ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    คลังสรุปมหากาพย์ข้อสอบTU : by. BiwTigerPisces

    ลำดับตอนที่ #70 : [Final + O-NET] 8 ข้อหลักภาษาไทย (ที่ไม่ควรพลาดแบบบ้องตื้น)

    • อัปเดตล่าสุด 7 ก.พ. 59


    [Final + O-NET] 8 ข้อหลักภาษาไทย (ที่ไม่ควรพลาดแบบบ้องตื้น)

    By. Biw TigerPisces

    สวัสดีค่ะทุกคน เสาร์อาทิตย์นี้เราต้องทำอะไรเอ่ย O-NET ที่น่ารักน่าจับตบแล้วทุ่มลงพื้นก่อนจะเททิ้งลงแม่น้ำไงล่ะ
    แล้วหลังจากนั้นล่ะ ? สอบไฟนอลครั้งสุดท้ายในชีวิตเด็กเตรียมอุดมฯ แล้ว (อย่าเพิ่งดราม่าน้ำตาไหลล่ะ)
    ดังนั้น ดิฉันก็ขอทิ้งท้ายด้วยสรุปหลักภาษาไทยที่เน้นการเอาชนะข้อสอบแนว หลักภาษา ซึ่งเป็นพาร์ทที่เราไม่ควรจะพลาดเสียคะแนนไปง่ายๆ
    โดยจะรวมแค่จุดที่คิดว่า น่าจะเป็นข้อสงสัยของคนที่ไม่ได้ถนัดวิชาภาษาไทยเข้าเส้นเลือด มารวมไว้ในนี้ค่ะ

    ***ซึ่งครั้งนี้ก็ได้รับการตรวจสอบจาก ปั๊ม ศิลป์-คำนวณ และเพื่อนๆ ในรอบสื่อ เช่นเคย ขอบคุณมากค่า (โค้ง)***

     

    1. นับ เสียงพยัญชนะต้น ให้เป็น

                เคยมั้ยคะ เจอโจทย์ให้นับเสียงพยัญชนะต้น นับไปอย่างมั่นใจ ตอบออกมา ดันผิดซะงั้น ก่อนอื่นต้องเริ่มแก้ปัญหานี้จากการขีดเส้นใต้คำว่า เสียง ย้ำๆ เลยนะคะ เพราะ การนับเสียงพยัญชนะต้นไม่ได้นับเป็น 44 ตัว (เพราะนั่นจะเป็นรูปพยัญชนะ)

                1.1 เสียงพยัญชนะต้นเดี่ยว

                หากรวมทั้งสารระบบแล้ว พยัญชนะต้น(เดี่ยว) จะมีแค่ 21 ตัวเท่านั้น ซึ่งที่มันเหลือแค่นี้ เพราะเกิดจากการจัดหมวดหมู่พยัญชนะที่มีฐานการออกเสียงเหมือนกัน ดังนี้ค่ะ

    เสียงพยัญชนะต้น เดี่ยว

    กลุ่มที่

     Team
    เสียงพยัญชนะ
    เดี่ยว

    รูปพยัญชนะ 

    ตัวพยัญชนะเดี่ยว

    ตัวพยัญชนะประสม

    ควบกล้ำไม่แท้

    อักษรนำ

     1
    2

     / ก /
    / ค /


     ข  ฃ  ค  ฆ

     

     

     

     

    3

    / ง / 

     

    หง

    4

    / จ /

    จร

     

    5

    / ช /

    ช  ฉ  ฌ

     

     

    6

    / ซ /

    ซ  ส  ศ  ษ

    ซร ทร สร ศร

     

    7

    / ย /

    ญ  ย

     

    หญ หย อย

    8
    9
    10

    / ด /
    / ต /
    / ท /

    ฎ  ด
    ฏ  ต
    ฐ  ฑ  ฒ  ถ  ท  ธ

     

     

     

     

     

     

    11
    12

    / น /
    / บ / 

    น  ณ

     

     

    หน

     

    13

    / ป / 

     

     

    14

    15

    / พ /
    / ฟ /

    ผ  พ  ภ
    ฝ  ฟ

     

     

     

     

    16

    / ม /

     

    หม

    17

    / ร /

     

    หร

    18

    / ล / 

    ล  ฬ

     

    หล

    19

    20

    21

    / ว /
    / ฮ / 
    / อ /


    ห  ฮ
     

     

     

     

     

    Credit : https://sites.google.com/site/khrucngkl/2-seiyng-phyaychna

    มีคนบอกขี้เกียจจำจังเลยโอเคค่ะ ไม่ว่ากัน ถึงเวลาจริงลองออกเสียงพยัญชนะนั้นโดยไม่คำนึงถึงเสียงวรรณยุกต์ดู ถ้ามันเหมือนกันเป๊ะ แสดงว่านับเป็นเสียงเดียวกันค่ะ

                โจทย์ : เขาเป็นคนตีระฆังจริงๆ จ้ะ จะมีเสียงพยัญชนะกี่เสียง (ไม่นับตัวซ้ำ)

                ตอบ : 5 เสียง ได้แก่ // + // + // + // + //

                เฉลยละเอียด
               
    เสียง //   =   เขา , คน , -ฆัง
                เสียง
    //   =   เป็น
                เสียง
    //   =   ตี
                เสียง
    //   =   ระ-
                เสียง //   =   จริง , จ้ะ

                  อาจจะมีคนหวีดร้องขึ้นมาว่า อ้าว แล้วเสียง ข(เขา) กับ ฆ(ฆัง) หายไปไหนล่ะ อย่าลืมสิคะว่า ข ฆ ค เวลาออกเสียงแบบไม่คำนึงวรรณยุกต์แล้ว มันก็คือเสียง // เหมือนกันเด๊ะๆ จึงนับรวมเป็นเสียงพยัญชนะได้แค่ 1 เสียงค่ะ

     

                   หรืออีกพวก ก็จะหวีดร้องว่า ตัวอักษรควบไม่แท้ อย่าง จริง ไม่ใช่เสียง /จร/ รึไง แกสามารถออกเสียงควบกล้ำคำว่า จริง แบบ กระดกลิ้น’s accent ได้ป้ะล่ะ ไม่ได้อ่ะดิ.. ก็เพราะว่าคำนี้เป็นอักษรควบไม่แท้ สุดท้ายมันก็จะออกเสียงว่า จิง’ = เสียง // เหมือนคำว่า จ้ะจึงนับรวมกันเป็นแค่ 1 เสียง

