูงหรือเลือดที่ฟอกแล้วจากปอด(เลือดแดง) จะออกจากcapillary beds ผ่านเส้นเลือดขนาดต่างๆ (venules) แล้วเข้าสู่เส้นเลือด (pulmonary veines)

    เพื่อเข้าสู่หัวใจทางห้องบนด้านซ้าย เส้นเลือด (pulmonary veines) ที่ออกจากเนื้อเยื่อปอดแต่ละข้างเพื่อเข้าสู่หัวใจจะมีข้างละ 2 เส้น

    2.การไหลเวียนของเลือดไปเลี้ยงร่างกายส่วนต่างๆ (systemic circulation) เป็นการ

    ไหลเวียนของเลือดที่มีออกซิเจนสูงหรือเลือดดี(เลือดแดง) ออกจากหัวใจทางห้องล่างด้านซ้าย โดยการบีบตัวของกล้ามเนื้อหัวใจห้องล่างด้านซ้ายจะผลักดันให้เลือดดีออกไปสู่ส่วนต่างๆของร่างกายตามระบบเส้นเลือดแดง (arteries blood) หลังจากที่เลือดดีไปที่เซลล์แล้วมีการถ่ายเทออกซิเจนจากเลือดให้แก่เซลล์โดยรับเอาคาร์บอนไดออกไซด์มาแทน(เลือดมีออกซิเจนต่ำ) จะมีการไหลกลับของเลือดที่มีออกซิเจนต่ำจากส่วนต่างๆของร่างกายกลับเข้าสู่หัวใจทางหัวใจห้องบนด้านขวาโดยผ่านระบบเส้นเลือดดำหรือเลือดที่มีออกซิเจนต่ำ (venous blood)

    การไหลเวียนของเลือดทั้งสองวงจรหลักนี้ จะเป็นการไหลเวียนที่เชื่อมต่อกันโดยตรงกับ

    หัวใจ นอกจากนี้ยังต่อเชื่อมกับระบบน้ำเหลืองที่มีอยู่ในร่างกาย ซึ่งทำหน้าที่ในการนำของเหลวและสารละลายต่างๆ ที่เส้นเลือดฝอยไม่สามารถดูดซึมกลับได้หมดเข้าสู่เส้นเลือดใหม่ จัดเป็นการ

    ช่วยรักษาสมดุลของของเหลว และรักษาความดันของของเหลวในร่างกายส่วนหนึ่งด้วย

     

    ระบบเส้นเลือดแดง (arteries system)

    ระบบเส้นเลือดแดงเป็นระบบของเส้นเลือดที่นำเลือดออกจากหัวใจเพื่อไปเลี้ยงส่วนต่างๆ

    ของร่างกาย เส้นเลือดแดงใหญ่เป็นเส้นเลือดแดงที่มีขนาดใหญ่ที่สุดและออกจากหัวใจเป็นเส้น

    แรกเรียกว่า aorta จากนั้นจะแตกแขนงเป็นเส้นเลือดที่ไปหล่อเลี้ยงหัวใจ (coronary arteries)หลังจากนั้น aorta จะเริ่มมีการแตกแขนงและโค้งงอเพื่อไปทางด้านทางของลำตัวส่วนท้าย ส่วนของเส้นเลือดที่เริ่มโค้งงอเรียกว่า aortic arch จากนั้นเส้นเลือดแดงจะแตกแขนงไปเลี้ยงร่างกายส่วนหน้าด้วยเส้นเลือดขนาดต่างๆเริ่มจาก truck เป็น arteries เป็น arterioles และ ไปสิ้นสุดที่เส้นเลือดแดงฝอย(capillaries) ภายในเนื้อเยื่อส่วนต่างๆ เพื่อเกิดการแลกเปลี่ยนโภชนะ, ก๊าซ และของเสียที่เกิดจากการเมตาโบลิซึมของเซลล์โดยจะเกิดขึ้นระหว่างเลือดและเซล การแลกเปลี่ยนดังกล่าวจะเกิดขึ้นที่ผนังของเส้นเลือดฝอยเท่านั้น ลักษณะการแลกเปลี่ยนสารระหว่างผนังเซลกับเส้นเลือดฝอยสามารถเกิดขึ้นได้หลายวิธีเช่น การแพร่ (diffusion) ซึ่งเกิดขึ้นเมื่อความเข้มข้นของสารระหว่างผนังเส้นเลือดฝอยและผนังเซลล์ต่างกัน นอกจากนี้จะเป็นการกรองและการดูดกลับของสารที่เกิดจากความดันของสารละลายที่ต่างกันเรียกว่า filtration and absorption หากสารมีโมเลกุลใหญ่กว่ารูบนผนังเส้นเลือดฝอยเช่นโปรตีนในเลือด (globlin และ fibrinogen) จะสามารถ

