ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    Environmental News - for what's interesting!

    ลำดับตอนที่ #4 : กระแสน้ำประหลาด ณ สุดขอบโลก

    • อัปเดตล่าสุด 6 ก.พ. 55




     

    สถานที่ซึ่ง...แปลกประหลาด และลึกลับที่สุดบนโลกของเรานั้น รับรองได้ว่า “ขั้วโลกทั้งสอง” จะต้องติดอยู่ในอันดับต้น ๆ อย่างแน่นอน โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อคำว่า global warming โด่งดังไปทั่ว... โลกจึงหันกลับมามอง “ขั้วโลก” มากยิ่งขึ้น ผลก็คือได้ค้นพบสิ่งใหม่ ที่ต้องทำความเข้าใจกันไปอีกพักใหญ่ ๆ

     

    ข่าวนี้ก็เช่นกัน เพราะเป็นข่าวเกี่ยวกับก้อนน้ำจืดขนาดยักษ์ที่ขั้วโลกเหนือนั่น โดยเจ้าก้อนน้ำจืดขนาดมหึมานั้นกินพื้นที่กว่า 8000 ตารางกิโลเมตร และดันให้น้ำในบริเวณนั้นนูนขึ้นกว่า 15 เซนติเมตร(นับจากปี 2002)... ซึ่งไม่ต้องบอกก็คงทราบกันดีว่า มาจากน้ำแข็งที่ละลาย อีกทั้งมีแนวโน้มขยายตัวมากยิ่งขึ้นในแต่ละปี ดังจะเห็นได้จากคลิปด้านล่างนี้



    (กด view video มุมซ้ายบนเพื่อขยายจอ)

     

    สิ่งที่เกิดขึ้น นักวิทยาศาสตร์สันนิษฐานว่าเป็นผลจากการที่น้ำจืดเบากว่าน้ำทะเล จึงถูกกระแสลมจำเพาะถิ่นของขั้วโลกเหนือที่มีชื่อว่า “Beaufort Gyre” ซึ่งพัดวนตามเข็มนาฬิกาอยู่ตลอดเวลากักเอาไว้ที่กึ่งกลางนั่นเอง

     

     

    ภาพที่ 1.1

     

    ทว่า... ไม่ได้หมายความว่า “น้ำจืด” จะถูกกักไว้กับกระแสลม และกระแสน้ำพิสดารนั้นทั้งหมด กลับกัน...นักวิทยาศาสตร์เชื่อว่านั่นเป็นเพียงแค่ 10% ของน้ำจืดทั้งหมดในมหาสมุทร Arctic เท่านั้น โดยน้ำจืดส่วนหนึ่ง (ที่ไหลลงมาจากแม่น้ำในรัสเซีย) จะถูกกระแสลม Beaufort Gyre นี้ถ่ายโอนไปยังตอนเหนือของยุโรป ตามภาพที่ 1.1 ก่อให้เกิดความหนาวเย็นฉับพลันขึ้นมาได้

     

    หากพูดเพียงเท่านี้เราอาจจะมองว่ามันเป็นเรื่องไกลตัวจนเกินไป แต่นั่นคงเป็นความคิดที่ผิดมหันต์ เมื่อนักวิทยาศาสตร์ยังลงความเห็นกันอีกว่า “นี่เป็นเรื่องที่ซับซ้อน และอาจส่งผลกระทบมวลรวมอย่างรุนแรงได้ หากเกิดความผิดปกติกับกระแสลม-น้ำ ณ ขั้วโลกเหนือ” เริ่มจาก...

     

     

    1) จากภาพเราก็เห็นแล้วว่ามีรอยแยกขนาดใหญ่ที่ทำให้ “ลม” สัมผัสกับ “น้ำ” ได้โดยตรงมากยิ่งขึ้น ซึ่งเป็นเรื่องที่เมื่อก่อนเป็นไปไม่ได้ ดังนั้นลมอาจจะส่งผลที่รุนแรงยิ่งขึ้นอย่างที่ไม่เคยมีมาก่อนก็เป็นได้ (หรืออาจจะเป็นไปแล้ว ดูจากการยุบ-พองตัว ดังที่เห็นจากคลิปข้างบน ซึ่งมีแนวโน้มก้าวกระโดดกว่าแต่ก่อนมาก)

     

    2) แล้วถ้าหากกระแสลมดังกล่าวหมุนช้าลง หรือหยุดหมุนล่ะจะเกิดอะไรขึ้น... ? สิ่งแรกที่มั่นใจได้เลยก็คือ... น้ำจืดที่ถูกลมเก็บกักเอาไว้ก็คงกระจายออกไปทั่วมหาสมุทร Arctic แน่ ๆ หรืออย่างเลวร้ายที่สุดก็คือเข้าไปผสมปนเปกับมหาสมุทร-ทะเลอื่นด้วยก็เป็นได้

     

    ...เรื่องนี้...ถ้ามองในมุมของระบบนิเวศน์ ก็คงเกิดหายนะครั้งใหญ่กับชีวิตในมหาสมุทรแน่ ๆ และไปรบกวนกระแสน้ำปกติของมหาสมุทร Atlantic ตอนเหนือ ซึ่งจะส่งผลต่อสภาพอากาศของยุโรปเหนืออย่างรุนแรงในไม่ช้า

     

    3) ในเวลานี้มีกระแสน้ำอุ่นจากเขตร้อนไหลเวียนอยู่ด้านล่างของมหาสมุทร Arctic โดยมีชั้นของน้ำที่มีความหนาแน่นต่ำกว่าคั่นเอาไว้ไม่ให้กระทบกับภูเขาน้ำแข็งที่ผิวน้ำโดยตรง แต่หากวงจรที่ผิวน้ำขาดสะบั้นลง จะเกิดผลกับชั้นของน้ำซึ่งช่วยกันกระแสน้ำอุ่นด้านล่างไว้หรือไม่ ? นี่เป็นอีกสิ่งที่นักวิทยาศาสตร์กังวล และพยายามอย่างยิ่งที่จะสร้างแบบจำลองเพื่อคำนวณผลกระทบให้ได้ใกล้เคียงความจริงมากที่สุด

     

     

    อันเป็นเรื่องที่ต้องจับตามองกันต่อไป...

     

     

    Cryosat-2: Esa's newest radar satellite is dedicated to studying the polar regions

     

     

    ========================================

     

    Resources

     

    1. http://www.bbc.co.uk/news/science-environment-16657122

    2. http://www.globalpost.com/

                                

    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน
    นิยายแฟร์ 2024

    ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×