คืนค่าการตั้งค่าทั้งหมด
คุณแน่ใจว่าต้องการคืนค่าการตั้งค่าทั้งหมด ?
ลำดับตอนที่ #2 : การรักษาอุณหภูมิในร่างกาย [ชีววิทยา]
การรักษาอุณหภูมิในร่างกาย
สิ่งมีชีวิตทุกชนิดมีกลไกบางอย่างในการรักษาอุณหภูมิของร่างกายให้อยู่ในสภาวะที่เหมาะสม สำหรับสัตว์เลือดเย็น เช่นพวกปลา สัตว์เลื้อยคลาน และสัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำนั้นมีความสามารถในการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิของร่างกายไปตามสิ่งแวดล้อม ทว่าก็มีขีดจำกัด ถ้าไม่สามารถปรับอุณหภูมิของร่างกายตามสิ่งแวดล้อมได้ มันจะหลีกเลี่ยงด้วยการหลบไปอาศัยอยู่ในที่ๆ เหมาะสม (อพยพ) ซึ่งปกติสิ่งมีชีวิตเหล่านี้จะอยู่ได้ในอุณหภูมิ 0-35 องศา ถ้าอยู่ในอุณหภูมิที่มากหรือน้อยกว่านี้จะไม่สามารถปรับตัวได้
ส่วนในสัตว์เลือดอุ่น เป็นสัตว์ที่อุณหภูมิของร่างกายค่อนข้างคงที่ ไม่เปลี่ยนแปลงไปตามสิ่งแวดล้อม ต้องอาศัยพลังงานซึ่งเก็บอยู่ในรูปสารเคมีแล้วค่อยๆ ปลดปล่อยด้วยกระบวนการทางเคมีของร่างกาย โดยอุณหภูมิที่เหมาะสมที่สุดคือประมาณ 30-35 องศา เช่น พวกนก และสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม
การปรับอุณหภูมิในร่างกายของสัตว์ให้อยู่ในสภาวะที่สมดุลนั้น ขึ้นอยู่กับปัจจัยในหลายๆ ด้าน เช่น ขนาดของร่างกายและพื้นที่ผิวสัมผัส โดยจะมีผิวหนังหรือชั้นเซลล์ผิวเป็นตัวกลางในการรับหรือถ่ายเทความร้อน พวกสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง เช่น ไฮดรา หนอนตัวแบน จะถ่ายเทความร้อนโดยตรงด้วยการแผ่รังสี หรือนำความร้อนออกสู่น้ำที่ล้อมรอบ ส่วนสัตว์มีกระดูกสันหลังโดยเฉพาะสัตว์เลือดอุ่น จะถ่ายเทความร้อนทางผิวหนัง ซึ่งในสัตว์บางชนิด จะมีการเพิ่มพื้นที่ผิวของร่างกาย เพื่อการระบายความร้อนได้ดียิ่งขึ้น เช่น มีผิวหนังเหี่ยวย่น มีหางยาว หรือโครงสร้างของสัตว์ที่แตกต่างกัน เช่น สัตว์ที่อยู่ในแถบร้อนจะมีขนสั้น และสัตว์ในแถบหนาวจะมีขนยาว ก็เกี่ยวข้องกับกลไกการรักษาสมดุลของร่างกายเช่นกัน
โดยกลไกการรักษาอุณหภูมิภายในร่างกายนั้น เกี่ยวข้องกับสมองส่วนไฮโปทาลามัส ซึ่งเป็นศูนย์ควบคุมให้ร่างกายมีการผลิตความร้อนเพิ่มขึ้น เมื่ออุณหภูมิของร่างกายต่ำ ก็จะส่งสัญญาณไปยังสมองส่วนนี้เพื่อให้ส่งกระแสประสาทไปกระตุ้นประสาทซิมพาเธติก ซึ่งกระตุ้นให้เส้นประสาทที่ผิวหนังทำงาน ทำให้เกิดการหดตัวของเส้นเลือดและกล้ามเนื้อ เกิดขนลุกชัน
ในขณะเดียวกันก็กระตุ้นการหลั่งฮอร์โมนต่างๆ ที่เกี่ยวกับการเมตาบอลิซึมของร่างกาย ฮอร์โมนนั้นคือไธรอกซิน จากต่อมใต้สมองและต่อมไธรอยด์ ทำให้เพิ่มอัตราเมตาบอลิซึม เพิ่มกลูโคสในเลือด ฮอร์โมนอีกชนิดหนึ่งคืออะดรีนาลีนและนอร์อะดรีนาลีนจากต่อมหมวกไต ทำให้เส้นเลือดหดตัว เพิ่มอัตราเมตาบอลิซึม
แต่หากร่างกายอยู่ในสิ่งแวดล้อมที่อุณหภูมิสูงกว่าอุณหภูมิในร่างกายมากๆ การระบายความร้อนออกจากร่างกายนั้นจะทำได้โดยการขับเหงื่อออกจากต่อมเหงื่อที่มีอยู่ตามผิวหนัง ทำให้หลอดเลือดขยายตัว ถ้าอุณหภูมิสูงมากเหงื่อก็จะออกมาก ทำให้อุณหภูมิที่ผิวหนังลดลง แต่ก็ขึ้นอยู่กับความชื้นในอากาศด้วย จึงจะสังเกตได้ว่า วันที่อากาศมีความชื้นสูง ผิวของเราจึงเฉอะแฉะเนื่องจากไม่สามารถระบายเหงื่อได้
---------
ความคิดเห็น