ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    โน๊ตไวโอลิน ( free sheet music )

    ลำดับตอนที่ #56 : การดูแลรักษาไวโอลิน (ตามคำเรียกร้อง)

    • เนื้อหานิยายตอนนี้เปิดให้อ่าน
    • 10.53K
      8
      8 พ.ค. 52

    อันนี้มาจากประสบการณ์จริงตลอด 6 ปีของเรานะคะ (ถ้าท่านอยากอ่านเพิ่มเติมจากนี้ดูที่มันเป็นแถบคลุมสีฟ้าค่ะ)

    หลังจากเล่นไวโอลินเสร็จ ต้องใช้ผ้าเย็น(ผ้านุ่มๆน่ะค่ะ) เช็ดให้ทั่วไวโอลิน จุดสำคัญที่ต้องเช็ดหนักๆคือจุดที่เราใช้โบว์สีไวโอลินนั่นเองค่ะเพรายางสนจะตกใส่บริเวณนั้นมากที่สุด หลักการเช็ดไวโอลินเช็ดด้วยผ้าแห้งๆ ห้าม!!! ห้ามใช้น้ำชุบเป็นอันขาด ห้ามนะคะห้าม เพราะมันจะไม่ดีต่อเนื้อไม้ไวโอลินของทุกๆท่าน 

    แต่ท่านจะใช้ผ้าเช็ดอย่างเดียวไม่ได้นะคะ ท่านต้องมีน้ำยาเช็ดไวโอลินโดยเฉพาะด้วย มันขวดละประมาณ 2000 กว่าบาท ระยะเวลาในการเช็ดของเราก็เดือนละครั้งโดยประมาณ ส่วนหลักการเช็ดมันมีอยู่ว่า ใช้น้อยค่อยบรรจงค่ะ เอาสำลีมาชุบกับน้ำยาแค่นิดเดียวเท่านั้น!!! แล้วเช็ดให้ทั่วไวโอลิน แล้วทุกท่านจะเห็นไวโอลินของท่านนั้นส่องประการมีออร่าเฉิดฉายเรยแหละ 55+

    แต่ที่จะลืมไม่ได้คือโบว์นะคะ ทุกครั้งหลังใช้เสร็จต้องคลายมันออกด้วย

    ต่อไปนี้จะเป็นเกร็ดเล็กๆน้อยๆนะคะ ซึ่งเราหามาจากในเน็ตเผื่อใครอยากรู้เพิ่งเติมจากนี้

    การดูแลรักษาไวโอลิน
    สิ่งสำคัญหลังการเล่นไวโอลินทุกครั้งคืออย่าปล่อยให้ผงยางสน สิ่งสกปรก และฝุ่นเกาะบนไวโอลิน ผงยางสนจะมีคุณสมบัติเป็นกรดอ่อน ๆ เมื่อทิ้งไว้นาน ๆ จะเป็นผลเสียต่อน้ำมันวานิชที่เคลือบ ส่วนผลที่มีต่อเสียงก็คือ เมื่อสิ่งสกปรกและยางสนสะสมกันนานๆ เข้า จะทำให้การสั่นสะเทือนของเสียงของไม้แผ่นหน้า (Belly) ลดลง รวมถึงเกิดคราบสกปรกสะสมสายไวโอลิน

    นักไวโอลินที่ดีควรจะหมั่นทำความสะอาดไวโอลินหลังการเล่นทุกครั้ง พยายามเช็ดคราบเหงื่อไคลและยางสนออกให้หมด ส่วนการทำความสะอาดอย่างจริงจังหรือการทำความสะอาดไวโอลินเก่าที่ค่อนข้างละเอียดอ่อนนั้น ต้องปล่อยให้เป็นหน้าที่ของผู้เชี่ยวชาญครับ ข้อสำคัญก็คืออย่าใช้น้ำยาทำความสะอาดที่มีขายทั่วไป เพราะว่าน้ำยาเหล่านี้มีส่วนผสมของตัวทำละลายและสารที่มีคุณสมบัติในการขัด ซึ่งสามารถทำลายผิวเคลือบไวโอลินได้ ควรใช้ผ้าแห้ง นุ่มๆ สะอาดๆ หรือใช้หนังชามัวส์คุณภาพดี ๆ สำหรับทำความสะอาด

