รากเหง้า - นิยาย รากเหง้า : Dek-D.com - Writer
×

รากเหง้า

ครอบครัว ความรักผูกพัน นั้นสำคัญ มากมายนัก ปัจจุบันนั้นกำหนดอนาคต รุ่งโรจน์ หรือ คดเคี้ยว อยู่ที่เลือกตรงหรือเบี้ยวในปัจจุบัน

ผู้เข้าชมรวม

3,639

ผู้เข้าชมเดือนนี้

53

ผู้เข้าชมรวม


3.63K

ความคิดเห็น


60

คนติดตาม


5
จำนวนตอน : 12 ตอน
อัปเดตล่าสุด :  5 พ.ค. 56 / 15:11 น.

อีบุ๊กจากนิยาย ดูทั้งหมด

loading
กำลังโหลด...
ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ



นิยายเรื่องนี้ ผู้เขียนตั้งใจ

ถ่ายทอด จินตนาการ

ผสมผสานกับ เหตุการณ์ที่เล่าต่อๆ กันมา

จากรุ่นสู่รุ่น ซึ่งเป็นนวนิยาย เรื่องยาว 



ย้อนยุค  ดราม่า  ชีวิตรันทด  จิตวิญญาณ

เศร้า  อารมณ์  ความรัก

ความผูกพัน



     


 
แคส ตัวละคร   

พ่อแก้ว
ชายต้นเรื่อง  ผู้เคยแข็งกร้าว ดุดัน  แต่กลับใจดีและเป็นที่เกรงใจของทั้งลูกสาว และลูกเขยอย่างน่าประหลาด

 
   

----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------


แม่มาลี

หญิง ผู้กุมความลับ ความรัก ความหวัง ความฝัน 
ผู้ที่เป็นดั่งที่พึี่่่งพิงสุดท้ายของทุกคน  เธอเป็นดั่งศูนย์รวมดวงใจ
ของทั้งลูกๆ  และหลานๆ ทุกคน


       

-----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------


 แม่บัว  

หญิงที่เป็นดั่งแก้วตา  ดวงใจ ของแม่มาลี
เธอ ผู้เป็นน้องรักของพี่ๆ  เป็นที่รักของเพื่อนๆ  เป็นที่เคารพของหลานๆ
แต่เธอกลับไม่เป็นที่รักของชายที่ีได้ชื่อว่าเป็นสามี  เธอช่างอาภัพ
มีเพียงลูกชายเท่านั้นที่เป็นดั่งดวงใจและความหวังของเธอ





------------------------------------------------------------------------------
 
พ่อทองดี

สามีของแม่บัว
ชายผู้ที่สุดแสนจะดื้อรั้น  จิตใจโลเล แต่ก็เป็นชายที่มีรักจริง  เพียงแต่ต้องเลือก
และเขาก็ได้เลือกที่จะเป็นผู้นำของครอบครัว เหตุใดหนอเขาถึงได้ทำเช่นนั้น 





------------------------------------------------------------------------------

แม่เอ้ย

พี่สาวคนโตของบ้าน  เธอต้องคอยดูแลน้องๆ ทุกคน ตั้งแต่เล็กจนโต
ชอบแต่งหน้า  ทำให้สวยที่สุด แต่เธอนั้นไม่สวยเลย
เธอรักน้องๆ ของเธอเป็นที่สุด
เธอนั้นไม่มีลูก



    

-------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

พ่อบุญเกิด

สามีของแม่เอ้ย  ชายผู้เป็นเขยคนโต ดูเหมือนกับว่าเขาจะเป็นเขยที่บรรดาเขย
ต่างพากันยกให้เขานั้นเป็นพี่ใหญ่  เขารักภรรยาของเขา แต่ก็เมาบ้าง
เป็นบางครั้ง เมื่อสุราพาไป ก็มักจะมีนารีตามมาด้วย
 


     


--------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------


แม่ผัด

ผู้กุมสามีของเธอได้อยู่หมัด เป็นหญิงเหล็ก
ใจแกร่งกล้า เธอนั้นฝีปากกล้าเกินพี่น้องทุกคน แต่เธอก็ไม่เคย
คิดเคืองแค้นโกรธใครจริงจัง 


     

-------------------------------------------------------------------

พ่อเจิม

สามีของแม่ผัด ผู้ที่ให้สัตย์ เป็นคำมั่นกับพ่อแก้ว พ่อตาของเขา
ว่าจะรักและไม่ทำร้ายเมียของตนเอ็งเป็นอันขาด


    

