ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    พัฒนาการทางการเมืองสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น

    ลำดับตอนที่ #4 : การเมืองช่วงหลังเปลี่ยนแปลงการปกครอง-สงครามโลกครั้งที่ 2

    • เนื้อหาตอนนี้เปิดให้อ่าน
    • 691
      0
      29 ก.พ. 51

    การเมืองช่วงหลังเปลี่ยนแปลงการปกครอง-สงครามโลกครั้งที่ 2



    รัฐธรรมนูญ                               มีเหตุการณ์สำคัญและน่าสนใจในช่วงนี้มีดังต่อไปนี้

    • ความขัดแย้งระหว่างกลุ่มอำนาจเก่าและกลุ่มอำนาจใหม่(คณะราษฏร) และความขัดแย้งภายในกลุ่มใหม่

    ภายหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง เมื่อวันที่ 24 มิถุนายน 2475 แล้ว พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระราชทานรัฐธรรมนูญฉบับถาวรเมื่อวันที่ 10 ธันวาคม 2475 โดยมีพระยามโนปกรณ์นิติธาดาเป็นนายกรัฐมนตรีคนแรกของประเทศไทย ตามรัฐธรรมนูญฉบับนี้กำหนดให้สภาผู้แทนราษฏรประกอบด้วยสมาชิกที่มาจากราษฏรเป็นผู้เลือก และสมาชิกที่มาจากพระมหากษัตริย์แต่งตั้ง นับเป็นครั้งแรกที่ได้เปิดโอกาสให้ราษฏรไทยได้มีสิทธิเลือกผู้แทนของตนไปทำหน้าที่นิติบัญญัติและควบคุมการบริหารงานของรัฐบาล

    พระยามโนปกรณ์นิติธาดาเป็นนายกรัฐมนตรี บริหารประเทศตามรัฐธรรมนูญฉบับถาวร พ.ศ.2475 ไปได้เพียง 2-3 เดือนก็ได้เกิดความขัดแย้งในหมู่คณรัฐมนตรี และคณะราษฏรด้วยเรื่อง การกำหนดนโยบายเศรษฐกิจของประเทศ ซึ่งมีความคิดเห็นแตกต่างกัน ความขัดแย้งถึงขั้นรุนแรงจนนำไปสู่การประกาศพระราชกฤษฏีกาปิดสภาผู้แทนราษฏร

    หลังจากปิดสภาผู้แทนราษฏรได้ประมาณ 2 เดือน พันเอกพระยาพหลพลพยุหเสนาเป็นหัวหน้าคณะทหารกลุ่มหนึ่งได้ก่อการรัฐประหารยึดอำนาจรัฐบาลพระยามโนปกรณ์นิติธาดา หลังจากนั้นพันเอกพระยาพหลฯ ได้จัดตั้งรัฐบาลชุดใหม่ โดยพันเอกพระยาพหลฯ ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี คณะรัฐบาลชุดนี้จึงเป็นคณะรัฐบาลที่ประกอบด้วยบุคคลสำคัญของคณะราษฏร ซึ่งเป็นกลุ่มยึดอำนาจเมื่อวันที่ 24 มิถุนายน 2475 นั้นเอง

    การบริหารประเทศภายใต้การนำของพระยาพหลฯ ไม่เป็นที่พอใจของกลุ่มนายทหารรุ่นเก่า กลุ่มขุนนางและกลุ่มเชื้อพระวงศ์บางท่านซึ่งสูญเสียอำนาจจากการปฏิวัติ พ.ศ.2475 โดยกล่าวหาว่าพระยาพหลฯ มีแผนการจะนำเอาลัทธิสังคมนิยมมาในใช้ในประเทศไทยซึ่งจะเป็นอันตรายต่อสถาบันพระมหากษัตริย์

    รัฐบาลของพระยาพหลฯ ปฏิเสธที่จะเจรจากับฝ่ายกบฏ โดยอ้างว่ารัฐบาลทำถูกต้องแล้วและได้รวบรวมกำลังทหารจากกรุงฌทพฯเข้าปราบกบฏ ฝ่ายรัฐบาลมีกำลังและความพร้อมเหนือกว่าฝ่ายกบฏ สามารถรุกเข้าโจมตีฝ่ายกบฏ เกิดการสู่รบกันอย่างรุนแรงบริเวณดอนเมือง หลังจากสู้กันได้เพียง 3 วัน ฝ่ายกบฏแตกพ่ายต้องถอยกลับภาคอีสาน หัวหน้ากบฏ คือ พระวรวงศ์เธอพระองค์เจ้าบวรเดชต้องเสด็จหนีลี้ภัยไปอยู่ที่อินโดจีน

