ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    ตำนานอียิปต์ โอม...

    ลำดับตอนที่ #96 : ปาเลสไตน์ : แผ่นดินนี้ใครจอง?

    • เนื้อหานิยายตอนนี้เปิดให้อ่าน
    • 994
      0
      2 มี.ค. 50

    ปาเลสไตน์ : แผ่นดินนี้ใครจอง?

    ราวสหัสวรรษที่  3 ก่อนคริสต์ศักราช ชาวคานาอันเริ่มตั้งหลัก แหล่ง สร้างบ้านเมืองจนเป็นนครรัฐ หนึ่งในจำนวนนี้คือเมืองเยริโค  (Jericho) คนเหล่านี้สร้างตัวอักษรซึ่งเป็นแม่แบบให้แก่ระบบอักขระอื่นๆ  ศาสนาของชาวคานาอันก็มีอิทธิพลต่อความเชื่อและการปฏิบัติของศาสนายู ดาย  ซึ่งส่งผลต่อไปถึงศาสนาคริสต์และอิสลามด้วย
    ที่ตั้งของปาเลสไตน์ซึ่งเป็นศูนย์กลางของเส้นทางติดต่อของสาม ทวีป  ทำให้ดินแดนแถบนี้กลายเป็นศูนย์รวมทางศาสนาและวัฒนธรรมจาก อียิปต์ ซีเรีย เมโสโปเตเมีย และเอเชียไมเนอร์
    ขณะเดียวกัน  อาณาบริเวณนี้ก็ได้กลายเป็นสมรภูมิของบรรดา มหาอำนาจในภูมิภาค  และถูกอาณาจักรโดยรอบผลัดเปลี่ยนหมุนเวียนกันเข้า ครอบครอง เริ่มด้วยอียิปต์ในสหัสวรรษที่ 3 ก่อนคริสต์ศักราช
    ความเป็นจ้าวของชาวอียิปต์และชาวคานาอันถูกชนชาติต่างๆ ท้าทายอย่างต่อเนื่องตลอดช่วงสหัสวรรษที่ 2 ก่อนคริสต์ศักราช เช่น พวกอมอไรต์ ฮิตไทต์ และฮูเรียน แต่ก็ถูกอียิปต์ปราบจนราบคาบ และถูก ชาวคานาอันกลืนเข้าผสมผสานกัน ซึ่งตอนนั้นชาวคานาอันมีอยู่ราว 2 แสนคน
    หลังศตวรรษที่ 14 ก่อนคริสต์ศักราช อำนาจของอียิปต์เริ่ม เสื่อมถอย จึงมีชนกลุ่มใหม่ๆ เข้ามา นั่นคือ  พวกฮีบรู  ซึ่งเป็นชาวเซไมต์ จากเมโสโปเตเมีย  กับชาวฟิลิสเตีย  (ซึ่งต่อมาดินแดนแถบนี้ได้ชื่อตามคนกลุ่ม นี้) อันเป็นชนเชื้อสายอินโด-ยุโรเปียนจากแถบทะเลอีเจียน

