ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    สำนักพิมพ์ Hidego

    ลำดับตอนที่ #41 : วารสาร รายสัปดาห์ ฉบับที่ 40

    • เนื้อหานิยายตอนนี้เปิดให้อ่าน
    • 83
      0
      24 มิ.ย. 59

    วารสาร Hidego รายสัปดาห์

    พฤหัสบดีที่ 16 มิถุนายน 2559

    สวัสดีพี่น้องชาวไทย พบกันอีกครั้ง ณ พฤหัสบดีที่ 16 มิถุนายน 2559  กับวารสารฮิเดโกะฉบับที่ 40

    วารสารฉบับนี้เราจะพาไปดู คำช่วยที่คล้ายคลึงกัน   กับ และคำช่วยที่คล้ายคลึงกัน กับ คำศัพท์ภาษาญี่ปุ่นวันละ 10 คำ "อักษร ข" แนะนำโรงเรียนญี่ปุ่น ECC Kokusai College Of Foreign Languages ตำนานแห่งเทพเจ้าของญี่ปุ่นโอคุนินูชิ สัมผัสวัฒนธรรมญี่ปุ่นวันนี้ ปฏิทินญี่ปุ่นอาหารประจำสัปดาห์วันนี้คือ กะหล่ำปลีลุยสวน Cabbage Wrap with Pork and Vegetable

     

    คำช่วยที่คล้ายคลึงกัน   กับ

            วางไว้หลังสถานที่ บอกทิศทางที่เคลื่อนที่ จากจุดที่ออกเดินทางไปสู่จุดหมาย

                            วางไว้หลังสถานที่ บอกจุดหมายปลายทาง

    (かれ)来月日本(らいげつにほん)()きます。Kare wa raigetsu nihon he ikimasu. เขาจะไปญี่ปุ่นเดือนหน้า

    อ่านรายละเอียด

     

     คำช่วยที่คล้ายคลึงกัน กับ

                    1 . กรณีใช้กับสถานที่

                                            วางไว้หลังสถานที่ ที่เคลื่อนที่ออกห่าง

                                            วางไว้หลังสถานที่ ที่เคลื่อนที่เข้าหา

    สถานที่           ()ます

    สถานที่           (はい)ります

    ในกรณีของกริยา 入学(にゅうがく)します(เข้าศึกษา) และ 卒業(そつぎょう)します(จบการศึกษา) ก็ใช้ และตามลำดับ

    นอกจากนี้ยังมีคำช่วย からที่ใช้กับสถานที่ได้อีกเช่นกัน เป็นการเน้น สถานที่ ที่เป็นจุดตั้งต้น

    2. กรณีที่กริยาของประโยคเป็นสกรรมกริยา (他動詞(たどうし)) กรรมตรงใช้ กรรมรองใช้

    2.1. รูปให้กระทำ (使役形(しえきけい)) คน นาม              สกรรมกริยา รูปให้กระทำ

    2.2. รูป あげます、もらいます、くれますหรือ กริยาอื่น ๆ ที่มีกรรมตรงและกรรมรอง เช่น (おく)ります、()きます。เป็นต้น

    2.3. รูป .....手あげます、…..てもらいます、…..てくれますที่ไม่มีกรรมรองและกริยาบางตัว เช่น つれます

    3.กรณีที่กริยาของประโยคเป็นอกรรมกริยา (自動詞(じどうし)) รูปให้กระทำ (使役形(しえきけい)) คน อกรรมกริยา รูปให้กระทำ

    อ่านรายละเอียด

     

    ECC Kokusai College Of Foreign Languages

    ECC Kakusai College of Foreign Languages มีคอร์สให้เลือกหลากหลาย ทั้งภาษาญี่ปุ่น ธุรกิจระหว่างประเทศ ภาษาอังกฤษทั่วไป สายการบิน โรงแรม ท่องเที่ยว ล่าม แปล เป็นต้น

                    อาจารย์ของสถาบันเป็นผู้ที่มีความสามารถและมีความตั้งใจในการสอน นักเรียนที่เรียนที่ ECC ก็มีความกระตือรือร้นในการเรียนรู้มีการใช้อุปกรณ์อย่างเช่น CD, DVD เป็นสื่อในการเรียนการสอนด้วยนักเรียนสามารถใช้ทั้งอินเตอร์เน็ต และคอมพิวเตอร์ได้ฟรี

