CPR - CPR นิยาย CPR : Dek-D.com - Writer

    CPR

    ผู้เข้าชมรวม

    2,954

    ผู้เข้าชมเดือนนี้

    9

    ผู้เข้าชมรวม


    2.95K

    ความคิดเห็น


    0

    คนติดตาม


    1
    เรื่องสั้น
    อัปเดตล่าสุด :  25 ก.พ. 50 / 18:00 น.


    ข้อมูลเบื้องต้นของเรื่องนี้
    ตั้งค่าการอ่าน

    ค่าเริ่มต้น

    • เลื่อนอัตโนมัติ


      ปฏิบัติการกู้ชีวิต

      CPR (Cardio Pulmonary Resuscitation)

       

                      ปฏิบัติการกู้ชีวิต (CPR) มีบทบาทสำคัญในการช่วยเหลือและสามารถลดอัตราการตายของผู้ป่วยได้ ถ้าได้กระทำอย่างถูกต้องและทันท่วงที ถ้าเริ่มให้หารช่วยเหลือผู้ป่วยภายใน 4 นาทีแรก จะช่วยให้มีโอกาสรอดชีวิตได้ถึง 4 เท่า ของการช่วยชีวิตหลัง 4 นาที

                วัตถุประสงค์ปฏิบัติการกู้ชีวิต

      1. เพิ่มออกซิเจนให้แก่เนื้อเยื่อของร่างกายโดยเฉพาะทางสมอง
      2. ช่วยให้ระบบการขนส่งออกซิเจนของร่างกายเป็นไปตามปกติ โดยหัวใจสูบเลือดไปเลี้ยงอวัยวะต่างๆ ได้
      3. ป้องกันสมองตายโดยการทำให้เลือดไปเลี้ยงสมอง
      4. ผู้บาดเจ็บอุบัติเหตุรถพุ่งตกน้ำ สามารถใช้วิธีของ CPR ได้

                ระบบที่สำคัญต่อชีวิต

      ร่างกายมนุษย์ประกอบด้วยระบบต่างๆ แต่ระบบที่จะมีผลต่อการเสียชีวิตอย่างกะทันหัน คือ
      -  ระบบหายใจ (Respiratory System)
      ประกอบด้วย จมูก ปาก กล่องเสียง หลอดลม ปอด ถุงลม ทำหน้าที่แลกเปลี่ยนก๊าซระหว่างเลือดและอากาศ โดยร่างกายได้รับออกซิเจนจากการหายใจเข้าแล้วซึมผ่านผนังถุงลมเข้าสู่กระแสเลือดผ่านเซลล์ และขับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ออกจากเซลล์รูปแบบลมหายใจ

      -  ระบบหัวใจและหลอดเลือด (Cardiovascular System)
      ประกอบด้วย หัวใจ และหลอดเลือด ทำหน้าที่สูบฉีดหลอดเลือดที่มีออกซิเจนเต็มที่ไปเลี้ยงส่วนต่างๆ ของร่างกาย และนำเลือดที่มีออกซิเจนต่ำ กลับไปเข้าสู่ปอด เพื่อรับออกซิเจนหมุนเวียนตลอดเวลา

      -ระบบประสาท (Nervous System)
      ประกอบด้วย สมอง ไขสันหลัง และเส้นประสาท โดยสมองทำหน้าที่สั่งงานผ่านเส้นประสาทไปยังส่วนต่างๆ ของร่างกาย สมองมีความต้องการออกซิเจนสูงประมาณ 20% ที่ร่างกายได้รับ ถ้าขาดออกซิเจนเพียงเล็กน้อยอาจทำให้เกิดอาการหน้ามืด ถ้าขาดมากทำให้หมดสติได้

                ปฏิบัติการกู้ชีวิตแบ่ง เป็น 3 ระดับ

      - 1. การกู้ชีวิตขั้นพื้นฐาน (Basic Life Support)
      - เปิดทางเดินหายใจให้โล่ง (A - Airway)
      -ช่วยการหายใจ (B - Breathing)
      -ช่วยระบบการไหลเวียนของโลหิต (C - Circulation)

      -  กู้ชีวิตขั้นพื้นฐานมีขั้นตอนดังนี้

      - ตรวจสอบสถานที่ สิ่งแรกที่ท่านต้องตรวจสอบรอบๆ ข้างว่า สถานการณ์ ณ ตรงนั้นปลอดภัยหรือไม่ เพราะถ้าเกิดว่าอันตราย จะทำให้ทั้งคนป่วยและคนช่วยเป็นอันตรายทั้งคู่

