ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    นักเรียนหมอขอเมาท์

    ลำดับตอนที่ #25 : เมาท์ : ภาษาไทย ม.ปลาย

    • เนื้อหาตอนนี้เปิดให้อ่าน
    • 3.81K
      1
      23 มิ.ย. 53

    ภาษาไทย ม.ปลาย



    ภาษาไทยสำคัญอย่างไร
                น้องทุกคนก็คงทราบดีว่า ภาษาไทยเป็นภาษาประจำชาติของเรา จึงควรใช้ให้ถูกต้อง ถูกความหมาย มีเพียงชาติเราเท่านั้นที่ใช้ภาษานี้ จึงเป็นสิ่งที่ควรค่าแก่การอนุรักษ์ นอกจากนี้ภาษาไทยยังเป็นภาษาที่สละสลวย หากใช้อย่างมีศิลปะ ก็จะทำให้ผู้ที่ได้สัมผัส รู้สึกจรรโลงใจ (คนเจ้าบทเจ้ากลอนคงจะทราบกันดีนะคะ ^^)

                แล้วภาษาไทย จะได้นำไปใช้กับการเรียนแพทย์รึเปล่าล่ะ?.. นี่ก็เป็นอีกคำถามที่พี่เคยสงสัย แต่ที่ผ่านๆ มาก็พิสูจน์ได้ค่ะว่า ภาษาไทยเป็นสิ่งที่สำคัญและใกล้ตัวกับน้องๆ ไม่ว่าจะเรียนสาขาไหน อาชีพอะไร อย่างเช่น การเรียนแพทย์ คุณหมออย่างเราจะต้องสื่อสารกับคนไข้อย่างมีประสิทธิภาพ บางครั้งการใช้คำหรือประโยคผิดๆ ก็อาจเข้าใจผิดความหมายกันไปเลยก็ได้ สำคัญมากนะ การสื่อสารเนี่ย นอกจากนี้ การคิดวิเคราะห์ จับประเด็นสำคัญในเรื่องต่างๆ การใช้เหตุและผล อย่างที่เราเคยเรียนมาบ้างในวิชาภาษาไทย ก็ช่วยฝึกทักษะในเรื่องเหล่านี้ของน้องๆ ได้เป็นอย่างดี ดังนั้น อย่าคิดว่าถ้าไม่ได้เรียนอักษรศาสตร์ แล้วภาษาไทยจะไม่สำคัญสำหรับเรานะจ๊ะ

     

    แล้วเราต้องเรียนอะไรบ้างในวิชานี้
                เนื้อหาที่เรียน มีตั้งแต่หลักภาษาพื้นฐานไปจนถึงระดับที่ยากขึ้น การสะกดคำอย่างถูกต้อง การใช้ประโยคและรู้จักชนิดของประโยค แยกย่อยส่วนต่างๆ ของประโยคได้ การใช้คำเชื่อมโยง คำประเภทต่างๆ ได้แก่ คำนาม คำกิริยา คำซ้อน คำซ้ำ อักษรนำ คำควบกล้ำ คำที่มีความหมายเหมือนกัน และตรงกันข้าม เป็นต้น นอกจากนี้ การจับใจความสำคัญของเนื้อเรื่อง การคิดวิเคราะห์ รู้ถึงสาระแก่นสารของเนื้อเรื่องก็เป็นสิ่งสำคัญที่น้องๆ ควรทำได้เป็นอย่างดี สิ่งที่เรียนแล้วได้เจอบ่อยๆ ในการสอบก็ได้แก่ ประเภทต่างๆ ของโวหารที่ใช้ในบทความ คำราชาศัพท์และคำสุภาพ วรรณคดี และโคลง ฉันท์ กาพย์ กลอนต่างๆ รวมถึงความถูกต้องตามหลักการแต่งบทกลอนนั้นๆ  (เช่น โคลงสี่สุภาพ น้องก็ต้องรู้ว่าตรงไหนมีเอกโทษ โทโทษ ตรงไหนคล้องจองกับคำไหน อะไรแบบนี้อะค่ะ ก็ขอแนะนำให้ท่อง “เสียงลือเสียงเล่าอ้าง อันใด พี่เอย” ให้คล่องแคล่วกันนะคะ อิอิ)


    เทคนิคการเรียนและการเตรียมตัวสอบภาษาไทยที่อยากจะแนะนำ

                สำหรับเทคนิคที่จำเป็นต้องใช้ พี่ว่าน่าจะใช้การสั่งสมประสบการณ์ ความเคยชิน การฝึกฝน ทั้งจากการเรียนและแบบฝึกหัด แต่ที่สำคัญก็คือ การทำข้อสอบเก่า จะเป็นประโยชน์อย่างมาก ทำให้น้องได้ทำความคุ้นเคยกับข้อสอบจริง และแนวทางที่ควรทำความเข้าใจเพื่อนำไปใช้ในการสอบ