                    โรงเรียนตั้งอยู่กลางเมืองใหญ่ซึ่งสะดวกต่อการเดินทาง ทั้งยังใกล้แหล่ง ช้อปปิ้ง โรงพยาบาล มีความสะดวกสบายในการเดินทาง นอกจากนั้นยังมีโรงพยาบาล และศูนย์แสดงวัฒนธรรมในละแวกใกล้เคียงด้วย

                    เมื่อเรียนจบหลักสูตรภาษาญี่ปุ่นแล้ว นักเรียนของสถาบันจำนวนมากจะเข้าศึกษาต่อในระดับสูงทั้งระดับปริญญาตรี ปริญญาโท และวิทยาลัยวิชาชีพ ซึ่งมีอัตราการสอบเข้าศึกษาต่อได้สูงถึง 100% ทางสถาบันมี

                    การแนะนำนักเรียนให้กับมหาวิทยาลัย 14 แห่ง นักเรียนสามารถเข้าศึกษาต่อได้โดยทางมหาวิทยาลัยจะพิจารณาจากเอกสารการสมัครหรือสอบสัมภาษณ์เท่านั้น นอกจากนั้นยังมีสาขาวิชาอื่น ๆ ให้เลือกเรียนอีก ได้แก่ ECC College of Computer & Multimedia และ ECC College of Beauty & Style ซึ่งเป็นวิทยาลัยในเครือ และมีระบบส่วนลดค่าเล่าเรียน 20 – 40% ให้แก่นักเรียนอีกด้วย

    อ่านรายละเอียด

     

    ตำนานเทพญี่ปุ่น

    โอคุนินูชิ

    โคคุนินูชิ เป็นเทพแห่งยาและมนต์วิเศษ ชื่อ โอคุนินูชิ หมายถึง “เจ้าแห่งแผ่นกินใหญ่” เขาปกครองแผ่นดินมาตั้งแต่ที่มันถูกสร้างขึ้นตราบจนกระทั่งเทพีอมาเตะรสุส่งนินิกิลงมาจากสวรค์ เพื่อมาขอครองแผ่นดินแทน

                    ในฐานะของผู้เป็นเทพแห่งยา โอคุนินูชิได้รับความเชื่อถือในฐานที่ได้คิดค้นวิธีการรักษาที่ได้ผลดี

                    โอคุนินูชิมีน้องถึง 80 คน แต่ปัญหาใหญ่หลวงก็คือ น้องชายทั้ง 80 คนนั้นต้องการแต่งงานกับหญิงเพียงคนเดียว คือ เจ้าหญิงยากามิ หรือ ยากามิ ฮิเมะ วันนั้นระหว่างที่น้องชายทั้ง 80 ต่างเดินทางไปหาเจ้าหญิงที่ตนหมายปอง ก็เกิดมีกระต่ายป่าตัวหนึ่งถูกถลกหนังระเสือกกระสนเข้ามาขวางทาง ร้องขอความช่วยเหลือ แต่เด็กหนุ่มทั้ง 80 นอกจากไม่อยากเสียเวลาทำคะแนนของตัวเองแล้ว ยังบอกให้มันไปแช่น้ำทะเลแล้วขึ้นมาผึ่งลม กระต่ายตัวนั้นทำตาม และมันกลับปวดแสบปวดร้อนแทนที่จะช่วยปรรเทากลับเจ็บหนักยิ่งขึ้น

    อ่านรายละเอียด

     

    คำศัพท์ภาษาญี่ปุ่นวันละ 10 คำ "อักษร ข"

    เข้ม

    こい

    『濃い』

    Koi

    เข้มแข็ง

    つよい

    『強い』

    Tsuyoi

    เข้มงวด

    きびしい

    『厳しい』

    Kibishii

    เขา (ผู้ชาย)

    かれ

    『彼』

    Kare

    เขา (ผู้หญิง)