      - กรณีเหตุฉุกเฉินให้โทรติดต่อ 191 หรือโทรติดต่อศูนย์แพทย์ที่ใกล้บ้านท่าน กรุณาจดเบอร์ของโรงพยาบาลที่อยู่ใกล้ท่านมากที่สุด

      - ตรวจดูว่ามีอะไรอุดหรือขวางทางเดินหายใจรึเปล่า  เช่น ฟันปลอม อาเจียน เป็นต้น
      -
       ตรวจดูการหายใจ และชีพจรว่าหมดสติจริง

                โดยการปลุก เรียกชื่อ ถ้าไม่รู้สึกตัวให้ร้องขอความช่วยเหลือจากผู้อื่น แล้วจัดท่านอนอยู่ในท่าที่เหมาะสม

       

      ท่าที่เหมาะสมที่สุด หากประสบผู้บาดเจ็บยังพอหายใจได้เอง หรือหลังจากการกู้ชีพให้กลับมา
      หายใจได้แล้ว ควรจัดท่าให้อยู่ในท่านี้ คือนอนราบกับพื้น
      จะช่วยให้ผู้ป่วยมีอันตรายน้อยที่สุด

       

                         -  เปิดทางเดินหายใจโล่ง

                         ทางเดินหายใจอาจเกิดการอุดตันจากสิ่งแปลกปลอม เช่น เศษอาหาร หรือเสมหะ ในตัวผู้ป่วยที่หมดสติ ลิ้นจะตกไปปิดหลอดลม ทำให้ร่างกายและสมองขาดออกซิเจนได้

                         1 กดหน้าผากลง และใช้นิ้วชี้และนิ้วกลางของมืออีกข้างหนึ่งเชยคางขึ้น

                         2 ยกขากรรไกร ใช้มือ 2 ข้าง ยกคางผู้ป่วยขึ้น วิธีนี้ใช้ได้กับ ผู้ป่วยที่อาจได้รับการบาดเจ็บบริเวณคอ

                         3 ตรวจการหายใจ โดยดูการเคลื่อนไหวของทรวงอกและท้อง ฟังเสียงหายใจบริเวณปากและจมูก แก้มสัมผัสลมหายใจของผู้ป่วย (ตาดู หูฟัง แก้มสัมผัส) ถ้าหยุดหายใจต้องรีบให้การช่วยเหลือ

       

      -ช่วยการหายใจ

      เป่าลมเข้าปาก 2 ครั้ง แต่ละครั้งนาน 1 - 1.5 วินาที ใช้นิ้วหัวแม่มือกับนิ้วชี้ของมือที่ใช้กดหน้าผาก บีบจมูกของผู้ป่วยให้แน่น โดยสันมือยังกดหน้าผากผู้ป่วยให้เงย ใช้ปากครอบปากผู้ป่วยให้สนิท เป่าปากครั้งที่ 1 แล้วถอนปากขึ้นให้ลมหายใจออกก่อน แล้วจึงเป่าปากครั้งที่ 2 ควรเป่าปากให้ได้ 12 -20 ครั้ง (สำหรับผู้ใหญ่)

      -TIP      ขณะเป่าปากต้องสังเกตว่า ทรวงอกของผู้ป่วยขยายขึ้นลงถ้าไม่มีการเคลื่อนไหวต้องตรวจดูการอุดตันของทางเดินหายใจ และต้องเอาออกแล้วรีบทำการเป่าปากต่อ หรือเป่าทางจมูกแทนโดยปิดปากผู้ป่วยให้สนิท

      -ช่วยการไหลเวียนของโลหิต

      - ตรวจชีพจร เพื่อทราบการทำงานของหัวใจ คลำชีพจรที่คอ ตรงข้ามหลอดลมในทารกให้คลำชีพจรที่โคนแขนขวาด้านใน เพราะชีพจรที่คอฟังยาก
      -กดหน้าอก -นั่งคุกเข่าข้างตัวผู้ป่วยตรงระดับอก ใช้นิ้วมือ 2 นิ้ว (นิ้วชี้และนิ้วกลาง) สัมผัสกับชายโครง
      -แล้วลากไปตามขอบกระดูกชายโครงจนพบร่องบุ๋มตรงกลางที่เป็นรอยต่อของกระดูกชายโครงทั้ง 2 ข้าง บรรจบกัน
      -วางปลายนิ้วกลาง ใช้สันมืออีกข้างหนึ่งวางบนกระดูกหน้าอกต่อจากนิ้วชี้
      -แล้วยกมืออีกข้างหนึ่ง วางซ้อนบนมือแรก วางมือ 2 ข้างซ้อนตรงกัน
      -กระดกปลายนิ้วมือขึ้นให้พ้นจากหน้าอกโน้มตัวไปข้างหน้าให้ไหล่ทั้ง 2 ข้าง อยู่กึ่งกลางหน้าอกของผู้ป่วย
      -แขนเหยียดตรงออกแรงกดโดยลงน้ำหนักตัวของผู้กดให้หน้าอกยุบลงประมาณ 1.5 - 2 นิ้ว ฟุต
      -แล้วผ่อนน้ำหนักโดยยกไหล่ขึ้น ระวังอย่าให้มือเลื่อนจากตำแหน่งเดิมควรกดหน้าอกให้ได้ 80 - 100 ครั้งต่อนาที (สำหรับผู้ใหญ่)