-----------------------------------------------------------------  

แม่จงจิต

หญิงผู้ที่ไม่ยอมเป็นรองใคร และหึงหวงสามีมากจนสามีของเธอนั้น
ต้องยอมเธอทุกประการ แต่เธอนั้นก็เป็นคน
ที่แข็งแรงที่สุดในบรรดาพี่น้อง
ทั้งสี่สาว 



   

-----------------------------------------------------------------

พ่อพิบูรณ์

เขาเป็นชายผู้ลุ่มหลงในกาม เจ้าชู้ประตูดิน แต่เขาก็สามารถที่จะเป็น
แบบอย่างที่ดีและเขาได้วางแผนทางเดินให้ลูกๆ   ของเขานั้น
ได้เจริญและเติบโตงอกงาม เหลือเพียงลูกชายคนเล็ก
คนเดียวเท่านั้น ที่ได้เชื้อสำมะเลเทเมาไปเต็มๆ
แต่เขาก็รักเมียและลูก ไม่แพ้ใคร


    

--------------------------------------------------------------------- 

พ่อบาระมี

ลูกชายคนเล็ก หัวแก้วหัวแหวนของพ่อแก้ว เป็นผู้ซึ่งพ่อแก้วนั้น ได้ฝาก
เอาไว้ ทั้งความหวัง ความฝัน  ในการที่จะนำพาครอบครัว
เขารักและสนิทกับพี่สาวคนเล็กของเขามากกว่าพี่น้อง
คนอื่นๆ ของเขา



    

--------------------------------------------------------------------------

แม่สุขใจ

ภรรยาของพ่อบาระมี  เธอเป็นลูกสะใภ้เพียงคนเดียวของครอบครัว
แต่เธอนั้นรักและเคารพบิดามารดาของสามีเปรียบเหมือน
ดังท่านนั้นเป็นบิดามารดาของเธออีกคน

แต่ถึงอย่างไร เธอก็คือญาติสาย
ตรงที่ต้องได้รับผลไม่ต่างกัน


     

------------------------------------------------------------------------

 

นิยายที่ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

loading
กำลังโหลด...

อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

loading
กำลังโหลด...

คำนิยม Top

"ช่วยวิจารณ์นิยายซักนิด"

(แจ้งลบ)

เอาล่ะ เรื่องนี้แหวกแนวกว่าที่คิดมาๆขอรับ ส่วนใหญ่จะออกแนวชีวิต แต่ข้าน้อยก็จะช่วยวิจารณ์ให้เต็มความสามารถนะขอรับ แต่แนวนี้ข้าน้อยไม่ถนัด อาจไม่ค่อยดีเท่าไหร่ อ่านเรื่องนี้แล้วนึกถึงหนังสือในห้องเรียนเรื่อง 'ลูกอีสาน' กัับ 'ตอนคุณตาคุณยายยังเด็ก' อ่ะค่ะ เอาเถอะ การใช้ภาษาของเรื่องนี้น่าจะเพิ่มความสละสลวยอีกนิด ในบางตอนอย่างตอนที่ 3 มีคำพ ... อ่านเพิ่มเติม

เอาล่ะ เรื่องนี้แหวกแนวกว่าที่คิดมาๆขอรับ ส่วนใหญ่จะออกแนวชีวิต แต่ข้าน้อยก็จะช่วยวิจารณ์ให้เต็มความสามารถนะขอรับ แต่แนวนี้ข้าน้อยไม่ถนัด อาจไม่ค่อยดีเท่าไหร่ อ่านเรื่องนี้แล้วนึกถึงหนังสือในห้องเรียนเรื่อง 'ลูกอีสาน' กัับ 'ตอนคุณตาคุณยายยังเด็ก' อ่ะค่ะ เอาเถอะ การใช้ภาษาของเรื่องนี้น่าจะเพิ่มความสละสลวยอีกนิด ในบางตอนอย่างตอนที่ 3 มีคำพูดมากเกินไป น่าจะเพิ่มคำอธิบายอีกเยอะๆ ส่วนบางตอนคำพูดก็น้อยเกินไปน่ะขอรับ เอาเป็นว่า..ข้าน้อยจะช่วยแนะนำให้ ลองอ่านเรื่องที่แต่งในมุมมองของนักอ่านดู แล้วแต่งตามความเห็นของตนเอง นำเรื่องที่แต่งมาอ่านแล้วอ่านอีก จะช่วยได้มากขึ้นนะขอรับ ^ ^   อ่านน้อยลง