                สิ่งที่น้องๆ ควรระวัง คือ ภาษาไทยเป็นวิชาที่น้องๆ คุ้นเคย ได้พบเจอและใช้เป็นประจำทุกวัน อาจประมาททั้งเรื่องการทบทวนที่มักจะน้อยกว่าวิชาอื่นๆ เพราะเห็นว่าง่ายๆ จิ๊บๆ หรืออีกอย่างหนึ่ง การนำความคุ้นเคยไปใช้ในการทำข้อสอบ ซึ่งหากน้องได้รับสิ่งที่ไม่ถูกต้องมาเป็นส่วนหนึ่งของความทรงจำของน้องแล้ว ก็อาจส่งผลต่อการทำข้อสอบได้

                ยกตัวอย่างเช่น หากน้องเจอป้ายที่เขียนคำพูดบางคำที่ใช้กันอย่างแพร่หลายทั่วไป แต่คำคำนั้นสะกดผิดไปจากหลักภาษาไทย แล้วน้องก็ใช้ความคุ้นเคยเพื่อตัดสินใจเลือกคำตอบข้อนั้นในการสอบจริงของน้องไปแล้ว ซึ่งมัน”ผิด” และน้องอาจไม่รู้ตัวด้วยซ้ำว่าน้องพลาดไปแล้ว ดังนั้น หากว่าน้องไม่ได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง (ซึ่งพี่คิดว่า น่าจะหาได้จากการตั้งใจเรียนในห้องเรียนให้ดีๆ) ก็อาจจะพลาดอย่างที่พี่ได้บอกไปแล้ว  >>> คะแนนเพียงข้อเดียวก็มีค่านะจ๊ะ

     

    เรื่องสำคัญ...ก็เรื่องของข้อสอบไง
                เนื้อหาที่จะใช้สอบนั้น ก็เหมือนกับที่พี่ได้บอกเอาไว้แล้ว ว่าน้องต้องเรียนอะไรบ้าง(คร่าวๆ นะ เพราะความจริงก็มีเรื่องยิบย่อยที่พี่ไม่ได้บอก แต่วิชานี้เป็นวิชาที่เข้าใจได้ง่าย น้องน่าจะรู้ดี) วิชาภาษาไทยเป็นวิชาที่ง่ายนิดเดียว (แต่ยากมาก 555) ที่บอกว่าง่ายนิดเดียว เพราะเป็นวิชาที่น้องอ่านออกเขียนได้ เข้าใจความหมายอยู่แล้ว

                แต่ส่วนที่ยากมากนั้นก็คือ สิ่งที่นำมาออกเป็นข้อสอบนั้นไม่ได้ให้เราสอบอ่านให้ถูกต้อง หรือสะกดคำให้ถูกต้องแบบง่ายๆ ผันวรรณยุกต์เล่นอะไรแบบนี้ มันเบๆ เกินไปแล้วค่า...... แต่มันกลับเป็นอะไรที่ลึกซึ้งกว่านั้น เป็นอะไรที่ต้องทำความเข้าใจ ต้องใช้การวิเคราะห์ รวมถึงใช้การจดจำอย่างถูกต้องด้วย (ใช้เยอะจัง = =) เนื้อหาบางอย่างอาจดูกำกวม แต่สุดท้ายแล้ว มันก็มีคำตอบที่ถูกต้องของมันเอง เพียงแต่เราอาจจะมองไม่เห็น (ความรักบังตา *~*)

                ภาพรวมของการสอบ จากประสบการณ์ที่ผ่านๆ มา พี่คิดว่า หากน้องทำคะแนนได้มากเกิน 70-80% ขึ้นไป ก็ถือว่าอยู่ในเกณฑ์ที่ดีแล้ว วิชานี้ หากน้องตั้งใจให้มากก็จะสามารถเก็บคะแนนได้โดยง่าย เราจึงไม่ควรเสียคะแนนส่วนที่เราควรได้ให้กับวิชาที่เรียนรู้ได้ไม่ยากอย่างภาษาไทยนะจ๊ะ (ในตอนสมัยที่พี่สอบ ยังใช้ระบบ โอเน็ต เอเน็ตอยู่)