    ก่อตั้งอาณาจักรอิสราเอล
    ชนชาวอิสราเอลอาจโยกย้ายเข้ามายังบริเวณนี้ก่อนที่โมเสส  (Moses) จะนำพาผู้คนพ้นจากการเป็นทาสในอียิปต์หลายศตวรรษ  และก่อนที่ โยชูวา  (Joshua) จะพิชิตดินแดนส่วนต่างๆ ของปาเลสไตน์
    เหล่าผู้พิชิตได้ลงหลักปักฐานกันในแถบเนินเขา  แต่ก็ไม่ สามารถเอาชัยเหนือปาเลสไตน์ได้ทั้งหมด ต่อมาเผ่าอิสราเอลปราบพวกคานา อันได้ในราวปี  1125 ก่อนคริสต์ศักราช แต่ก็ยังเคี้ยวพวกฟิลิสเตียไม่ลง
    พวกฟิลิสเตียได้ก่อตั้งรัฐอิสระขึ้นทางชายฝั่งตอนใต้ของ ปาเลสไตน์  และควบคุมเมืองหลายแห่งทางทิศเหนือและตะวันออก ความที่มีกำลังรบเป็นระบบและมีอาวุธเหล็กใช้  ชาวฟิลิสเตียจึงปราบพวก อิสราเอลได้ราบคาบในราวปี 1050 ก่อนคริสต์ศักราช
    ภัยคุกคามจากพวกฟิลิสเตียทำให้พวกอิสราเอลผนึกกำลังกัน และก่อตั้งระบอบกษัตริย์ขึ้น  ในที่สุดกษัตริย์   ดาวิด  (David)  ผู้ยิ่งใหญ่ของ อิสราเอล  ก็ตีพวกฟิลิสเตียแตกพ่ายไปภายหลังปี  1000 ก่อนคริสต์ศักราชไม่ นาน แล้วค่อยๆ กลืนเข้าเป็นพวกเดียวกับชาวคานาอัน
    เมื่อชนเผ่าอิสราเอลมีเอกภาพ   ขณะที่อาณาจักรโดยรอบ อ่อนแอ กษัตริย์ดาวิดจึงสามารถก่อตั้งรัฐอิสระขนาดใหญ่ขึ้นได้ โดยมีเมือง หลวงอยู่ที่เยรูซาเล็ม (Jerusalem)
    ตกถึงสมัยของ  ซาโลมอน  (Solomon)  พระราชโอรส  อิสราเอลมีความสงบสันติและรุ่งเรืองมาก  แต่เมืองพระองค์สิ้นพระชนม์ในปี 922 ก่อนคริสต์ศักราช อาณาจักรก็แตกออกเป็นแคว้นอิสราเอลทางเหนือกับ แคว้นยูดาห์ (Judah) ทางใต้
    เมื่อบรรดาอาณาจักรใกล้เคียงหวนกลับมาขยายเขตแดนอีกครั้ง  ชาวอิสราเอลที่แตกแยกจึงไม่อาจรักษาความเป็นอิสระไว้ได้  แคว้นอิสราเอล ตกเป็นของอัสซีเรียในปี  722-721  ก่อนคริสต์ศักราช และแคว้นยูดาห์ถูกบาบิ โลเนียพิชิตในปี  586  ก่อนคริสต์ศักราช  โดยได้ทำลายกรุงเยรูซาเลม  และกวาดต้อนชาวยิวไปเป็นเชลย

    เปอร์เซียชิงอำนาจ
    เชลยชาวยิวในกรุงบาบิโลนได้รับอนุญาตให้ปฏิบัติศาสนกิจ และดำรงเชื้อชาติของตนเอาไว้ได้  ข้อเขียนด้านเทววิทยาและบันทึกประวัติ ศาสตร์หลายชิ้นที่ปรากฏในพระคัมภีร์เดิม  (Old  Testament) ก็ถูกจารึกขึ้นใน ช่วงเวลานี้เอง
    ทว่าชาวยิวไม่เคยลืมแผ่นดินอิสราเอล  เมื่อ  พระเจ้าไซรัสมหา ราช  (Cyrus  the Great) แห่งเปอร์เซียพิชิตบาบิโลเนียในปี  539 ก่อนคริสต์ ศักราช พระองค์ก็ปล่อยให้ชาวยิวกลับไปยังเมืองยูเดีย (Judea) ใน ปาเลสไตน์
    ภายใต้การปกครองของเปอร์เซีย  ชาวยิวมีอิสระมาก จึงได้พากันบูรณะกำแพงกรุงเยรูซาเลม และตรากฎหมายของโมเสสขึ้นใช้ใน ชื่อ โทราห์ (Torah) ซึ่งบัญญัติข้อปฏิบัติทั้งทางสังคมและทางศาสนา