    คันชัก
    - ค่อย ๆ หมุนสกรูที่โคนคั้นชักเพื่อขึ้นหางม้า แต่ระวังอย่าให้ตึงจนเกินไปนัก ให้มีระยะช่องห่างระหว่างหางม้ากับด้ามคันชักประมาณว่าสอดด้ามดินสอได้พอดี แต่ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับความชอบของแต่ละคนด้วย บางคนชอบหางม้าตึงๆ บางคนชอบหย่อน ๆ และยังขึ้นอยู่กับคุณภาพของคันชักและเทคนิคของเพลงที่เล่นด้วย เช่น การเล่น Staccato ซึ่งต้องใช้หางม้าที่มีสปริงดี ๆ ก็อาจจะต้องขึงให้ตึงกว่าปกติสักเล็กน้อย และถ้าเป็นคันชักที่ทำจากไม้คุณภาพดี ๆ ก็จะมีน้ำหนักและสปริงที่ดีตามไปด้วย ไม่จำต้องขึ้นหางม้าให้ตึงนัก

    - ก่อนเล่นให้ฝนอย่างสนแต่พอประมาณ ถือยางสนไว้ในมือซ้าย และถือคันชักไว้มือขวา วางหางม้าให้ขนานไปกับยางสนค่อยๆ ฝนยางสนขึ้นลงอย่างช้าๆ ควรเลือกใช้ยางสนที่มีคุณภาพดี ๆ มีผงละเอียด ๆ

    - หลังการเล่นทุกครั้งให้ทำความสะอาดสายและตัวไวโอลินโดยการเช็ดคราบเหงื่อไคล สิ่งสกปรก และคราบยางสนที่ตกค้าง และอย่าลืมทำความสะอาดคันชักด้วย ใช้ผ้าสะอาดเนื้อนุ่ม ๆ หรือหนังชามัวส์เช็ดทำความสะอาดก็เพียงพอแล้ว พยายามอย่าให้นิ้วมือไปสัมผัสกับหางม้า เพราะไขมันจะไปเกาะทำให้เวลาสีแล้วหางม้าไม่ค่อยกินสาย

    - ไม่ควรสัมผัสไวโอลินโดยตรง ทั้งไม้แผ่นหน้า แผ่นข้าง และแผ่นหลัง เพราะไขมันและคราบเหงื่ออาจจะไปจับตัวกับยางสนที่สะสมอยู่บนไวโอลินกลายเป็นคราบเหนียว ๆ ทำความสะอาดได้ยากและมีผลต่อการสั่นสะเทือนของเสียง ควรจับบริเวณคอ (ส่วนที่ไม่ได้ทาวานิช) กับบริเวณหางม้าและเหล็กยึดที่รองคาง

    - การวางไวโอลินในขณะที่ไม่ได้เล่นให้เก็บไว้ในกล่องเป็นดีที่สุด ถ้าวางไว้บนพื้นหรือเก้าอี้อาจจะมีใครเผลอไปเหยียบหรือนั่งทับเข้า

    เกร็ดเล็กเกร็ดน้อยเรื่องการดูแลรักษาไวโอลิน

    - อย่าวางเครื่องดนตรีหรือคันชักไว้บนเก้าอี้หรือในที่ๆ อาจมีใครนั่งทับได้ ถ้าคุณกล้าเอาไวโอลินดีๆ ไปแขวนไว้กับแสตนด์ตั้งโน้ตแล้วละก็ อัตราเสี่ยงต่อความเสียหายมีสูงมาก