     

                     และพวกสุดท้าย ที่จะงงว่า แล้ว ตัวอักษรแบบ ห นำ หรือ อ นำ ย จะทำยังไง ..ก็จัดเข้าเป็นเสียงเดี่ยวไปเลย เช่น หนูนา ก็นับได้เสียงเดียวคือ // เพราะว่ามันไม่มีเสียง /หน/ มาหลอกหลอนในระบบหรอกนะ

     

                1.2 เสียงพยัญชนะต้นคู่ / เสียงพยัญชนะประสม = อีพวกควบกล้ำแท้ทั้งหลาย

                ที่จริงมันก็คือ ควบกล้ำแท้ นั่นแหละ (ย้ำว่า ควบกล้ำแท้เท่านั้น) พวกนี้จะถูกนับเป็น Type เสียงชนิดใหม่ เกิดเป็นเสียงอีก 1 เสียงทันที โดยมีให้นับกันใหม่อีกรอบถึง  เสียงสัญชาติไทย +  อย่างเช่นคำว่า การกราบ เสียงในที่นี้จะมี 2 เสียงคือ // , /กร/ ไม่ใช่ // ตัวเดียว

    เสียงพยัญชนะต้น คู่

    กลุ่มที่

     Team
    เสียงพยัญชนะ
    คู่

    รูปพยัญชนะ 

    ตัวอย่างคำ

    1

    2

    3

    4

    5

    6

    7

    8

    9

    10

    11

    /กร/

    /กล/

    /กว/

    /คร/

    /คล/

    /คว/

    /ตร/

    /ปร/

    /ปล/

    /พร/

    /พล/

    กร

    กล

    กว

    คร ขร

    คล ขล

    คว ขว

    ตร

    ปร

    ปล

    พร

    พล ผล

    กราบ

    กลาง

    กวาง

    ครบ ขรัว

    คลาน ขลาด

    ความ ขวาน

    ตรอง

    ปริ่ม

    ปลอม

    แพรก

    พลับ ผลัก

    12

    13

    14

    15

    16

    17

    /บร/

    /บล/

    /ดร/

    /ฟร/

    /ฟล/

    /ทร/

    บร

    บล

    ดร

    ฟร

    ฟล

    ทร

    เบรก (Break)

    บล็อก (Block)

    ดรัม (Drum)

    ฟรัง (แอร๊ยยย)

    แฟลต (Flat)

    แทรค (Track)

     

    จุดที่ต้องระวัง คือ พวกที่รูปควบกล้ำเป็น ข-/ -ผ แล้วดันควบกล้ำตัวเดียวกันอีก เช่น ขวาน-ความ จะถูกนับรวมกันเป็นเสียงเดียว คือ /คว/ , พลับ-ผลัก จะถูกนับรวมกันเป็นเสียงเดียว คือ เสียง /พล/

    ในทางกลับกัน ต่อให้เป็น ข-/ -ผ (พวกฐานเสียงพยัญชนะเดียวกันทั้งหลาย) แต่ถ้าควบกล้ำโดยคนละตัว ก็จะนับเสียงแยกกันทันที เช่น คลาน-ขวาน ก็จะนับเป็น 2 เสียง คือ /คล/ , /ขว/

                เอ่อ เริ่มงงกันแล้วใช่มะมาดูตัวอย่างโจทย์น่าจะงงน้อยกว่า

    =========================ตัวอย่างโจทย์=========================

                โจทย์ : เขาคลานเข้ามาค้าความลับเป็นของขวัญฟรีๆ มีเสียงพยัญชนะกี่เสียง (ไม่นับตัวซ้ำ)

                ตอบ : 7 เสียง ได้แก่ // , // , // , // , /คล/ , /คว/ , /ฟร/

                เฉลยละเอียด

    เสียงเดี่ยว

    เสียงคู่ (ควบกล้ำ)

    เสียง //   =   เขา , เข้า , ของ- , ค้า

    เสียง //   =   เป็น

    เสียง //   = มา

    เสียง //   = ลับ

    เสียง /คล/ = คลาน

    เสียง /คว/ = ความ , ขวัญ

    เสียง /ฟร/ = ฟรี

                ลองสังเกตจุดที่ไฮไลท์ไว้ 2 จุด

                - คำว่า ค้า , เขา , เข้า , ของ- เป็นเสียง // เหมือนกัน อย่าไปแสลนแยกเป็น // , // นะ

                - คำว่า ความ , ขวัญ เป็นเสียง /คว/ อย่าไปแสลนเพิ่มเสียง /ขว/ ขึ้นมาเชียวล่ะ!!

               

                แต่บางครั้ง โจทย์ก็ชอบแกล้งพวกที่อ่านไม่ละเอียดประจำ

                โจทย์ : เขาคลานข้ามสระมาค้าความลับเป็นของขวัญฟรีๆ มีเสียงพยัญชนะต้นเดี่ยวกี่เสียง (ไม่นับตัวซ้ำ)

                ตอบ : 5 เสียง ได้แก่ /ค/ , /ป/ , /ม/ , /ล/ , /ส/

                เฉลยละเอียด

                พอเห็นโจทย์แบบนี้ ใครที่กำลังจะนับพวกเสียงควบกล้ำนี่เบรกไว้เลยค่ะ เขาเอาแค่เสียงเดี่ยว ซึ่งก็คือ อีพวกควบกล้ำแท้ทั้งหลายหลบไปค่ะ แต่ถ้าเป็น ควบกล้ำไม่แท้ ก็ยังรอด นับเป็นเสียงพยัญชนะต้นเดี่ยวได้เหมือนกัน (นับพวกนี้ด้วยนะจ๊ะ)

    เสียงเดี่ยว

    เสียงคู่ (ควบกล้ำ) = ไม่นับ เพราะโจทย์ไม่ได้สั่งมา

    เสียง //   =   เขา , ข้าม , ของ- , ค้า

    เสียง //   =   เป็น

    เสียง //   = มา

    เสียง //   = ลับ

    เสียง //   = สระ

    เสียง /คล/ = คลาน

    เสียง /คว/ = ความ , ขวัญ

    เสียง /ฟร/ = ฟรี

                สังเกตได้ว่า คำว่า สระ ยังถือเป็น เสียงเดี่ยว = // เพราะเกิดจากการควบไม่แท้ (ใครกระดกลิ้น สร ให้เป็นควบแท้ได้บ้างป่ะล่ะ ว้าย เผลอหลุดกลายเป็น สะ-หระ ที่เป็นตัวอักษรนำซะแล้ว)



