ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    หออักษร

    ลำดับตอนที่ #16 : เครื่องแต่งกายชายอาหรับ

    • เนื้อหาตอนนี้เปิดให้อ่าน
    • 11.05K
      3
      26 ต.ค. 55

    เครื่องแต่งกายชายอาหรับและส่วนประกอบ


     

                    ชุดประจำชาติเป็นชุดยาวคลุมข้อเท้า เสื้อแขนยาว สวมหมวกทรงกลมใบเล็ก ทับด้วยผ้าคลุมศรีษะ มีเชือกสีดำครอบกันผ้าเลื่อนหลุด บางประเทศในโอกาสหรือพิธีสำคัญจะมีสวมใส่เสื้อคลุมเนื้อบางสีดำเดินขอบด้วยแถบสีทองแต่ประเทศ เช่น อิรัค ใช้สวมใส่ประจำวันรายละเอียดของเสื้อผ้าและเครื่องประกอบการแต่งกายมีสาระสำคัญดังต่อไปนี้

     
    1. ผ้าคลุมศรีษะ Ghutra / Shumagg

     


    ในอดีตผ้าคลุมศรีษะเป็นวัฒนธรรมของชาวอาหรับที่ใช้ชีวิตอยู่กลางทะเลทรายสามารถใช้ประโยชน์ Ghutra ได้หลายอย่างเช่นเดียวกับผ้าขาวม้า ของไทย คือ ใช้ปูนอน ใช้ปูละหมาด ใช้แทนเชือก กันหนาว ป้องกันฝุ่นผง ความร้อนและกันแดดในทะเลทราย

    ปัจจุบันชาวอาหรับในกลุ่มประเทศอ่าวอาระเบียน (อ่าวเปอร์เซีย) ใช้ผ้า Ghutra สำหรับประกอบการแต่งกายประจำวัน แต่ละประเทศมีความนิยมใช้สี ลายผ้าแตกต่างกันเช่น ในประเทศ คูเวต บาห์เรนและสหรัฐอาหรับเอมิเรตส?(ยูเออี) นิยมใช้ผ้าสีขาวล้วน ในประเทศซาอุดิอาระเบีย กาตาร์นิยมเป็นผ้าตาหมากรุกสีแดง-ขาว (เรียกว่า Shumagg/ smagh /shmagh)

    หากเป็นผ้าตาหมากรุกสีดำ-ขาว(เรียกว่า Kofiyah / Kaffiyeh) นิยมใช้ในประเทศปาเลสไตน์ จอร์แดน ซีเรียและอิรัค เป็นต้น
     

    ผ้าคลมุ yashmagh ที่ผลิตด้วยผ้าผสมขนสัตว์ตกแต่งด้วยการปักลวดลาย สำหรับใช้ในฤดูหนาว ส่วนใหญ่ตัดเย็บด้วยผ้าฝ้ายเนื้อบาง เป็นรูปสี่เหลี่ยม ชายผ้าเป็นครุยโดยรอบ ผ้าบางแบบมีภู่ห้อยที่มุง เมื่อใช้คลุมศรีษะจะพับเป็นรูปสามเหลี่ยน หากผ้าที่มีภู่ห้อย การพับผ้าจะต้องให้ภู่ห้อยอยู่ที่มุมล่างของผ้า โดยสวมผ้าพับเป็นสามเหลี่ยมทับบนหมวกสีขาว และรัดด้วยเชือกให้อยู่ตัวหากไม่ใช้เชือกรัด จะมัดผ้าให้แน่นศรีษะด้วยปลายผ้าสองข้าง
     

    2. เชือก Ogal /Igal

    เชือกถักสีดำสำหรับใช้รัดผ้าโพกศรีษะ Ghutrah ไม่ให้หลุดเลื่อน ทำจากเชือกขนสัตว์ขนแพะ ขนแกะและขนอูฐ รูปแบบที่นิยมใช้ในปัจจุบันเชือกถักกลม บางประเทศ (โดยเฉพาะชาวยูเออี) นิยมแบบมีภู่ห้อย เชือก Igal สมัยก่อนจะเป็นสีทอง ชื่ออื่นใช้เรียกเชือกรัดนี้ว่า Egal, Agal และ Aqal



     

    3. หมวก Tagiya Taqiyah

    เป็นคำยืมจากภาษาอาระบิคคนไทยใช้ทับศัพท์ว่า หมวกกะปิเยาะห์ ชาวไทยมุสลิมในจังหวัดปัตตานี ยะลา และนราธิวาส จะใช้คำว่ากปิเยาะห์ หรอื บางที ก็กร่อนเสียงเหลือเพียง “ปิเยาะห์” กะปิเยาะห์ เป็นหมวกของชาวมุสลิมสวมใส่ในการประกอบศาสนกิจ หรือประกอบพิธีละหมาด ภาษาอังกฤษจึงเรียกหมวกนี้ว่า  “prayer cap”

     
     

    ผ้าคลุม ศรีษะและหมวกกะปิเยาะห์ นับได้ว่าเป็นส่วนประกอบที่สำคัญในการแต่งกายของชาวมุสลิม ซึ่งไม่ใช่เพียงแต่เป็นเครื่องอาภรณ์ ประดับร่างกายเท่านั้น แต่เป็นสิ่งที่ต้องยึดถือฏิบัติตามหลักศาสนาที่จำเป็นต้องมีรูปทรงของกะปิเยาะห์มีหลากหลาย มีการออกแบบลวดลายงดงามแตกต่างกันไปโดยทั่วไปมี 3 ขนาด พอเหมาะสำหรับผู้ใช้ ได้แก่ ขนาดสำหรับผู้ใหญ่วัยรุ่นและเด็ก วิธีการตัดเย็บกะปิเยาะห์ต้องใช้ฝีมือการผลิตที่ประณีต เพื่อให้ได้รูปทรงการตัดเย็บจะใช้ผ้าหลายชนิดทับซ้อนกัน พร้อมทั้งออกแบบให้มีลวดลายต่างๆปักและฉลุเพื่อเป็นรูระบายอากาศให้สวมใส่สบาย แต่ปัจจุบันส่วนใหญ่เป็นการผลิตแบบอุตสาหกรรมโดยเครื่องจักรอุตสาหกรรมในการตัดเย็บปักและฉลุลาย เพื่อผลิตสินค้าจำนวนมากในราคาที่ย่อมเยาว
     

