26 มกราคม 2536 วันที่ดาวอยู่แนวเส้นตรงเดียวกัน - 26 มกราคม 2536 วันที่ดาวอยู่แนวเส้นตรงเดียวกัน นิยาย 26 มกราคม 2536 วันที่ดาวอยู่แนวเส้นตรงเดียวกัน : Dek-D.com - Writer

    26 มกราคม 2536 วันที่ดาวอยู่แนวเส้นตรงเดียวกัน

    โดย FioRaNo

    ผู้เข้าชมรวม

    837

    ผู้เข้าชมเดือนนี้

    1

    ผู้เข้าชมรวม


    837

    ความคิดเห็น


    0

    คนติดตาม


    0
    เรื่องสั้น
    อัปเดตล่าสุด :  12 พ.ค. 50 / 13:53 น.


    ข้อมูลเบื้องต้นของเรื่องนี้
    ตั้งค่าการอ่าน

    ค่าเริ่มต้น

    • เลื่อนอัตโนมัติ
       
      วันที่ดาวอยู่แนวเส้นตรงเดียวกัน

      สุริยจักรวาลของเรามีลักษณะกลมแบนคล้ายจาน เพราะวงโคจรของดาวนพเคราะห์ทั้ง 9 ดวงรอบดวงอาทิตย์แทบจะอยู่ในระนาบเดียวกัน เช่น ระนาบโคจรของโลกกับดาวพฤหัสบดีโดยเฉลี่ยแล้วเอียงทำมุม 0.37 องศากันและกัน ระนาบการโคจรของดาวเกตุ (Neptune) เอียงทำมุม 0.66 องศากับระนาบการโคจรของโลก และโดยเฉลี่ยแล้วระนาบการโคจรของดาวเคราะห์ทุกดวงเอียงทำมุม 7.25 องศากับแนวเส้นศูนย์สูตรของดวงอาทิตย์
      ก็ในเมื่อธรรมชาติเป็นเช่นนี้ เหตุการณ์ที่ดาวเคราะห์ต่างๆ จะโคจรมาเรียงตัวอยู่ในแนวเส้นตรงเดียวกันในบางขณะ จึงต้องเกิดขึ้นอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้
      ในสมัยโบราณเวลาเกิดสุริยุปราคาหรือจันทรุปราคา ผู้คนจะตระหนกตกใจ บางคนจะตีกลองและส่งเสียงดัง ชนบางเผ่าจะฆ่าสัตว์เพื่อทำพิธีบูชายัญ คนบางเผ่าจะสวดมนต์บวงสรวงของความกรุณาปราณีจากเทพเจ้าเป็นต้น
      ในปัจจุบันความรู้สึกตื่นกลัวดังที่กล่าวมานี้ แทบจะไม่ปรากฏให้เราๆ ได้เห็นอีกแล้ว
      เพราะเราเข้าใจสาเหตุการเกิดเหตุการณ์เหล่านั้น อย่างแจ่มแจ้งแล้ว
      ดวงจันทร์ซึ่งเป็นดาวบริวารดวงเดียว ของโลกใช้เวลาประมาณ 1 เดือน ในการโคจรรอบโลกครบ 1 รอบ ดังนั้นในทุกๆ เดือน ดวงจันทร์จะโคจรตัดหน้าดาวเคราะห์ทุกดวงหนึ่งครั้ง และในบางครั้งมันก็โคจรผ่านใกล้ดาวฤกษ์ เช่น เมื่อวันที่ 13 พฤษภาคม พ.ศ.2536 ดวงจันทร์โคจรตัดหน้าดาว Spica และเมื่อวันที่ 13 มิถุนายนปีเดียวกัน มันผ่านหน้าดาว Antares แต่จะอย่างไรก็ตามการโคจรของดวงจันทร์ผ่านดาวฤกษ์ก็ไม่ตื่นเต้นเท่ากับการที่ดาวเคราะห์ต่างๆ โคจรมาเรียงตัวในแนวเส้นตรงเดียวกัน