    ผ่านผนังเส้นเลือดฝอยได้โดยการที่ endothelium ของผนังเซลของเส้นเลือดฝอย จะเข้าโอบสารดังกล่าวไว้แล้วนำเข้าโปรตีนดังกล่าวเข้าสู่ไซโตพลาสซึมของเซลในรูปถุงเล็กๆ (vesicle) เรียกวิธีการนี้ว่าขบวนการ cytopinocytosis หรือ micropinocytosis เลือดที่ไหลออกจากเส้นเลือดฝอยหลังจากที่มีการแลกเปลี่ยนสารระหว่างผนังเส้นเลือดและผนังเซลแล้วจะไหลเข้าสู่ระบบเส้นเลือดดำฝอยและเส้นเลือดดำเล็ก (venules)ที่มีขนาดใหญ่กว่าเส้นเลือดแดงฝอยเล็กน้อย ผนังของเส้นเลือดดำเล็ก(venules)จะต่างจากผนังของเส้นเลือดดำที่มีขนาดใหญ่กว่าเช่น veins และ vena  cavaเนื่องจากไม่มีกล้ามเนื้อเรียบและเนื้อเยื่อเกี่ยวพัน elastin

    จากส่วน aortic arch เส้นเลือดจะแตกแขนงไปเลี้ยงส่วนบนของร่างกายได้แก่คอและหัว

    ได้แก่เส้นเลือด brachiocephalic truck ส่วนเลือดแดงที่ผ่านไปเลี้ยงส่วนอวัยวะในช่องอกเรียกว่า  thoracic aorta จากนั้นเส้นเลือดจะผ่านช่องกระบังลมเพื่อลงไปหล่อเลี้ยงช่องท้องและอวัยวะภายช่องท้องเช่นกระเพาะ ลำไส้ เรียกว่า abdominal aorta ซึ่งจะแตกแขนงไปเลี้ยงกระเพาะอาหารเรียกว่า gastric arteries เลี้ยงส่วนลำไส้ เรียกว่า splanic arteries เส้นเลือดแดงที่ต่อจาก abdominal aorta เพื่อไปเลี้ยงอวัยวะส่วนท้ายของลำตัวได้แก่ external iliac arteries และ  internal iliac arteries เป็นต้น

    ระบบเส้นเลือดดำ (venous system)

    ระบบเส้นเลือดดำส่วนใหญ่เป็นระบบเลือดที่นำเลือดออกจากเซลเพื่อรวบรวมเลือดเข้าสู่

    หัวใจ มีผนังที่บางกว่าเส้นเลือดแดง โดยปกติระบบเส้นเลือดดำจะวิ่งขนานไปกับเส้นเลือดแดงและ

    มีชื่อเรียกคล้ายกันเสมอ แต่จำนวนเส้นเลือดดำจะมีมากกว่าเส้นเลือดแดงและมักพบอยู่บริเวณ

    ใกล้ผิวหนังมากกว่าเส้นเลือดแดง เส้นเลือดดำใหญ่ที่นำเลือดเข้าหัวใจเพื่อให้หัวใจส่งเลือดไปฟอก

    ที่ปอดเรียกว่า vena cava เส้นเลือดดำที่รวบรวมเลือดดำจากส่วนหน้าหรือส่วนหัวของร่างกาย

    เรียกว่า anterior vena cava หรือcranial vena cava ซึ่งจะนำเลือดดำจากส่วนหัว คอ ขาหน้าและส่วนอกเพื่อเข้าหัวใจ เส้นเลือดดำจากส่วนต่างๆดังกล่าวได้แก่ interior jugular vein รับเลือดดำจากสมอง external jugular vein รับเลือดดำจากคอ ใบหน้าและศรีษะ vertebral vein และ  subclavia vein รับเลือดดำจากบริเวณไหล่ และ ขาหน้าทั้งสองข้าง เป็นต้น ส่วนเส้นเลือดดำที่รวมเลือดดำจากส่วนท้ายของร่างกายเรียกว่าposterior vena cava หรือ caudal vena cavaเช่น portal vein รับเลือดดำที่มีสารอาหารจากอวัยวะย่อยอาหาร และ hepartic vein รับเลือดดำที่ผ่านตับและส่งเข้าสู่ posterior vena cava

    ระบบเส้นเลือดที่เลี้ยงหัวใจ (coronary circulation)

    หมายถึงระบบเส้นเลือดที่ไปหล่อเลี้ยงหัวใจโดยเฉพาะส่วนของกล้ามเนื้อหัวใจโดยตรง

    เนื่องจากเป็นกล้ามเนื้อที่ต้องทำงานหนักตลอดเวลาตั้งแต่เกิดจนตาย จึงจำเป็นต้องมีระบบเลือด

    แยกไปหล่อเลี้ยงต่างหาก เส้นเลือดแดงที่ไปหล่อเลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจนี้เป็นเส้นเลือดแดงที่แตก

    แขนงออกมาจากเส้นเลือดแดงใหญ่ โดยแตกออกมาเป็นเส้นแรกตรงตำแหน่งเหนือ aortic valveเล็กน้อยเรียกว่า coronary arteries แตกแยกออกเป็น 2 เส้นคือ right coronary arteries ที่นำเลือดไปเลี้ยงหัวใจทางซีกขวาทั้งหมด ส่วน left coronary arteriesจะเป็นเส้นเลือดที่ไปเลี้ยงหัวใจทางซีกซ้าย ซึ่งจะมีขนาดใหญ่กว่า

    ระบบการไหลเวียนของเลือดที่ตับ (hepatic portal circulation)

    ตับเป็นอวัยวะที่สำคัญภายในช่องท้องอย่างหนึ่ง ทำหน้าที่นำโภชนะที่มากับเลือดดำจาก

    อวัยวะภายในช่องท้องเช่นกระเพาะอาหาร และลำไส้เล็กเพื่อไปใช้ประโยชน์ในร่างกาย นอกจากนี้

    ยังเป็นแหล่งสะสมไกลโคเจนและไขมันเพื่อสำรองแหล่งพลังงานให้ร่างกาย รวมทั้งเป็นที่ทำลาย

    สารพิษต่างๆที่ปนมากับเลือด เลือดที่มาจากช่องท้องโดยเฉพาะเลือดจากระบบทางเดินอาหารคือ