    โรมันเข้าครอง
    อิทธิพลของเปอร์เซียในปาเลสไตน์ได้ถูกอำนาจของกรีกของ แทนที่เมื่อ  พระเจ้าอเล็กซานเดอร์มหาราช   (Alexander  the  Great)  แห่งมาซีโอเนีย เข้ายึดดินแดนแถบนั้นในปี 333 ก่อนคริสต์ศักราช
    ต่อมาราชวงศ์ปโตเลมี  (Ptolemy) แห่งอียิปต์ และราชวงศ์เซ ลูซิดส์ (Seleucids) แห่งซีเรีย ได้เข้าปกครองปาเลสไตน์  โดยราชวงศ์เซ ลูซิดส์ได้พยายามให้ผู้คนหันมารับวัฒนธรรมและศาสนาของกรีก   อย่างไรก็ดี  ในศตวรรษที่  2  ก่อนคริสต์ศักราช ชาวยิวได้ก่อการกระด้างกระเดื่องภายใต้ การนำของมักกาบี   (Maccabee) และตั้งรัฐอิสระขึ้นในช่วงปี 141-63 ก่อนคริสต์ศักราช จนกระทั่ง  พระเจ้าปอมเปย์มหาราช  (Pompey  the  Great)  แห่งอาณาจักรโรมันพิชิตปาเลสไตน์ได้  และยกให้เป็นแคว้นหนึ่งซึ่ง ปกครองโดยกษัตริย์ชาวยิวเอง
    ในช่วงรัชกาลของ  พระเจ้าเฮโรดมหาราช   (Herod  the  Great)  ระหว่างปี  37-4 ก่อนคริสต์ศักราช พระเยซู (Jusus) ก็ได้ทรงประสูติ
    ต่อมาชาวยิวได้ก่อกบฏขึ้นสองช่วง  คือในปี ค.ศ. 66-73  กับ ค.ศ. 132-135  แต่ก็ถูกปราบปราม ภายหลังการแข็งข้อครั้งที่สอง  ชาวยิวมาก มายถูกสังหาร  หลายคนถูกขายไปเป็นทาส ที่เหลือก็ไม่ได้รับอนุญาตให้ไป เยือนเยรูซาเลม ยูเดียถูกเปลี่ยนชื่อเป็นซีเรีย ปาเลสตินา
    ปาเลสไตน์ได้รับความสนใจเป็นพิเศษอีกครั้งเมื่อจักรพรรดิโร มัน   คอนสแตนตินมหาราช (Constantine  the  Great) ประกาศให้การนับถือ ศาสนาคริสต์เป็นเรื่องถูกกฎหมายในปี ค.ศ. 313 พระมารดาของพระองค์   คือ  พระนางเฮเลนา (Helena) ได้ไปเยือนเยรูซาเลม และปาเลสไตน์ใน ฐานะที่เป็นแผ่นดินศักดิ์สิทธิ์ (Holy Land) ก็ได้กลายเป็นศูนย์กลางการจาริก แสวงบุญของชาวคริสต์ บังเกิดเป็นยุคทองทางวัฒนธรรม และความมั่งคั่ง ประชาชนจำนวนมากเข้ารีตเป็นคริสต์ศาสนิกชน
    อย่างไรก็ดี  การปกครองของอาณาจักรไบแซนไทน์แห่งโรมัน ถูกพวกเซอร์เซียเข้ายึดครองในช่วงสั้นๆ ระหว่างปี ค.ศ. 614-629  แล้วต่อมาก็ เสียให้แก่พวกอาหรับมุสลิมที่เข้ารุกรานปาเลสไตน์และยึดเยรูซาเลมในปี ค.ศ. 638

    ชาวอาหรับแผ่อิทธิพล
    ชัยชนะของอาหรับเป็นการตั้งต้นลงหลักปักฐานนาน  1,300  ปีของศาสนาอิสลามในดินแดนซึ่งตอนนั้นถูกเรียกอีกชื่อว่า ฟิลาสติน (Filastin)
    ดินแดนปาเลสไตน์มีความศักดิ์สิทธิ์ต่อชาวมุสลิมเพราะศาสดา มูฮัมหมัด  (Muhammad)  ได้กำหนดให้เยรูซาเลมเป็นทิศหนึ่งที่ชาวมุสลิมต้อง หันหน้าไปหาขณะสวด และเป็นเพราะเชื่อกันว่าท่านศาสดาได้ขึ้นสวรรค์ใน บริเวณที่เป็นพระวิหารซึ่งสร้างโดยซาโลมอน   ซึ่งต่อมามีการสร้างโดมศิลา   (Dome  of the Rock) ขึ้น เยรูซาเลมจึงเป็นเมืองที่ศักดิ์สิทธิ์ที่สุดแห่งหนึ่ง ของศาสนาอิสลาม
    ผู้ปกครองที่เป็นมุสลิมไม่ได้บังคับให้ชาวปาเลสไตน์หันมา นับถือศาสนาของตน  เวลาได้ผ่านไปกว่าหนึ่งร้อยปีก่อนที่คนส่วนใหญ่จะ เปลี่ยนมานับถืออิสลาม  ส่วนชาวคริสต์และชาวยิวก็ถูกถือว่าเป็น  “ประชาชน ในพระคัมภีร์” (“People of the Book”) และได้รับอนุญาตให้ปกครองชุมชน กันเองโดยอิสระ
    ชาวปาเลสไตน์ส่วนใหญ่รับเอาวัฒนธรรมและภาษาอาหรับมา ใช้  ในช่วงราชวงศ์แรกของชาวมุสลิม  คือ  อุมัยยะห์  (Umayyads) แห่งเมืองดามัสกัส ชาวปาเลสไตน์ได้ประโยชน์มากจากการค้าของอาณาจักร  และเมื่ออำนาจเปลี่ยนไปอยู่ในมือของราชวงศ์อับบาสิด (Abbasids) ใน ค.ศ. 750 ปาเลสไตน์ก็ถูกละเลย ถูกชนหลายกลุ่มทยอยเข้าปกครอง
    ระหว่างปี ค.ศ. 1255-1260  พวกมองโกลภายใต้การนำของเจ งกิส ข่าน (Jengis Khan) ได้เข้าโจมตีโลกอาหรับ  แต่ในปี 1260 ราชวงศ์ มัมลูค (Mamluk) ของตุรกีสามารถปราบพวกมองโกลได้  ทว่าต่อมา ปาเลสไตน์ภายใต้การปกครองของมัมลูคก็ได้ประสบความเสื่อมโทรมทาง เศรษฐกิจ