--otaku-- | 14 มี.ค. 56

  • 4

  • 0

"รับวิจารณ์นิยายค่ะ"

(แจ้งลบ)

เราไม่ใช่มืออาชีพ จึงขอวิจารณ์แบบเรียบง่ายนะคะ อย่าลืมว่าการวิจารณ์ไม่ใช่การด่าว่า โปรดใช้วิจารณญาณในการอ่านค่ะ ซึ่งจะทำตามหรือไม่ก็แล้วแต่ค่ะ ขออภัยที่มาวิจารณ์ล่าช้าค่ะ ระดับ : ฝนตกหนัก อย่างแรก ชื่อเรื่อง มีกลิ่นอายของนิยายสมัยก่อน ของนักเขียนเก่าๆ แว่วเข้ามาในหัว หลังได้อ่านชื่อเรื่องเพียงครั้งเดียว ดูน่สนใจ และน่าติดตาม แต่สำหรับวัยรุ่น ... อ่านเพิ่มเติม

เราไม่ใช่มืออาชีพ จึงขอวิจารณ์แบบเรียบง่ายนะคะ อย่าลืมว่าการวิจารณ์ไม่ใช่การด่าว่า โปรดใช้วิจารณญาณในการอ่านค่ะ ซึ่งจะทำตามหรือไม่ก็แล้วแต่ค่ะ ขออภัยที่มาวิจารณ์ล่าช้าค่ะ ระดับ : ฝนตกหนัก อย่างแรก ชื่อเรื่อง มีกลิ่นอายของนิยายสมัยก่อน ของนักเขียนเก่าๆ แว่วเข้ามาในหัว หลังได้อ่านชื่อเรื่องเพียงครั้งเดียว ดูน่สนใจ และน่าติดตาม แต่สำหรับวัยรุ่นและกลุ่มนักอ่านสมัยนี้ ชื่อเรื่องแบบนี้คงไม่น่าสนใจเท่าไหร่ ตามแนวตลาดค่ะ (ครึ่งคะแนน) อย่างสอง แนะนำเรื่องแบบย่อ ถือเป็นคำสอนในคำโปรยเดียวกัน ก็ดีในระดับหนึ่งค่ะ ถ้าหากว่าสัมพันธ์กับเนื้อหานะคะ (คะแนนเต็ม) อย่างสาม ข้อมูลเบื้องต้นของเรื่องนี้ แนะนำตัวละครน่าสนใจในระดับหนึ่ง แต่ยังไม่ดี และไม่น่าติดตามมากพอค่ะ เหมือนใช้แต่คำซ้ำๆ 'เป็นที่สุด' ทำให้เสียอรรถรสมาก อยากให้ปรับแก้ส่วนนี้และเขียนเพิ่มข้อมูลที่น่าสนใจมากขึ้นค่ะ รักแล้วยังไง? รักมากที่สุดแล้วยังไง? จะเกิดอะไรกับตัวละครตัวนี้ เป็นสิ่งที่คนอ่านอยากรู้มากกว่านะคะ (ครึ่งคะแนน) อย่างสี่ ชื่อตอนนิยาย ผ่านค่ะ (คะแนนเต็ม) อย่างห้า เนื้อหานิยาย ขอแบ่งเป็นปลีกย่อยตามนี้ค่ะ ภาษาของบทบรรยาย มีการใช้คำผิดหลายจุด ทำให้เสียอรรถรส อยากให้แก้ไขนะคะ / ใช้คำผิดหลัก คะ ค่ะ นะ น่ะ อยากให้ใช้ให้ถูกความหมายค่ะ / การเว้นคำ มีส่วนทำให้ความหมายเปลี่ยน แก้ด้วยนะคะ การสนทนา ตัดคำเยิ่นเย้อออกบ้าง จะช่วยให้คำกระชับ อ่านง่าย และมีอรรถรสมากขึ้นค่ะ ความเหมาะสมของการจัดรูปแบบหน้า เหมือนยังจัดไม่ดี อยากให้จัดแบบหน้าหนังสือ คนอ่าน จะอ่านง่ายขึ้น โดยการเว้นย่อหน้ามากกว่านี้หน่อยค่ะ / ขนาดตัวอักษร ผ่านแล้ว ตัวโตพอ อ่านง่าย สบายตา (ครึ่งคะแนน) ได้คะแนนทั้งหมด 3 คะแนนครึ่ง รบกวนตอบกลับในบทความตอนที่ 3 หรือตอนงานวิจารณ์ของคุณเอง ขอบคุณมากๆค่ะ ^^   อ่านน้อยลง