    หลังจากรัฐบาลปราบปรามกบฏได้สำเร็จแล้ว จึงได้จัดให้มีการเลือกตั้งผู้แทนราษฏรขึ้นเป็นครั้งแรก ในปลายปี พ.ศ.2476 โดยมีจำนวน 78 คน รัฐบาลพระยาพหลฯ บริหารประเทศในลักษณะรวบอำนาจ มีการปราบปรามผู้ที่คัดค้านรัฐบาลถึงกับประกาศพระราชบัญญัติจัดการป้องกันรักษารัฐธรรมนูญและพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลพิเศษเพื่อปราบปรามยุคคลที่ต่อค้านรัฐบาล นอกจากนั้นรัฐบาลยังไม่ยอมให้มีการจัดตั้งพรรคการเมืองอื่น ดังนั้นรัฐบาลจึงเป็นพรรคการเมือง คณะราษฏรพรรคเดียวโดยไม่มีฝ่ายค้าน

    • การสละราชสมบัติ                                 รัชกาลที่ 7

    พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งประทับอยู่ที่ประเทศอังกฤษ เพื่อรักษาพระเนตรได้ทรงมีพระราชบันทึกถึงรัฐบาล ทรงขอร้องให้รัฐบาลปฏิบัติตามรัฐธรรมนูญและให้สิทธิเสรีภาพแก่ราษฏรอย่างแท้จริง ไม่ปราบปรามและลงโทษผู้คัดค้านด้วยสุจริตใจ

    เมื่อรัฐบาลไม่สามารถปฏิบัติตามคำขอของพระองค์ได้ พระองค์จึงทรงประกาศสละราชสมบัติเมื่อ วันที่ 2 มีนาคม 2477 ทรงอ้างเหตุผลแห่งการสละราชสมบัติว่า เป็นเพราะพระองค์ไม่สามารถช่วยเหลือและคุ้มครองประชาชนให้ได้รับสิทธิเสรีภาพตามรัฐธรรมนูญได้

    เพราะหลังจากนั้นรัฐบาลได้กราบบังคมทูลอัญเชิญพระวรวงศ์เธอพระองค์เจ้าอานันทมหิดล พระโอรสในสมบัติสมเด็จเจ้าฟ้ากรมหลวงสงขลานครินทร์ เสด็จขึ้นครองราชสมบัติสืบต่อมา

    • ความขัดแย้งในคณะราษฏร                     พันเอกพระยาพหลฯ

     รัฐบาลพระยาพหลฯบริหารประเทศในลักษณะที่ไม่ค่อยราบรื่น เนื่องจากถูกสมาชิกสภาผู้แทนราษฏรโจมตีในเรื่องความไม่สุจริต และเกิดความขัดแย้งในคณะรัฐมนตรี ในที่สุดพระยาพหลฯ ได้ลาออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี บุคคลที่เข้ารับตำแหน่งนายกรัฐมนตรีคนต่อมาคือ พันเอกหลวงพิบูลสงคราม เมื่อเดือน ธันวาคม 2481

    รัฐบาลของหลวงพิบูลสงครามมีศัตรูทางการเมืองอยู่มาก จึงดำเนินนโยบายสร้างความมั่นคงของรัฐบาลโดยการกวาดล้างจับกุมกลุ่มที่ต่อต้าน ซึ่งมีทั้งนายทหารที่เคยร่วมก่อการยึดอำนาจ เมื่อวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ.2475 รวมทั้งพระบรมวงศานุวงศ์บางท่าน รัฐบาลถึงกับประกาศพระราชบัญญัติศาลพิเศษเพื่อตัดสินลงโทษผู้ที่ต่อต้านรัฐบาลอย่างรุนแรง บางคนถึงกับถูกประหารชีวิต บางคนก็ถูกจำคุก

    • การปลุกความคิดชาตินิยมและความพยายามสร้างชาติไทยให้ยิ่งใหญ่            

    ประเทศมหาอำนาจในขณะนั้นได้แบ่งออกเป็นกลุ่มใหญ่ๆ คือ กลุ่มประเทศประชาธิปไตยซึ่งมีอังกฤษ ฝรั่งเศส และกลุ่มประเทศยุโรปตะวันตกอื่นๆ กลุ่มนี้มีอาณานิคมและผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจไปทั่วโลก กลุ่มที่ 2 เป็นกลุ่มที่ปกครองด้วยระบอบเผด็จการ ได้แก่ ประเทศเยอรมัน อิตาลี และญี่ปุ่น กลุ่มนี้มีอาณานิคมน้อยมากเมื่อเทียบกับกลุ่มแรก และยังถูกกลุ่มแรกขัดขวางกีดกันผลประโยชน์ทางการค้าไปทั่วโลก ทั้ง 2 กลุ่มจึงต่อสู้แข่งขันกัน โดยเฉพาะในเรื่องกำลังอาวุธ ทำให้สถานการณ์โลกเริ่มตึงเครียด กลุ่มที่ 2 เน้นนโยบายของชาติในเรื่องชาตินิยม มีการปลุกใจให้ประชาชนรักชาติอย่างรุนแรง ให้เชื่อมั่นในลัทธิทหารนิยม ปลุกใจประชาชนให้เกิดฮึกเหิมพร้อมที่จะทำสงคราม พร้อมทั้งชักชวนประเทศเล็กๆ ให้เสื่อมใสในหลักการของตน

