ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    ปั้นตัวให้เป็นเรื่อง

    ลำดับตอนที่ #18 : {สรุปกิจกรรม} **********************************

    • เนื้อหาตอนนี้เปิดให้อ่าน
    • 79
      2
      19 ส.ค. 57




    มาถึงตรงนี้ผมอยากจ่อไมค์ถามท่านผู้เข้าแข่งขันทุกคนว่า "สนุกมั้ย?"
    แต่ผมไม่กล้าจริงๆ กลัวบอกว่า "โหย เครียดมากกกกกกกกกก" 555555555
    ไม่เป็นไรครับ ตอบกันในใจนะครับ ไม่ต้องมาบอกผม ผมกลัว #สั่น

    แต่อย่างไรก็ตาม กิจกรรม "ปั้นตัวให้เป็นเรื่อง" ก็ไม่ได้จัดขึ้นเพื่อความสะใจของคนจัดกิจกรรม (เพียงอย่างเดียว) นะครับ มันก็มีประโยชน์ของมัน ซึ่งผมก็คิดมาเรื่อยๆ ว่าปัญหาในการเขียนอยู่ตรงไหนบ้าง แล้วเราจะทำยังไงกับมันได้บ้าง

    ก็ขอพื้นที่ตรงนี้เล่าไว้ (ไม่) หน่อยละกันนะครับ



    1. "เราจะเริ่มเขียนเรื่องได้ยังไง"

    มีคนจำนวนมากถามคำถามว่า "อยากเขียน" แต่ไร้ไอเดียโดยสิ้นเชิง เหมือนเวลาอยากส่งเรื่องร่วมในกิจกรรมสมาคมฯ หรือกิจกรรมอื่นนอกสมาคมฯ อยากส่งนะ แต่คิดเรื่องไม่ออก ทำไงดี????????

    คำแนะนำจากผมนะครับ คือ "ไปทำอย่างอื่นครับ"
    ซึ่งไอ้การไปทำอย่างอื่น หลายคนอาจเข้าใจว่า "ให้ไปอ่านหนังสือสินะ" เพราะเคยมีคำกล่าวทำนองว่า "การอ่านหนังสือมากๆ จะทำให้เขียนหนังสือได้" มันก็ถูกส่วนหนึ่งครับ แต่ถามต่อว่าท่านเข้าใจ "การอ่านหนังสือมากๆ จะทำให้เขียนหนังสือได้" มากแค่ไหนครับ?

    เชื่อว่าหลายคนคงคิดแค่ว่า อ่านแล้วได้คลังศัพท์นะ ได้จินตนาการต่อนะ แล้วเอามาเขียนเรื่องของเรา อะไรในเทือกเถานั้น ซึ่งมันก็ไม่ผิดครับ ถูกต้องแล้ว แต่นั่นยังไม่ใช่ทั้งหมด

    จากประโยค "การอ่านหนังสือมากๆ จะทำให้เขียนหนังสือได้" นี้ มีคำเกินมาครับ
    นั่นคือ "หนังสือ"
    เราไม่ควรอ่านแต่หนังสือ แต่เราสามารถอ่านอะไรก็ได้ ทั้งข่าว โฆษณา บทความ กระทู้ ฯลฯ อ่านซะนะครับ อ่านแล้วลองเด็ดประเด็นมา เอามาคิดต่อ ปั้นเรื่อง หรือปั้นตัวละคร แล้วจับมายำใส่กัน (เหมือนที่กิจกรรมนี้ให้ทำ) เท่านี้ก็จะได้โครงเรื่องมาแล้วส่วนหนึ่ง

    ทั้งนี้ขอขอบพระคุณไอเดียส่วนนี้จากหนังสือ "ยาแก้สมองผูกตราควายบิน" โดย วินทร์ เลียววาริณ มา ณ โอกาสนี้ที่ช่วยให้ผมได้คำอธิบายและกรณีตัวอย่างอย่างเป็นรูปธรรมมากขึ้น -/|-)
    ตัวอย่างการใช้วิธี "ปะติด" ประเด็น หรือการยำเรื่องใส่กัน ลองอ่านได้ที่ตัวอย่างของเล่มนี้เลยครับ
    >> http://winbookclub.com/productimg/1300883454.pdf