    เส้นเลือดดำ (portal vein) ที่นำเลือดมาจากกระเพาะอาหาร ลำไส้เล็ก ม้าม และตับอ่อนซึ่งเป็นเลือดดำจะไม่ไหลเข้าสู่เส้นเลือดดำใหญ่โดยตรง แต่จะไหลรวมกันและเข้าตับทาง hepatic portal vein จากนั้นจะผ่านเข้าแอ่งเลือด (hepatic sinusoids)ในตับก่อน แล้วจึงออกไปเข้าสู่ hepatic veins ซึ่งมีอยู่มากว่า 1 เส้น( 2-3 เส้น) เพื่อนำเลือดดำเข้าสู่ posterior vena cava เพื่อเข้าหัวใจต่อไป ส่วนเนื้อเยื่อของตับจะได้รับเลือดดีมาหล่อเลี้ยงโดยผ่าน hepatic arteries ซึงเป็นแขนงของเส้นเลือดแดง celiac artery เส้นเลือดแดง hepatic artery จะเข้าสู่เนื้อเยื่อของตับตรงตำแหน่งที่portal vein เข้าสู่ตับเช่นกัน

    ระบบการไหลเวียนของเลือดประกอบด้วย หัวใจ (heart) หลอดเลือด (vascular) ได้แก่ หลอดเลือดแดง (artery) และหลอดเลือดดำ (vein) และระบบน้ำเหลือง (lymphatics system) หน้าที่หลักของระบบนี้ได้แก่ การไหลเวียนของเลือด เพื่อให้มีการแลกเปลี่ยนของเหลว อีเลคโตลัยท์  ออกซิเจนและ อาหาร รวมทั้งสิ่งขับถ่ายระหว่างเลือดกับเนื้อเยื่อ ถ้าเกิดการล้มเหลวของการไหลเวียนเลือด หรือเกิดการขัดขวาง หรือรบกวนการไหลเวียนของเลือด จะทำให้หน้าที่เหล่านี้ผิดปกติไป  ซึ่งจะแสดงอาการเกี่ยวกับความล้มเหลวของการไหลเวียนเลือด ได้แก่ ความล้มเหลวของหัวใจ (heart failure) หรือความล้มเหลวของระบบเลือด (peripheral failure) ซึ่งจะไม่สามารถนำเลือดกลับสู่หัวใจ

    สำหรับเลือดนั้น ก็ถือว่ามีความสำคัญต่อเนื้อเยื่อในการดำเนินชีวิต และในขณะที่การควบคุมสมดุลปริมาณของเหลวในส่วนต่าง ๆ ของร่างกายที่เป็นตัวกลางในการแลกเปลี่ยนแปลงสารต่าง ๆ ก็มีความสำคัญเช่นกัน โดยเฉพาะน้ำ ถือว่าเป็นส่วนประกอบที่สำคัญ และเป็นส่วนประกอบส่วนใหญ่ของร่างกาย ซึ่งร่างกายจะมีน้ำหรือของเหลวอยู่ คิดเป็นร้อยละ 60 ของน้ำหนักตัว โดยมีอยู่ทั้งน้ำที่อยู่ภายในเซลล์ (intracellular fluid) คิดเป็นร้อยละ 40 ของน้ำหนักตัว และน้ำที่อยู่นอกเซลล์(extracellular fluid) คิดเป็นร้อยละ 20 ของน้ำหนักตัว น้ำที่อยู่นอกเซลล์ ยังสามารถแยกออกไปตามที่พบในส่วนต่าง ๆ คือ น้ำในเลือด และน้ำเหลือง (intravascular fluid) คิดเป็นร้อยละ 4-5 แล้วน้ำที่อยู่ระหว่างเซลล์ (interstitial fluid) คือ น้ำที่อยู่ในช่องต่าง ๆ ของร่างกาย เช่น ช่องท้อง ช่องอก ช่องเยื่อหุ้มหัวใจ ข้อ ลูกตา และอื่น ๆ คิดเป็นร้อยละ 15-16