    2. นับ เสียงพยัญชนะท้าย = เสียงพยัญชนะท้ายพยางค์ = เสียงตัวสะกด ให้เป็น

                เคยเจอบ่อยๆ แหละ ที่ถามว่า พยัญชนะท้ายมีกี่ตัว พยัญชนะท้ายใดมีซ้ำกันมากที่สุด ฯลฯ ซึ่งที่จริงมันก็คือ เสียงมาตราตัวสะกดหลากแม่ที่แกท่องกันมาตั้งแต่เด็กๆ ซึ่งทุกคนก็คงท่องได้สิเนอะ แต่จุดที่ทำให้หลายคนพลาดบ่อยๆ คือ หลายครั้ง พอไม่เห็นรูปตัวสะกด ก็จะไม่มอง ไม่เหลียวแล ไม่นับ แล้วก็ออกมาผิดซะงั้น

                จำได้ไหมว่าเหล่า สระเกิน ที่ถูกตัดออกจากวงการเสียงสระมาสู่การเป็นพยางค์ พวกนี้แหละที่พิฆาตเด็กมาเป็นร้อยเป็นพันแล้ว

                อำ ไอ ใอ เอา (ไม่นับ ฤ ฤๅ ฦ ฦๅ) ไงล่ะ!!

    รูปสระ

    เสียงตัวสะกดที่ปรากฏ

    มาตรา

    อำ

    + -+

    แม่กม

    ไอ

    + -+

    แม่เกย

    ใอ

    เอา

    + -าะ +

    แม่เกอว

    ดังนั้น เมื่อเห็นพวกนี้ อย่าลืมนับมันเป็นหนึ่งใน เสียงพยัญชนะท้าย (ตัวสะกด)ด้วยล่ะ

    มาดูตัวอย่างกันดีกว่า

                โจทย์ : ทำไมกินลำไยน้ำลายยายไหลย้อยมีเสียงพยัญชนะท้ายกี่ตัว 
                ตอบ
    :  
    10 ตัว (ทุกตัวมีเสียงตัวสะกด)
                แม่กน
    : กิน
                แม่กม
    : ทำ(ทัม) , ลำ-(ลัม) ,น้ำ(นั้ม)
                แม่เกย
    : ไม(มัย) , -ไย(ยัย) , ไหล(หลัย) , ลาย, ยาย , ย้อย

     

     

    3. แยกประเภท เสียงสระ ให้เป็น

                ก่อนอื่นต้องทำความเข้าใจก่อนว่า รูปสระ กับเสียงสระ ไม่เหมือนกัน

                รูปสระจะเป็นพวกชื่อประหลาดๆ ที่เราเคยได้ยิน พวก ไม้หน้า ลากข้าง ฝนทอง ฟันหนู ฯลฯ ซึ่งข้อสอบไม่เอามาออกแน่นอน เพราะที่เขาจะเอามาออกก็คือ เสียงสระ นี่แหละ

                โดยเสียงสระจะแบ่งเป็น 3 Type ดังนี้


    ภาพขนาดเต็ม : แผนผังเสียงสระ

                ตามที่ในภาพบอกว่า เดี๋ยวนี้เขาไม่นับสระกันเกินแล้ว ดังนั้น ถ้าเห็นตัวที่สะกดด้วยพวกสระเกินนี่ก็เมินมันได้เลย

    วิธีหาสระประสม

    ให้ท่องว่า เมีย เบื่อ ผัว กวน  คำไหนที่สะกดด้วยสระหน้าตาแบบนี้ ให้นับเป็น เสียงสระประสม ทันที

               
                ..ทีนี้มาดูตัวอย่างโจทย์กัน

                โจทย์ : ข้อใดเป็นเสียงสระเดี่ยวทั้งหมด (ข้อ 5 หน้า 41 เล่มม่วง)
                ก
    . นักฟุตบอลที่ฉันโปรดปรานจะเป็นใครไม่ได้นอกจาก เดวิด เบคแฮม
                ข
    . ศึลดวลแข้งชิงความเป็นเจ้าลูกหนังโลกจบลงแล้ว แต่มันยังประทับใจเรามิรู้ลืม
                ค
    . ทีมแซมบ้าบราซิลโชว์ฟอร์มสุดยอด โดยเฉพาะเจ้าโรนัลโดที่เขี่ยบอลเข้าไปตุงตาข่ายเยอรมันถึงสองลูก
                ง
    . อีกคนที่ต้องพูดถึงในทีมบราซิล คือ โรนัลดิโญ ที่เตะลูกฟรีคิกเข้าประตูอังกฤษท่ามกลางความตกตะลึงของคนทั่วโลก

                ตอบ . เพราะว่า ข้ออื่นๆ จะมีสระประสม(สระเลื่อน) ผสมอยู่
                ข
    . ศึลดวลแข้งชิงความเป็นเจ้าลูกหนังโลกจบลงแล้ว แต่มันยังประทับใจเรามิรู้ลืม *ดวล = เสียง อัว
                ค
    . ทีมแซมบ้าบราซิลโชว์ฟอร์มสุดยอด โดยเฉพาะเจ้าโรนัลโดที่เขี่ยบอลเข้าไปตุงตาข่ายเยอรมันถึงสองลูก
                ง
    . อีกคนที่ต้องพูดถึงในทีมบราซิล คือ โรนัลดิโญ ที่เตะลูกฟรีคิกเข้าประตูอังกฤษท่ามกลางความตกตะลึงของคนทั่วโลก

                *ต่อให้ข้อ ก. มีสระเกินปะปนอยู่ เช่น นักฟุตบอลที่ฉันโปรดปรานจะเป็นใครไม่ได้นอกจาก เดวิด เบคแฮม พวกนี้ถ้าจะให้นับเสียงจริงๆ (ไม่ใช่นับรูปนะ) จะนับเป็น สระอะ >> ใคร = คร + อะ + (ไม่มี เสียงสระ ไอ เหลืออยู่ในสารระบบภาษาศาสตร์แล้ว) ซึ่งก็จัดเป็นเสียงสระเดี่ยวเช่นกัน อีกอย่าง Keyword ของการเอาชนะโจทย์ข้อนี้ คือ หาสระประสมให้เจอ แล้วเขี่ยออก ก็พอแล้ว