    ออตโตมานเข้าแทนที่
    อาณาจักรออตโตมานเติร์ก  (The  Ottoman Turks) แห่งเอเชีย ไมเนอร์ ได้พิชิตราชวงศ์มัมลูคในปี  1517  และได้ปกครองปาเลสไตน์อยู่จน ถึงปี  1918 ดินแดนแห่งนี้ถูกแบ่งเป็นหลายเขตซึ่งส่วนใหญ่ปกครองโดยชาว ปาเลสไตน์อาหรับอันสืบเชื้อสายมาจากชาวคานาอันและผู้ตั้งถิ่นฐานในยุค ต่อๆ มา ในขณะที่ชุมชนชาวคริสต์และชาวยิวก็ได้รับอนุญาตให้ดูแลกันเอง
    ในช่วงศตวรรษที่ 16 ปาเลสไตน์เจริญรุ่งเรืองตามอาณาจักรออ ตโตมาน แต่ก็เสื่อมโทรมลงอีกเมื่ออาณาจักรดังกล่าวเริ่มหมดอำนาจใน ศตวรรษที่ 17
    ความเสื่อมโทรมด้านการค้าและการเกษตรของปาเลสไตน์ ดำเนินต่อเนื่องมาจนถึงศตวรรษที่  19 ซึ่งเป็นเวลาเดียวกับที่บรรดามหาอำนาจ ตะวันตกกำลังแสวงหาแหล่งวัตถุดิบและตลาดรองรับสินค้า  เป็นเหตุให้ตะวัน ตกแผ่อิทธิพลเข้าสู่ย่านตะวันออกกลาง
    กระแสชาตินิยมในยุโรปซึ่งพุ่งสูงในช่วงศตวรรษที่  19  โดยเฉพาะกระแสต่อต้านชาวยิวในช่วงทศวรรษ 1880 กระตุ้นให้ชาวยุโรป เชื้อสายยิวเริ่มคิดถึง “ดินแดนแห่งพันธสัญญา” ของพวกตนในปาเลสไตน์
    ทีโอดอร์  เฮิร์ซล์  (Theodor  Herzl)  ผู้เขียนหนังสือเรื่อง  รัฐของชาวยิว  (The Jewish  State)  ได้ก่อตั้งองค์การไซออนนิสต์โลก  (World Zionist Organization) ขึ้นในปี 1897 ส่งผลให้ชาวยิวพากันอพยพ เข้าอยู่อาศัยในปาเลสไตน์เพิ่มขึ้นมาก
    ในปี   1880  นั้น  ชาวปาเลสไตน์เชื้อสายอาหรับมีประมาณ 95% ของประชากรทั้งหมดซึ่งมีราว  450,000  คน แต่ชาวยิวได้โยกย้ายเข้า ไปตั้งถิ่นฐานเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ โดยการซื้อที่ดินจากเจ้าของเดิม  ทำให้ผู้นำชาว ปาเลสไตน์เริ่มกังวลกับแนวโน้มนี้  และต่อต้านอย่างแข็งขันต่อลัทธิไซออ นนิสม์ ซึ่งสนับสนุนให้ก่อตั้งรัฐของชาวยิวขึ้นในดินแดนปาเลสไตน์
    เมื่อมหาอำนาจตะวันตกเข้าไปแสวงหาผลประโยชน์ในภูมิภาค นั้น  ความบาดหมางระหว่างชาวยิวกับชาวปาเลสไตน์ก็ยิ่งทวีความซับซ้อนขึ้น
    ใต้ภาพ
    Dome of the Rock
    โดมศิลา ศาสนสถานศักดิ์สิทธิ์ของชาวมุสลิมในนครเยรูซาเลม

    http://www.thaipost.net/print.asp?news_id=49546&cat_id=110300&post_date=3/Mar/2545

    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    นิยายที่ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×