..เมตตาเจโตวิมุตติ.. - ..เมตตาเจโตวิมุตติ.. นิยาย ..เมตตาเจโตวิมุตติ.. : Dek-D.com - Writer

    ..เมตตาเจโตวิมุตติ..

    จิตชื่อว่า..เมตตา.. เพราะรักชื่อว่า..เจโต.. เพราะคิดถึงธรรมนั้นชื่อว่า..วิมุตติ.. เพราะพ้นจากพยาบาทและปริยุฏฐานกิเลส(กิเลสที่ครอบงำจิต)ทั้งปวง จิตมีเมตตาด้วย เป็นเจโตวิมุติด้วย จึงได้ชื่อว่า...เมตตาเจโตวิมุตติ...

    ผู้เข้าชมรวม

    1,005

    ผู้เข้าชมเดือนนี้

    4

    ผู้เข้าชมรวม


    1K

    ความคิดเห็น


    1

    คนติดตาม


    0
    เรื่องสั้น
    อัปเดตล่าสุด :  26 มี.ค. 49 / 21:00 น.


    ข้อมูลเบื้องต้นของเรื่องนี้
    ตั้งค่าการอ่าน

    ค่าเริ่มต้น

    • เลื่อนอัตโนมัติ

      ภาวะบ้านเมืองในปัจจุบันมาคิดพิจารณาแล้วมีสาเหตุจากขาด..เมตตา..

      เรามาช่วยกันเจริญเมตตาภาวนาเพื่อชาติบ้านเมืองกันดีกว่า
      อานิสงส์ ๑๑ ประการของคนผู้เจริญเมตตาภาวนาเป็นประจำทำให้ชำนาญ
      ทำให้เจริญขึ้นแล้วทำให้มากขึ้นแล้วสั่งสมดีแล้วทำให้บังเกิดขึ้นดีแล้วเรียกว่า
      การทำ..เมตตาเจโตวิมุตติ..
      อานิสงส์ ๑๑ ประการคือ
      ๑.นอนหลับเป็นสุข
      ๒.ตื่นเป็นสุข
      ๓.ไม่ฝันร้าย
      ๔.เป็นที่รักของมนุษย์ทั้งหลาย
      ๕.เป็นที่รักของอมนุษย์ทั้งหลาย
      ๖.เทวดาทั้งหลายเฝ้ารักษา
      ๗.ไฟ พิษ หรือศัสตรา ไม่กล้ำกรายในตัวของเขา
      ๘.จิตเป็นสมาธิเร็ว
      ๙.ผิวหน้าผ่องใส
      ๑๐.ไม่หลงตาย
      ๑๑.หากยังไม่บรรลุคุณธรรมเบื้องสูง ก็จะบังเกิดในพรหมโลก

      เมตตาเจโตวิมุตติที่แผ่ไปไม่เจาะจงบุคคลมี ๕ อย่าง
      ขอ
      ๑.สัตว์   (ดิรัจฉาน)
      ๒.ปาณะ(สัตว์ที่มีชีวิต)
      ๓.ภูต    (ผี ปีศาจ วิญญาณ)
      ๔.บุคคล(คน)
      ๕.อัตตภาพ (ปัจเจกชน)
      ทั้งหลายทั้งปวง จงอย่ามีเวรต่อกันและกัน จงอย่าเบียดเบียนกัน
      จงอย่ามีทุกข์ จงมีสุข ประคับประคองตนให้รอดพ้นภัยเถิด

      เมตตาเจโตวิมุตติที่แผ่ไปเจาะจงบุคคลมี ๗ อย่าง
      ขอ
      ๑.สตรี
      ๒.บุรุษ
      ๓.พระอริยเจ้า
      ๔.ปุถุชน
      ๕.เทวดา
      ๖.มนุษย์
      ๗.วินิปาติกะ(ผู้ถูกทรมาน(ในนรก))
      ทั้งหลายทั้งปวง จงอย่ามีเวรต่อกันและกัน จงอย่าเบียดเบียนกัน
      จงอย่ามีทุกข์ จงมีสุข ประคับประคองตนให้รอดพ้นภัยเถิด