     

     

    4. หา สมาสจริง ให้เป็น

                นอกจากทริคที่รู้กันมาตั้งแต่สอบเข้าเตรียมฯ ว่า ถ้าให้หาคำสมาส แปลว่าก็ต้องหาทั้ง สมาส และสมาสแบบสนธิ (เพราะถ้าจะหาแค่สนธิ เดี๋ยวเขาจะสั่งเอง) พอขึ้นอยู่ระดับสอบเข้ามหาลัย การหาคำสมาสจะยิ่งอัพเกรด เพราะจะมีการเอา คำประสม / คำซ้อน ที่มองเผินๆ เหมือนจะเป็นสมาส แถมอ่านแบบสมาสเข้าไปอีก แต่ก็ไม่ใช่ มาปะปนให้งงกันเล่นเพิ่มขึ้นไปอีก

                ตัวอย่างพวก สมาสปลอม เปลือก = ไม่นับเป็นคำสมาส เช่น พระพุทธเจ้า พลเมือง พลขับ ประวัติบุคคล ราชวัง พระอู่ มูลค่า ศักดินา คุณค่า ฯลฯ ครั้นจะให้จำทั้งหมด มันก็เยอะเกินกว่าจะจำไหว ดังนั้น

    เราจึงมีทริคสังเกตการแสกนตรวจว่า คำไหนเป็นสมาสที่แท้จริงกันแน่

                คุณสมบัติคำสมาสที่แท้จริง

                1.) ประกอบด้วยคำ บาลี หรือ สันสกฤต ทั้งสองคำ
                ตัวอย่างที่ผิดกฎข้อนี้ เช่น เมรุมาศ = คำประสม เพราะว่า มาศ เป็นคำภาษาเขมร ก็บ๊ายบายจากการเป็นสมาสได้เลย , พระเก้าอี้ = คำประสม เพราะว่า เก้าอี้ เป็นคำภาษาจีน จะเอามาสามาสได้ไงยะ

                **การจะใช้ทริคในข้อนี้ จำเป็นต้องมีความรู้ในการแยกคำภาษาต่างประเทศพอสมควร ซึ่งจะมีคำบาลีสันสกฤตบางคำที่หน้าตาเหมือนคำไทย แต่ก็ยังเป็นบาลีสันสกฤต เช่น เอก โลก ชน กาย นาม (เอาไปประกอบกับคำอื่น ก็เป็นสมาสได้ เช่น เอกลักษณ์ โลกธรรม ชนนี กายภาพ)**

                2.) ต้องแปลความหมายจากหลังไปหน้าแล้วได้ใจความ
                ตัวอย่างที่ถูกต้อง เช่น
    วิศวกรรมศาสตร์ = ศาสตร์ที่เรียนเกี่ยวกับวิศวกรรม
                ตัวอย่างที่ผิดกฎข้อนี้ เช่น ประวัติบุคคล
    = บุคคลของประวัติ (???) ถึงจะเป็นคำบาลีสันสกฤตทั้งคู่แต่แปลออกมาแล้วไม่รู้เรื่องแบบนี้ ก็ขอโทษนะ หนูไม่ใช่ คำสมาส ค่ะ Go Home โลด

                3.) ความหมายของคำสองคำที่นำมาสมาสกัน ต้องไม่ใช่คำที่มีความหมายซ้ำกัน
                ตัวอย่างที่ผิดกฎข้อนี้ เช่น รูปภาพ
    = คำซ้อน ก็เป็นบาลีสันสกฤตทั้งคู่นี่  แต่ว่า เพราะคำว่า รูป กับ ภาพ มีความหมายเหมือนกันเด๊ะๆ จึงถูกจัดเป็น คำซ้อน หลุดออกจากวงโคจรของ คำสมาส ไปโดยปริยาย

                4.) ถ้าไม่รู้จริงๆ ล่ะก็ คำไหนที่เคยได้ยินในวิชาพระพุทธศาสนา ถ้าไม่ใช่คำบาลีเดี่ยวๆ หรือสันสกฤตเดี่ยวๆ มันก็จะเป็นคำสมาสทั้งหมดแหละ!!
                ตัวอย่างที่ถูกต้อง เช่น
    อิทธิบาท สังคหวัตถุ โลกธรรม พรหมวิหาร มูลบทบรรพกิจ สังคายนา
                (เพราะว่าในพุทธศาสนา จะใช้ภาษาบาลี สันสกฤต กันล้วนๆ อยู่แล้ว)

    มีพวกคำประสม คำซ้อน ที่ wanna be จะเป็นคำสมาสกันแล้ว ก็ต้องมีพวกคำสมาสที่อยากหนีความเป็นจริง อ่านแล้วดูเหมือนจะไม่ใช่ แต่ก็ยังเป็นสมาสอยู่ดี คำเหล่านั้น ได้แก่

    ตัวอย่าง : คำสมาส / สมาสสนธิ (แต่ไม่ค่อยจะอ่านแบบสมาสเท่าไหร่)

    อุณหภูมิ  ธาตุครรภ  ราตรีสวัสดิ์  สิทธิบัตร  เกตุมาลา  รสนิยม  ชาตินิยม  วรกาย  วรชายา  วรองค์  วรวิหาร  เทพธิดา
    อเนก  สตางค์ ภุชงค์  มเหสี  ทรราชย์  ทรพิษ  สารสนเทศ  สมพงศ์  สัณฐาน  สมมติ  สมภพ  สม
    …… สัง….. สัม…….
    พระบาท  พระองค์  พระโอษฐ์   พระนาสิก  พระ
    (อะไรก็ตามที่ตามด้วยคำบาลี/สันสกฤต)

    ถ้ามันออกมาเกินมากกว่านั้นแล้วแต่บุญกรรมที่สะสมในห้องเรียนของแต่ละคนแล้วล่ะค่ะ

     

    5. แยกคำไทยแท้ กับคำยืมภาษาต่างประเทศ ให้เป็น

                ข้อสอบ O-Net จะไม่ถึงขั้นโหดขนาดถามว่าอันไหนเปอร์เซีย อันไหนอาหรับ อันไหนชวา อันไหนมลายู เขาจะถามเรานิ่มๆ ประมาณว่า ข้อใดมี/ไม่มีคำยืมภาษาต่างประเทศ เหมือนจะง่าย แต่เอาจริงเขาจะชอบเอาคำต่างประเทศที่หน้าตาคล้ายไทย และคำไทยที่หน้าตาเหมือนต่างประเทศมาหลอกบ่อยๆ

