ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    การละเล่นไทย

    ลำดับตอนที่ #5 : คุณค่าทางวรรณศิลป์

    • เนื้อหาตอนนี้เปิดให้อ่าน
    • 393
      0
      24 ม.ค. 54

    บทร้องประกอบการละเล่นของเด็กไทย หากไม่อยู่ในรูปของฉันทลักษณ์ ก็จะมีคำคล้องจองกันอยู่ในรูปของฉันลักษณ์ ก็จะมีคำคล้องจองกันมีสัมผัสนอกสัมผัสใน เท่ากับเป็นการแทรกซึมวิสัยความเป็นเจ้าบทเจ้ากลอนกันตั้งแต่ยังเป็นเด็กตัวเล็กตัวน้อยกันเลยทีเดียว ไม่ว่าจะเป็นของภาคกลาง
    ภาคเหนือ ภาคอีสาน และภาคใต้ ซึ่งในแต่ละภาคก็จะสอดแทรกภาษาท้องถิ่นของตนเข้าไปด้วยนอกจากนั้นมีการเลียนเสียงต่าง ๆ หรือออกเสียงแปลก ๆ ซึ่งทำให้เด็ได้ฝึกลิ้น เช่น
    เลียนเสียงนก
    จ้ำจี้เม็ดขนุน...นกขุนทองร้องวู้
    เลียนเสียงกลอง
    ผมเปียมาเลียใบตอง พระตีกลอง ตะลุ่มตุ่มเม้ง
    เลียนเสียงร้องไห้
    ขี้แย ขายดอกแค ขายไม่หมดร้องไห้แงแง
    คำแปลก ๆ มักจะปรากฎบ่อยมาก แม้ว่าจะไม่มีความหมายแต่ฟังแล้วก็รู้สึกสนุก ทำให้เด็กชอบ
    เช่น เท้งเต้ง” “โตงเตงโตงเว้า” “กระจ๊องหง่อง” “ออระแร้ ออระชอน” “มะล้อกก๊อกแก๊ก” “จีจ่อเจี๊ยบไ ตะโลนโพนเพน” “ตุ๊ยตู่ ตุ๊มเดี่ยว
    บางบทใช้ภาพพจน์ทำให้เกิดความงามในภาษา เช่นบทร้องของทางใต้บทหนึ่งว่า
    เชโคโยย่าหนัด ฉัดหน้าแข้ง เดือนแจ้ง ๆ มาเล่นเชโชค
    ทร้องบาทบทใช้คำท่เป็นสัญลักษณ์แฝง ความหมายในแง่เพศสัมพันธ์ เช่น
    จ้ำจี้มะเขือพวง เมียน้อยเมียหลวง
    มากินก้ามกุ้ง ก้ามกุ้งร้องแง้
    มาสอยดอกแค มาแหย่รูปู
    อีหนูตกระได กลางคืนเมาเหล้า
    เตะหม้อข้าวปากปิ่น หม้อข้าววิ่งหนี
    สาระพีเล่นกล กระจ่าสวดมนต์
    รับศีลรับพระ

    คุณค่าในการใช้ภาษาสื่อสาร

    เป็นที่น่าสังเกตว่าบทร้องและบทเจรจาโต้ตอบนั้นมีคุณค่าในการสื่อสารอยู่มาก กล่าวคือ ทำให้เด็ก ๆ ได้คุ้นเคยกบคำที่ใช้เรียกชื่อ หรือใช้บอกกริยาอาการต่าง ๆ ช่วยให้เด็กได้มีพัฒนาการทางภาษาโดยไม่รู้ตัว ในบทเจรจาโต้ตอบก็เป็นคำถาม คำตอบสั้นๆ มีเนื้อความเป็นเรื่องเป็นราวเป็นคำพูดในชีวิตประจำวันบ้าง ดังในบทเล่นแม่งูหรือแม่งูสิงสางของภาคเหนือ บักมี่ดึงหนังของภาคอีสาน หรือฟาดทิงของทางใต้

    บทโต้ตอบบักมี่ดึงหนัง

    ถาม ขอกินบักพ่าวแน (มะพร้าว)
    ตอบ ยังบ่ได้ต่อย (สอย)
    ถาม ขอกินกลอยแน
    ตอบ บ่ทันได้นึ่ง
    ถาม ขอกินบักมี่สุกแน
    ตอบ หน่วยใดสุกเอาเลย


    บทโต้ตอบฟาดทิง
    แม่ทิง มาแต่ไหน
    ผู้เล่น มาแต่เผาถ่าน
    แม่ทิง เผาถ่านทำไหร (ทำอะไร)
    ผู้เล่น เผาถ่านตีเมด (มีด)
    แม่ทิง ตีเมดทำไหร
    ผู้เล่น ตีเมดทำไหร
    ผู้เล่น ตีเมดเหลาหวาย
    แม่ทิง เหลาหวายทำไหร
    ผู้เล่น เหลาหวายสานเชอ (กระเชอ)
    แม่ทิง สานเชอทำไหร
    ผู้เล่น สานเชอใสทิง
    แม่ทิง ทิงไหน
    ผู้เล่น ทิงนั่นเเหละ (ชี้ไปที่แม่ทิง)

     

    การใช้ภาษาในการเล่นทายปริศนา

    ปริศนาหรือคำทายต่าง ๆ ที่เด็ก ๆ ชอบเล่นทายกันนั้นวิเคราะห์ได้ว่า เป็นวิธีการที่ส่งเสริมพัฒนาการทางความคิดสัมพันธ์กับการใช้ภาษาทั้งนี้เพราะปริศนาก็คือ การตั้งคำถามให้เด็กคิดถึงสิ่งต่าง ๆ ที่ตนเคยพบ เคยห็นมา ใครช่างสังเกตรู้จักคิดเปรียบเทียบความหมายของคำทายกับสิ่งที่ตนเคยพบเห็น ก็สามารถทายถูก ความสนุกจากการทายถูกจะเป็นแรงจูงใจให้เด็กพยายามใช้ความสังเกตควบคู่ไปกับการใช้ภาษาเพิ่มขึ้น เช่น

    อะไรเอ่ย เรือนสองเสา หลังคาสองตับ นอนไม่หลับลุกขึ้นร้องเพลง
    คำตอบ ไก่ขัน

    อะไรเอ่ย ซื้อมาเป็นสีดำ นำไปใช้กลายเป็นสีแดง พอสิ้นแรง กลายเป็นสีเทาต้องเอาไปทิ้ง
    คำตอบ ถ่าน

    (ภาคเหนือ) ตุ้มกุ๋บขึ้นดอย ก้าบฝอยล่องห้วย (หลังนูน ๆ ขึ้นดอย ครบฝอยไปตามลำธาร)
    คำตอบ เต่าและกุ้ง

    (ภาคใต้) พร้าวเซกเดียวอยู่บนฟ้า คนทั้งพาราแลเห็นจบ
    คำตอบ พระจันทร์เสี้ยว

    (ภาคอีสาน) ช่างขึ้นภู ต๊บหูปั๊ว ๆ แมนหญัง (ช้างขึ้นภูเขา ตบหูปั๊ว ๆ อะไรเอีย)
    คำตอบ หูกทอผ้า


    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    นิยายที่ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×