    2. เรามักคิดตามขนบ

    "ขนบ" คือ แบบอย่าง หรือ แบบแผน
    ทำอะไรกันมาก็ทำกันต่อไป

    และหากเราทำอะไรเหมือนๆ กัน
    ต่อไปมันจะไม่มีอะไรที่ถูกสร้างสรรค์ขึ้นใหม่เลย

    แต่ละคนอ่านหนังสือไม่เหมือนกัน และเมื่ออ่านก็จะถูกความคิดหนึ่งครอบไว้ ความคิดนั้นคือแนวคิดที่ได้จากหนังสือ ยิ่งถ้าเราอ่านน้อย อ่านจำนวนไม่กี่เรื่อง ไม่กี่เล่ม ไม่กี่หมวด ไม่กี่แนว และไม่ตั้งข้อสงสัย เราก็จะดำเนินตามสิ่งที่ครอบหัวเรานั้นไป โดยที่เราเองอาจรู้ตัวหรือไม่รู้ตัว ครอบไปเรื่อยจนกระทั่งเราผลิตงานเขียนออกมา

    นอกจากเรื่องงานเขียน ในชีวิตประจำวันเราก็เกิดเรื่องแบบนี้เหมือนกัน
    เคยสงสัยมั้ยว่าทำไมท้องฟ้าถึงเป็นสีฟ้า? (ลองไปหาใน google ดูครับ) หม้อหุงข้าวมันรู้ได้ยังไงว่ามันจะเด้งตอนไหน แล้วทำไมตอนต้มแต่น้ำเปล่าๆ มันถึงไม่เด้ง? (หาใน google ได้เช่นกัน) ทำไมเวลาเรานั่งอยู่สถานที่ "นี้" แบตมือถือมันหมดไวทั้งที่เราก็ใช้งานมันเท่าเดิม?
    หรือคำถามอื่นๆ

    แน่นอนหากเป็นเรื่องเชิงความรู้และวิชาการ มันสามารถหาคำตอบที่ตายตัวได้ เพียงจิ้มข้อความลงในอากู๋ จากนั้นสารพัดเว็บที่มีคำตอบก็จะเด้งขึ้นมา (หากใช้คำค้นเหมาะสม)

    แต่หากเป็นคำถามนอกกรอบอื่นๆ ที่ไม่มีคนตอบได้ล่ะ? หรือหากเราลองคิดต่อยอดอีกหน่อยโดยไม่พึ่งคำตอบตายตัวจากข้อมูลในเว็บที่ค้นได้จากเสิร์ชเอนจิ้นล่ะ?

    ...

    ท้องฟ้ามันอาจเป็นสีฟ้าเพราะมีใครสักคนที่ตัวใหญ่มากๆ ใหญ่กว่าโลก ทำสีหกใส่เมื่อนานมาแล้ว แล้วหากไม่เป็นสีฟ้ามันก็อาจจะเป็นสีเขียวก็ได้ ถ้ามีอีกคนมาทำสีหกใส่ หรือแท้จริงแล้วโลกนี้ลอยอยู่ในแหล่งน้ำที่ใหญ่มากๆ เรื่องที่เราเข้าใจมาตลอดนั้นนาซ่าก็แค่กุเรื่องขึ้นมาหลอกคนทั้งโลก

    แบตมือถือจะหมดไว ในเฉพาะบริเวณนั้นๆ เพราะที่ตรงนั้นมีการทดสอบการยิงคลื่นสัญญาณมาจากนอกโลก จากมนุษย์ดาวอังคารผู้ล่องหน มาทับซ้อนกับสัญญาณมือถือจากเสาสัญญาณพอดี โทรศัพท์เลยเกิดการรวน ไม่รู้จะเลือกสัญญาณจากไหน เลยทำให้มีการสลับใช้สัญญาณจนแบตเตอรี่โดนสูบพลังงานไปมาก และจากการวิจัยของมนุษย์ต่างดาวก็พบว่า หากตัดสัญญาณโทรศัพท์ไป มนุษย์จะทุรนทุรายอย่างรวดเร็วเสียยิ่งกว่าไฟดับ