    คำยืมภาษาต่างประเทศ (ที่หน้าตาคล้ายไทย)

    บาลี / สันสกฤต

    เอก โลก ชน กาย นาม ยาม(ที่แปลว่า เวลา) เวที พิธี มุกดา ประปา สบาย สำเนียง สมัย นิยม

    ประทุม ประถม ประชา ประติมา

    อังกฤษ

    เคมี สถิติ(Statistic) บ๋อย กาว(Glue) เซ็น(Sign)

    เขมร

    เด็ด เดิม เดิน จัด ชะเอม เลิก เขลา พรม เมียง ฉบับ ทอ(ด่าทอ) ติ แมก(แมกไม้) ตำรา ปรุง ละออง เกลอ ลออ กระเพาะ กรม เพลา กรวด กระบือ ประชุม เพลิง คลัง กระจอก โปรด ไพร  ประจง ประจบ

    ทมิฬ

    มาลัย

     

    คำไทยแท้ (ที่หน้าตาเหมือนต่างประเทศ แต่ก็ยังเป็นไทย)

    หญิง หญ้า ใหญ่ ระฆัง ฆ่า เฆี่ยน เศิก ศอก ศึก ธ เธอ ณ เศร้า เสภา

    ผี้ว์ ม่าห์ เยียร์ ดูกร อรชร

    ดาษดา ฝีดาษ กระดาษ กรรเช้า ครรไล

    วัง ทุน เจ้า ความ
    (ต่อไปนี้เป็นไทยแท้ที่เกิดจากการเติมพยางค์)
    กระโจน กระโดด กระทำ กระถด
    กระดุกกระดิก กระถก ประหวั่น ประท้วง ประหนึ่ง


    ถ้าจำไม่หมด? ตัดช้อยส์แล้วเลือกเอาละกันค่ะ ข้อสอบรุ่นเรายังเป็นปรนัย รอดตัวไป หึๆ

     

     

    6. โครงสร้างพยางค์ คืออะไร(วะ)?

                หัวข้อโดนใจใช่มั้ยล่ะ ..ข้อใดมีโครงสร้างพยางค์เหมือนคำนี้เจอที มึนตึ้บ อยากจะกรีดร้องร่ำไห้โปรยคะแนนข้อนั้นทิ้งไปเลย แต่ครั้งนี้ ถ้ามันถามอีก เราจะต้องไม่ตกเป็นเหยื่ออีก (ต่อให้ไม่ออกก็รู้ไว้ใช่ว่า ใส่บ่าแบกหาม ละกันเนอะ)

          การเอาชนะโจทย์ข้อที่ถามเกี่ยวกับ โครงสร้างพยางค์ ให้พิจารณาให้ครบ 4 Check ถ้าตกหล่นแม้แต่คุณสมบัติเดียว ก็ถือว่าไม่มีโครงสร้างที่เหมือนกันทันที

    Check 1

     

     

    ดู พยัญชนะต้น ว่าเป็น
    - เดี่ยว เช่น พ่อ แม่ ลูก พี่ ป้า น้า อา

    - คู่ = ควบกล้ำ เช่น แขวน ความ กราบ คลาน ปรุง

    Q : แต่ถ้าเป็น อักษรควบไม่แท้ (เช่น จริง ทราย ไซร้) หรืออักษรนำ แบบ ห นำ / อ นำ ย จะจัดเป็นอะไร?
    A : ยังไม่มีคำตอบที่ชัดเจน เพราะหนังสือหลายเล่มยังเถียงกันอยู่ว่าจะให้พวกนี้เป็นพวก เดี่ยว หรือ คู่ แต่ไม่ต้องห่วง เวลาออกข้อสอบจริงๆ เขาจะเลี่ยงการเอาคำพวกนี้มาออก ไม่ก็สร้างจุดผิดจาก Check อื่นๆ

    Check 2

    หา เสียงพยัญชนะท้าย ว่าเป็น พยางค์ปิด หรือ เปิด

    พยางค์ปิด = คำทุกตัวที่มี เสียงตัวสะกด (เช่น มัก จับ หนาว ทำ(ทัม) ใส(สัย) เรา(เราว)
                      
    **หรือ คำ ลหุ ที่ตั้งอยู่ตรงพยางค์สุดท้ายเท่านั้น ช่น ธรรมะ ซัมมะ

    พยางค์เปิด = คำที่ไม่มีเสียงตัวสะกดเลยอะไรเลย หรือถ้าอยู่ตำแหน่งสุดท้าย ก็ต้องเป็นสระเสียงยาว
                        เช่น มายา อารยา   
    **เวลาเจอในข้อสอบจริงๆ แนะนำให้เขียนพยางค์ close / open จะได้ไม่มึนเนาะ**

    เทียบให้เห็นชัดๆ
    กระทะ
    = กระ เป็นคำที่ใช้สระเสียงสั้น ไม่มีตัวสะกด ไม่ใช่พยางค์สุดท้าย จึงเป็น พยางค์เปิด
                 
    ทะ เป็นคำที่ใช้สระเสียงสั้น ไม่มีตัวสะกด แต่เพราะเป็นพยางค์สุดท้าย จึงเป็น พยางค์ปิด

    อารยา
    = อา เป็นสระเสียงยาว ไม่มีตัวสะกด เป็น พยางค์เปิด
                  ร   
    เป็นคำที่ใช้สระเสียงสั้น ไม่มีตัวสะกด และไม่ใช่พยางค์สุดท้าย จึงเป็น พยางค์เปิด
                  ยา 
    ถึงจะเป็นพยางค์ท้ายสุด แต่เพราะเป็นสระเสียงยาว ที่ไม่มีตัวสะกด จึงเป็น พยางค์เปิด

    Check 3

    ฟังเสียงสระ ว่าเป็น เสียงสั้น หรือ เสียงยาว
    โดยให้พิจารณาตามการออกเสียงจริงๆ  อย่างเช่น น้ำใจ กับ แม่น้ำ

    ถึงจะเป็นคำว่า น้ำ เหมือนกัน แต่ออกเสียงว่า น้ำใจ = นั้ม-ใจ (เสียงสั้น) / แม่น้ำ = แม่-น้าม (เสียงยาว)

    Check 4

    เสียงวรรณยุกต์ตรงกัน
    ย้ำว่า เสียง จะรูปอะไรก็ไม่สน อย่างเช่น
    วะ กับ จ๊ะ
    = เสียงตรีเหมือนกัน
    อาจ กับ ผ่าน
    = เสียงเอกเหมือนกัน

                    *ทุกขั้นตอน ต้องเทียบกันพยางค์ต่อพยางค์ สมมุติ พยางค์แรกของทั้งสองคำเหมือนกันทั้ง 5 check แต่พยางค์ที่สองของทั้งสองคำ ตกไปแม้แต่ check เดียว ก็ตัดสิทธิ์ทันที

    ตัวอย่าง

    ธรรมดา กับ ชนนี : มีโครงสร้างพยางค์เหมือนกัน เพราะว่า…..

