ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    ความขัดแย้ง และการประสานประโยชน์ระหว่างประเทศ (:

    ลำดับตอนที่ #14 : แนวทางการสร้างความร่วมมือระหว่างประเทศ

    • เนื้อหานิยายตอนนี้เปิดให้อ่าน
    • 717
      0
      10 ธ.ค. 54

    2. แนวทางการสร้างความร่วมมือระหว่างประเทศ   มี 2 ลักษณะ ดังนี้

           2.1 การสร้างความร่วมมือในเชิงสร้างสรรค์ (Positive) แนวทางโดยสันติวิธีและเกิดผลอย่างยืนยาว มีดังนี้

             (1) การจัดตั้งองค์การความร่วมมือระหว่างประเทศ เช่น องค์การสหประชาชาติ (UN) กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) และองค์การการค้าโลก (WTO) เป็นต้น

                 (2) การจัดทำกฎหมายระหว่างประเทศ หรือข้อตกลงร่วมกัน เช่น ข้อตกลงเกี่ยวกับการส่งผู้ร้ายข้ามแดน กฎหมายอาชญากรสงคราม และข้อตกลงลดก๊าซเรือนกระจก  เป็นต้น

                 (3) การทูต มีการสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตขั้นปกติระหว่างกัน มีสถานเอกอัคราชทูตและเอกอัครราชทูตทำหน้าที่เป็นตัวแทนของประเทศ เพื่อสร้างสรรค์ความ ร่วมมือและความเข้าใจอันดีต่อกัน

             (4) การควบคุมและลดกำลังอาวุธ มีการเจรจาจำกัดการสะสมหรือการทดลองขีปนาวุธ  ต่าง ๆ เพื่อป้องกันมิให้เกิดความหวาดระแวงต่อกัน

             (5) ความร่วมมือทางด้านกีฬา ศิลปวัฒนธรรม และด้านอื่น ๆ เช่น การแข่งขันกีฬาโอลิมปิก (Olympic)การแข่งขันโอลิมปิกวิชาการ และการแข่งขันทักษะช่างฝีมือต่างๆ เป็นต้น

           2.2 การสร้างความร่วมมือที่ไม่สร้างสรรค์ (Negative)

           เป็นความร่วมมือระหว่างประเทศที่ไม่ใช้แนวทางสันติวิธี แต่เป็นลักษณะการต่อต้านและใช้กำลัง หรือไม่ติดต่อคบค้าด้วย (Boycott)

               (1) กรณีสหรัฐอเมริการ่วมมือกับชาติพันธมิตร เช่น อังกฤษ อิตาลี ฯลฯ ใช้กำลังทางทหารเข้าแทรกแซงในอิรัก เพื่อโค่นล้มประธานาธิบดีซัดดัมฮุสเซน เมื่อปี ค.ศ. 2003 (พ.ศ.2546) โดยอ้างว่าผู้นำอิรักสนับสนุนการผลิตขีปนาวุธที่เป็นภัยคุกคามต่อสันติภาพของโลก

               
    (2) การใช้กำลังทางทหารเข้าบังคับ หรือการทำสงคราม มี 2 ระดับ คือ

                   
    2.1 สงครามจำกัดขอบเขต (Limite War) 
    โดยใช้กำลังทางทหารเข้าปฏิบัติการในระยะเวลาและพื้นที่อันจำกัด เพื่อมิให้ฝ่ายตรงข้ามเสียหายมากนัก โดยมี  วัตถุประสงค์เพื่อให้ฝ่ายตรงข้ามปฏิบัติตามนโยบายของตนเท่านั้น เมื่อบรรลุวัตถุประสงค์ก็ถอนตัวกลับ เช่น สงครามขับไล่อิรักออกจากการยึดครองคูเวตของ กองกำลังสหประชาชาติ (UN) โดยการนำของสหรัฐอเมริกา เมื่อปี ค.ศ.1990

                         2.2 สงครามเบ็ดเสร็จ (Absolute War) เป็นสงครามที่ประเทศมหาอานาจใช้กาลังทางทหารเข้ายึดและครอบครองดินแดนแห่งนั้นไว้ตลอดไป โดยเข้าไปจัดระเบียบการปกครองใหม่ตามความต้องการของตน และตักตวงผลประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติและอื่น เช่น ประเทศอังกฤษ ฝรั่งเศส สเปน ฯลฯ ในช่วงการขยายตัวของลัทธิจักรวรรดินิยมในคริสต์ศตวรรษ์ที่ 19-20 เป็นต้นกิริยาต่อต้านบทบาทของสหรัฐอเมริกาและอารยธรรมของโลกตะวันตก เช่น ขบวนการอัล เคดา หรืออัล กออิดะห์ ซึ่ง เชื่อกันว่าเป็นผู้ปฏิบัติการจึ้เครื่องบินโดยสารไปชนตึกเวิร์ดเทรด (World Trade Center) นครนิวยอร์กสหรัฐอเมริกา ในเหตุการณ์วันที่ 11 กันยายน .. 2001 แสดง ถึงผลร้ายของความขัดแย้งระหว่างมนุษยชาติ

    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    นิยายที่ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×