                สำหรับพี่ ข้อสอบเอเน็ตก็ยากกว่าโอเน็ตไม่มากนัก เพียงแค่เพิ่มเติมส่วนของการคิดวิเคราะห์ จับใจความสำคัญ และเรื่องราวที่ซับซ้อนมากขึ้น เพื่อให้ทบทวนและใช้เวลาคิดมากขึ้น ดังนั้น หากว่าน้องสามารถทำภาษาไทยเอเน็ตได้ดี  โอเน็ตก็คงเป็นแค่แบบฝึกหัดชุดย่อยให้น้องได้ทดสอบความรู้และความสามารถ ส่วนระบบการสอบตอนนี้ พี่ก็ไม่ค่อยจะรู้เรื่องเท่าไรหรอก แต่ พี่คิดว่า ภาษาไทย มันไม่เหมือนวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์   ที่สามารถปรับปรุงโจทย์หรือมีวิทยาการใหม่ๆ นำมาออกข้อสอบได้เรื่อยๆ แต่ภาษาไทย เป็นอะไรที่ค่อนข้างตายตัว แบบ..แมวก็ยังเป็นแมววันยังค่ำอะน้อง มันคงไม่กลายเป็นซาลาแมนเดอร์อะ ถ้าน้องจะสะกดคำ คำๆ นั้นก็ยังสะกดถูกต้องในแบบนั้นอยู่ดี เว้นแต่เราจะมีการปฏิรูปภาษากันใหม่ ก็ว่ากันไป (พวกภาษาชิมิชิมิ ที่พวกน้องใช้กันน่ะแหละ) ดังนั้น ไม่ว่ายุคสมัยจะเปลี่ยนไป การคัดเลือกเด็กจะเปลี่ยนแปลง (ไปเป็นสอยดาว เพื่อเลือกเข้าคณะ :P )

                พี่คิดว่า ข้อสอบภาษาไทยก็น่าจะยึดแนวคล้ายเดิม อาจประยุกต์บ้างตามสถานการณ์ ก็ขอให้น้องใช้ความสามารถของน้องให้เต็มที่ ไม่ยากเกินไปหรอกค่ะ


         ก  ง จ ..................................... อ ฮ 

     
    สิ่งที่อยากจะแนะนำเพิ่มเติม
                หากว่าอาจารย์ที่โรงเรียนของน้อง สามารถสอนได้ครอบคลุมตามหลักสูตร และมีแบบฝึกหัดมาทดสอบความรู้ของน้องๆ อย่างสม่ำเสมอแล้ว พี่คิดว่าน้องคงสามารถทบทวนบทเรียนด้วยตนเอง รวมถึงขวนขวายหาความรู้เพิ่มเติมจากหนังสือสรุปเนื้อหาและแบบทดสอบที่ช่วยได้เป็นอย่างดี  หนังสือรวบรวมข้อสอบเก่าในหลายพ.ศ.ที่ผ่านมา ก็เป็นอีกสิ่งหนึ่งที่พี่ขอแนะนำว่าช่วยได้มาก หากน้องต้องการหาแนวของข้อสอบ และฝึกปรือฝีมือก่อนลงสนามจริง การทำข้อสอบจำนวนมาก จะทำให้น้องคล่องแคล่วขึ้นในการตัดสินใจ คิดอย่างรวดเร็ว ถูกต้องและแม่นยำมากขึ้น (จริงๆ นะ) แต่สำหรับน้องที่รักสะดวก รักความเฮฮา หรือต้องการตัวช่วย การเรียนพิเศษกับอาจารย์สาวแสนสวย ที่ชอบร้อง แอ๊ม! แ.........น้คะ เป็นอาจินต์อะ....(พี่ไม่ได้รับค่าcommercial แต่อย่างใด แค่จะบอกเฉยๆ ว่า วิชาภาษาไทย เป็นวิชาที่ไม่ได้เครียด) ดังนั้น หากน้องต้องการผู้ที่มีความรู้ความสามารถมาทบทวนและกระตุ้นให้น้องขยันทำแบบฝึกหัดมากขึ้น ก็เป็นอีกทางเลือกที่ดี

     

        สุดท้ายแล้ว อยากเตือนน้องๆ ว่า  น้องควรเอาใจใส่ภาษาไทยของเราให้มาก และใช้ภาษาให้ถูกต้องอย่างคุ้นเคย เพราะจะทำให้น้องเคยชินและเป็นส่วนช่วยให้น้องตอบคำถามได้อย่างถูกต้องเมื่อตอนนั่งในห้องสอบนะ

                อ้อ...แล้วไอ้พวกภาษาเขิ่วๆ (พี่ก็เรียกไม่ถูก) ถ้าเป็นไปได้ก็อย่าให้มันมากเกินไปดีจะกว่าเนอะ แบบ วิวัฒนาการของภาษาที่น่ากลัวๆ อะน้อง เธอ>เทอ>เทอว์>เทิวว์ โอ๊ยยยย น่ากลัวที่สุดค่ะ 5555 ฝากไว้ด้วยนะจ๊ะ ภาษาไทยที่น่าภูมิใจของพวกเราจะได้คงอยู่ต่อไป แ.........น้คะ!


     

    นศพ.ทิงนองนอยประจำคณะ

    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    นิยายที่ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×