Lie to Me (จิตวิทยาเกี่ยวกับการโกหก) - นิยาย Lie to Me (จิตวิทยาเกี่ยวกับการโกหก) : Dek-D.com - Writer
×

    Lie to Me (จิตวิทยาเกี่ยวกับการโกหก)

    โดย BankKungTH

    หน้าของเราแสดงพฤติกรรมอะไรบ้าง (Facial behaviors) การแสดงสีหน้าไม่ขึ้นกับวัฒนธรรม (not culture-specific)

    ผู้เข้าชมรวม

    688

    ผู้เข้าชมเดือนนี้

    1

    ผู้เข้าชมรวม


    688

    ความคิดเห็น


    1

    คนติดตาม


    8
    จำนวนตอน :  0 ตอน
    อัปเดตล่าสุด :  19 เม.ย. 57 / 00:00 น.

    อีบุ๊กจากนิยาย ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...
    ตั้งค่าการอ่าน

    ค่าเริ่มต้น

    • เลื่อนอัตโนมัติ



    The truth is written on all your face.

    Lie To Me Season 1

    Lie To Me Season 2
    Lie To Me Season 3

    บทความที่เขียนขึ้นนี้มีจุดประสงค์เพื่อที่จะศึกษา พฤติกรรมและจิตใจของมนุษย์อ้างอิงจากซีรีส์แะบทความจากหนังสือและอินเทอเน็ทหากผิดพลาดประการใดขออภัย ณ ทีนี้ผมพึ่งเคยเขียนครับ :)

    หน้าของเราแสดงพฤติกรรมอะไรบ้าง (Facial behaviors)  การแสดงสีหน้าไม่ขึ้นกับวัฒนธรรม (not culture-specific) 

    1.Speech illustration (ประกอบการพูด)  เช่น คนเรามักเลิกคิ้วขึ้นเวลาอยากรู้อยากเห็น และกดคิ้วต่ำลงเวลาเบาเสียงลง
    2.Conversation regulation (กำหนดบทสนทนา) สามารถบอกทางสีหน้า(และทางเสียง)ได้ว่าพูดจบแล้ว
    3.Emblematic Gestures (เป็นสัญลักษณ์แทนคำพูด) เช่น เวลาฉงน จะยกริมฝีปากบนขึ้นและกดริมฝีปากล่างลง
    4.Cognition (ความนึกคิด) เวลาจดจ่อกับอะไรจะย่นคิ้วเป็นร่อง เวลาจะนึกอะไรจะห่อปาก
    5.Talking and eating (พูดและกิน) โดยเฉพาะอย่างยิ่งใช้ในการออกเสียงคำต่างๆ
    6.Emotion signaling (แสดงออกทางอารมณ์) ว่าตอนนั้นมีภาวะทางอารมณ์อย่างไร

     

    ภาษากาย(Body Langauge)