    かのじょ

    『彼女』

    Kanijo

    เขาทั้งหลาย

    かれら

    『彼ら』

    Karera

    เข่า

    ひざ

    『膝』

    Hiza

    เข้า

    はいる

    『入る』

    Hairu

    เข้ากันได้

    あう

    『合う』

    Au

    เข้าใกล้

    ちかよる、しかづく

    『近寄る,氏かづく』

    Chikayoru, Shikazuku

    อ่านรายละเอียด

     

    สัมผัสวัฒนธรรมญี่ปุ่นวันนี้ ปฏิทิน

    ประเทศญี่ปุ่นในปัจจุบันได้พัฒนามาจนกลายเป็นชาติที่ก้าวหน้าทางอุตสาหกรรมมากที่สุดชาติหนึ่งของโลก อย่างไรก็ตาม เมื่อพิจารณาถึงชีวิตประจำวันของชาวญี่ปุ่น เราจะพบว่าขนบธรรมเนียมและประเพณีตากสมัยเก่ายังคงฝังรากลึกเฉกเช่นในอดีต และในแต่ละฤดูมีการจัดงานประเพณีกันมากมาย

                    ในปฏิทินญี่ปุ่นไม่เพียงแต่ลงข้อมูลปกติทั่วไป เช่น วัน เดือน ปี วันทั้งเจ็ดในรอบสัปดาห์ วันหยุดประจำชาติ เป็นต้น แต่ยังลงข้อมูลอื่น ๆ ที่สืบทอดกันมาแต่โบราณไว้ด้วย ตัวอย่างเช่น ลงปีและวันที่หมุนไปตาม เอะโตะ(eto) ซึ่ง 1 รอบมี 60 ปี ที่สืบทอดมาจากจีนโบราณ หรือลงปฏิทิน โระคุโย (rokuyoo) ซึ่งมีวันอยู่ 6 วัน แต่ละวันจะทำนายโชคชะตา คือโชคดีหรือโชคไม่ดีไว้ เช่น ไทอัง (taian)เป็นวันแห่งโชคลาภ งานมงคลต่าง ๆ เช่น งานแต่งงาน มักจะจัดกันในวันนี้ บุทสึเมะทสึ (butsumetsu) เป็นวันอัปมงคล ไม่ควรทำเรื่องสำคัญใด ๆ ยกเว้นการไปงานศพเป็นต้น ปฏิทิน นิจิว-ชิ-เซ็คขิ (nijuu-shi-sekki = 24 ปักษ์ของปี) มีการใช้กันมานับแต่สมัยปฏิทินแบบจันทรคติหรือปฏิทินแบบเก่าเพื่อให้ทราบฤดูหรือภูมิอากาศ เช่น ริทชุน (risshun = วันแรกของฤดูใบไม้ผลิ ตรงกับวันที่ 4 กุมภาพันธ์) ชูบุง (shuubun = วันที่กลาววันกลางคือยาวเท่ากันในฤดูใบไม้ร่วง ตรงกับวันที่ 20 มกราคม) เป็นต้น ในญี่ปุ่น ปฏิทินแบบจันทรคติซึ่งมีการใช้มาเป็นเวลานานถูกเปลี่ยนแทนด้วยปฏิทินแบบสุริยคติ หรือปฏิทินแบบใหม่ซึ่งใช้กันอยู่ในปัจจุบัน ใน ค.ศ. 1873 แม้แต่ในปัจจุบัน บางครั้งยังมีปรากฏว่างานประเพณีอย่างเดียวกันยังจัดคนละวันขึ้นอยู่กับแต่ละท้องที่ ใบบางพื้นที่จะจัดตามปฏิทินสุริยคติ ส่วนในบางพื้นที่จะจัดตามวันตามปฏิทินจันทรคติซึ่งจะช้ากว่าปฏิทินแบบใหม่ 1 เดือน