    • การปลุกความคิดชาตินิยม                      พลเอกพระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าบวรเดช

    รัฐบาลไทยในขณะนั้นได้ดำเนินนโยบายในลักษณะเผด็จการอยู่แล้ว จึงเอนเอียงไปทางกลุ่มที่ 2 ประกอบกับขณะนั้น ขบวนการกู้ชาติในประเทศต่างๆ ในทวีปเอเซียจึงเอนเอียงไปทางกลุ่มที่ 2 เป็นเวลาเดียวกับที่ขบวนการกู้ชาติในประเทศต่างๆในทวีปเอเซียปลุกเร้าประชาชนของตนให้ลุกขึ้นขับไล่มหาอำนาจตะวันตกที่เข้ามายึดครองเอเซียและให้คืนเอกราชให้แก่ประเทศของตน ญี่ปุ่นเห็นเป็นโอกาสในการโฆษณาลัทธิชาตินิยมจึงยุยงชาวเอเซียให้ร่วมมือกับญี่ปุ่นในการขับไล่ชาวผิวขาวให้ออกไปจากเอเซีย โดยมีคำขวัญว่า "เอเซียเพื่อเอเซีย"

    พันเอกหลวงพิบูลสงครามซึ่งเป็นผู้ที่มีความคิดชาตินิยมอยู่แล้ว จึงดำเนินนโยบายสร้างชาติไทยให้เข็มแข็ง ก่อนเกิดสงครามโลกครั้งที่ 2 รัฐบาลของพันเอกหลวงพิบูลสงครามได้ประกาศนโยบายอย่างชัดแจ้งที่จะสร้างชาติให้ยิ่งใหญ่ด้วยวิธีการหลายๆ รูปแบบ ดังเช่น
      ก. ส่งเสริมการทำสวนครัว เลี้ยงสัตว์ ผลิตเครื่องใช้ด้วยตนเอง โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อให้เกษตรกรไทยมีรายได้และไม่ลืมอาชีพดั้งเดิมของตน ไม่ต้องหวังพึ่พาอาศัยสินค้าจากต่างชาติ
      ข. ชักจูงโฆษณาให้คนไทยใช้สินค้าที่ผลิตในประเทศ เพื่อที่เงินตราของชาติจะได้ไม่รั่วไหลออกนอกประเทศ เศรษฐกิจของชาติก็จะมั่นคง รัฐบาลประกาศคำขวัญไปทั่วประเทศว่า "ไทยทำ ไทยใช้ ไทยเจริญ"
      ค. ส่งเสริมให้คนไทยประกอบอาชีพค้าขายและสงวนอาชีพบางอย่าง ห้ามคนต่างด้าวทำ เพื่อให้คนไทยเป็นผู้ประกอบอาชีพแต่ฝ่ายเดียว สาเหตุเนื่องจากว่าในขณะนั้นคนต่างด้าวทั้งชาวยุโรป ชาวจีน และชาวอินเดียได้เข้ามาประกอบธุรกิจค้าขายจนร่ำรวย ในขณะเดียวกันชาวไทยต้องทำงานหนักในท้องไร่ท้องนามีฐานะยากจน รัฐบาลกลัวว่าพวกต่างด้าวจะเข้ามาควบคุมเศรษฐกิจของประเทศ จึงออกกฏหมายห้ามขาวต่างชาติทำอาชีพบางอย่าง เช่น อาชีพตัดผม เผาถ่าน เป็นต้น
      ง. โฆษณาชักจูงให้ประชาชนละทิ้งนิสัย ความประพฤติ และวัฒนธรรมแบบโบราณซึ่งชาวตะวันตกมองว่าเป็นสิ่งที่ล้าหลัง และให้คนไทยดำรงชีวิตตามแบบอย่างชาวตะวันตก เพื่อให้ชาวไทยเชิดหน้าชูตาเสมอชาวตะวันตก รัฐบาลจึงใช้วิธีประกาศห้ามคนไทยกินหมาก สตรีต้องไว้ผมยาวและสวมหมวกเมื่อออกจากบ้าน เลิกโจงกระเบน ให้สวมกระโปรงหรือนุ่งผ้าถึงแทน ชายไทยต้องแต่งชุดสากลและสวมหมวกตามแบบตะวันตก ปรับปรุงการเขียนภาษาไทยเสียใหม่ให้กะทัดรัด ฯลฯ
      จ. แต่งเพลงปลุกใจชาวไทยให้รักชาติมากมายหลายเพลง และให้สถานีวิทยุทุกแห่งเปิดเพลงเหล่านี้บ่อยๆ ทุกวัน
      ฉ.ตั้งกรมโฆษณาการ เพื่อทำหน้าที่ปลุกใจประชาชน โฆษณาถึงความรักชาติให้เชื่อฟังผู้นำ โดยมีคำขวัญว่า "เชื่อผู้นำ ชาติพ้นภัย" จะเห็นได้ว่า กรมโฆษณานี้นอกเหนือจากทำหน้าที่ปลุกใจประชาชนให้รักชาติแล้ว ยังชักจูงประชาชนให้เชื่อมั่นในตัวผู้นำและแนวนโยบายเผด็จการอีกด้วย

