ดอยตุงสราญ เบิกบานชนเผ่า ภาม 1 - ดอยตุงสราญ เบิกบานชนเผ่า ภาม 1 นิยาย ดอยตุงสราญ เบิกบานชนเผ่า ภาม 1 : Dek-D.com - Writer

    ดอยตุงสราญ เบิกบานชนเผ่า ภาม 1

    ดอยตุงสราญ เบิกบานชนเผ่า

    ผู้เข้าชมรวม

    760

    ผู้เข้าชมเดือนนี้

    1

    ผู้เข้าชมรวม


    760

    ความคิดเห็น


    0

    คนติดตาม


    0
    เรื่องสั้น
    อัปเดตล่าสุด :  13 มี.ค. 50 / 18:27 น.


    ข้อมูลเบื้องต้นของเรื่องนี้
    ตั้งค่าการอ่าน

    ค่าเริ่มต้น

    • เลื่อนอัตโนมัติ
      ดอยตุงสราญ เบิกบานชนเผ่า



      ผมมีโอกาสแวะเวียนไปดอยตุงหลายครั้ง แต่ยังไม่มีโอกาสพักแรมบนดอยตุงสักที จนเมื่อต้นปีนี้ ได้พักรีสอร์ทที่เคยเป็นบ้านพักข้าราชบริพารในสมเด็จย่า ชื่อว่า "ดอยตุง ลอดจ์" หรือ "บ้านต้นน้ำ"

      นามนี้มีความหมายมาก เพราะดอยตุงเป็นแหล่งต้นน้ำชั้นเยี่ยมของล้านนา เป็นต้นธารของแม่น้ำหลายสาย แต่ในอดีตผืนป่าดอยตุงถูกทำลายจากการปลูกฝิ่นและทำไร่เลื่อนลอย ทำให้เกิดโครงการพัฒนาดอยตุง และ "พระตำหนักดอยตุง" ที่ประทับแปรพระราชฐานเพื่อทรงงานของสมเด็จย่า จนถึงกับรับสั่งว่า "ฉันจะไม่สร้างบ้านที่นี่ ถ้าไม่มีโครงการพัฒนาดอยตุง"

      กิจกรรมพิเศษอันมีความหมายยิ่งที่ "บ้านต้นน้ำ" คือ การแสดงของชนเผ่าต่างๆ ในเชียงราย ที่มีมากกว่า 30 ชนเผ่า แม้ค่ำคืนนั้นจะมีตัวแทนมาเพียง 3 ชนเผ่า คือ อาข่า ไทยใหญ่ และ ลัวะ แต่ที่พิเศษสุดคือเรามักชมการแสดงของ "ชาวเขา" ที่แสดงโดย "ชาวเรา" ทว่า นี่คือชนเผ่าตัวจริงเสียงจริงมาแสดงให้เราชม พวกเขาทั้งหมดเป็นชนเผ่าที่ทำงานในโครงการพัฒนาดอยตุง โดยเฉพาะเด็กๆ นักแสดงทุกคน ได้รับการศึกษาเหมือนเด็กไทยทั่วไป แต่ที่น่ายินดีคือพวกเขายังไม่ทิ้งขนบประเพณีในการแต่งกายและร่ายรำอันเป็นเอกลักษณ์ของเผ่าตน

      ที่ผมสนใจเป็นพิเศษ คือ ชาวลัวะ ซึ่งเราไม่ค่อยพบเห็นตามงานเทศกาลต่างๆ เพราะเป็นชนเผ่าเล็ก อีกทั้งสีสันการแต่งกายอาจไม่เป็นที่ดึงดูดความสนใจเท่าเผ่าอื่น ทว่า หากย้อนไปในประวัติศาสตร์ ชาวลัวะคือชนเผ่าดั้งเดิมในดินแดนนี้ ก่อนที่พ่อขุนเม็งรายมหาราชจะสถาปนาอาณาจักรล้านนาเชียงใหม่ เมื่อ 700 ปีก่อนเสียอีก ร่องรอยอารยธรรมที่ชาวลัวะทิ้งไว้ โดยที่ชาวล้านนาวันนี้อาจหลงลืมไปแล้ว คือไม้สลักไขว้กันสองอันประดับไว้บนหน้าจั่วบ้านที่เรียกว่า "กาแล"

      เพราะชาวลัวะมีประเพณีสำคัญคือ "งานเลี้ยงผี" หรือการบูชายัญสัตว์เพื่อเซ่นไหว้ผีมิให้มากล้ำกราย ซึ่งในอดีตต้องเซ่นไหว้ด้วยควายเท่านั้น หลังเสร็จพิธีก็จะเอาเขาควายมาประดับไว้บนจั่วบ้าน เป็นการบอกกล่าวเหล่าภูตผีว่าบ้านนี้เซ่นสรวงบูชาแล้ว ขอจงบันดาลความร่มเย็นเป็นสุข อย่าได้มีทุกข์ร้อนมาแผ้วพานบ้านนี้เลย ครั้นเมื่อแร้ง กา ซึ่งเป็นสัตว์ที่ไม่เป็นมงคลแลเห็นเขาควายที่ประดับไว้ ก็กลัวจนไม่กล้าบินผ่าน จึงเป็นที่มาของชื่อ "กาแล" ซึ่งวันนี้ พัฒนามาเป็นไม้แกะสลักสวยงามสองชิ้นวางไขว้กัน ประดับไว้บนหน้าจั่วอาคารบ้านเรือนชาวล้านนา จนกลายเป็นเอกลักษณ์ทางสถาปัตยกรรมล้านนาไปเสียแล้ว

      นอกจากนั้น ยังมีประเพณีบูชา "เสาสะกั้ง" หรือ "เสาอินทขีล" คือเสาที่ชาวลัวะเชื่อว่าพระอินทร์ประทานมาให้เป็น "เสาใจบ้าน" หรือ "เสาหลักเมือง" ซึ่งเมื่อพ่อขุนเม็งรายทรงสถาปนาอาณาจักรล้านนาเชียงใหม่ ก็โปรดให้ทำเสาอินทขีลตามธรรมเนียมลัวะ ไว้ให้ชาวเมืองสักการบูชาเพื่อความเป็นสิริมงคลด้วย จนกลายเป็นประเพณี "ตักบาตรดอกไม้ไหว้เสาอินทขีล" ณ วัดเจดีย์หลวง ราวเดือนมิถุนายนของทุกปี (ต่อ)

      นิยายที่ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

      loading
      กำลังโหลด...

      คำนิยม Top

      ยังไม่มีคำนิยมของเรื่องนี้

      คำนิยมล่าสุด

      ยังไม่มีคำนิยมของเรื่องนี้

      ความคิดเห็น

      ×