แฟร์รี่เทล/สุพิชชา | 25 มี.ค. 56

  • 3

  • 0

ดูทั้งหมด

คำนิยมล่าสุด

"วิจารณ์รากเหง้า โดย bluewhale"

(แจ้งลบ)

รากเหง้า เป็นนวนิยายแนว อดีต ปัจจุบัน อนาคต ของ อ. อกาลิโก ขณะนี้โพสต์ถึงตอนที่ 9 แล้ว เป็นเรื่องราวความผูกพันและชะตาชีวิตของคนในครอบครัวของยายบัว ซึ่งเรื่องเล่าย้อนกลับไปในอดีตตั้งแต่รุ่นพ่อแม่ของเธอว่า สมาชิกในครอบครัวแต่ละคนมีชีวิตความเป็นอยู่อย่างไร ตั้งแต่ในวัยเด็ก จนกระทั่งแต่ละคนต่างแยกย้ายไปมีครอบครัวของตน ทั้ง พ่อแก้ว แม่มาลี พ ... อ่านเพิ่มเติม

รากเหง้า เป็นนวนิยายแนว อดีต ปัจจุบัน อนาคต ของ อ. อกาลิโก ขณะนี้โพสต์ถึงตอนที่ 9 แล้ว เป็นเรื่องราวความผูกพันและชะตาชีวิตของคนในครอบครัวของยายบัว ซึ่งเรื่องเล่าย้อนกลับไปในอดีตตั้งแต่รุ่นพ่อแม่ของเธอว่า สมาชิกในครอบครัวแต่ละคนมีชีวิตความเป็นอยู่อย่างไร ตั้งแต่ในวัยเด็ก จนกระทั่งแต่ละคนต่างแยกย้ายไปมีครอบครัวของตน ทั้ง พ่อแก้ว แม่มาลี พี่สามทั้งสาม คือ พี่เอ้ย พี่ผัด พี่จงจิต และ บารมี น้องชายคนเล็ก แม้ว่าเรื่องราวในขณะนี้จะยังดำเนินไปในช่วงของการเปิดเรื่อง ซึ่งเป็นการปูพื้นให้ผู้อ่านได้รู้จักกับครอบครัวของบัว โดยให้คุณยายบัวทำหน้าที่เล่าเรื่องราวชีวิตของคนในตระกูลของเธอให้ลูกๆ หลานๆ ฟัง โดยค่อยๆ เปิดเรื่องราวชีวิตของคนในรุ่นพ่อแม่ เริ่มตั้งแต่พ่อแก้วและแม่มาลีในช่วงที่แม่มาลีตั้งท้องลูกคนที่ 5 ก็คือบารมี ที่คลอดออกมาเป็นลูกชายคนเดียวสมใจ และเล่าถึงช่วงชีวิตวัยเด็กของลูกๆ ทั้ง 5 ก่อนที่ลูกสาวทั้ง 4 จะมีแฟนและต่างแต่งงานแยกไปมีครอบครัวของตนเอง คงเหลือแต่บารมีที่ยังอยู่กับพ่อแม่เท่านั้น แต่ยังมีข้อบกพร่องที่ชัดเจนที่พบในหลายประเด็น คือ ประเด็นแรกคือ ความสมจริงในการแต่งเรื่องเล่าย้อนยุค การแต่งเรื่องย้อนยุค สิ่งสำคัญที่ต้องคำนึงถึงเป็นอันดับแรกคือ ความสมจริงของเรื่อง เพราะว่าเรื่องราวในอดีตเป็นสิ่งที่เคยเกิดขึ้นมาแล้ว จึงมีข้อมูลและข้อเท็จจริงเป็นจำนวนมากที่จะช่วยสนับสนุนให้ผู้เขียนสร้างเรื่องเล่าย้อนยุคให้ได้บรรยากาศและในยุคสมัยนั้น แต่ในนิยายเรื่องนี้ ยังมีเหตุการณ์บางตอนที่ยังไม่อาจสร้างให้ผู้อ่านเชื่อว่าสมจริงได้ แม้ว่าในช่วงต้นของเรื่อง อ. อกาลิโก ตั้งใจที่จะปูให้เรื่องให้ย้อนกลับไปในช่วง พ.