อาณาจักรสุโขทัย - อาณาจักรสุโขทัย นิยาย อาณาจักรสุโขทัย : Dek-D.com - Writer

    อาณาจักรสุโขทัย

    โดย Choco*Pim

    อาณาจักรสุโขทัยเป็นอาณาจักรเก่าแก่ที่ทุกคนควรรู้จักอย่างมาก และมีความเจริญรุ่งเรืองมากทั้งในด้านเศรษฐกิจการค้าขาย ศาสนา ศิลปวัฒนธรรม อย่างมาก

    ผู้เข้าชมรวม

    4,608

    ผู้เข้าชมเดือนนี้

    1

    ผู้เข้าชมรวม


    4.6K

    ความคิดเห็น


    3

    คนติดตาม


    2
    เรื่องสั้น
    อัปเดตล่าสุด :  10 ม.ค. 50 / 21:16 น.


    ข้อมูลเบื้องต้นของเรื่องนี้
    ตั้งค่าการอ่าน

    ค่าเริ่มต้น

    • เลื่อนอัตโนมัติ

      อาณาจักรสุโขทัย

       เป็นอาณาจักรแห่งแรกของชาติไทย ปฐมกษัตริย์ ทรงพระนามว่าพ่อขุนบางกลางหาว หรือ บางแห่งอาจเรียกว่า พ่อขุนบางกลางท่าว เจ้าเมืองบางยาง (อำเภอนครไทย จังหวัดพิษณุโลก ในปัจจุบัน)พระมหากษัตริย์พระองค์ที่สาม พ่อขุนรามคำแหงมหาราช ทรงพระปรีชาสามารถทั้งในด้านนิรุกติศาสตร์ การปกครอง กฎหมาย วิศวกรรม ศาสนา ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ เป็นต้น ผลงานของพระองค์ที่ปรากฏให้เห็น อาทิ ศิลาจารึกที่ค้นพบในสมัยของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ที่อธิบายถึงความเป็นมา ลีลาชีวิตของชาวสุโขทัยโบราณ น้ำพระทัยของพระมหากษัตริย์ การพิพากษาอรรถคดี ฯลฯ นอกจากนี้ยังมีผลงานทางวิศวกรรมชลประทาน คือ เขื่อนสรีดภงค์ที่เป็นการกักเก็บน้ำไว้ใช้ในยามแล้ง มีการทำท่อส่งน้ำจากตัวเขื่อนมาใช้ในเมืองพระมหากษัตริย์ที่ทรงทำนุบำรุงศาสนามากที่สุดคือ พระเจ้าลิไท ในรัชสมัยของพระองค์มีการสร้างวัดมากที่สุดกษัตริย์พระองค์สุดท้ายคือ พระเจ้าไสยลือไท ซึ่งทุกวันนี้ยังไม่มีใครทราบถึงสาเหตุการล่มสลายของอาณาจักรสุโขทัย บ้างก็ว่าเกิดโรคระบาด บ้างก็ว่าเกิดนำท่วมใหญ่ แต่ยังไม่มีหลักฐานแน่ชัด

      ๑. ด้านเศรษฐกิจ สภาพเศรษฐกิจสมัยสุโขทัยเป็นระบบเศรษฐกิจแบบเสรีนิยม ดังข้อความปรากฏในหลักศิลาจารึกหลักที่ ๑ "ใครจักใคร่ค้าช้างค้า ใครจักใคร่ค้าม้าค้า ใครจักใคร่ค้าเงินค้าทองค้า…" เมืองสุโขทัยในน้ำมีปลาในนามีข้าว ประชาชนประกอบอาชีพเกษตรกรรมด้วยระบบการเกษตรแบบพึ่งพาธรรมชาติเช่นสังคมไทยส่วนใหญ่ในชนบทปัจจุบัน

      ๒. ด้านสังคม ความเชื่อ และศาสนา การใช้ชีวิตของผู้คนในสมัยสุโขทัยมีความอิสรเสรี มีเสรีภาพอย่างมากเนื่องจากผู้ปกครองรัฐให้อิสระแก่ไพร่ฟ้าและปกครองผู้ใต้ปกครองแบบพ่อกับลูก ดังปรากฏหลักฐานในศิลาจารึกว่า "ด้วยเสียงพาทย์ เสียงพิณ เสียงเลื่อน เสียงขับ ใครจักมักเล่น เล่น ใครจักมักหัว หัว ใครจักมักเลื่อน เลื่อน…"

