ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    กฎหมายต่างๆ

    ลำดับตอนที่ #1 : การมอบอำนาจให้ฟ้องคดี

    • เนื้อหาตอนนี้เปิดให้อ่าน
    • 1.58K
      0
      22 ก.พ. 50


    การมอบอำนาจให้ฟ้องคดี

    ก) ต้วการตั้งตัวแทนให้ฟ้องคดีได้ทุกเรื่อง แม้จะเป็นคดีอาญาก็ตาม
    - ตัวการตั้งตัวแทนให้มาสู้คดีในศาลได้
    - ตัวการจะตั้งตัวแทนมาเบิกความในศาลไม่ได้ เป็นเรื่องเฉพาะตัว
    - ต้องมีการมอบหมายกันโดยเฉพาะ ไม่ใช่อำนาจตัวแทนอย่างทั่วไป
    - อย่าสับสนกับผู้แทนของนิติบุคคลซึ่งฟ้องคดีได้โดยไม่ต้องรับมอบ
    อำนาจจากนิติบุคคลนั้นอีก
    ข) ตัวแทนรับมอบอำนาจให้ฟ้องคดีย่อมมีอำนาจลงชื่อในฟ้องได้ และสามารถ ลงชื่อตั้งทนายความเพื่อให้ฟ้องคดีได้
    ค) ตัวแทนรับมอบอำนาจให้ฟ้องคดีว่าความอย่างทนายไม่ได้
    ป.วิ.พ. ม.? วรรคสองถ้าคู่ความหรือผู้แทนโดยชอบธรรม หรือผู้แทนดั่งที่ได้ กล่าวมาแล้วทำหนังสือมอบอำนาจให้บุคคลใดเป็นผู้แทนตนในคดี ผู้รับมอบอำนาจ เช่นว่านั้น จะว่าความอย่างทนายความไม่ได้ แต่ย่อมตั้งทนายความเพื่อดำเนิน กระบวนพิจารณาได้
    2) ต้องรายงานกิจการให้ตัวการทราบ หากตัวการมีความประสงค์ที่จะ ทราบความเป็นไป ตาม ม. 809
    3) ต้องส่งมอบทรัพย์สินหรือประโยชน์ให้แก่ตัวการ
    ม. 810 “เงินและทรัพย์สินอย่างอื่นบรรดาที่ตัวแทนได้รับไว้เกี่ยวด้วย การเป็นตัวแทนนั้น ท่านว่าตัวแทนต้องส่งให้แก่ตัวการจงสิ้น
    อนึ่ง สิทธิทั้งหลายซึ่งตัวแทนขวนขวายได้มาในนามของตนเองแต่โดยฐานะ ที่ทำการแทนตัวการนั้น ท่านว่าตัวแทนต้องส่งให้แก่ตัวการจงสิ้น
    4) ต้องเสียดอกเบี้ยให้ตัวการหากนำเงินของตัวการไปใช้
    ม. 811 “ถ้าตัวแทนเอาเงินซึ่งควรได้ส่งแก่ตัวการ หรือซึ่งควรใช้ในกิจ ของตัวการนั้นไปใช้สอยเป็นประโยชน์ตนเสีย ท่านว่าตัวแทนต้องเสียดอกเบี้ยในเงิน นับแต่วันที่เอาไปใช้” (ถ้าไม่ได้กำหนดไว้ ตาม ม. 7 ร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปี)
    5) ต้องร่วมกันทำงานกับตัวแทนคนอื่น ตาม ม. 804
    6) ต้องแจ้งให้ตัวการทราบและให้ความยินยอมหากตัวแทนจะเข้าทำ นิติกรรมกับตัวการในนามของตนเอง หรือในฐานะตัวแทนของบุคคลภายนอก
    ม. 805 “ตัวแทนนั้น เมื่อไม่ได้รับความยินยอมของตัวการจะเข้าทำ นิติกรรมอันใดในนามของตัวการทำกับตนเองในนามของตนเอง หรือในฐานะเป็นตัว แทนของบุคคลภายนอกหาได้ไม่ เว้นแต่นิติกรรมนั้นมีเฉพาะแต่การชำระหนี้
    7) ต้องดูแลทรัพย์สินที่ตัวการมอบไว้ให้
    ม. 807 วรรคสอง อนึ่ง บทบัญญัติมาตรา 659 ว่าด้วยเรื่องฝากทรัพย์ นั้น ท่านให้นำมาใช้โดยอนุโลมตามควร
    ม. 659 “ถ้าการรับฝากทรัพย์เป็นการทำให้เปล่าไม่มีบำเหน็จไซร้ ท่านว่าผู้รับฝากจำต้องใช้ความระมัดระวังสงวนทรัพย์สินซึ่งฝากนั้นเหมือนเช่นเคย ประพฤติในกิจการของตนเอง
    ถ้าการรับฝากนั้นมีบำเหน็จค่าฝาก ท่านว่าผู้รับฝากจำต้องใช้ความ ระมัดระวังและใช้ฝีมือเพื่อสงวนทรัพย์สินนั้นเหมือนเช่นวิญญูชนจะพึงประพฤติโดย พฤติการณ์ดั่งนั้น ทั้งนี้ย่อมรวมทั้งการใช้ฝีมืออันพิเศษเฉพาะการในที่จะพึงใช้ฝีมือ เช่นนั้นด้วย
    8) ต้องแถลงบัญชีให้ตัวการทราบเมื่อสัญญาตัวแทนสิ้นสุดลง ตาม ม.809

    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    นิยายที่ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×