    หรืออื่นๆ

    ซึ่งการจะด้นเรื่องนอกเส้นทางตามขนบขึ้นมาได้ หากเรายังคิดว่าตัวเองไม่มีความคิดแปลกพอหรือสร้างสรรค์พอ ให้ลองเอาหลายๆอย่างมายำกันเล่นๆ ดูครับ (เหมือนที่จัดในกิจกรรมนี้) ประเด็นไหนยากหรือทำให้มันเข้ากันไม่ได้ก็ตัดออกไป (แต่ในกิจกรรมนี้ทำไม่ได้ ขอโทษด้วยครับ 555555555) แต่หากมโนไปเรื่อยๆ จนเรื่องไกลจากจุดเริ่มต้นแล้ว เราก็จะไปต่อได้เอง โดยสามารถสลัดทิ้งต้นตอของไอเดียอย่างประเด็นจากข่าว โฆษณา บทความ อะไรพวกนี้ออกไปได้เลย

    แล้วเรื่องราวก็ดำเนินไป
    เรื่องไหนหลุดโลกเกินจนเขียนไม่ได้หรือไม่เหมาะที่จะเขียน ท่านก็ลองดัดแปลงเอาตามสะดวก ตามชอบใจ ตามถนัดเลย

    ผมยังคงคิดเสมอว่า การสงสัยแล้วคิดต่อไปเป็นจุดเริ่มต้นที่ดีในงานเขียน

    หากเราไม่สงสัย ไม่ลองออกนอกเส้นทางแห่งขนบ ก็จะเกิดคำถามวนเวียนเวียนวนกันมานานนมว่า "ทำไมเรื่องของเรามันดูกลืนๆ ไปกับของคนอื่นฟระ" เราอาจคิดแบบนี้ในส่วนเสี้ยวหนึ่งในใจก็ได้

    เรื่องที่มี "ภาพรวม" เหมือนกันเรื่องอื่นๆ ล้วนถูกตัดสินไปไว้หมวดเดียวกัน คนอ่านก็จะบอกว่า "อ๋อ เรื่องแนว xxxxxxxxx นี่เอง ก็เหมือนๆ กันล่ะ ดูสิ เหมือนเรื่อง yyyyyyyyy นั้นเลย" ทั้งที่ภายในเรื่องของท่านอาจมีจุดเด่นจุดต่างยิบย่อย (แน่นอน ถ้าไม่ต่างคนอื่นแม้แต่น้อยท่านก็ก็อปมาล่ะครับ =v=) แต่ถ้ามันย่อยมาก จนไม่โดดเด่น เรื่องของท่านก็จะถูกตัดสินให้เหมือนกับเรื่องนั้นเรื่องนี้ แนวเรื่องเหมือนเรื่องโน้นเรื่องนี้อยู่ดี

    เพื่อการแก้ปัญหานั้น ผมแนะนำให้ท่านลองเลิกทำตามขนบ คิดเรื่องเส้นตรง ลองเล่นปะติดดูบ้าง จับนี่ลองไปผสมนู่นดู ดีมั้ย เหมือนเวลาจัดชุดสีสำหรับจัดโทนลงสีภาพ เขียวกับแดงเจอกันไม่สวยเลย แต่ถ้าเอาเหลืองมาใส่ด้วยก็จะเป็นชุดสีที่ดีนะครับ ลองดูนะครับ =v=)b



    3. มีไอเดียมากมายซ่อนอยู่ในโลกนี้ แต่เราหากันไม่เจอ

    ก็วนกลับไปเรื่องเดิมครับ เรื่องลอง "ปะติด" ประเด็นจากหลากหลายแหล่งดู อาจได้เรื่องดีๆ ขึ้นมาก็ได้ ถ้าเขียนไม่ออกก็ไม่ควรจมกับสิ่งนั้นๆ ให้ออกไปข้างนอก ซึ่ง "ข้างนอก" ที่ว่านี่ผมหมายถึง นอกความคิดตัวเอง นอกเหนือจากเรื่องที่จะเขียน ไอเดียอาจอยู่ในเว็บ National Geographic อาจอยู่ในเว็บข่าวไทยรัฐ อาจอยู่ในโฆษณาวิกซ์วาโปรับ อาจอยู่ในรูปถ่ายทุ่งนาที่เป็นเฮดโปรไฟล์เพื่อนในเฟซ ก็เป็นได้