      
    ถ้าคนเราพูดในสิ่งที่เราคิดเสมอไปจะเป็นยังไงบ้าง เช่น  เราพูดกับกับเจ้านาย " อรุณสวัสดิ์เจ้านาย ไอ้คนขี้เกียจ ไม่มีความสามารถ"หรือ พูดกับผู้หญิงว่า "ยินดีที่ได้รู้จักน่ะครับ หน้าอกคุณใหญ่ดีจริงๆ บั้นท้ายคุณก็น่าจับดีนะ" ถ้าหากเราพูดจริงในสิ่งที่เราคิดตลอดเวลา สุดท้ายอาจต้องเข้าโรงพยาบาลหรือเข้าคุกแน่ๆ บางครั้งเราจำต้องโกหกเพื่อรักษาน้ำใจกันและมิตรภาพแต่ไม่แฝงด้วยผลประโยชน์ ไม่ใช้การโกหกด้วยแฝงผลประโยชน์หรือเจตนาร้าย    สัญญานที่พึ่งได้น้อยที่สุดในงานวิจัยโกหกของการจับโกหกคือสัญญานที่เรา สามารถควบคุมได้มากที่สุด เช่น คำพูด เพราะคนหนึ่งสามารถซ้อมคำโกหกได้ สัญญานที่เชื่อถือได้มากที่สุดคือ ท่าที่ทำไปโดยอัตโนมัติ เพระามันควบคุมได้น้อยหรือไม่ได้เลย ท่าทางพวกนี้จะเกิดขึ้นขณะโกหกเพราะสิ่งที่โกหกจะกระทบต่ออารมณ์ความรู้สึก ของผู้โกหกมากที่สุด    เราจะรู้ได้อย่างไรเมื่อใครโกหก พูดจาบ่ายเบี่ยง การจดำท่าทางที่สื่อถึงการหลอกลวง การเปลี่ยนใจ ความเบื่่อ และกำลังคิด มารวมกันแล้วตีความหมายโดยรวมอย่างถูกต้องม    เราคงเห็นจากตัวอย่างที่ว่า เด็กๆ มักจะใช้ท่ามือแตะหน้าเมื่อโกหกอย่างเปิดเผย พยายามไม่ให้คำลวงหลุดออกมา เมื่อโดขึ้นท่าแตะใบน้าเหล่านี้จะเร็วขึ้นและเนียนมากขึ้น แต่ยังคงเกิดขึ้น ซึ้งท่าเหล่านี้ยังเกี่ยวโยงกับความสงสัย ไม่แน่ใจ หรือเกินจริงอีกด้วย เดสมอนด์ มอร์ริสได้ทำการวิจัย โดยสมมติให้นางพยาบาลคนหนึ่งโกหกคนไข้เรื่องสุขภาพของพวกเขา พยาบาลที่โกหกจะแตะใบหน้าบ่อยกว่าคนที่พูดความจริง นอกจากนั้นทั้งชายและหญิงยังกลืนน้ำลายบ่อยขึ้นด้วยขณะโกหก แต่จะเห็นได้ชัดกว่าถ้าเป็นผู้ชาย เช่น นักการเมืองคนนึงพูดกับสื่อว่า "ผมไม่มีความสัมพันธ์ทางเพศกับผู้หญิงคนนั้น" ในขณะที่พูดนั้นเขาได้กลืนน้ำลายและถูจมูก เราควรพิจารณาตีความหมายท่าเป็นกลุ่มเหมือนโครงสร้างประโยคแต่ละท่าจะเกี่ยว โยงกับท่าอื่น แต่ถึงกระนั้นไม่ได้หมายความว่าเขาโกหกเสมอไป แต่อาจบ่งชี้ได้ว่าเขาอาจปกปิดข้อมูลอะไรบางอย่าง หากพิจารณาต่อไปเรื่อยๆ อาจยืนยันข้อสงสัยหรือปัดตกไปได้ ถึงไม่มีการเคลื่อนไหวบนใบหน้ายังมีกลุ่มท่าอื่น ที่สามารถตีความเพื่อวิเคราะห์การโกหกได้ 
       ใบหน้าเผยความจริง เมือเราพยายามปกปิดคำโกหกหรือความคิดบางอย่างที่วาบขึ้นในใจ ใบหน้าเราจะฟ้องถึงการกระทำนี้เพียงเสี้ยววินาที ตัวอย่างวิจัยโดยถ่ายวิดีโอ ผู้ชายคนหนึ่งกำลังคุยว่าเข้ากับแม่ยายได้ดีแค่ไหน ทุกครั้งที่เขาพูดชื่อเธอ ใบหน้าซีกซ้ายจะกระตุกขึ้นเป็นรอยยิ้มแสยะมันจะคงอยู่แค่เสี้ยววินาทีเท่า นั้น แต่ถ้าเราเป็นนักจับภาษากายอย่างดีแล้วแค่นี้ก็บอกได้แล้วว่าเขารู้สึกอย่าง ไร

     

    นิยายที่ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    คำนิยม Top

    ยังไม่มีคำนิยมของเรื่องนี้

    คำนิยมล่าสุด

    ยังไม่มีคำนิยมของเรื่องนี้

    ความคิดเห็น