คืนค่าการตั้งค่าทั้งหมด
คุณแน่ใจว่าต้องการคืนค่าการตั้งค่าทั้งหมด ?
ลำดับตอนที่ #29 : No Game No Life เล่ม 1-4 เกมเอ๋ยจะซับซ้อนยิ่งขึ้นไปไย
สำนักพิมพ์: Animag
ราคาปก: 160-180 บาท
แนวเรื่อง: Adventure, Fantasy, Romance
แต่งเรื่อง: Yuu Kamiya
Illustration: Yuu Kamiya (ภรรยาน่าช่วยด้วยมั้ง)
แปล: สันตบุตร ปิยะรัตน์
สถานะปัจจุบัน: ตีพิมพ์ออกมา 6 เล่ม ยังไม่จบแล้ว ดูหน้าปกทุกเล่มที่นี่ครับ ทำเป็นอนิเมแล้ว
เรื่องย่อ: โซระและชิโระเป็นสองพี่น้องที่เล่นเกมเก่งระดับเทพ แต่ก็เป็นนีทและฮิคิโคโมริด้วย วันหนึ่งพวกเขาถูกเชิญไปที่โลกต่างมิติ ที่นั่นเป็นโลกที่ตัดสินทุกอย่างด้วยเกมไม่ว่าจะเป็นอาหาร เงินทอง หรือแม้แต่เขตแดนประเทศ! แม้จะเป็นคนไม่ได้เรื่องในความเป็นจริง แต่สองพี่น้องจะช่วยเผ่ามนุษย์ในต่างโลกให้รอดพ้นจากวิกฤติได้หรือไม่?
ความคิดเห็นหลังจากอ่านจบ: เป็นนิยายหลายคนน่าจะรู้จักอยู่แล้วเพราะเป็นเรื่องที่โด่งดังจนได้จนรับการสร้างเป็นอนิเมและมังงะ รวมทั้งยังเคยมีประเด็นร้อนในเว็บบอร์ดหลายแห่งเรื่องการดราฟงาน (ซึ่งประเด็นนี้ผมคงไม่ขอพูดถึงเพราะมีความรู้ไม่พอ) และเรื่องนี้ก็เป็นนิยายอีกที่ผมเห็นหน้าปกก็ซื้อเลย โดยไม่ได้รู้อะไรเกี่ยวกับเนื้อเรื่องอะไรข้างในเลยสักนิด
ตัดสินใจซื้อเล่มแรกเพราะน้องสาวโลลิ
เล่มอื่นก็มีฉากเซอร์วิซแหล่มๆไม่แพ้กัน
เนื้อหาของเรื่องนี้ เป็นแนวตัวเอกที่เป็นเซียนเกม ได้เดินทางมาต่างโลกที่ทุกอย่างตัดสินด้วยเกม และต้องมาช่วยเหลือเผ่าพันธุ์มนุษย์ของโลกนี้ที่กำลังลำบาก เพราะเล่นเกมเอาชนะเผ่าพันธุ์อื่นไม่ได้ (เป็นนิยายแฟนตาซีเรื่องเดียวมั้งที่แต่งให้เผ่ามนุษย์ถูกเผ่าอื่นกดขี่ เรื่องอื่นเห็นแต่จับเผ่าโน้นเผ่านี้มาเป็นทาส) ซึ่งเรื่องนี้ดำเนินเรื่องโดยยึดแก่นว่าทุกอย่างต้องตัดสินด้วยเกม และค่อยเสริมรายละเอียดทีละนิด ทำให้ผู้อ่านค่อยๆซึมซับโลกแฟนตาซีแห่งนี้ โดยไม่รู้สึกว่าถูกยัดเยียดมากเกินไป ซึ่งเป็นจุดที่ทำได้ดี แต่เรื่องนี้กลับมาข้อเสียอย่างหนึ่งก็คือตัวละครโดยเฉพาะตัวเอก
โซระกับชิโระ
โซระกับชิโระ เป็นคู่ตัวละครที่โดดเด่นที่สุดในเรื่องนี้ และเป็นคู่ตัวละครที่ผมขัดใจมากที่สุดเช่นกัน สาเหตุมาจากการลักษณะนิสัยของตัวละครที่ขัดแย้งกันมากเกินไป นิยายในยุคปัจจุบันมักจะใส่ความขัดแย้ง หรือจุดอ่อนเข้าไปในตัวละคร เพื่อทำให้ตัวละครมีมิติมากขึ้น และคนอ่านสามารถเข้าถึง (ตามความคิดผม นิยายเรื่องไหนที่ใช้ตัวเอกเป็นพวกสมบูรณ์แบบ ทำอะไรก็เก่งไปหมด หน้าตาดี จิตใจงาม บ้านรวย ตัวละครแบบนี้มันแบบราบไร้มิติ และไม่น่าสนใจครับ) ตัวละครสมัยนี้จึงมักจะมีจุดขัดแย้ง เช่นตัวละครที่ภายนอกดูเป็นนักเลงหัวไม้แต่ที่จริงแล้วเป็นพ่อบ้านรักครอบครัว หรือสาวสวยที่ดูไปแล้วสมบูรณ์แบบ แต่ที่จริงแล้วติ๊งต๊องชอบอ่านโดจิน Y แต่การใส่ความขัดแย้งให้กับตัวละครจำเป็นต้องดูความเหมาะสมด้วย ความขัดแย้งมากเกินความเหมาะสม นอกจากจะไม่ทำให้ตัวละครน่าสนใจแล้ว ยังจะเปลี่ยนตัวละครกลายเป็นผู้ป่วยทางจิตแทน ซึ่งสำหรับตัวเอกทั้งคู่นี่ผมว่าคนเขียนใส่ความแย้งมากไปจน ทำให้เสียอารมณ์ เช่นเกลียดการเข้าสังคมแต่ดันประกาศว่าเชื่อในตัวมนุษย์ ยึดติดกับชัยชนะสมบูรณ์แบบแต่กลับชอบความท้าทายซะงั้น
ผลลัพธ์จากการเล่นต่อคำในเล่มสอง
การเล่นเกมในเรื่องบางทีก็ดูขัดแย้ง บางเกมคนเขียนตั้งการแสดงถึงความฉลาดของชิโระของโซระจึงพยายามให้ทั้งคู่ชนะโดยอาศัยการอ่านเกม กับดักจิตวิทยา เพื่อหลอกให้ฝ่ายตรงข้ามเดินตามที่ตนต้องการ จนทำให้หลายครั้งเนื้อหาของเกมดูซับซ้อนเกินไปจนผมอ่านไม่สนุก เช่นเกมเป้ายิ้งฉุบเล่มแรก กับเบื้องหลังของเกมของเผ่าเงือกกับแวมไพร์ในเล่มสี่ แต่บางเกมทั้งคู่กับเอาชนะด้วยวิธีบ้าพลัง และดูเสี่ยงดวงเอามากๆ แทนที่จะพึ่งแผนการที่รัดกุมกว่านี้ อย่างเช่นเกมต่อคำกับจิบริล
ถึงแม้ว่าผมจะไม่ประทับใจตัวละครเอกของเรื่องนี้แต่กับตัวละครอื่นผมกลับชอบ ไม่ว่าจะอิสึนะโลลิหูสัตว์ จิบริลตัวละครบ้าพลัง ที่แต่ละเล่มเริ่มเสื่อมมากขึ้นเรื่อยๆ แต่ยิ่งทำให้ชอบมากยิ่งขึ้น แต่ที่ชอบมากที่สุดในเรื่องก็คงเป็นสเตฟานี่โดร่า ในการขับเน้นให้ตัวเอกมีดูฉลาดเหนือคน จำเป็นต้องมีตัวละครซื่อๆ ไม่เท่าทันคน เพื่อส่งบทให้พระเอกดูเหนือกว่า เรื่องนี้สเตฟคือคนได้บทนั้นครับใน แต่เธอกลับเพิ่มความโดดเด่นเรื่อยจนจนกลายเป็นตัวละครที่ผมชอบมากที่สุดซะงั้น ขณะที่ตัวเอกทั้งสองคนในเรื่องต่างอิ่มตัวไม่มีพัฒนาการอะไร แต่สเตฟกับเป็นตัวละครที่มีพัฒนาการและ แสดงถึงความพยายามในการพัฒนาตนเองมากที่สุด อีกทั้งตัวเอกทั้งคู่แม้จะเล่นเกมเก่งมีความรู้มาก แต่ถ้าไม่ได้สเตฟบริหารงานอยู่เบื้องหลังล่ะก็อาณาจักรคงอยู่รอดไม่ได้ เล่มแรกอาจไม่เท่าไหร่ แต่เล่มสองและเล่มสี่นี่มีฉากที่ผมประทับใจสเตฟอย่างน้อยเล่มละฉากเลยครับ แต่เดี๋ยวจะเป็นการสปอยคนที่ยังไม่อ่าน เลยไม่ขอพูดถึงครับ
สเตฟเพื่อเล่นเกมเก่งขึ้นถึงต้องเป็นสุนัขก็ยอม
ระดับความพึงพอใจ: 3.5/5 จิบริลแหล่ม สเตฟสุโค่ย
ความคิดเห็น