    น้ำหรือของเหลวในร่างกาย ร่างกายจะพยายามรักษาสมดุลให้น้ำอยู่ในระดับคงที่ โดยการแลกเปลี่ยนของน้ำในแต่ละส่วน ซึ่งจะอาศัยแรงดันเลือดในหลอดเลือด (hydrostatic pressure) แรงดันออสโมซิส (osmotic pressure) และการเปลี่ยนแปลงคุณสมบัติในการยอมให้สารซึมผ่านของผนังหลอดเลือด (vascular permeability changes) แรงดันที่ทำให้น้ำหรือของเหลวออกจากหลอดเลือด คือแรงดันเลือดในหลอดเลือด (plasma hydrostatic pressure : PHP) และแรงดันออสโมซิสระหว่างเซลล์ (interstitial osmotic pressure : IOP) ส่วนแรงที่ทำให้น้ำหรือของเหลวเข้าหลอดเลือด คือแรงดันออสโมซิสในหลอดเลือด (plasma osmotic pressure : POP) และแรงดันเลือดระหว่างเซลล์ (interstitial hydrostatic pressure : IHP) ซึ่งในปกติแรงดันที่มีผลมากในการเคลื่อนที่ของน้ำเข้าออกหลอดเลือด ก็คือ แรงดันเลือดในหลอดเลือด (PHP) และแรงดันออสโมซิสในหลอดเลือด (POP) โดยปกติในด้านหลอดเลือดแดง (arterial capillary) ค่าแรงดันเลือดในหลอดเลือด (PHP) จะมากกว่าแรงดันออสโมซิสในหลอดเลือด (POP) เป็นผลทำให้น้ำบางส่วนเคลื่อนออกนอกหลอดเลือด เข้าสู่ช่องว่างระหว่างเซลล์ ตามรูปที่ 1 ในทางกลับกันในด้านหลอดเลือดดำ (venous capillary) ค่าแรงดันออสโมซิสในหลอดเลือด (POP) จะมากกว่าแรงดันเลือดในหลอดเลือด (PHP) เป็นผลทำให้น้ำบางส่วนเคลื่อนจากช่องว่างระหว่างเซลล์กลับคืนสู่หลอดเลือดอีกครั้ง ส่วนแรงดันเลือดระหว่างเซลล์ (IHP) และแรงดันออสโมซิสระหว่างเซลล์ (IOP) มีผลน้อยมาก ดังนั้นการเคลื่อนที่เข้าออกของของเหลว จึงขึ้นกับแรงดันเลือดในหลอดเลือด (PHP) และแรงดันออสโมซิสในหลอดเลือด (POP) เป็นส่วนใหญ่      ดังนั้นการเปลี่ยนแปลงทางพยาธิสภาพของระบบ การไหลเวียนของเลือดจะสามารถทำให้หัวใจทำงานผิดปกติไป    

    มีผลกระทบทำให้ระบบไหลเวียนเลือดเปลี่ยนแปลงไปด้วย โดยปกติ

     สภาพการบีบตัวของกล้ามเนื้อหัวใจ (myocardial contraction) และความยืดหยุ่นของผนังหลอดเลือด  (elasticity  of  blood  vessel ) จะช่วยกันรักษาสภาพสมดุล ทำให้แรงดันของเลือด ดันเลือดไหลผ่านไปตามหลอดเลือด ถ้าหัวใจไม่สามารถบีบรัดตัว สูบฉีดเลือดได้ตามปกติ รวมทั้งการยืดหยุ่นของหลอดเลือดเสียไป  จะทำให้เลือดไม่สามารถไหลผ่านไปตามหลอดเลือดแดง และหลอดเลือดดำไปเลี้ยงเนื้อเยื่อและเซลล์ จึงทำให้เนื้อเยื่อและเซลล์ได้รับอันตรายเสียหายและเกิดพยาธิสภาพอื่น ๆ ตามมา และจะเกิดสภาพเลือดคั่งในอวัยวะต่าง ๆ ผลที่เกิดขึ้นตามมาคือจะเกิดสภาวะเลือดมีออกซิเจนน้อย (hypoxia) และสัตว์อาจตาย ในที่สุด

     


    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    นิยายที่ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×