    Check 1 : ทั้งสามพยางค์ของทั้งสองคำ เป็นพยัญชนะต้นเดี่ยว (ไม่มีคำไหนมีเสียงควบกล้ำเลย) เหมือนกัน

    Check 2 : คู่พยางค์ที่ 1 : ธรรม - ชน >>> (ถึงจะตัวนึงจะเป็น แม่กม ตัวนนึงจะเป็น แม่กน) แต่ก็เป็นพยางค์ปิดเหมือนกัน
                      คู่พยางค์ที่ 2 : (มะ) - (นะ) >>> พยางค์เปิด (ไม่มีตัวสะกดอะไรเลย) เหมือนกัน
                      คู่พยางค์ที่ 3 : ดา - นี >>> พยางค์เปิด (ไม่มีตัวสะกดอะไรเลย) เหมือนกัน

    Check 3 : คู่พยางค์ที่ 1 : ธรรม - ชน >>> ใช้สระ อะ กับ โอะ = เป็นสระเสียงสั้นทั้งคู่
                      คู่พยางค์ที่ 2 : (มะ) - (นะ) >>> ใช้สระ อะ = เป็นสระเสียงสั้นทั้งคู่
                      คู่พยางค์ที่ 3 : ดา - นี >>> ใช้สระ อา กับ อี = เป็นสระเสียงยาวทั้งคู่

    Check 4 : คู่พยางค์ที่ 1 : ธรรม - ชน >>> เสียงวรรณยุกต์ สามัญ เหมือนกัน
                      คู่พยางค์ที่ 2 : (มะ) - (นะ) >>> เสียงวรรณยุกต์ ตรี เหมือนกัน
                      คู่พยางค์ที่ 3 : ดา - นี >>>  เสียงวรรณยุกต์ สามัญ เหมือนกัน

    ผ่านทุกคุณสมบัติ คู่นี้ มีโครงสร้างพยางค์แบบเดียวกันจ้า เย้

     

    รุมสกรัม กับ วานปรัสถ์ : มีโครงสร้างพยางค์ไม่เหมือนกัน เพราะว่า…..

    Check 1 : พยางค์ที่ 1(รุม-วาน) เป็นพยัญชนะต้นเดี่ยวเหมือนกัน
                      พยางค์ที่ 2 (สะ-นะ) เป็นพยัญชนะต้นเดี่ยวเหมือนกัน
                      พยางค์ที่
    3 (กรัม-ปรัสถ์) เป็นพยัญชนะต้นคู่(ควบกล้ำ) เหมือนกัน

    Check 2 : คู่พยางค์ที่ 1 : (รุม-วาน) >>> (ถึงจะตัวนึงจะเป็น แม่กม ตัวนนึงจะเป็น แม่กน) แต่ก็เป็นพยางค์ปิดเหมือนกัน
                      คู่พยางค์ที่ 2 : (สะ-นะ) >>> พยางค์เปิด (ไม่มีตัวสะกดอะไรเลย) เหมือนกัน
                      คู่พยางค์ที่ 3 : (กรัม-ปรัสถ์) >>> พยางค์ปิดเหมือนกัน

    Check 3 : พยางค์แรก ของ คำที่ 1 : รุม >>> ใช้สระอุ และออกเสียง อุ จริงๆ จึงเป็นเสียงสั้น
                      แต่ พยางค์แรก ของ คำที่
    2 : วาน >>> ใช้สระอา และออกเสียง อา จริงๆ จึงเป็นเสียงยาว
                   
    เสียงสระสั้นยาวไม่ตรงกันในพยางค์แรก = ตกรอบทันทีค่ะ

     

                …รู้นะว่า ทำหน้าเหวอกันอยู่ว่าแบบ โอ๊ย ต้องเช็ค 5 ขั้นเลยเหรอ เยอะไปมั้ย ไม่ต้องห่วงค่ะ ถึงเวลาจริง ส่วนใหญ่มันจะเผยไต๋หลุดมาตั้งแต่จำนวนพยางค์ไม่เท่ากัน / อีนี่ควบกล้ำ อีนี่ไม่ควบเลย / อีนี่เสียงจัตวา อีนี่เสียงโท กันง่ายๆ ตัดช้อยส์แปปๆ ก็เสร็จ ได้คำตอบละ

    เสริมนิดนึง



     

    7. สำนวนภาษาต่างประเทศ

                Oh my Gosh! แค่ขึ้นหัวข้อมาก็แทบจะหวีดร้องพร้อมจิบน้ำชายัดมาการองเข้าปากพร้อมๆ กัน บางครั้งที่อ่านแล้วแบบ เอ๊ะแก มันก็ใช้คำไทยหมดนี่นา สำนวนต่างประเทศคืออะไร หรือบางที ต่อให้รู้แล้วว่าควรเลือกพวก Passive Voice (ประโยคกรรมในไทยอ่ะแหละ) แต่พอเลือกออกมาดันผิดอีก งงกันเข้าไป วันนี้ดิฉันจะมาบอกทริคการตรวจว่า ประโยคที่คุณเห็น เป็นสำนวนภาษาต่างประเทศหรือไม่

                เนื่องจากข้อสอบอย่าง O-Net (ที่ได้มาตรฐานบ้างไม่ได้มาตรฐานบ้าง) จะมีพวกถูก 80% = อาจจะมีสำนวนต่างประเทศก็จริง แต่ก็ไม่เด่นเท่าอีกข้อ ที่เด่นมาก จัดเป็นถูก 100%