      ดาวมฤตยู (Uranus) นั้นโคจรรอบดวงอาทิตย์ด้วยความเร็วสูงกว่าดาวเกตุ และขณะนี้ดาวมฤตยูก็กำลังไล่กวดดาวเกตุอยู่ และเมื่อถึงวันที่ 26 มกราคม พ.ศ. 2536 ดาวมฤตยู ดาวเกตุและโลกจะเรียงตัวอยู่ในแนวเส้นตรงเดียวกัน หลังจากที่ได้เคยเข้าแถวหน้ากระดานทำนองนี้ ครั้งสุดท้ายเมื่อ 171 ปีก่อนนี้
      William Herschel นักดาราศาสตร์สมัครเล่นชาวอเมริกัน เป็นคนแรกที่เห็นดาวมฤตยูเมื่อปี พ.ศ. 2424 ดาวดวงนี้มีสีน้ำเงินแกมเขียว มีขนาดใหญ่กว่าโลกราว 64 เท่า มันโคจรรอบดวงอาทิตย์หนึ่งรอบโดยใช้เวลานาน 84 ปี เวลา 1 วันบนดาวดวงนี้นาน 17 ชม. ดาวมฤตยูมีดวงจันทร์เป็นบริวารถึง 15 ดวง และมีวงแหวนล้อมรอบ 11 วง วงแหวนประกอบด้วยก้อนน้ำแข็งที่โคจรรอบดาวทุกๆ 8 ชั่วโมง นักดาราศาสตร์สันนิษฐานว่า วงแหวนนี้ประกอบด้วย ซากดวงจันทร์ของดาวมฤตยูที่ยังหลงเหลืออยู่ เมื่อดวงจันทร์ถูกอุกกาบาตชนจนแตกละเอียด ดาวมฤตยูหมุนรอบตัวเองโดยมีแกนหมุนชี้ในระนาบวงโคจร ซึ่งแตกต่างจากดาวเคราะห์ดวงอื่นๆ ที่มีแกนหมุน ตั้งฉากกับระนาบการโคจร บรรยากาศของดาวดวงนี้มีไฮโดรเจน ฮีเลียม และมีเทน
      ส่วนดาวเกตุนั้นมีสีน้ำเงินเข้มกว่าดาวมฤตยู แต่พอมีขนาดพอๆ กันจึงทำให้ดูเหมือนกับว่าดาวทั้งสองเป็นดาวแฝด ในบางขณะดาวเกตุเป็นดาวดวงที่อยู่ไกลที่สุดของสุริยจักรวาล นักดาราศาสตร์ชาวเยอรมันชื่อ Johann Galle เป็นคนแรกที่เห็นดาวดวงนี้เมื่อปี พ.ศ. 2389 เวลา 1 ปีบนดาวดวงนี้นานเท่ากับ 165 ปีบนโลก และ 1 วัน บนดาวเกตุนาน 16 ชั่วโมง ดาวเกตุมีวงแหวนล้อมรอบ 5 วง ดวงจันทร์ที่ชื่อ Nereid ของดาวเกตุ มีอุณหภูมิเย็นจัดที่สุดของสุริยจักรวาล บรรยากาศของดาวเกตุมีเมฆที่ประกอบด้วยแก๊สมีเทน
      คุณผู้อ่านรู้จักดาวทั้งสองแล้ว กรุณาติดตามดูด้วยกล้องส่องทางไกลในวันที่ 26 มกราคมของปีหน้า เพราะหากเปล่าเห็นเหตุการณ์ครั้งนี้แล้ว คุณคงจะต้องคอยอีกนาน 200 ปี คือต้องเกิดอีก 5 ชาติ จึงจะมีโอกาสเห็นอีกครับ

      ที่มา : ดร.สุทัศน์ ยกส้าน
      สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.)

      นิยายที่ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

      loading
      กำลังโหลด...

      คำนิยม Top

      ยังไม่มีคำนิยมของเรื่องนี้

      คำนิยมล่าสุด

      ยังไม่มีคำนิยมของเรื่องนี้

      ความคิดเห็น

      ×