      เมตตาเจโตวิมุตติที่แผ่ไปในทิศ ๑๐ อย่างคือ
      ขอ
      ๑.สัตว์-ปาณะ-ภูต-บุคคล-อัตตภาพ-สตรี-บุรุษ-พระอริยเจ้า-ปุถุชน-เทวดา-มนุษย์-วินิปาติกะ
      ในทิศบูรพาตะวันออก
      ๒.สัตว์-ปาณะ-ภูต-บุคคล-อัตตภาพ-สตรี-บุรุษ-พระอริยเจ้า-ปุถุชน-เทวดา-มนุษย์-วินิปาติกะ
      ในทิศปัจฉิมตะวันตก
      ๓.สัตว์-ปาณะ-ภูต-บุคคล-อัตตภาพ-สตรี-บุรุษ-พระอริยเจ้า-ปุถุชน-เทวดา-มนุษย์-วินิปาติกะ
      ในทิศอุดรเหนือ
      ๔.สัตว์-ปาณะ-ภูต-บุคคล-อัตตภาพ-สตรี-บุรุษ-พระอริยเจ้า-ปุถุชน-เทวดา-มนุษย์-วินิปาติกะ
      ในทิศทักษิณใต้
      ๕.สัตว์-ปาณะ-ภูต-บุคคล-อัตตภาพ-สตรี-บุรุษ-พระอริยเจ้า-ปุถุชน-เทวดา-มนุษย์-วินิปาติกะ
      ในทิศอาคเนย์ตะวันออกเฉียงใต้
      ๖.สัตว์-ปาณะ-ภูต-บุคคล-อัตตภาพ-สตรี-บุรุษ-พระอริยเจ้า-ปุถุชน-เทวดา-มนุษย์-วินิปาติกะ
      ในทิศพายับตะวันตกเฉียงเหนือ
      ๗.สัตว์-ปาณะ-ภูต-บุคคล-อัตตภาพ-สตรี-บุรุษ-พระอริยเจ้า-ปุถุชน-เทวดา-มนุษย์-วินิปาติกะ
      ในทิศอีสานตะวันออกเฉียงเหนือ
      ๘.สัตว์-ปาณะ-ภูต-บุคคล-อัตตภาพ-สตรี-บุรุษ-พระอริยเจ้า-ปุถุชน-เทวดา-มนุษย์-วินิปาติกะ
      ในทิศหรดีตะวันตกเฉียงใต้
      ๙.สัตว์-ปาณะ-ภูต-บุคคล-อัตตภาพ-สตรี-บุรุษ-พระอริยเจ้า-ปุถุชน-เทวดา-มนุษย์-วินิปาติกะ
      ในทิศเบื้องล่าง
      ๑๐.สัตว์-ปาณะ-ภูต-บุคคล-อัตตภาพ-สตรี-บุรุษ-พระอริยเจ้า-ปุถุชน-เทวดา-มนุษย์-วินิปาติกะ
      ในทิศเบื้องบน
      ทั้งหลายทั้งปวง จงอย่ามีเวรต่อกันและกัน จงอย่าเบียดเบียนกัน
      จงอย่ามีทุกข์ จงมีสุข ประคับประคองตนให้รอดพ้นภัยเถิด

      เมตตาเจโตวิมุตติแผ่ไปสู่สัตว์ทั้งหลายทั้งปวงด้วยอาการ ๘ คือ
      ๑.เว้นการบีบคั้น
      ๒.เว้นการฆ่า
      ๓.เว้นการทำให้เดือดร้อน
      ๔.เว้นความย่ำยี
      ๕.เว้นความเบียดเบียน
      ๖.จงเป็นผู้ไม่มีเวร อย่ามีเวร
      ๗.จงเป็นผู้มีสุข อย่ามีทุกข์
      ๘.จงมีตนเป็นสุข อย่ามีตนเป็นทุกข์

      จิตชื่อว่า..เมตตา.. เพราะรักชื่อว่า..เจโต.. เพราะคิดถึงธรรมนั้นชื่อว่า..วิมุตติ..
      เพราะพ้นจากพยาบาทและปริยุฏฐานกิเลส(กิเลสที่ครอบงำจิต)ทั้งปวง จิตมีเมตตาด้วย เป็นเจโตวิมุติด้วย
       จึงได้ชื่อว่า...เมตตาเจโตวิมุตติ...

      คัดลอกมาจาก ธรรมนิยาย ชุด สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม
      นารีผล เล่มที่ ๒ ภาคผนวก
      ผู้แต่ง สุทัสสา อ่อนค้อม

      นิยายที่ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

      loading
      กำลังโหลด...

      คำนิยม Top

      ยังไม่มีคำนิยมของเรื่องนี้

      คำนิยมล่าสุด

      ยังไม่มีคำนิยมของเรื่องนี้

      ความคิดเห็น

      ×