                ดังนั้น วิธีสังเกตสำนวนต่างประเทศ ให้สังเกตเป็นลำดับขั้น แล้วเลือกข้อที่ดูใช้สำนวนฝรั่งจ๋ามากที่สุดไว้เป็นคำตอบสุดท้ายจะเซฟกว่า

               

    Level 1 : ดูแค่ว่า มีคำที่ฟังแล้ว ดูเยิ่นเย้อ เหมือนกำลังดูหนังฝรั่งพากย์ไทยมั้ย        

                พวกนี้ถ้าลองแปลกลับเป็นภาษาอังกฤษ จะแปลได้ง่ายมาก หรือไม่ก็ มักจะได้ยินคำพวกนี้ในหนังฝรั่งพากย์ไทยบ่อยๆ (นึกถึงพวกสารคดีสัตว์โลกก็ได้) ดังนั้น ถ้าเปิดข้อสอบมาเจอคำพวกนี้ ก็กาเป็นข้อที่ใช้สำนวนภาษาต่างประเทศได้ทันที ไม่ต้องคิดเยอะ

    สำนวนภาษาต่างประเทศ

    ตัวอย่าง

    แปลเป็นภาษาอังกฤษ

    มันเป็นเรื่องยาก/ง่ายที่จะ
    /ยากแก่การ… / ง่านแก่การ

    มันเป็นเรื่องยากที่จะสอบผ่านวิชานี้

    It’s so hard / easy to….

    มัน

    มันเป็นสิ่งที่ทุกคนต้องทำ

    It’s……..

    มันไม่มีประโยชน์ที่จะ

    มันไม่มีประโยชน์ที่จะมาอาลัยอาวรณ์ในตอนนี้

    It’s no use… Ving

    มันสายไปแล้วสำหรับการ

    มันสายไปแล้วสำหรับการให้อภัย

    It’s too late to…

    มันเป็นอะไรที่

    มันเป็นอะไรที่น่าทึ่งมากครับซาร่า

    It’s so….

    นำมาซึ่ง / สู่

    ความขยัน นำมาซึ่งความสำเร็จ

    Bring about…

    ในอนาคต….

    ในอนาคต อาเซียนกำลังจะเปิด

    In future

    เป็นเวลา

    เป็นเวลา 3 วันที่เขาเอาแต่เล่นเกมอยู่ในห้อง

    For…days

    เต็มไปด้วย

    ป่านี้เต็มไปด้วยฝูงลิง ค่าง บ่าง ชะนี

    Full of…

    พร้อมด้วย….

    พบกับศิลปินชื่อดัง พร้อมด้วยแขกรับเชิญสุดพิเศษ

    with

    ท่ามกลาง

    เขาเดินคนเดียวท่ามกลางฝูงชน

     

    อยู่ภายใต้

    Project นี้ อยู่ภายใต้การดูแลของหัวหน้าห้อง

     

    มาใน

    วันนี้เขาจะมาในบทเพลงที่แต่งขึ้นใหม่

     

    เป็นที่

    เฟอร์บี้เคยเป็นที่นิยม/สนใจในหมู่วัยรุ่น

    Be interested / popular in…

    เป็นไปได้ / เป็นไปไม่ได้

    เป็นไปได้ว่า เขาอาจจะแอบชอบแกอยู่นะ

    It’s possible… / impossible…

    ในความคิด / ความเห็น

    ในความคิดของฉัน เราควรตบนังนี่นะ

    In my opinion

    รักษาไว้ซึ่ง

    เราควรรักษาไว้ซึ่งวัฒนธรรมไทย

     

    ก่อให้เกิด / เป็นบ่อเกิดของ

    การอ่าน ก่อให้เกิดปัญญา

     

    จากการที่

    จากการที่เธอขึ้นผู้หน้าชั้นเรียน ทำให้มีคนรู้จักเธอเยอะขึ้น

    According to… / Because of…

    จำนวนตัวเลข + คำนาม

    2 สาวพากันไปปาร์ตี้ที่ริมชายหาด

    2 girls…

    เครดิต : https://www.gotoknow.org/posts/455901

                แต่ถ้ามองถึงขนาดนี้ ก็ยังเหลือช้อยส์ที่เนียนเนี๊ยนเนียนอีก (ไม่ก็ดันจำในตารางไม่ได้) ก็ให้ใช้ Level 2 ในการพิจารณาเลยค่ะ

               

    Level 2 หาประโยคกรรม แบบแม่เหล็กดึงดูด (ประจุบวกลบ / ลบบวก) = สำนวนต่างประเทศ
                หลายคนเริ่มงงว่า แม่เหล็กดึงดูด คืออะไร แล้ว ประจุบวกลบ
    / ลบบวก คืออะไร เพื่อให้ง่ายต่อการอธิบาย ก่อนอื่นให้จำลองว่า คำแต่ละคำมีอารมณ์ในตัวของมัน คำว่า ชม = ประจุบวก / ด่า = ประจุลบ

                จากนั้นก็ขอแนะนำให้ทำความรู้จักกับกริยานุเคราะห์สองตัวที่มักจะโผล่ในประโยคกรรม (Passive voice) 2 ตัว คือ

                - คำว่า ถูก นับเป็นความหมาย แง่ลบ = ประจุลบ

                - คำว่า ได้รับ นับเป็นความหมาย แง่บวก = ประจุบวก

                หลังคำว่า ถูก หรือ ได้รับ ก็จะมีกริยาตามมา ซึ่งคำที่ตามมานั้น จะเป็นความหมายบวกหรือลบก็ตาม ถ้าเกิดดันเป็นประจุที่ตรงกับคำว่า ถูก(-) หรือ ได้รับ(+) ตามหลักวิทยาศาสตร์เมื่อแม่เหล็กประจุเดียวกันอยู่ด้วยกันเป็นไงคะ ผลักกันค่ะ ก็เหมือนคนไทยที่ผลักกันเวลาจะไปซื้อรองเท้าแบรนด์ดัง (อุ๊บ) ดังนั้น เมื่อคำมันผลักกัน ก็จะกลายเป็น สำนวนไทยแท้

                แต่ในทางกลับกัน ถ้าคำสองคำมาต่อกันแล้วเป็นประจุตรงข้ามกันอยู่ด้วยกัน มันก็จะดึงดูดกัน เหมือนคนต่างชาติที่ชอบเข้าสังคม ดึงดูดกัน ดังนั้น เมื่อคำมันดึงดูดกัน ก็จะกลายเป็น สำนวนต่างประเทศ