      ด้านความเชื่อและศาสนา สังคมยุคสุโขทัยประชาชนมีความเชื่อทั้งเรื่องวิญญาณนิยม (Animism) ไสยศาสตร์ ศาสนาพราหมณ์ฮินดู และพุทธศาสนา ดังปรากฏหลักฐานในศิลาจารึกหลักที่ ๑ ด้านที่ ๓ ว่า "เบื้องหัวนอนเมืองสุโขทัยนี้มีกุฏิวิหารปู่ครูอยู่มีสรีดภงค์ มีป่าพร้าว ป่าลาง ป่าม่วง ป่าขาม มีน้ำโคก มีพระขระพุงผี เทพยาดาในเขาอันนั้นเป็นใหญ่กว่าทุกผีในเมืองนี้ ขุนผู้ใดถือเมืองสุโขทัยนี้แล้ว ไหว้ดีพลีถูก เมืองนี้เที่ยว เมืองนี้ดี ผิไหว้บ่ดี พลีบ่ถูก ผีในเขาอันนั้นบ่คุ้มบ่เกรง เมืองนี้หาย…"

      ส่วนด้านศาสนา ได้รับอิทธิพลจากพุทธศาสนาแบบลังกาวงศ์จากนครศรีธรรมราช ในวันพระวันศีลพ่อขุนจะออกนั่ง ณ ลานธรรมในสวนตาลบรรยายธรรมให้ประชาชนฟังด้วย ยังผลให้ประชาชนในยุคนี้นิยมปฏิบัติตนอยู่ในศีลธรรม มีการถือศีล โอยทานกันเป็นปกติวิสัย ทำให้สังคมโดยรวมมีความสงบสุขร่มเย็น

      ๓. ด้านการปกครอง ด้านการปกครองสามารถแยกกล่าวเป็น ๒ แนว ดังนี้ ในแนวราบ จัดการปกครองแบบพ่อปกครองลูก กล่าวคือผู้ปกครองจะมีความใกล้ชิดกับประชาชน ให้ความเป็นกันเองและความยุติธรรมกับประชาชนเป็นอย่างมาก เมื่อประชาชนเกิดความเดือดร้อนไม่ได้รับความเป็นธรรม สามารถร้องเรียนกับพ่อขุนโดยตรงได้ โดยไปสั่นกระดิ่งที่แขวนไว้ที่หน้าประตูที่ประทับ ดังข้อความในศิลาจารึกปรากฏว่า "ในปากประตูมีกระดิ่งอันหนึ่งไว้หั้น ไพร่ฟ้าหน้าใส…" นั่นคือเปิดโอกาสให้ประชาชนสามารถมาสั่นกระดิ่งเพื่อแจ้งข้อร้องเรียนได้ ในแนวดิ่ง ได้มีการจัดระบบการปกครองขึ้นเป็น ๔ ชนชั้น คือ

      ๑) พ่อขุน เป็นชนชั้นผู้ปกครอง อาจเรียกชื่ออย่างอื่น เช่น เจ้าเมือง พระมหาธรรมราชา หากมีโอรสก็จะเรียก "ลูกเจ้า"

      ๒) ลุกขุน เป็นข้าราชบริพาร ข้าราชการที่มีตำแหน่งหน้าที่ช่วงปกครองเมืองหลวง หัวเมืองใหญ่น้อย และภายในราชสำนัก เป็นกลุ่มคนที่ใกล้ชิดและได้รับการไว้วางใจจากเจ้าเมืองให้ปฏิบัติหน้าที่บำบัดทุกข์บำรุงสุขแก่ไพร่ฟ้า

      ๓) ไพร่หรือสามัญชน ได้แก่ราษฎรทั่วไปที่อยู่ในราชอาณาจักร (ไพร่ฟ้า)

      ๔) ทาส ได้แก่ชนชั้นที่ไม่มีอิสระในการดำรงชีวิตอย่างสามัญชนหรือไพร่ (อย่างไรก็ตามประเด็นทาสนี้ยังคงถกเถียงกันอยู่ว่ามีหรือไม่)

       --mouse beens--- -- -

      นิยายที่ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

      loading
      กำลังโหลด...

      คำนิยม Top

      ยังไม่มีคำนิยมของเรื่องนี้

      คำนิยมล่าสุด

      ยังไม่มีคำนิยมของเรื่องนี้

      ความคิดเห็น

      ×