คุ้มของเก่า 1 ( โฉนดที่ดิน) - คุ้มของเก่า 1 ( โฉนดที่ดิน) นิยาย คุ้มของเก่า 1 ( โฉนดที่ดิน) : Dek-D.com - Writer

    คุ้มของเก่า 1 ( โฉนดที่ดิน)

    โดย Chloe\'

    โดย น้องปลาร้าสด

    ผู้เข้าชมรวม

    445

    ผู้เข้าชมเดือนนี้

    1

    ผู้เข้าชมรวม


    445

    ความคิดเห็น


    0

    คนติดตาม


    0
    เรื่องสั้น
    อัปเดตล่าสุด :  10 ก.พ. 50 / 11:29 น.


    ข้อมูลเบื้องต้นของเรื่องนี้
    ตั้งค่าการอ่าน

    ค่าเริ่มต้น

    • เลื่อนอัตโนมัติ
      โฉนดที่ดิน ลายพระหัตถ์ รัชกาลที่ 5

      คำว่า"โฉนด" เป็นคำภาษาเขมร หมายความว่า หนังสือ เมื่อนำมารวมกันกับว่า ที่ดิน จึงมีความหมายว่าหนังสือสำคัญสำหรับที่ดิน ถูกกล่าวถึงในกฎหมายไทยยุคเก่าคือ กฎหมายตราสามดวง ซึ่งจะออกหนังสือเขียนด้วยลายมือ โดยให้เสนานายระวางอากรเป็นผู้เขียน ออกโฉนดให้ทั้งนี้ก็คงเพื่อการเก็บอากรของรัฐนั่นเอง แต่ก็ เป็นลักษณะแบบไม่ชัดเจน และ แน่นอน คือที่ดินสมัยก่อนทั้งหมดถือว่า

      เป็นของกษัตริย์ หรือผู้ปกครองแว่นแคว้น นครนั้นๆ ประชากรที่ต้องการทำประโยชน์ปลูกพืชผล สร้าง บ้านเรือนสามารถทำได้โดย บอกกล่าวแก่เจ้าเมือง เมื่อหักร้างถางพงปลูกพืชผลไปเท่าใด ก็ถือว่าพื้นที่ได้ ลงแรงไปนั้นเป็นของตน ต้องจ่ายภาษีอากรแก่เจ้าของ แคว้นแล้วแต่จะตกลงกัน เมื่อเกิดการอพยพโยกย้ายหรือละทิ้งบ้านเรือนไม่ว่า สาเหตุใดๆ ก็ตาม ที่ดินนั้นจะตกไปอยู่ในกรรมสิทธิ์ของ

      เจ้าของตามเดิม ผู้ปกครองสามารถจัดสรรคนกลุ่มใหม่ เข้าไปอยู่และทำกินแทนได้ อีกทั้งที่ดินในสมัยก่อนมีมากมาย แผ้วถางป่าทำไร่นา ตามต้องการโดย ไม่ต้องแย่งกันเหมือนในปัจจุบันประเทศไทย

      เริ่มให้กรรมสิทธิ์ ที่ดินแก่ราษฎรอย่างชัดเจน ในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อ พ.ศ. ๒๔๔๔ โดยเริ่มออก โฉนดที่ดินให้แก่ราษฎรเป็นครั้งแรก

      จุดเริ่มต้นการทำโฉนดที่ดินแบบใหม่ยุคล่าอาณานิคมเฟื่องฟู ประเทศไทยต้องระแวดระวังการเข้ามา รุกล้ำดินแดนของประเทศมหา อำนาจด้วยเช่นกันเพราะปกครองอยู่ ในขณะนั้นฝรั่งเศสเองมีทีท่าสนใจดินแดนประเทศราชของไทยทาง ฝั่งซ้ายแม่น้ำโขง พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว

      ทรงเริ่มตระหนักว่าถ้าไม่กำหนดอาณาเขตและทำแผนที่ของประเทศให้แน่นอนแล้ว คงจะถูกชาติมหาอำนาจเอา ข้อด้อยนี้ มาเป็นข้ออ้างในการรุกล้ำอาณาเขต และยึดดินแดนในที่สุดการทำ สำรวจแผนที่จึงเริ่มอย่างจริงจัง ในปี พ.ศ. ๒๔๒๔

      จะเห็นว่ารายละเอียดของโฉนดที่ดินนี้ จะมีการประทับตราแผ่นดินลงบนตัวเลขทุกตัว เพื่อเป็นการป้องกัน การแก้ไขตัวเลข และช่วงท้าย ของโฉนดที่ดินเราจะเห็นลายพระหัตถ์ของ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งทรงลงพระ ปรมาภิไธย ของพระองค์ไว้ด้วย ซึ่งโฉนดที่ดินใบนี้ทรงพระราชทานดินให้ เพื่อเป็นที่ปลูกโรงเลี้ยงเด็กกำพร้าในสมัยนั้น

      นิยายที่ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

      loading
      กำลังโหลด...

      คำนิยม Top

      ยังไม่มีคำนิยมของเรื่องนี้

      คำนิยมล่าสุด

      ยังไม่มีคำนิยมของเรื่องนี้

      ความคิดเห็น

      ×