                    ที่ญี่ปุ่นนากจากคริสต์ศักราชแล้วมักจะใช้เก็งโง (gengoo = ชื่อศักราชญี่ปุ่นซึ่งจะเปลี่ยนไปตามการเสด็จขึ้นครองราชบัลลังก์ของจักรพรรดิองค์ใหม่) ในวันที่ 8 มกราคม ค.ศ.1989 ได้เปลี่ยนจากศักราชโชวะ (shoowa) มาเป็นศักราชเฮเซ (heisei) ดังนั้นเด็กที่เกิดในวันนี้เท่ากับเกิดในวันที่ 8 มกราคม ของปีแรกของศักราชเฮเซจามปฏิทินเอะโตะนั้น เด็กที่เกิดใน ค.ศ.1989 เป็นเด็กที่เกิดในปี “己巳” ทสึฉิโนะโตะ-มิ (Tsuchinoto - mi)

    อ่านรายละเอียด

     

    อาหารประจำสัปดาห์

    ใคร ๆ ก็เข้าครัว วันนี้คือ

    กะหล่ำปลีลุยสวน Cabbage Wrap with Pork and Vegetable

    อาหารเรียกน้ำย่อยที่ดีต้องอร่อยและทานแล้วให้ความรู้สึกอยากอาหาร วันนี้เรามาเรียกน้ำย่อยด้วยเมนูกะหล่ำปลี­ลุยสวนกันดีกว่าครับ ใครกำลังหาเมนูอร่อยๆ

     

    วัตถุดิบ

    สำหรับ 4-5 ที่

    เวลา 30 นาที

    1. กะหล่ำปลี 1 หัว

    2. หมูบด 200 กรัม

    3. กระเทียมสับ 3 ช้อนโต๊ะ

    4. แครอทสับ 1/2 ถ้วยตวง

    5. เห็ดหอมสับ 1/2 ถ้วยตวง

    6. น้ำมันหอย 2 ช้อนโต๊ะ

    7. ซอสปรุงอาหาร 1 ช้อนชา

    8. น้ำตาลทราย 2 ช้อนชา

    9. พริกไทยป่น 1 ช้อนชา

    10. น้ำมันพืช 2 ช้อนโต๊ะ

    11. ผักสด ตามชอบ

     

    ส่วนผสมน้ำจิ้ม

    1. รากผักชี 2-3 ราก

    2. กระเทียมไทย 10 กลีบ

    3. พริกขี้หนูสวนสีเขียว 10 เม็ด

    4. น้ำมะนาว 3 ช้อนโต๊ะ

    5. น้ำปลา 2 ช้อนโต๊ะ

    6. น้ำตาลทราย 1/2 ช้อนโต๊ะ

    7. ใบโหระพา ตามชอบ

     

    วิธีทำ

    1. ทำน้ำจิ้มโดยผสมรากผักชี กระเทียม พริกขี้หนูสวน น้ำมะนาว น้ำปลา น้ำตาลทราย และใบโหระพาเด็ดเอาเฉพาะใบ ปั่นให้ละเอียด พักไว้

    2. ตัดแกนกลางกะหล่ำปลีออก นำลงไปลวกในน้ำเดือนประมาณ 3-4 นาที แล้วพักในน้ำเย็นจัด รอให้เย็น

    3. ทำไส้โดยตั้งกระทะใส่น้ำมัน รอให้ร้อน เอากระเทียมสับลงไปผัดให้หอม แล้วเอาหมูบดลงไปผัด ผัดให้หมูสุก แล้วปรุงรสด้วย ซอสปรุงอาหาร ซอสหอยางรม น้ำตาลทราย และพริกไทยป่นลงไป ผัดให้เข้ากัน แล้วใส่เห็ดหอมสับ แครอทสับ ลงไปผัดให้แห้งเล็กน้อย จากนั้นตักใส่ถ้วยพักไว้ให้เย็น

    4. เอาใบกะหล่ำปลีมาวางบนเขียง ตักไส้ใส่ลงไป ให้อยู่ตรงกลางใบ แล้วตามด้วยใบโหระพา ใบสะระแหน่ และใบผักชีฝรั่ง อย่างละ 1 ใบ ห่อใบกะหล่ำให้มิดชิด โดยเอาส่วนโคนใบพับเข้าไปห่อไส้ไว้ จัดรับประทานคู่กับน้ำจิ้มที่ทำไว้

    เคดิต ขอขอบคุณ FoodTravel.tv ใครๆ ก็เข้าครัว

    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    นิยายที่ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×