    - การตัดแต่งหย่องก็เพื่อให้แรงจากสายไวโอลินถ่ายผ่านกึ่งกลางของหย่องโดยตรง ซึ่งหย่องจะเอนไปข้างหลังเล็กน้อย ถ้ามองจากด้านข้างจะเห็นได้อย่างชัดเจน เมื่อเริ่มตั้งเสียง สายไวโอลินมักจะดึงหย่องให้โน้มไปข้างหน้า นอกจากนั้นยังค่อยๆ ทำให้หย่องโค้งงออีกด้วย ลองเช็คหย่องจากมุมมองด้านบน ถ้าพบว่าหย่องเริ่มเอนไปข้างหน้า ให้ใช้นิ้วโป้งและและนิ้วชี้ของทั้งมือทั้ง 2 ข้างจับที่มุมด้านบนของหย่อง หลังจากนั้นค่อยๆ ดึงกลับมาข้างหลังไปทางหางปลาให้อยู่ในองศาที่ต้องการ หย่องที่ตัดแต่งมาดีและถูกต้องจะไม่บิดงอ

    - ควรเปลี่ยนสายทีละเส้นเพื่อป้องกันไม่ให้หย่องเคลื่อนที่ และถ้าแย่กว่านั้นอาจทำให้หย่องล้มครืนได้

    - เศษไม้ทุกชิ้นที่หลุดออกมาจากเครื่องดนตรีควรเก็บไว้ในที่ๆ ปลอดภัยและสะอาด หลังจากนั้นให้ติดกลับเข้าที่เดิมโดยช่างที่มีความชำนาญ

    - การเช็ครอยปริตามตะเข็บรอยต่อของแผ่นไม้ทำได้โดยการเคาะเบาๆ รอบๆ ขอบไวโอลิน และลองฟังเพื่อตรวจหาเสียงหึ่งๆ หรือเสียงก๊อกแก๊กว่ามีหรือไม่ ควรซ่อมรอยปรินี้โดยเร็วที่สุดเพื่อป้องกันรอยปริที่อาจลามออกไป และเพื่อป้องกันปัญหาเรื่องการรติดกาว คราบเหงื่อความมันที่อยู่ในผิวหนังของคุณอาจซึมเข้าไปอยู่ตามรอยปริทำให้ติดกาวได้ไม่สนิท

    - ถ้าพบรอยต่อบริเวณคอเปิดออก รอยแตกขนาดใหญ่ หรือรอยต่อของแผ่นไม้เปิดอ้าขึ้น ให้รีบคลายสายโดยทันที แต่ถ้าเป็นรอยแตกบริเวณซาวด์โพสท์ วิธีที่ดีที่สุดก็คือปลดซาวด์โพสท์ออกทันที

    - สำหรับไวโอลินที่คอเริ่มตก หลังจากที่เล่นเสร็จแล้วอาจใช้ลิ่มไม้ขนาดที่ตัดมาพอดีรองไว้ใต้ฟิงเกอร์บอร์ด ซึ่งไม้ชิ้นนี้สามารถป้องกันความเสียหายขั้นรุนแรงที่อาจเกิดขึ้นได้

    - พยายามพัฒนาเทคนิคการใช้คันชักให้ดีขึ้น เพื่อไม่ให้คันชักไม่ไปกระเเทกกับมุมไวโอลิน (Corner) และการเล่นเทคนิค Pizzicato ต้องไม่ให้เล็บของคุณไปขูดกับไม้แผ่นไหน้าไวโอลิน

    - โลหะและสกรูที่อยู่ด้านนอกของที่รองไหล่บางชนิดก็เป็นอีกปัญหาหนึ่งของความเสียหายที่เกิดขึ้น การติดที่รองไหล่ให้ใช้มือทั้ง 2 ข้างช่วยดัน และตรวจดูให้เเน่ใจว่าแผ่นยางรองไหล่อยู่ในสภาพดีไม่ขาดหรือฉีก 

    อ้างอิงจากhttp://cid-53b3fede74c8b749.spaces.live.com/Blog/cns!53B3FEDE74C8B749!122.entry

    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    นิยายที่ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×