      -ต้องระวัง  การกู้ชีวิตจะได้ผลดีต้องฝึกปฏิบัติให้รู้และชำนาญ ลงมือปฏิบัติอย่างรวดเร็วทันการณ์ เพราะสมองทนต่อการขาดออกซิเจนได้เพียง 4 - 6 นาที เท่านั้น

      อันตรายจากกู้ชีวิต

      -   การวางมือไม่ถูกต้อง ทำให้กระดูกซี่โครงหรือปลายกระดูกหน้าอกหักไปทิ่มอวัยวะภายใน กระตุ้นให้เลือดออกมากจนเสียชีวิตได้
      -ไม่ปล่อยมือหลังจากกดหน้าอก ทำให้หัวใจขยายตัวไม่ได้ เลือดกลับสู่หัวใจได้น้อย การกดหน้าอกครั้งต่อไปจะมีเลือดออกจากหัวใจน้อยลง ไม่เพียงพอกับความต้องการของร่างกาย
      -การกดหน้าอกแรงและเร็วเกินไป อาจทำให้หัวใจซ้ำ หรือกระดูกได้
      -กดหน้าอกลึกเกินกว่า 3 นิ้ว อาจทำให้เกิดหัวใจช้ำได้
      -เป่าลมเข้าปากมากเกินไป หรือเปิดทางเดินหายใจไม่โล่ง ทำให้ลมเข้ากระเพาะอาหารแทนปอด เกิดท้องอืด เศษอาหารและน้ำล้นออก และเข้าไปในหลอดลมได้

       

                สรุปภารกิจปฏิบัติการกู้ชีวิต

      -ช่วยการหายใจ
      -ตำแหน่งจับชีพจร โคนแขนด้านใน(Brachial Artery)

      -ชีพจรที่คอ (Carotid Artery)
      สิ่งที่ใช้กดหน้าอก นิ้วมือ 2 นิ้ว สันมือข้างเดียว สันมือสองข้างซ้อนกัน
      -อัตราการกดหน้าอก 100 - 120 ครั้งต่อนาที ในเด็กแรกเกิด

       

      การปฏิบัติการกู้ชีพให้ทำต่อเนื่องตามรอบต่อไปนี้เรื่อยๆ จนกว่ารถพยาบาลและหน่วยกู้ภัยจะมาถึง ดังนี้ ให้อัตราการกดหน้าอกเป็นจังหวะตามระดับการเต้นของหัวใจที่ 80 -100 ครั้ง/นาที อายุ 8 ปีขึ้นไป ใช้การนับเพื่อช่วยในการจับจังหวะพร้อมกันไปด้วยเช่น หนึ่งและ- สองและ- สามและ-สี่และ....... หลังการกดนวดกระตุ้นหัวใจไปประมาณ 15 ครั้ง ให้ทำการผายปอดไปด้วย 2 ครั้ง (ถือเป็น 1 รอบ) ให้ทำเช่นนี้ไปติดต่อกัน 4 รอบ ให้ตรวจวัดสัญญาณชีพจรดู

      - ถ้าตรวจไม่พบสัญญาณชีพจร ให้เริ่มต้นทำปฏิบัติการกู้ชิพใหม่ ต่อไป
      - ถ้าตรวจพบสัญญาณชีพจรแต่ ยังไม่หายใจ ให้ทำการช่วยผายปอดต่อไปทุก 5 วินาที
          จนกว่าจะสามารถหายใจได้
      - หากตรวจพบว่า มีสัญญาณชีพจรและเริ่มหายใจได้เองแล้ว ระหว่างที่รอหน่วยรถ
          พยาบาลมารับ ให้ทำการจัดท่าผู้บาดเจ็บให้อยู่ในท่าที่เหมาสมในท่าแรก

      นิยายที่ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

      loading
      กำลังโหลด...

      คำนิยม Top

      ยังไม่มีคำนิยมของเรื่องนี้

      คำนิยมล่าสุด

      ยังไม่มีคำนิยมของเรื่องนี้

      ความคิดเห็น

      ×