ศ. 2500 ซึ่งเห็นความพยายามที่จะสร้างบรรยากาศแห่งยุคสมัยให้ผู้อ่านคล้อยตาม ไม่ว่าจะเป็นการกล่าวถึงค่าเงิน หรือรัฐบาลออกกฎหมายเรื่องการศึกษาภาคบังคับในปี 2508 แต่ข้อมูลที่ให้บางครั้งอาจจำเป็นต้องมีการตรวจสอบข้อเท็จจริงทางประวัติศาสตร์ด้วย โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เรื่องราวในช่วงต้นที่ อ. อกาลิโก เขียนให้เห็นว่าอาชีพชาวนาเป็นอาชีพที่ไม่ร่ำรวย เป็นหนี้เป็นสิน สู้การเป็นพ่อค้าไม่ดี และชาวนาก็อยากที่จะเลิกทำอาชีพนี้ นับว่าขัดแย้งกับบริบทที่เป็นจริงของยุคสมัยเป็นอย่างยิ่ง เพราะในช่วงเวลานั้น ประเทศไทยเริ่มมีนโยบายพัฒนาประเทศด้วยการออกแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 1 (2504-2509) ซึ่งนโยบายหลักที่รัฐบาลเน้นก็คือ การสนับสนุนภาคเกษตรกรรม โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การปลูกข้าวของชาวนา เพราะข้าวนับว่าเป็นสินค้าออกสำคัญที่ทำรายได้ให้กับประเทศในสมัยนั้นอย่างมาก นอกจากนี้ ในการบรรยายบรรยากาศของฉากย้อนยุค บางครั้งยังมีเหตุการณ์ที่แปลกแยกจากยุคสมัยแทรกอยู่เป็นระยะๆ เช่น การที่ให้เอ้ยจับบารมีมาแต่งหน้า และบอกน้องๆ ว่าให้บารมีปากสีแดงตามโทรทัศน์นั้น เพราะโทรทัศน์สีในประเทศไทยเริ่มในทศวรรษที่ 2510-2519 ไม่ได้เกิดในยุค 2500 หรือการที่ผู้เขียนบรรยายให้เด็กหญิงยากจนในชนบทยุค 2500 ถักโครเชต์เล่นเวลาพัก ซึ่งโครเชต์ในยุคนั้นยังเป็นของฟุ่มเฟือยที่มีราคาแพง เพราะไหมพรมและเข็มถักเป็นของนำเข้าจากต่างประเทศ อีกประการหนึ่งคือ การกล่าวถึงค่าเงิน บางครั้งก็ถูกบางครั้งก็แพง เช่น บางครั้งผู้เขียนก็เขียนว่าสมุดราคาเล่มละ 50 สตางค์แพงมาก แต่เมื่อพ่อทำงานมีเงินเหลือ 1,000 บาท ก็บอกว่าเงินเหลือไม่พอใช้ ทั้งๆ ที่ ในสมัยนั้นใครที่มีเงิน 1,000 บาทนับว่าเป็นคนรวยได้แล้ว เพราะเทียบง่ายๆ ว่าราคาทองในยุคนั้นเพียงบาทละ 400 บาทเท่านั้นเอง ดังนั้น การจะแต่งเรื่องย้อนยุคให้สมจริง ผู้เขียนจำเป็นต้องศึกษาข้อมูล บริบททางประวัติศาสตร์และสังคม เพื่อสร้างชีวิต ความเป็นอยู่ และเรื่องราวได้อย่างถูกต้องแม่นยำ จนเรื่องที่แต่งขึ้นนั้นได้รับการยอมรับว่าเป็นเรื่องย้อนยุคจริงๆ ประการต่อมา คือ แก่นเรื่องหลัก ที่ดูยังไม่มีปรากฏให้เห็นอย่างเด่นชัดว่า อ. อกาลิโล จะให้เรื่องดำเนินไปในทิศทางใด ขณะนี้จับได้แค่ว่าเป็นการเล่าถึงประวัติชีวิตและเรื่องราวของคนในครอบครัวของบัวไปเรื่อยๆ เท่านั้น การเปิดเรื่องในช่วงแรกด้วยการปูพื้นตัวละครต่างๆ อย่างยืดยาว โดยยังไม่สร้างปมขัดแย้ง และพัฒนาปมขัดแย้งใดๆ ที่เร้าความสนใจของผู้อ่านเช่นนี้ ยกเว้นการเปิดปมอาฆาตของนางพรายเท่านั้น อาจจะทำให้คนอ่านเบื่อและเลิกอ่านเรื่องต่อได้ จึงเห็นว่าในช่วงแรกอาจจะตัดเรื่องการเรียนและการไปโรงเรียนของบัวและบารมีออกก็ได้ เพราะเรื่องราวในช่วงนี้ไม่ได้มีความสำคัญต่อการพัฒนาเรื่องในช่วงต่อไปมากนัก เนื่องจากผู้แต่งก็ไม่ได้สร้างให้ชีวิตของตัวละครสองตัวที่ได้เรียนหนังสือนั้น มีชีวิตแตกต่างจากพี่ๆ อีก 3 คนที่ไม่ได้เรียนแต่อย่างใด การไม่บรรยายสถานที่นับเป็นข้อบกพร่องที่พบอีกประการหนึ่ง จากการอ่านเรื่องราวมาจนถึงตอนที่ 9 แล้วพบว่า ฉากหลักที่ผู้เขียนควรสร้างความชัดเจนให้กับผู้อ่านคือ ครอบครัวของบัว เพราะว่าเรื่องราวส่วนใหญ่ในตอนต้นเกิดขึ้นที่นั่น และการอธิบายฉากที่ชัดเจนสร้างจินตภาพของผู้อ่านได้มากขึ้น เนื่องจากการให้ภูมิหลังของตัวละครจะช่วยเสริมจินตนาการให้เห็นภาพความแร้นแค้น ยากจนของครอบครัวนี้ได้อย่างที่ผู้เขียนตั้งใจ แต่การที่ผู้เขียนไม่ระบุตำแหน่งของที่อยู่ว่าตั้งอยู่ในส่วนใดของประเทศอย่างชัดเจนเช่นนี้ สร้างความสับสนให้ผู้อ่านเป็นอย่างมาก เมื่อผู้เขียนไม่บอก ผู้อ่านก็ต้องคาดเดาเอาเอง โดยอาศัยข้อมูลและบริบทรอบๆ ต่างๆ ที่ผู้เขียนให้ไว้ แต่ภาพที่ปรากฏก็เลื่อนไหลไปเรื่อยๆ บางครั้งก็รู้สึกว่าครอบครัวนี้น่าจะอยู่ในภาคอีสาน เพราะตัวละครกินข้าวเหนียว แต่ก็ไม่แน่ใจเพราะบางครั้งก็บอกว่ากินน้ำพริกหนุ่ม กับไข่ต้ม ซึ่งก็ชวนให้คิดว่าน่าจะอยู่ภาคเหนือได้ แต่ต่อมาเมื่อให้พ่อนำข้าวไปขาย แล้วเจ้าของโรงสีให้ปลาทู 100 ตัว เพื่อใช้แทนการลดจำนวนข้าวที่ติดไว้แทน การชวนให้คิดว่าบ้านน่าจะอยู่ภาคกลางและติดทะเล แต่บริบทอื่นๆ ก็ไม่เอื้ออีก เพราะบางครั้งพ่อก็เข้าไปหาของป่าใกล้ๆ บ้าน ก็ที่บริบทรอบข้างเปลี่ยนไปบ่อยๆ เช่นนี้ ก็ยิ่งทำให้ภาพความแร้นแค้นและยากจนของครอบครัวบัวที่ผู้เขียนต้องการสร้างพร่าเลือนไปพร้อมกันด้วย เนื่องจากครอบครัวบัวดูจะจนก็แต่เพียงจากการบอกเล่าของผู้เขียนเท่านั้น แต่ถ้าพิจารณาจากสภาพทั่วไปที่ผู้เขียนบรรยายไว้ก็พบว่า ครอบครัวของบัวก็พอมีพอกิน ไม่ร่ำรวย แต่ก็ไม่ถึงกับยากจนแร้นแค้นมากเท่าที่ผู้เขียนต้องการ ประเด็นสุดท้าย คือ การเขียน ผู้วิจารณ์เห็นว่า อ. อกาลิโกไม่มีปัญหาในเรื่องของการเขียนบทบรรยายและบทสนทนา แต่สิ่งที่อยากให้ผู้เขียนตัดออกในการบรรยายคือ การใส่คำขยายความไว้ในวงเล็บ ปัญหานี้สามารถแก้ไขได้ด้วยการอธิบายความ หรือแทรกมุมมองดังกล่าวไว้ในความคิดหรือคำพูดของตัวละครตัวหนึ่งตัวใดได้เลย หรืออาจแทรกไว้ในคำบรรยายของผู้เล่าเรื่องก็ได้ ซึ่งจะทำให้ผู้อ่านอ่านเรื่องได้อย่างลื่นไหล และไม่สะดุดเป็นระยะๆ เช่นนี้ หรือคำอธิบายในวงเล็บบางแห่งอาจตัดทิ้งไปเลยก็ได้ เช่น ไปโรงพาบาล (ออกเสียงไม่ถูกเพราะไม่ได้เรียนหนังสือ) เพราะประโยคที่ใช้เป็นภาษาพูด ไม่จำเป็นต้องออกเสียงถูกต้องตามภาษาเขียนก็ได้ และผู้อ่านทราบอยู่แล้วว่าตัวละครที่พูดไม่ได้เรียนหนังสือ จึงไม่แปลกที่จะออกเสียงผิดได้ ปัญหาสำคัญในการเขียนที่ อ.. อกาลิโก จำเป็นต้องรีบแก้ไขโดยด่วน คือ การสะกดคำ เพราะว่ามีคำผิดเป็นจำนวนมาก ซึ่งมีสาเหตุจาก 2 ประการหลักๆ คือ การใช้วรรณยุกต์ผิด เช่น เถอะ เขียนเป็น เถ่อะ เปรอะเปื้อน เขียนเป็น เปร่อะเปือน ไอ้ เขียนเป็น ไอ่ เรือน เขียนเป็น เรื่อน ชาย เขียนเป็น ช่าย ไพเราะ เขียนเป็น ไพเร่าะ ไม้ เขียนเป็น ไม่ อ้าว เขียนเป็น อ่าว ชาวไร่ เขียนเป็น ช่าวไร เหงื่อ เขียนเป็น เหงื้อ แนะนำ เขียนเป็น แน่ะนำ จังหวะ เขียนเป็น จังหว่ะ เยอะ เขียนเป็น เย่อะ อั๊วะ เขียนเป็น อ้วะ แก๊ง เขียนเป็น แก้ง เปรอะ เขียนเป็น เปร่อะ เที่ยว เขียนเป็น เทียว แก่ เขียนเป็น แก รุ่งเรือง เขียนเป็น รุ่งเรื่อง หมั่นไส้ เขียนเป็น หมันไส้ ทะเลาะ เขียนเป็น ทะเล่าะ เลอะเทอะ เขียนเป็น เล่อะเท่อะ แวะ เขียนเป็น แว่ะ การสะกดผิดอีกสาเหตุหนึ่งคือ การไม่ทราบว่าคำที่ถูกสะกดอย่างไร เช่น มโนสำนึก เขียนเป็น มโนนึก ฝ้าฟาง เขียนเป็น ฟ่าฟาง สาบาน เขียนเป็น สาบาญ ทุกข์ เขียนเป็น ทุก โบสถ์ เขียนเป็น โบส ขี้เกียจ เขียนเป็น ขี้เกิยจ เถลไถล เขียนเป็น ถะเหลถะไหล / ทะเหลทะไหล ขมวด เขียนเป็น ขะมวด ศีรษะ เขียนเป็น ศรีษะ เฆี่ยน เขียนเป็น เคี่ยน จ้า เขียนเป็น จร้า เซ็งแซ่ เขียนเป็น แซงแซ่ เฒ่า หรือ เถ้าแก่ เขียนเป็น เถ้า ต่างๆ นานา เขียนเป็น ต่างๆ นาๆ ขื่อ เขียนเป็น คื่อ ลาบ เขียนเป็น ลาป บำรุง เขียนเป็น บำรูง ทิด เขียนเป็น ทิต ฮึด เขียนเป็น หึด ธนบัตร เขียนเป็น ธนบัติ กบาล เขียนเป็น กระบาน กล้าแดด เขียนเป็น กล่ำแดด สัมภาระ เขียนเป็น สัมพาระ สะท้าน เขียนเป็น สะท้าย แย้ม เขียนเป็น แย้ อาถรรพ์ เขียนเป็น อาธรรพ์ รวดร้าว เขียนเป็น รวดร้าย หรือ เขียนเป็น รื้อ สังขาร เขียนเป็น สังขาน ยี่หระ เขียนเป็น ยี่หร่า พิเรนทร์ เขียนเป็น พิเรน ทะนุถนอม เขียนเป็น ถะนุถนอม มรรคทายก เขียนเป็น มัคทายก รื่นหู เขียนเป็น ลื่นหู ว้าย เขียนเป็น ว๊าย ระคนกลัว เขียนเป็น ประคนกลัว และ ตาถลน เขียนเป็น ตาถะโหลน ทั้งนี้เห็นว่าเรื่องยังเพิ่งเขียนในช่วงต้น อ. อกาลิโก ลองกลับไปทบทวนและปรับแก้งานอีกครั้ง ก็ไม่น่าที่จะเสียเวลามากนัก และจะช่วยให้ผลงานน่าอ่านและสมบูรณ์มากขึ้นด้วย   อ่านน้อยลง