    หมวก Taqiyah ของชาวอาหรับประเทศกลุ่มอ่าวอาระเบีย นิยมใช้แบบลายโครเชต์สีขาว สวมแนบศรีษะ ประเทศซาอุดิอาระเบียเป็นผู้นำเข้า หมวกกะปิเยาะห์รายสำคัญ เพราะแต่ละปีมีผู้เดินทางเข้าไปแสวงบุญ เช่น อุมเราหะ ฮัชญ์ ปีละหลายล้านคน ( อย่างน้อย 3 ล้านคน/ปี ) และมักจะซื้อหมวกกะปิเยาะห์ กลับไปเป็นของฝากที่ประเทศตน แต่ละคนจะซื้อจำนวนหลายใบ จนถึงหลายๆ โหล โดยมีจีนเป็นประเทศผู้ส่งออกรายสำคัญ อีกทั้งมีโรงงานขนาดใหญ่ ผลิตกาปิเยาะห์ในบังคลาเทศโดยร่วมลงทุนกับนักลงทุนซาอุดิอาระเบีย มุสลิมในกลุ่มประเทศแอฟริกาตอนเหนือและตะวันออก เช่น อียิปต์ ซูดาน จะสวมสวมกะปิเยาะห์อย่างเดียวเหมือนชาวมุสลิมในอินโดนีเซีย มาเลเซียและไทย ดังนั้นหมวกกะปิเยาะห์สำหรับสวมเดี่ยวจึงมีการออกแบบลวดลายและใช้สีผ้าหลากหลายสวยงาม

     

    4. เสื้อคลุม Bisht / Mishlah / Meshlah.
     
      

    มิชลาฮ์ (Mishlah) เป็นเสื้อคลุมใช้ช้สวมทับดชิ ดาชา ตัด เย็บ ด้วยผ้าฝ้าย ผ้าขนสัตว์ ( ขนอฐู ขนแกะ) สีดำ สีน้ำตาลทอง สีขาว สีเนื้อ ตกแต่งบริเวณสาบเสื้อด้วยแถบผ้าปักสีทอง ชาวอาหรับระดับราชวงค์หรือผู้มีตำแหน่งระดับสูง นิยมสวมใส่ในโอกาสและพิธีการสำคัญ เจ้าบ่าวสวมในงานแต่งงาน ขนาดเสื้อเป็น Free size บางประเทศเรียกเสื้อคลุมนี้ว่า Bisht

     
     

    5. Kandura/Dishdasha / Thobe

    ชุดประจำชาติอาหรับเรียกแตกต่างกัน ในกลุ่มประเทศอาหรับส่วนเหนือ เรียกดิชดาชา(dishdasha) ยูเออีเรียก กันดูร่า (Kandura) ส่วนในซาอุดิอาระเบียเรียก โต๊ป (Thobe) เป็นชุดแต่งกายสำหรับชีวิตประจำวัน โดยเฉพาะในกลุ่มอ่าวอาระเบีย ลักษณะชุดยาวคลุมข้อเท้า ผ่าหน้าความกว้างพอสำหรับสวมหัวได้ เสื้อแขนยาว นิยมใช้ผ้าสีขาวตัดเย็บ แต่การออกแบบปกและปลายแขนแตกต่างกัน เช่น คอกลมผ่าหน้ามีภู่ห้อย คอตั้ง ปกเชิ้ต ปลายแขนแบบปล่อย ปลายแขนติดกระดุมแบบเสื้อเชิ้ต หรือใช้ Cufflink

     

    ส่วนใหญ่นิยมสั่งตัดจากร้านตัดเสื้อผ้าในประเทศ หากเป็นสินค้าราคาปานกลางถึงราคาถูก เป็นชุดสำเร็จรูปตัดจากโรงงานในประเทศ หรือนำเข้าจากต่างประเทศ แต่ราคาของเสื้อผ้าที่ผลิตในประเทศมีราคาถูกสามารถแข่งขันกับสินค้านำเข้าได้ในฤดูหนาวจะใช้สีเข้ม เช่น น้ำเงิน เทา น้ำตาล ผ้าเนื้อหนาหรือเนื้อผสมขนสัตว์

     

    บางประเทศชายอาหรับจะสวมชุดนี้ทับกางเกงขายาวข้างในที่เรียกว่า Sirwal / Sarwal บางประเทศ เช่น ยูเออีจะสวมทับผ้าโสร่งลายหมากรุก หรือโสร่งสีขาว หากเป็นชุดอยู่บ้านหรือชุดนอน ส่วนใหญ่เป็นชุดสำเร็จรูป แขนสั้น ใช้ผ้าฝ้ายผสมโพลีเอสเตอร์และผ้าลายตัดเย็บ เนื้อผ้าจะหนาวกว่าชุดสีขาวที่ส่วนใหญ่มักจะเป็นผ้าฝ้ายเนื้อนุ่ม คุณภาพดี ซึ่งเป็นสินค้าของญี่ปุ่น (ผ้า Kanebo) เกาหลี



    ที่มา:
    http://www.ryt9.com/s/expd/643732

     

    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    นิยายที่ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×