    หรือ..ถ้าใครมึน แนะนำให้จำแค่ประโยคตัวอย่างนี่ไปสอบก็จะรอดจาก
    การแยกประโยคกรรม(ไทยแท้)
    vs ประโยคกรรม Passive voice (สำนวนต่างประเทศ) แล้วค่ะ


    ภาพขนาดเต็ม : วิธีแยกประโยคกรรมไทยแท้กับต่างประเทศ

    แต่ถ้าในข้อสอบ ไม่มีทั้งคำฝรั่งจ๋า(จาก Level 1) หรือไม่มีทั้งประโยคกรรม (จาก Level 2) ก็ได้เวลาใช้ Level 3 ละ

                

    Level 3 : ฟุ่มเฟือย = ใช้อาการนาม ทั้งๆ ที่ไม่จำเป็นต้องใช้ก็ได้

                อย่างที่เคยเขียนไปในข้อ Level 2 ว่า ถ้ามีคำฟุ่มเฟือย (พวก การ , ความ) ต่อให้เป็นประโยคกรรมที่มีประจุคำเหมือนกัน ก็จะยังจัดเป็นสำนวนต่างประเทศอยู่ดี

                ซึ่งคำว่า ใช้ทั้งๆ ที่ไม่จำเป็นต้องใช้ก็ได้ มีไว้เพื่อกันไม่ให้คนเข้าใจผิดว่า เฮ้ยแก เห็นอาการนามปุ๊บ มันคือ Ving กาแมร่งเลย บางทีก็ไม่ใช่จ้ะ การที่จะแยกแยะว่า อันไหนคือ การความที่ไม่จำเป็นต้องใช้ ให้ลองแปลงเป็นสำนวนไทยอีกที ถ้าแปลงแล้ว มันไม่ห้วน ก็แสดงว่าอีประโยคนี้เป็นสำนวนภาษาต่างประเทศจริงๆ

                *แต่ในทางกลับกัน ถ้าอันไหนลองแปลงแล้วมันห้วนเกินไป แสดงว่า การ ความ อันนั้นมันจำเป็น = ยังเป็นสำนวนไทยแท้*

                มาดูกันว่าไม้ตายขั้นสุดท้ายนี้ เป็นยังไง

    สำนวนต่างประเทศ

    สำนวนไทยแท้

    -

    การอ่าน ช่วยพัฒนาความคิด
    (ยังคงเป็นสำนวนไทยแท้  เพราะ ยังควรจะใช้คำว่า การ
    ไม่งั้นจะขึ้นว่า อ่าน ช่วยพัฒนาความคิด มันก็ห้วนเกินไป)

    ให้ตักผักแช่น้ำเย็น เพื่อหยุดการสุกของผัก

    ให้ตักผักแช่น้ำเย็น เพื่อไม่ให้ผักสุก / ผักจะได้ไม่สุก

    คณิตศาสตร์ ยากแก่การเรียน

    คณิตศาสตร์ เรียนยาก


    **ส่วนใหญ่แค่เปิดโหมดถึง Level 2 ก็ได้คำตอบแล้วล่ะ ไม่ต้องถึงขั้น Level 3 ขนาดนี้หรอก**

     

     

    8. ความหมายกว้าง , ความหมายแคบ คืออะไร(วะ) ?

                อันนี้ไม่ค่อยจะเจอกัน แต่ก็เอามาอธิบายไว้กันเหนียวก่อน เผื่อเจอ เราจะได้ไม่ตกเป็นเหยื่อง่ายๆ

              ความหมายกว้าง หรือเรียกอีกชื่อว่า ความหมายทั่วไป
                คือ
    คำที่พูดออกมา แล้วคนมักจะต่อด้วยคำว่า เช่น (เพราะมันสามารถครอบคลุมคำอื่นๆ ได้) เพื่อบรรยายคำนั้นๆ ให้เห็นภาพ มากกว่าจะให้นิยามเดี่ยวๆ
                            ตัวอย่าง
    : กีฬา เช่น ฟุตบอล บาส ว่ายน้ำ เทนนิส ฯลฯ
                                       
    เครื่องเขียน เช่น ปากกา  ดินสอ  ยางลบ  ไม้บรรทัด
                                       
    อาวุธ เช่น ดาบ มีด หอก ธนู หน้าไม้ คทา ทอนฟา บาซูก้า

              ความหมายแคบ หรือเรียกอีกชื่อว่า ความหมายเฉพาะ
                คือ
    คำที่พูดออกมา แล้วคนมักจะเลือกบรรยายนิยามของมันทันที แทนที่จะไปจำแนกย่อยมันเพิ่ม
                            ตัวอย่าง
    : ปากกา เครื่องเขียนที่ใช้หมึกในการเขียนตัวอักษร
                           

                *ตัวอย่างที่ผิด : ปากกา เป็นความหมายกว้าง เพราะสามารถจำแนกได้ไปอีก เช่น ปากกาลูกลื่น ปากกาหมึกซึม <<< ผิดแล้ว!! คิดลึกเกินไปย่ะ!!

               

     

    อื่นๆ ที่เป็นหลักภาษานอกจากนี้ เช่น การสะกดคำ , ราชาศัพท์ , คำลักษณนาม , ความหมายในแง่ตรงและนัยประหวัด , คำประสมซ้ำซ้อน ฯลฯ เป็นเรื่องที่แล้วแต่บุญเก่าแต่ละคนแล้ว คงช่วยกันได้แค่นี้

     

    ที่เหลือก็ โชคดีกับ O-Net และ Final ครั้งสุดท้ายกันนะทุกคน

    แล้วก็ตลอดสามปีที่ผ่านมา ขอบคุณมากเลยนะค้าาาาาาา (โค้งตัวงามๆ)

     

     

    แหล่งอ้างอิง

    คำปรึกษาจากอาจารย์ประจำวิชาภาษาไทยหลายๆ ท่าน (ขอบคุณอาจารย์มากๆ เลยค่ะ)

    แบบเลียนภาษาไทยจากใจครูลิลลี่

    หนังสือหลักภาษาไทย คอร์สแอดมิชชั่น : ครูพี่หมุย SociThai

    หนังสือหลักภาษาไทย อ.จงชัย เจนหัตถการกิจ

    https://www.gotoknow.org/posts/378061

    https://www.gotoknow.org/posts/455901

     

    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×