bluewhale | 18 มิ.ย. 56

  • 3

  • 0

"เหมียวมี้ รับวิจารณ์นิยายค่ะ"

(แจ้งลบ)

novel: รากเหง้า ปลายปากกาของ อ. อกาลิโก ตัวละคร★★ มีตัวละครที่มากอยู่พอสมควร ทำให้จำได้ไม่หมดในครั้งเดียว แต่ถ้าลองอ่านในตรงตัวละครบ่อยๆ จะเริ่มจำได้ เหมือนในละครหลังข่าวที่มีตัวละครอยู่เยอะ ดูจากตัวละครแล้ว น่าจะมีนิสัยที่ต่างกันไม่มากไปจนถึงต่างกันมากเลย เนื้อเรื่อง★★★★ สนุก น่าสนใจเล็กน้อย ดูไม่ค่อย ... อ่านเพิ่มเติม

novel: รากเหง้า ปลายปากกาของ อ. อกาลิโก ตัวละคร★★ มีตัวละครที่มากอยู่พอสมควร ทำให้จำได้ไม่หมดในครั้งเดียว แต่ถ้าลองอ่านในตรงตัวละครบ่อยๆ จะเริ่มจำได้ เหมือนในละครหลังข่าวที่มีตัวละครอยู่เยอะ ดูจากตัวละครแล้ว น่าจะมีนิสัยที่ต่างกันไม่มากไปจนถึงต่างกันมากเลย เนื้อเรื่อง★★★★ สนุก น่าสนใจเล็กน้อย ดูไม่ค่อยน่าอ่านเท่าไรด้วยเหตุที่ดูเหมือนกับกำลังอ่านนิยายเก่าสมัยก่อนอยู่ ยังกับดูละครลึกลับแบบไทยๆ มีผีอะไรแบบนี้นึกถึงรากบุญเลย ชื่อเรื่องคล้ายกันดีนะเนี่ย แต่สำหรับพวกวัยรุ่นสมัยนี้แล้วคงไม่น่าสนใจเท่าไร สำหรับชื่อเรื่องและเนื้อหา แต่ถ้าเป็นละครละก็คงน่าสนใจดีมากไม่ต่างจากนิยาย แต่ดูแล้วคงไม่ค่อยมีใครอยากอ่านเท่าไรกับชื่อเรื่อง ภาษา★★★★ สวยงาม ใช้คำอย่างถูกต้อง อ่านง่ายดูน่าติดตาม แทบไม่มีคำผิดเลยเท่าสุ่มมาอ่านดู มีคำผิดอยู่บ้างเช่นคำว่า อ่าวๆๆๆ อ่าวแบบนี้มันเป็นอ่าวไทยเลย ที่ถูกต้องคือ อ้าว และท่าทางจะใช้ ๆ มากไปหน่อยเมื่อลองอ่าน ยังมีคำผิดบ้างอีกหน่อย แต่ก็ยังถือว่าดีเยี่ยมที่มีคำผิดแค่นี้เท่าที่อ่านมา แนว★★ แปลกไม่ค่อยใหม่ ไม่ค่อยซ้ำใคร ตอนแต่ละตอน★★★★ มีการเชื่อมต่อกันอย่างดี มีชื่อตอนน่าสนใจบ้าง ไม่น่าสนใจบ้าง ชื่อตอนน่าจะเขียนคำว่าบทที่เท่าไรขึ้นต้นด้วย คงจะดีมาก ยังคงไม่เปลี่ยนแปลงไปทางลบหรือทางบวก ถือว่าเยี่ยม บรรยากาศ★★★ ถึงจะไม่ต้องบรรยายบรรยากาศในตอนนั้นก็พอเข้าใจได้จากบางรูป และบางเนื้อหาในบางตอนที่เขียนสตางค์ทำให้นึกถึงสมัยก่อนได้อย่างดี คะแนนเต็มหนึ่งร้อยได้เก้าสิบ★★★★★ สำหรับนิยายไทยๆแล้วสมัยนี้ไม่ค่อยมี เยี่ยม (หมายเหตุ นี่เป็นความคิดเห็นส่วนตัว)   อ่านน้อยลง

น้ำตาพันธนาการ | 29 มี.ค. 56

  • 2

  • 0

ดูทั้งหมด

ความคิดเห็น