    เราคนเขียน มีสิทธิ์อยากเขียนในสิ่งที่อ่าน สมมติอ่านแนวสงคราม แล้วรู้สึกว่า "เฮ้ย วางแผนกันเจ๋งมาก มันส์ดี อยากเขียนแบบนี้บ้าง" แน่นอนท่านก็มีสิทธิ์เขียนขึ้นมาได้ครับ แต่ท่านจะเขียนแค่นั้นจริงๆ หรือ? แบบนี้ท่านก็อาจจะเขียนออกมาเหมือนกับเล่มที่ท่านอ่านก็ได้ มากสุดก็ไปยำไอเดียจากเล่มอื่นหรือนิยายแนวอื่นมา

    แต่ก็ถามซ้ำครับ ว่าแค่นั้นพอหรือ?

    อยากให้ลองคิดเยอะๆ เราแค่จับสิ่งที่เราเคยอ่านมายำกันแค่นั้นหรือเปล่า เราเคยริเริ่มอะไรแนวๆ แปลกๆ เองมั้ย

    ผู้ที่เริ่มต้นบุกเบิกหนังสือแต่ละแนวในแต่ละยุคสมัย เค้าคิดอะไร ทำไมถึงเขียนเรื่องแนวนั้นขึ้นมา ทั้งผู้บุกเบิกนิยายโรงเรียน ผู้บุกเบิกนิยายโรมานซ์แวมไพร์ ผู้บุกเบิกนิยายออนไลน์ ทำไมคนที่เริ่มต้นเขียนออนไลน์เค้าไม่เขียนแฟนตาซีเจ้าชายฆ่าปีศาจเหมือนที่ผ่านๆ มา?

    นั่นสิครับ ผมเองก็สงสัยเหมือนกัน
    แบบนี้คงต้องลองคิดอะไรใหม่ๆดูบ้างแล้ว แต่ถ้าคิดขึ้นมาลุ่นๆ เลยว่า "เออ ฉันจะคิดอะไรแปลกใหม่นะ" มันคงไม่ง่ายเลย คงต้องลอง "ปะติด" ดูแล้ว อาจมีสักแนวหรือสักอย่างที่ใช่สำหรับท่าน/สำหรับผมก็ได้นะครับ * - *)







    บ่นมาไกล อาจมีประโยชน์บ้าง ไร้สาระบ้าง แต่อย่างน้อยก็ยินดียิ่งที่ท่านอ่านจนจบ และจะดีมากหากได้อะไรสักอย่างกลับไปนะครับ ผมตั้งใจจะเขียนแบบนี้มาตั้งแต่คิดกิจกรรมแล้ว หากมีประเด็นไหนงงก็แวะเวียนมาถามกันได้ หรือหากใครได้ประโยชน์อื่นๆ อะไร ก็มาบอกเล่ากันได้นะครับ ผมจะดีใจมากๆเลย _(:3 J z )_

    พบกันกิจกรรมหน้าครับ
    ไว้มาฝึกด้วยกันอีกนะ!





    -ประธานเซ-




    ปล. ข้อวิจารณ์ที่ให้มาลงคอมเม้นท์กันนั้นก็เพื่อให้เก็บไปปรับปรุงนะครับ
    ใครอยากลงคอมเม้นท์เพิ่มก็เชิญเต็มที่เลย

    กิจกรรมนี้อาจติดขัดรายทางเพราะทุกคนต่างมีภารกิจ ผมเลยพยายามจัดกิจกรรมให้มีงานที่ต้องทำน้อยยยยยยที่สุดเท่าที่จะทำได้ (หากน้อยกว่านี้ก็อาจต้องเลิกจัดแล้วล่ะครับ ; - ;) หากผิดพลาดประการใด ก็ขออภัยด้วยครับ งวดหน้าจะจัดต่อไปให้ดี และมีประโยชน์ที่สุดเท่าที่ผมจะสามารถทำได้






    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    นิยายที่ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×