    • สงครามกับฝรั่งเศส

    ฝรั่งเศสได้ยึดดินแดนไทยไปมากมายโดยเฉพาะในสมัยรัชกาลที่ 5 อีกทั้งยังข่มเหงเอารัดเอาเปรียบคนไทยต่างๆ นานา ชาวไทยส่วนใหญ่ยังมีความเจ็บช้ำใจในเรื่องนี้อย่างไม่ลืม รัฐบาลหลวงพิบูลสงครามจึงพยายามโฆษณาตอกย้ำในสิ่งที่ฝรั่งเศสทำไว้อยู่ตลอดเวลา

    ใน พ.ศ.2483 สงครามโลกครั้งที่ 2 ได้เกิดขึ้นในยุโรป รัฐบาลไทยได้ประกาศนโยบายเป็นกลาง กองทัพเยอรมันรักเข้าโจมตีฝรั่งเศสอย่างรวดเร็ว ฝรั่งเศสพ่ายแพ้อย่างย่อยยับ และประกาศยอมแพ้ต่อเยอรมันในเดือนมิถุนายน พ.ศ.2483

    รัฐบาลฝรั่งเศสที่จัดตั้งขึ้นใหม่ภายหลังจากการแพ้สงคราม หวั่นเกรงว่าไทยอาจใช้กำลังเข้ายึดดินแดนบางส่วนของอินโดจีน จึงขอเจรจากับไทยเพื่อทำสัญญาไม่รุกรานกัน รัฐบาลไทยยินดีเจรจา แต่ขอให้ฝรั่งเศสคืนดินแดนบางส่วนของประเทศลาวในปัจจุบัน ซึ่งฝรั่งเศสยึดไปจากไทยกลับคืนให้ไทยเสียก่อน ฝรั่งเศสไม่ยอมตกลง ทำให้ความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับฝรั่งเศสเริ่มเสื่อมทุกที ฝ่ายไทยกล่าวหาฝรั่งเศสว่าส่งเครื่องบินและกำลังทหารล่วงล้ำเขตแดนไทยและยั่วยุให้ไทยทำสงคราม ในขณะเดียวกันประชาชนไทย นิสิต นักศึกษาในกรุงเทพได้เดินขบวนเรียกร้องให้รัฐบาลส่งทหารไปยึดดินแดนไทยกลับคืนมาจากฝรั่งเศส

    ตั้งแต่เดือนมกราคม พ.ศ.2484 เป็นต้นมา รัฐบาลไทยได้ประกาศสถานการณ์สงครามกับอินโดจีนของฝรั่งเศส และส่งกำลังทหารไทยรุกเข้าสู่อินโดจีน ยึดเมืองหลวงพระบาง จำปาศักดิ์ และอื่นๆ อีกหลายแห่ง

    รัฐบาลญี่ปุ่นได้เสนอตัวเข้ามาไกล่เกลี่ยกรณีพิพาทระหว่างไทยกับฝรั่งเศส รัฐบาลไทยกับฝรั่งเศสยอมรับการไกล่เกลี่ย ในที่สุดทั้งสองฝ่ายได้ยุติสงครามกันในปลายเดือนกันยายน และเปิดประชุมเจรจากันที่กรุงโตเกียว นอกจากนั้นรัฐบาลได้สร้างอนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิขึ้นเพื่อเป็นอนุสรณ์แห่งการเสียสละชีวิตเพื่อชาติของทหารไทยในสงครามอินโดจีนอีกด้วย

    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    นิยายที่ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×